ทรานส์ฟอร์มธุรกิจทั้งที เอาให้ดีไปเลย ด้วย 5 แอปพลิเคชันนี้

ถึงเวลาเปลี่ยนระบบ รื้อใหม่ ยุติปัญหาสะสม การทรานส์ฟอร์มธุรกิจใครว่าไม่สำคัญ ได้โปรดหยุดฟัง Demeter ICT ก่อน เพราะการทรานส์ฟอร์มจะทำให้คุณได้รับประโยชน์ ดังนี้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: ลดงาน Manual และตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ ลดต้นทุนและเพิ่มกำไร: จัดสรรทรัพยากรได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ: พัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ และเข้าถึงลูกค้าได้รวดเร็วมากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน: ธุรกิจน่าสนใจ ปรับตัวต่อยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว พัฒนาองค์กรให้คนเก่งอยากร่วมงานด้วย: พนักงานมีทักษะใหม่ ๆ ในการพัฒนาองค์กร ตัวอย่างการทำทรานส์ฟอร์มธุรกิจ (Business Transformation) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจ การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ พัฒนาทักษะพนักงาน ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ ด้วยผลประโยชน์อันแสนหวานหอมที่ได้กล่าวไปข้างต้น มีธุรกิจไหนบ้างที่ไม่ต้องการสิ่งเหล่านี้?! แต่อย่างไรก็ตามการทรานส์ฟอร์มไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ย่อมสร้างความกังวลใจให้กับเหล่าผู้บริหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแล้ว Demeter ICT จึงได้คัด 5 แอปพลิเคชันจาก Google Workspace ที่จะเข้ามาช่วยทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้สามารถดำเนินการได้ง่ายมากที่สุดและสะดวกมากที่สุด ไม่ต้องติดตั้งระบบใด ๆ และไม่กระทบกระบวนการทำงานเดิมอย่างแน่นอน มาเริ่มก้าวแรกไปพร้อม ๆ กันเลย ! ทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้ดีเลิศ ต้อง 5 แอปพลิเคชันนี้ 1. Google Docs คุณยังมีการจัดทำเอกสารแบบรูปด้านบนอยู่หรือเปล่า? การจัดทำเอกสาร พิมพ์ออกมา แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้ม ถือว่าเป็นวิถีการทำงานที่ปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่า Demeter ICT จะมีการสนับสนุนเรื่องการทำทรานส์ฟอร์มจากการทำเอกสารบนกระดาษสู่ดิจิทัลกันอยู่บ่อยครั้ง เราก็ยังจะสู้ต่อไปเพื่อธุรกิจของคุณ ซึ่งการเปลี่ยนเอกสารบางส่วนให้มาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี เหมาะสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นการทรานส์ฟอร์มเป็นอย่างมาก วิธีการใช้งาน Docs ก็เหมือนกับการจัดทำเอกสารตามปกติเลย แต่คุณจะได้ฟังก์ชันการใช้งานที่มากกว่านั่นเอง ประโยชน์จากการทรานส์ฟอร์มสู่การทำงานบน Google Docs บอกลาเอกสารกระดาษยุ่งเหยิง จัดการเอกสารออนไลน์ได้สะดวกสบายจากทุกที่ทั่วโลก ! แก้ไขเอกสารได้ทุกวินาที แชร์ไฟล์ได้ง่าย ทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ ค้นหาเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย หายห่วง ไม่ต้องคอยกดเซฟ เมื่อเกินเหตุไม่คาดฝัน เช่น ไฟดับ คอมดับ เน็ตหลุด ไม่ต้องกลัวว่างานที่ทำจะหาย...

