4 อย่างที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ G Suite

หลายคนอาจทราบกันดีว่า “Google Apps for Work” ได้ทำการรีแบรนด์และเปลี่ยนชื่อเป็น “G Suite” ที่มีความเรียบง่ายมากขึ้นแต่ยังคงคอนเซ็ปต์เดิมคือการให้บริการเครื่องมือบนระบบคลาวด์สำหรับหน่วยธุรกิจทุกขนาด แต่สิ่งที่แตกต่างนอกเหนือจากชื่อที่เปลี่ยนไปนั่นก็คือ ทางกูเกิ้ลได้อัพเกรดแอปต่างๆบน G Suite จากที่เคยดีอยู่แล้วก็ทำให้มันดียิ่งขึ้นไปอีก และนี่คือ 4 อย่างที่คุณและองค์กรควรรู้     1. คุ้มค่า คุ้มราคา Google Drive ที่เราใช้ฟรีกันอยู่ทุกวันนี้จะได้ความจุทั้งหมด 15 GB แต่หากรู้สึกว่าแค่นี้มันไม่พอ หรือต้องการใช้บัญชี G Suite ต้องบอกก่อนว่าส่วนนี้ไม่ได้ฟรี แต่หากพิจารณาเทียบราคาที่จ่ายไปกับสิ่งที่จะได้นั้น ก็ไม่ได้เกินกำลังมากนัก ส่วนการคิดราคานั้นก็จะคิดแบบรายเดือน และขึ้นอยู่กับจำนวนบัญชีผู้ใช้ นอกจากนี้อีเมลก็จะได้ชื่อโดเมนเป็นชื่อองค์กรของคุณ หรือชื่อที่คุณต้องการได้ ในส่วนของความจุที่จะได้รับเพิ่มเป็น 30 GB และยังสามารถอัพเกรดเป็นแบบไม่จำกัด (Unlimited) ขึ้นอยู่กับแพ็คเกจที่คุณเลือก หากยังรู้สึกไม่แน่ใจว่าจะใช้ดีหรือเปล่า จะเหมาะกับองค์กรของคุณมั้ย Google ก็ให้คุณสามารถทดลองใช้ก่อนได้ถึง 14 วันเลยทีเดียว อย่างที่เขาว่ากันว่า ลองดูก่อนก็ไม่เสียหาย   2. ระบบอัจริยะยิ่งขึ้น ตัวเครื่องมือต่างๆใน G Suite ถูกปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณจะได้ใช้เวลาน้อยลงในการใช้ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน เพื่อให้คุณได้ทำงานเร็วขึ้น แล้วมีอะไรบ้างที่บอกว่ามันอัจฉริยะขึ้น? อย่างเช่นแต่ก่อนคุณต้องใช้เวลานานกว่าจะหาไฟล์งานที่ต้องการได้ซักไฟล์หนึ่ง แต่ระบบการจัดเก็บข้อมูลของ G Suite จะแสดงไฟล์ที่คิดว่าคุณน่าจะเปิดบ่อยไว้ในอันดับแรกๆ คุณจะได้มองเห็นได้อย่างง่ายดาย คราวนี้คุณก็สามารถลดระยะเวลาที่ไม่จำเป็นในแต่ละวันได้ แถมยังไม่หงุดหงิดง่ายเพราะหาไฟล์ไม่ค่อยเจออีกด้วยนะ แต่นี่เป็นเพียงแค่เศษเสี้ยวเท่านั้น ยังมีข้อดีอื่นๆอีกมากมายให้คุณได้เรียนรู้เพิ่มเติม   3. ระบบความปลอดภัยเข้มงวดขึ้น คนที่ใช้ Gmail อาจจะคุ้นเคยกันดีเมื่อเราลงชื่อเข้าใช้บนอุปกรณ์ใหม่ หรือเวลาเปลี่ยนโทรศัพท์เครื่องใหม่ก็จะมีการตรวจสอบข้อมูลแบบ 2 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการป้องกันชื่อบัญชีของคุณในเบื้องต้น ขั้นตอนนี้กินเวลานานขึ้นประมาณ 2-3 นาที เพื่อทำการส่งโค้ดไปยังกล่องข้อความของคุณ G Suite ก็มีการตรวจสอบข้อมูลแบบเดียวกัน แต่สามารถกำหนดได้ด้วย Security Keys ซึ่งลักษณะเป็นอุปกรณ์เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์ ใช้บลูทูธ หรือ near-field communication (NFC) เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผู้ใช้...

Continue reading