เพิ่มความปลอดภัยของบัญชีอีเมล ด้วยการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน (2 Step Verification)

2 Step Verification คืออะไร ? 2 Step Verification หรือการยืนยันตัวตนในการลงชื่อเข้าใช้บัญชีอีเมลแบบ 2 ขั้นตอน คือ การใส่รหัสผ่านในขั้นตอนแรก หลังจากนั้นระบบจะมีการส่งรหัสไปยังโทรศัพท์มือถือที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ และนำรหัสนั้นมาใส่อีกครั้งเป็นขั้นตอนที่ 2 หากถูกต้อง เราจะสามารถเข้าใช้งานบัญชีอีเมลได้ ซึ่งมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มักจะใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการความปลอดภัยของบัญชี เพราะหากมีผู้ไม่หวังดีแอบรู้รหัสผ่านก็จะสามารถเข้าถึงบัญชีและข้อมูล ทั้งหมดได้ทันที แต่หากเราเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ จะทำให้เรารู้ทันทันว่ามีใครแอบเข้าบัญชีอีเมลเราหรือไม่ นั่นเป็นที่มาของคำว่า  “การยืนยัน 2 ขั้นตอน”  แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเปิดใช้ เนื่องจากมีความยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องนำรหัสที่ได้รับมาพิมพ์เองอีกครั้ง คล้ายกับเวลาเราได้รับ OTP จากธนาคารนั่นเอง โดยทาง Google ได้เล็งเห็นปัญหานี้ จึงออกแบบระบบมาใหม่เพื่อที่จะทำให้บัญชีของเราได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย และยังใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น  ออกแบบการใช้งานใหม่ ปลอดภัยยิ่งขึ้น ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป หากเราเปิดใช้งาน การยืนยันบัญชีแบบ 2 ขั้นตอน (2 Step Verification) จากเดิมเราต้องใส่รหัสผ่านขั้นที่ 1 และใส่รหัสที่ได้รับทางโทรศัพท์มือถือ เป็นขั้นตอนที่ 2 บางคนอาจจะมองว่ายุ่งยากเกินไป  โดยทาง Google ได้มีการปรับปรุงการใช้งานให้มีความง่ายขึ้น ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ใส่รหัสผ่าน และจะได้รับการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ที่ทำการลงทะเบียนไว้  ขั้นตอนที่ 2 เลือกคำตอบตามหน้าจอที่ได้มีการถามให้ถูกต้อง  เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถเข้าบัญชีอีเมลของเราได้ ซึ่งจะสะดวกมากยิ่งขึ้นเพราะกดเพียงไม่กี่ปุ่ม แทนการนำรหัสหลายๆ ตัวมาใส่ และที่สำคัญไปกว่านั้นบัญชีของท่านก็ยังปลอดภัยขึ้นอีกระดับ แนะนำให้คนที่ผูกบัญชีอีเมลกับทางธนาคาร หรือรับส่งอีเมลที่มีความลับ  ดูเพิ่มเติม ได้ที่ เปิดใช้งานการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน  G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...