Continue reading

ศึก AI ปะทะ AI! เปรียบเทียบ Gemini for Google Workspace กับ Copilot for Microsoft 365 AI ไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ

เมื่อยุค AI เป็นเหตุทำให้สองบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google และ Microsoft ต้องลุกขึ้นสู้ปะทะกันอย่างดุเดือด ท่ามกลางศึกนี้ผู้คนมากมายต่างจับตามองและให้ความสนใจในการนำเครื่องมือเทคโนโลยี AI อย่าง Gemini และ Copilot มาปรับใช้กับธุรกิจกันอย่างล้นหลาม Demeter ICT ในฐานะผู้ให้คำปรึกษาด้านโซลูชันเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจจึงจะขอพาคุณมาทำความรู้จักและเปรียบเทียบความเหมาะสมในการใช้งานแพลตฟอร์ม ราคาและความคุ้มค่า ฟีเจอร์ รวมถึงเวอร์ชันทดลองใช้งานฟรีด้วย ซึ่งหากคุณมีความต้องการเปลี่ยนแพลตฟอร์มการใช้งานหรือยังไม่มีบัญชีธุรกิจของ Google Workspace หรือ Microsoft 365 เราเชื่อว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น  เปรียบเทียบ Gemini for Google Workspace กับ Copilot for Microsoft 365 1. Gemini vs Copilot เหมาะกับใคร? เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม Gemini เหมาะสำหรับผู้ที่มีบัญชีธุรกิจ Google Workspace ในทุกแพ็กเกจ เลือกดูแพ็กเกจและราคาได้ที่นี่ Copilot เหมาะสำหรับผู้ที่มีบัญชีธุรกิจ Microsoft 365 ในแพ็กเกจที่กำหนด 2. ราคา Gemini vs Copilot เลือกความคุ้มค่า Gemini แพ็กเกจ AI Add-on สำหรับธุรกิจ เริ่มต้นที่ $20/ผู้ใช้/เดือน (สัญญารายปี) ได้รับ AI ในทุกแอปพลิเคชันหลักสำหรับการทำงานร่วมกันในองค์กร ได้แก่ Gmail, Docs, Slides, Sheets, และ Meet Copilot แพ็กเกจ AI Add-on สำหรับธุรกิจ ราคา $30/ผู้ใช้/เดือน (สัญญารายปี) ได้รับ AI ในทุกแอปพลิเคชันหลักสำหรับการทำงานร่วมกันในองค์กร ได้แก่ Outlook, Word, Excel, Powerpoint และ Teams (สำหรับบางแพ็กเกจเท่านั้น) 3. ฟีเจอร์ของ...

Continue reading

6 ข้อผิดพลาดอันตราย เสี่ยงตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์

