Smart Compose กับ Autocorrect สำหรับ G Suite for Education และ ผู้ใช้งาน G Suite ทั่วไป

ปัจจุบัน Google G Suite ได้พัฒนาฟีเจอร์ที่ช่วยในการพิมพ์งานเอกสารบน Google Docs ให้ถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้นมากขึ้น ด้วย  Smart Compose และ Autocorrect ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการพัฒนาไว้สำหรับ G Suite Basic G Suite G Suite Business และ G Suite Enterprise และกำลังพัฒนาสำหรับ G Suite for Education  G Suite Enterprise for Education และ ผู้ใช้งาน G Suite ทั่วไป ให้ใช้งานได้อย่างถ้วนหน้า Smart Compose ใน Google Docs ฟีเจอร์ Smart Compose จะช่วยให้คุณพิมพ์ประโยคได้รวดเร็วมากขึ้น โดยการช่วยแนะนำคำหรือวลีที่น่าจะเป็นของประโยคนั้นด้วย machine learning ที่เรียนรู้จากพฤติกรรมการพิมพ์หรือการใช้คำของมนุษย์ ฟีเจอร์นี้จะสามารถใช้งานได้บน Google Docs บนหน้าเว็ป ในรูปแบบการพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น วิธีเปิด/ปิด Smart Compose เปิดเอกสารใน Google Docs ที่แถบเมนูด้านบน เลือก Tools > Preferences ทำเครื่องหมายถูกที่หน้า show Smart Compose suggestion เมื่อต้องการเปิดใช้งาน หรือนำเครื่องหมายออก หากต้องการปิดการใช้งาน คลิก OK เพื่อยืนยัน วิธีกดตอบรับหรือปฏิเสธคำแนะนำจาก Smart Compose กดตอบรับคำที่แนะนำด้วยปุ่ม tab หรือคลิกขวาที่คำนั้นๆ  หากไม่ต้องการคำที่แนะนำ ให้พิมพ์ต่อไป Autocorrect ใน Google Docs ฟีเจอร์ Autocorrect เป็นตัวช่วยในการพิมพ์ให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะช่วยตรวจสอบการสะกดคำในขณะที่คุณพิมพ์แบบอัตโนมัติ ว่ามีคำใดสะกดผิด...

Continue reading

Ticketing System ช่วยให้ธุรกิจของคุณดีขึ้นอย่างไร?

เมื่อเกิดวิกฤตที่การทำงานรูปแบบเดิมๆ ถูก Disrupt บริษัทจำนวนมากในหลายภาคธุรกิจได้หันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีที่จะตอบโจทย์การทำงานรูปแบบใหม่ หนึ่งในนั้นคือ Ticketing System ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก Ticketing System หรือ ระบบ Ticket คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยรวบรวมคำร้องขอของลูกค้าทั้งหมดที่มาจากหลากหลายช่องทางนำมาจัดเก็บไว้ในที่เดียว พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อคุณเข้ามาทาง Live Chat, E-mail, Facebook, Messenger, Line@ หรือ Twitter ก็ตาม ข้อความเหล่านั้นจะถูกส่งเข้ามาและถูกเก็บเป็น Ticket ไว้ในระบบหรือหน้าแพลตฟอร์ม หากสรุปให้เห็นภาพก็คงเสมือนระบบรันคิวของธนาคาร ที่ไม่ว่าลูกค้าจะมาจากช่องทางไหน มีปัญหาอะไร ระบบก็จะจัดให้เป็น Ticket เมื่อมีเจ้าหน้าที่คนไหนที่ว่างอยู่ก็จะถูกจัดให้ไปยังช่องทางนั้นได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลารอเจ้าหน้าที่ประจำฝ่ายไหนสักฝ่ายตอบกลับ กล่าวโดยสรุปได้ว่า Ticketing System คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้การสื่อสารและงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงได้มากขึ้นนั่นเอง Ticketing System ดีอย่างไร ทำไมถึงต้องใช้ เรามาดูข้อดีส่วนหนึ่งของระบบนี้กัน 1. ยกระดับการทำงานในองค์กร ระบบ Ticket ทำให้การทำงานภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีระเบียบมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคำร้องจากลูกค้าจะเข้ามาจากช่องทางไหนก็สามารถรับมือและกระจายงานให้เจ้าหน้าที่ได้อย่างเสมอภาคกัน เจ้าหน้าที่ยังสามารถพิจารณาสถานะของคำร้อง เพื่อจำแนกถึงความสำคัญในการแก้ปัญหา และยังสามารถติดตามผลให้แน่ใจได้อีกด้วย 2. เพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงาน คนเท่าเดิม แต่ทำงานได้เพิ่มขึ้น ด้วยระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การตอบกลับคำร้องเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายดาย เจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าด้วยเวลาการตอบกลับที่น้อยลง แต่กลับมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในยุคเศรษฐกิจที่แข่งขันสูงอย่างตอนนี้ 3. ให้ภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพ ภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ปฏิเสธไม่ได้ในโลกของธุรกิจ การจัดการที่ไม่เป็นระบบจึงพลอยนำพาภาพลักษณ์ของบริษัทให้ดูไม่มีความเป็นมืออาชีพตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยอย่าง Ticketing System ถือเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือ ยิ่งหากเลือกใช้ซอฟต์แวร์ด้านนี้ที่มีประสิทธิภาพด้วยแล้วล่ะก็จะสามารถสร้างความเชื่อถือให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี 4. แข่งขันด้วยความเร็ว ลูกค้าย่อมคาดหวังการตอบกลับที่รวดเร็ว แทนที่จะต้องรอหลายชั่วโมงหรือเป็นวันที่พลอยทำให้เสียอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ก็พลอยแย่ไปด้วย แต่ระบบ Ticket ทำให้ได้รับการตอบกลับทุกช่องทางเร็วพอกัน ทำให้พนักงานตอบกลับลูกค้าได้รวดเร็วและมากขึ้น แม้พนักงานเท่าเดิม 5. บันทึกบทสนทนาอัตโนมัติ อีกสิ่งที่นำไปสู่ประสบการณ์ที่แย่ของลูกค้าคือการที่ต้องคอยบอกข้อมูลซ้ำๆ เปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทีก็ต้องบอกใหม่ที แต่ระบบซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยบันทึกข้อความเหล่านั้นให้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะจะเกี่ยวข้องกับปัญหาในปัจจุบันหรือไม่ก็ตาม เจ้าหน้าที่จะได้รับข้อมูลและความต้องการของลูกค้า และสามารถเสนอทางออกที่ตรงความต้องการของลูกค้ามากที่สุดได้ 6. เก็บข้อมูลเป็นสถิติ คาดคะแนทุกความเป็นไปได้ ข้อมูลที่ถูกบันทึกทั้งหมดจะถูกนำมาเก็บไว้เป็นสถิติ เจ้าหน้าที่ยังสามารถสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าหลังบริการเพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูล ไว้ใช้สำหรับประเมิณการทำงานของฝ่ายซัพพอรต์และถามความเห็นถึงมุมมองของลูกค้าที่มีต่อบริษัทได้อีกด้วย...

Continue reading