อย่างที่ทราบกันดีว่าการโจรกรรมทางโซเชียลเป็นหนึ่งในอาชญากรรมที่สร้างความเสียหายทั้งข้อมูลและทรัพย์สินได้อย่างมหาศาล เพราะไม่ว่าจะมีการรายงานข่าวถึงการเสียหายมาแล้วกี่ครั้ง ก็ยังมีผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อเกิดขึ้นได้ในทุกวัน… ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเราใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งอีเมลหรือเข้าถึงโซเชียลมีเดีย ทุกการเข้าถึง การล็อกอิน การคลิก การแชร์ นั้นก่อให้เกิดการสร้าง Digital footprint หรือร่องรอยของข้อมูลขึ้นมา สิ่งนี้เองอาจทำให้มิจฉาชีพหรือผู้ไม่หวังดีสามารถนำข้อมูลของเราไปใช้งานในทางที่ผิดได้  บทความนี้ Demeter ICT ได้นำ 6 ข้อผิดพลาดและวิธีการป้องกันความเสี่ยงในการโจรกรรมข้อมูลบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อ้างอิงจากบทความของ Google มาฝาก ให้ผู้ใช้งานบัญชี Gmail และ Google Workspace ได้ลองสำรวจดูว่า เรามองข้ามหรือขาดการป้องกันในด้านใดบ้าง  ข้อผิดพลาดที่ 1: ใช้รหัสผ่านเดียวกันทุกการล็อกอิน ดังที่คุณ Sriram Karra, senior product manager of sign-in security จาก Google ได้กล่าวไว้ว่า หนึ่งในความเสี่ยงที่หลายคนคิดไม่ถึงและเป็นสิ่งที่ทำผิดพลาดกันมากที่สุด นั่นก็คือการตั้งรหัสผ่านชุดเดียวกันสำหรับการล็อกอินเข้าทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ เพราะอาศัยแต่ความสะดวกและง่ายต่อการจดจำ แต่หารู้ไม่ว่าความผิดพลาดนี้เป็นของหวานชั้นดีสำหรับผู้ไม่หวังดีเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้รหัสเข้า Gmail เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มอื่น และเมื่อแพลตฟอร์มนั้นเกิดรอยรั่ว บัญชี Google ของคุณก็จะตกอยู่ในอันตรายเช่นเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าใครบางคนเข้าถึง Gmail ของคุณได้ พวกเขาก็สามารถยึดบัญชีอื่นๆ ของคุณได้อย่างง่ายดายนั่นเอง วิธีที่ควรทำ ไม่ควรตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกันในทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ควรตั้งค่าตัวอักษรที่คาดเดาได้ยาก เพิ่ม Passkeys ลงในบัญชี Google ของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถลงชื่อเข้าใช้บัญชี Google ได้ด้วยลายนิ้วมือ การสแกนใบหน้า หรือการปลดล็อกหน้าจอของอุปกรณ์แทนการใช้รหัสผ่าน เปิดใช้งานตัวจัดการรหัสผ่าน (Password manager) ที่ช่วยให้คุณใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกันในทุกบัญชีออนไลน์ทั้งหมดได้โดยไม่ยุ่งยาก วิธีใช้งานตัวจัดการรหัสผ่าน (Password manager) ข้อผิดพลาดที่ 2: ละเลยการอัปเดตซอฟต์แวร์ หลายคนมักให้การเพิกเฉยต่อการอัปเดตซอฟต์แวร์ เพราะคิดว่าไม่จำเป็นหรือเวอร์ชันเดิมที่ใช้ก็ดีอยู่แล้ว แต่คุณ Christiaan Brand, group product manager of identity จาก Google แนะนำว่าไม่ควรทำเช่นนั้น เพราะการอนุญาตให้มีการอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นประจำนั้นถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยที่สำคัญและเป็นอันดับสองรองลงมาจากการใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน...

Continue reading

รู้จัก 4 วิธี เก็บข้อมูลลูกค้าแบบมืออาชีพ ขับเคลื่อนการตลาดให้ปัง!

ทุกวันนี้ ‘ข้อมูล’ เรียกได้ว่าเป็นขุมสมบัติอันล้ำค่าสำหรับการทำธุรกิจ เพราะธุรกิจในทุกวันนี้แทบจะต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ ถ้าหากธุรกิจของคุณไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ นั่นอาจทำให้ธุรกิจของคุณสูญเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์หรือเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ธุรกิจหยุดชะงักจนไปถึงการปิดตัวลงไปเลยก็ได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลในปัจจุบันก็มีหลากหลายแบบหลากหลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักการเก็บข้อมูลว่ามีกี่วิธี? อะไรบ้าง? พร้อมยกตัวอย่างการเก็บข้อมูลแต่ละวิธีให้ทุกท่านเห็นภาพกันแบบชัด ๆ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน! วิธีของการเก็บข้อมูลในปัจจุบันมี 4 ประเภทดังนี้ ภาพจาก Bloomreach Zero-Party Data (ข้อมูลศูนย์กลาง) เป็นการเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าที่เต็มใจมอบให้กับแบรนด์ผ่านการทำแบบสำรวจ แบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ การตอบคำถามจากการเล่นเกมที่ธุรกิจหรือแบรนด์จัดขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลลูกค้ามา การตั้งค่าความยินยอมก่อนที่จะสมัครเป็นสมาชิกบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชันหรือโปรแกรมสะสมคะแนนต่าง ๆ ตัวอย่าง Zero-Party Data ลูกค้าบอกไซส์และสไตล์เสื้อผ้าที่ต้องการตอนสมัครสมาชิกเพื่อสะสมคะแนนของร้านขายเสื้อผ้า ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องโปรดในช่องทางสตรีมมิ่ง การเลือกประเภทอาหาร “มังสวิรัติ” ในแอปพลิเคชันส่งอาหาร ข้อดีของ Zero-Party Data เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความแม่นยำ เนื่องจากลูกค้าเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรง จึงสะท้อนถึงความชอบและความสนใจที่แท้จริงของลูกค้าได้ ความปลอดภัยในการใช้งานสูง เพราะลูกค้ายินยอมและให้สิทธิ์ในการรวบรวมข้อมูลกับแบรนด์อย่างชัดเจน ข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจะช่วยให้คุณสามารถสร้างความไว้วางใจและความภักดีกับลูกค้าได้ง่ายและดียิ่งขึ้น ข้อมูลเชิงลึกจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ Personalized กับลูกค้า เป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมให้ดีขึ้น และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดให้กับแบรนด์ของคุณ ข้อเสียของ Zero-Party Data เป็นข้อมูลที่ต้องอาศัยการให้ข้อมูลจากลูกค้า ซึ่งบางครั้งอาจจะได้มาไม่ครบถ้วน แบรนด์ต้องใช้ความพยายามและเวลาในการรวบรวมข้อมูล ต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าแบ่งปันข้อมูลให้กับแบรนด์ให้ได้ คลิก เพื่ออ่านบทความทำความรู้จัก Zero-Party Data แบบเจาะลึก ได้ที่นี่  First-Party Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) เป็นการเก็บข้อมูลที่แบรนด์ได้รวบรวมมาจากลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีด้วยตัวเอง เพื่อให้แบรนด์สามารถระบุตัวตน พฤติกรรม ความต้องการ และประวัติของลูกค้า ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละคนได้ ตัวอย่าง First-Party Data ประวัติการซื้อสินค้า ยอดชำระ และวันที่ลูกค้าซื้อสินค้าบนช่องทางร้านค้าออนไลน์ พฤติกรรมการเข้าดูเว็บไซต์ ระยะเวลาที่อยู่ในหน้าจอของลูกค้าบนเว็บไซต์บริษัทจองตั๋วเครื่องบิน จำนวนครั้งที่ลูกค้าเปิดแอปฟิตเนสและการคลิกวิธีที่ต้องการออกกำลังกาย ข้อดีของ First-Party Data ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์และมีรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า แบรนด์เป็นเจ้าของข้อมูลนี้โดยตรง สามารถควบคุมวิธีการใช้ข้อมูลได้ตามความต้องการ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการได้รับข้อมูลเหล่านี้มา สามารถนำข้อมูลมาสร้างการตลาดที่เฉพาะตัว แบ่งกลุ่มลูกค้า เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานได้ ข้อเสียของ First-Party Data ต้องให้ความสำคัญกับมาตรการในการรวบรวมข้อมูลจะต้องมีความโปร่งใสและเป็นไปตามกฎระเบียบ แบรนด์ต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน...

Continue reading

Zendesk คัดเลือก DEMETER ICT เป็น Advanced AI Enablement Partner ของ APAC

Zendesk ผู้นำด้าน Customer Service Solution ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า 170,000 องค์กร ได้คัดเลือกให้บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด (DEMETER ICT) เป็น Advanced AI Enablement Partner ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  Advanced AI ของ Zendesk นั้น นับเป็นฟังก์ชันใหม่ที่ให้บริการเสริมจาก Zendesk Suite Professional และ Zendesk Suite Enterprise โดย Advanced AI จะใช้ฟังก์ชันของ OpenAT ที่สามารถวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา สามารถสรุปเนื้อหาโดยย่อให้กับพนักงานผู้ให้บริการ และแนะนำการตอบคำถาม  รวมไปถึงการสร้างแชทบอทด้วยเครื่องมือของ Generative AI ทำให้การตอบคำถามด้วย AI BOT เป็นไปอย่างธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การให้คำแนะนำจากบทความที่เกี่ยวข้อง การรับมือในการพูดคุยกับลูกค้าในแต่ละรูปแบบ การส่งต่อปัญหาแบบอัตโนมัติให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการให้บริการขององค์กรอย่างมีนัยยะสำคัญ DEMETER ในฐานะ Advanced AI Enablement Partner DEMETER เป็นพาร์ทเนอร์ผู้มีประสบการณ์ในการให้บริการ Zendesk มาอย่างยาวนาน เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็น High Growth Partner of The Year ในปี 2022 และได้รับการรับรองว่าเป็นทั้ง Premier Partner และ Premier Implementation Partner หรือในความหมายก็คือ พาร์ทเนอร์ผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบระดับสูงสุดจาก Zendesk  ในฐานะที่เป็น Advanced AI Enablement Partner จากนี้ไป DEMETER จะเป็นพาร์ทเนอร์ที่มีความชำนาญในเชิงลึกในการวางระบบ Advanced AI ของ Zendesk ให้กับองค์กรที่ต้องการนำความสามารถของ AI มาช่วยในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพิ่มรายได้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน...

Continue reading

มาสร้างอีเมลเสริม Branding องค์กรให้ดูดีกว่าเดิม ด้วยเทมเพลตอีเมลสำเร็จรูป

ในยุคดิจิทัล อีเมลกลายเป็นหนึ่งในช่องทางการสื่อสารที่สำคัญสำหรับทั้งการติดต่อสื่อสารส่วนตัวและธุรกิจ แน่นอนว่าหน้าตาภาพลักษณ์อีเมลที่ดูดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง โดยเฉพาะอีเมลที่ส่งในนามขององค์กร ที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในมุมของ Branding ได้ดีเลยทีเดียว รู้หรือไม่? ผู้ใช้งาน Google Workspace สามารถเปลี่ยนอีเมลธรรมดาๆของคุณให้ดูเจ๋งขึ้นกว่าเดิมได้! สำหรับใครที่ใช้งาน Gmail อยู่เป็นประจำ อาจสังเกตว่ามีฟีเจอร์ Layout Email มาสักพักนึงแล้ว จะบอกว่าฟีเจอร์นี้ สามารถช่วยให้การเขียนอีเมลของคุณดูเป็นมืออาชีพมากขึ้นจริงๆ เมื่อปี 2022 Google ได้พัฒนาฟีเจอร์ Layout Email ซึ่งเป็นเทมเพลตอีเมลสำเร็จรูปขึ้นมา เพื่อช่วยให้การเขียนอีเมลดูสวยงามและดูดียิ่งขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกรูปแบบแล้วนำมาปรับแต่งสี โลโก้ รูปภาพ และอื่นๆได้ตามต้องการ ที่ผ่านมาฟีเจอร์ Layout Email ก็ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุด Google ได้เพิ่มความสามารถของฟีเจอร์ไปอีกขั้น ด้วยการปลดล็อคการใช้งานฟีเจอร์ได้เต็มศักยภาพมากขึ้น นั่นก็คือ หน้าตาโปรแกรม Layout Email รูปแบบใหม่: คุณสามารถเลือกใช้งานเทมเพลตที่มีให้ หรือจะสร้างเทมเพลตขึ้นมาใหม่ก็ได้เช่นกัน โดยสามารถปรับแต่งได้อิสระมากยิ่งขึ้นบนหน้าต่างโปรแกรมที่แยกออกมา ซึ่งต่างจากแบบเดิมที่ให้คุณปรับได้แค่ฟังก์ชันที่จำกัดบนหน้าต่างร่างอีเมล (New message) เท่านั้น เข้าถึงเทมเพลตได้จาก Gmail และ Google Drive: ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโปรแกรมแก้ไข Layout Email หรือเรียกดูเทมเพลต ได้จากหน้าต่างร่างอีเมลใน Gmail หรือจาก Google Drive ก็ได้เช่นกัน การแชร์และทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น: ผู้ใช้สามารถแชร์ไฟล์เทมเพลตร่วมกับผู้อื่นและทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ วิธีการใช้งานฟีเจอร์ Layout Email เทมเพลตอีเมลสำเร็จรูป วิธีเลือกใช้งานจากเทมเพลตที่มีให้ ไปที่ Gmail  คลิก Compose เพื่อเริ่มร่างอีเมล  ที่แถบล่างของหน้าต่าง Compose ให้กดที่ไอคอน Select a layout  ที่ด้านบนของหน้าต่างโปรแกรม ให้เลือกแถบ Default Layouts  เลือกเทมเพลตที่ต้องการ แล้วคลิก Edit layout เพื่อทำการปรับแต่งข้อความ รูปภาพ และการตกแต่งอื่นๆ เมื่อตกแต่งเสร็จแล้ว คลิก...

Continue reading

ไม่ใช่โปรแกรมเมอร์ก็สร้าง AppSheet และใช้งานได้จริงภายใน 1 วัน จริงเหรอ ? แล้วต้องทำอย่างไรกันนะ?

หากคุณเป็นคนธรรมดา คุณคงจะจินตนาการไปต่าง ๆ นานาแล้วว่า  ไม่ใช่ Programmer สร้างแอปไม่ได้ เขียนโค้ดไม่เป็น สร้างแอปไม่ได้ ใช้เวลาสร้างแอปน้อยกว่า 1 วัน เป็นไปไม่ได้ วันนี้ Demeter ICT จะพาคุณมาทลายกำแพงเหล่านี้ เพราะเราพิสูจน์แล้วว่าคนธรรมดาไม่ต้องเขียนโปรแกรมเป็น ก็สร้างแอปด้วย AppSheet ได้จริง และใช้เวลาสร้างเสร็จเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น !! ทำไมเราถึงมั่นใจว่าคนธรรมดาก็สร้าง AppSheet ได้ ? เรามั่นใจเพราะว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Business Transformation ให้คำปรึกษาและช่วยดูแลองค์กรของลูกค้าที่ต้องการเริ่มต้นทรานส์ฟอร์มองค์กรด้วย AppSheet  ซึ่งบุคลากรส่วนใหญ่ที่เราประสานงานจะเป็นผู้บริหารและผู้จัดการที่มีอุดมการณ์ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานให้ดียิ่งขึ้น คุณสามารถดูตัวอย่างกิจกรรมสร้าง AppSheet และความสำเร็จของ Demeter ICT ได้ด้านล่างนี้ https://www.youtube.com/watch?v=1_caivwYZnc AppSheet จะช่วยให้คุณเริ่มเข้าใกล้ความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น กระบวนการทำงานใดมีปัญหา คุณก็สามารถปรับแก้ได้เองเลยทันทีโดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโปรแกรมหรือไอทีอีกต่อไป  สร้าง AppSheet เสร็จได้ภายใน 1 วันจริงเหรอ ? ก่อนอื่นเลยคุณต้องทำความเข้าใจก่อนว่าการสร้างแอปด้วย AppSheet เป็นการสร้างแอปที่ช่วยเรื่องการทำงาน (Workflow) เป็นหลัก ซึ่งจะเน้นการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการทำงาน เช่น การลดขั้นตอนการทำงาน การเรียกดูข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว การปรับกระบวนการทำงานให้เป็นอัตโนมัติ และอื่น ๆ  หากคุณต้องการสร้างแอปให้เสร็จภายใน 1 วัน เราแนะนำให้คุณทำตามขั้นตอนนี้ก่อนเริ่มสร้างแอปที่ AppSheet เราอยากให้คุณลองวาด Workflow ปัจจุบันที่คุณกำลังใช้งานอยู่ แล้วเขียนรายละเอียดออกมาว่าในแต่ละส่วนทำได้ดีหรือยัง และส่วนไหนที่ยังมีปัญหาอยู่ แจกแจงปัญหาที่คุณเจอและส่วนที่คุณต้องการแก้ไขออกมาเป็นข้อ ๆ  นำสิ่งที่คุณต้องการแก้ไขมาออกแบบเป็นฟังก์ชันในแอปพลิเคชันของคุณ ตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณมีปัญหาเรื่องการเบิกจ่ายที่ไม่เป็นระบบ ใช้เวลาดำเนินการนาน ไม่สามารถรับรู้สถานะการชำระเงินได้ ซึ่งสิ่งที่คุณต้องการแก้ไขคือการที่บุคลากรมีระบบที่ใช้งานง่าย เข้าถึงได้ทุกคน ตรวจสอบความถูกต้องได้ และเช็คสถานะการดำเนินการได้แบบรวดเร็ว นี่แหละคือฟังก์ชันของ AppSheet ที่คุณต้องการ จากนั้นคุณก็เริ่มนำเอาสิ่งเหล่านี้ไปใส่ไว้ใน Workflow หรือใน Process ที่คุณต้องการแก้ไขได้เลย เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจกระบวนการทำงานของตัวเองมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้คุณสามารถสร้างแอปได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะคุณรู้แล้วว่าคุณต้องการให้แอปทำอะไรหรือแก้ไขปัญหาตรงไหนให้คุณนั่นเอง สร้างแอปง่าย ๆ ด้วย...

Continue reading

ทำความรู้จัก Gemini (Google’s Generative AI) AI ที่เป็นทุกอย่างให้คุณแล้ว!

เมื่อไม่นานมานี้ Google ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อ Google’s Generative AI จาก Bard และ Duet AI สู่ Gemini อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เข้าถึง AI Model จาก Google ได้เต็มรูปแบบ ซึ่งสิ่งที่ Demeter ICT จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักในวันนี้ คือ Gemini for Google Workspace (เดิมชื่อ Duet AI) Google ไม่ได้เพียงแต่เปลี่ยนชื่อผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังเพิ่มฟีเจอร์ AI ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ปรับราคาใหม่ให้เข้าถึงได้ พร้อมเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลให้มากกว่าเดิม เรียกได้ว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Google’s AI เพื่อสนับสนุนธุรกิจให้ก้าวเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีและ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด Gemini For Google Workspace คืออะไร? Gemini คือ AI-Powered assistant ซึ่งเป็น AI-Add on ของ Google Workspace ผู้ช่วยอัจฉริยะที่ช่วยให้การทำงานบน Google Workspace มีความรวดเร็วและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หากใครที่อยากจะใช้งาน Gemini แต่ยังไม่มีบัญชี Google Workspace ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะเพียงท่านสมัคร Google Workspace 1 บัญชี ท่านก็สามารถใช้งาน Gemini ได้เลยทันที (ดูแพ็กเกจและราคา Gemini) Gemini ทำอะไรได้บ้าง? Google มาพร้อมกับคอนเซปต์การทำงานใหม่ ซึ่ง Gemini จะเปรียบเสมือนผู้ช่วยของท่านได้ดังนี้ Gemini คือ นักวิเคราะห์ (Research Analyst)ท่านสามารถให้ Gemini ช่วยค้นหาเทรนด์ต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูล เชื่อมโยงข้อมูล...

Continue reading
Leading Companies Organize AppSheet Hackathon to Drive Business Innovation

บริษัทชั้นนำจุดความคิด ระเบิดไอเดียพนักงาน สร้างแอปพลิเคชันพัฒนาการทำงานในองค์กร ด้วยกิจกรรม AppSheet Hackathon

ลองนึกดูสิ หากองค์กรคุณมีเวทีที่เปิดกว้างความคิดให้พนักงานได้มีส่วนร่วมแสดงไอเดียได้อย่างเต็มความสามารถเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการทำงานที่มีอยู่เดิมให้ดีขึ้น คงจะดีไม่น้อยเลยใช่ไหมล่ะ เพราะเขาเหล่านี้นี่แหละที่รู้ต้นตอของปัญหาได้ดีที่สุด และจะมีอะไรเหมาะสมไปกว่าให้ผู้ปฏิบัติการจริงได้มีส่วนช่วยในการคิดค้นการแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยตัวเขาเอง  หลายองค์กรทั้งในภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสำคัญในการจัดเวทีแข่งขันเพื่อให้ผู้ที่ชอบความท้าทายได้แสดงความสามารถในการแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์ไอเดียเพื่อนำมาพัฒนาหน่วยงาน ผลิตภัณฑ์ หรือริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ โดยเรียกการแข่งขันเหล่านี้ว่า “Hackathon” Hackathon คืออะไร Hackathon อ่านว่า แฮกกาธอน หมายถึง งานที่จัดขึ้นเพื่อสร้างนวัตกรรมหรือการหาแนวทางแก้ไขปัญหาในระยะเวลาจำกัด โดยมีจุดประสงค์ให้แต่ละกลุ่มได้แข่งขันการใช้ความคิดความสามารถในการแก้ปัญหาหรือสร้างสิ่งใหม่ๆภายใต้โจทย์ที่กำหนด  โดยจุดเริ่มต้นนั้น Hackathon จะเป็นที่รู้จักกันกันดีในสายงาน IT ในการแข่งขันแก้ปัญหาทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ต่อมาก็ได้ขยายความนิยมไปยังวงกว้างมากขึ้น เช่น  Hackathon ธุรกิจ: มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแนวคิดธุรกิจใหม่ Hackathon การออกแบบ: มุ่งเน้นไปที่การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ Hackathon การตลาด: มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแคมเปญการตลาดใหม่ Hackathon การศึกษา: มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาใหม่ อื่นๆ การแข่งขัน Hackathon นั้นเรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่สร้างความท้าทายให้กับผู้เข้าร่วมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะต้องคิดหาแนวทางสร้างสรรค์ผลงานภายใต้โจทย์และระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ยังมีเงินรางวัลจูงใจให้กับผู้ชนะเลิศที่สามารถหาโซลูชันที่ตอบโจทย์และชนะใจกรรมการมากที่สุดอีกด้วย เฟ้นหาแอปพลิเคชันพัฒนากระบวนการทำงานองค์กรที่ดีที่สุด กับ AppSheet Hackathon ปัจจจุบัน Demeter ICT ได้รับความไว้วางใจให้เป็นที่ปรึกษาและผู้จัดกิจกรรมโปรเจกต์ในการจัดการแข่งขัน AppSheet Hackathon ให้กับองค์กรชั้นนำอย่าง “การท่าเรือแห่งประเทศไทย” และ “บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน)” เพื่อจุดประสงค์ในการผลักดันให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการหาแนวทางพัฒนากระบวนการทำงานองค์กรให้ดียิ่งขึ้น ด้วยแอปพลิเคชันไร้โค้ดอย่าง Appsheet ที่นำมาทดแทนกระบวนการเดิมแบบ Mannual ให้เป็นรูปแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการไปจนถึงการอนุมัติ (Approval) ให้เสร็จสิ้นในแอปเดียว! โดย Demeter ICT จะรับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ (ที่ผ่านการเห็นชอบจากองค์กรลูกค้า)ตั้งแต่ต้นจนจบ เช่น ตั้งแต่วางแผนกำหนดทิศทางของงาน ประชาสัมพันธ์องค์กร จัดงานเปิดกิจกรรม จัดอบรมพนักงานในการสร้างพลิเคชันไร้โค้ดด้วย AppSheet  จัดพิธีการแข่งขัน เป็นต้น เรียกได้ว่าครบจบได้ที่เดียว ตัวอย่างการจัดกิจกรรม AppSheet Hackathon โดย Demeter ICT วัตถุประสงค์กิจกรรม AppSheet Hackathon เพื่อให้ผู้เข้าร่วมตระหนักถึงการพัฒนากระบวนการทำงานด้วยเครื่องมือทางเทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี เพื่อให้ผู้เข้าร่วมรับรู้ เข้าใจ และสามารถยกระดับกระบวนการการทำงานใช้เครื่องมือ AppSheet ในการพัฒนาการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ...

Continue reading