5 Pain Points ที่ทำให้คุณอาจเสียลูกค้าคนสำคัญได้โดยไม่รู้ตัว

ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะออกจากบ้านไปทำงาน จับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆ หรือแม้แต่ติดต่อธุรกรรม เชื่อว่าเราล้วนต่างเคยประสบปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่พาลให้อารมณ์เสีย จนทั้งวันหม่นหมองด้วยกันมาแล้วทั้งสิ้น ในแง่ของการตลาด เราเรียกปัญหาที่ลูกค้าพบเจอจากสาเหตุบางอย่าง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบหรือทำให้ใช้ชีวิตลำบากมากขึ้นเหล่านั้นว่า “Pain Point” แล้ว Pain Point สำคัญอย่างไร? Pain Point ส่งผลโดยตรงถึงประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ ซึ่งประสบการณ์ยอดแย่เหล่านี้เองก็ได้จุดประกายไอเดียจนเกิดเป็นธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย ยกตัวอย่างเวลาที่เราจะติดต่อสอบถามปัญหาสินค้าหรือบริการแต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับสักที ไม่ก็ต้องบอกเล่าปัญหาซ้ำๆ อย่างน่าเบื่อหน่าย ประสบการณ์ด้านลบที่มีต่อแบรนด์นี้เองที่ทำให้ลูกค้าปันใจไปใช้แบรนด์อื่นที่เป็นคู่แข่งแทนอย่างง่ายดาย  ในขณะเดียวกันหากอีกแบรนด์สามารถแก้ Pain Point เหล่านี้ และทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีได้ ก็จะมีแนวโน้มสูงมากว่าลูกค้าจะกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ แบรนด์นั้นจะได้เปรียบในฐานะการสร้างจุดเด่นด้านความแตกต่าง (Differentiation) ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มองว่าแบรนด์เก่าเป็นปัญหา อีกทั้งจากการวิจัยยังพบว่าลูกค้ายินยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่ม หากว่ามันคุ้นค่าให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย เรามาดู 5 Pain Points ที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ยอดแย่มากที่สุดกัน 01 ต้องรอ/ใช้เวลานานในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เรื่องของเวลายังคงเป็นอะไรที่สำคัญที่สุดเสมอ จากการสำรวจของ Zendesk บริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำที่โดดเด่นเรื่องการสร้างประสบการณ์ลูกค้า ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจเจ้าหน้าที่ Customer Service 1,000 คน เจ้าหน้าที่บริหารด้านประสบการณ์ลูกค้า 300 คน หัวหน้าฝ่ายขาย 300 คน และลูกค้า 3,000 คนจากทั่วทุกมุมโลก พบว่า การที่ต้องรอเป็นอะไรที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ที่แย่มากที่สุด ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากเป็นฝ่ายต้องรอกันทั้งนั้น จริงไหม? 02 ระบบตอบกลับอัตโนมัติที่ทำให้เข้าถึงยาก ลองนึกภาพว่าตัวคุณเองกำลังเผชิญปัญหาที่ต้องการการแก้ไขเสียเดี๋ยวนั้น แต่พอติดต่อไปหาเจ้าหน้าที่กลับเจอแต่ระบบตอบกลับที่โมโนโทนเสียเหลือเกิน ก็พาให้รู้สึกเข้าถึงเจ้าหน้าที่ได้ยากและเสียอารมณ์ได้ง่ายๆ 03 ต้องบอกข้อมูลเดิมๆ ซ้ำๆ ถือเป็นปัญหายอดฮิตเลยก็ว่าได้ ลูกค้ามักมีความคาดหวังให้แบรนด์มีการประสานงานกันเองภายใน ไม่ใช่ติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่คนหนึ่งทีแต่กลับถูกโยนเรื่องไปอีกคนหนึ่ง แล้วก็ต้องคอยบอกเล่าปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ  04 เจ้าหน้าที่ให้บริการไม่เป็นมิตร เจ้าหน้าที่ให้บริการเป็นเหมือนด่านหน้าของแบรนด์ที่ช่วยให้ลูกค้าได้รู้จักกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น หากได้รับการตอบกลับที่ไม่ดีจากที่อาจกำลังเป็นลูกค้าก็กลายเป็นขอถอยห่างไปไกลๆ ได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่บริการลูกค้าจึงควรมุ่งเน้นถึงความเข้าอกเข้าใจในตัวลูกค้าให้มาก และตอบกลับอย่างประนีประนอมอยู่เสมอ 05 เจ้าหน้าที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอ ไม่เพียงแต่การให้บริการให้เป็นมิตรเท่านั้นที่ต้องใส่ใจ เพราะในเรื่องของข้อมูลความรู้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะคงไม่มีใครที่ให้คำตอบที่ถูกต้องกับลูกค้าได้มากไปกว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบอีกแล้ว และนี่ก็เป็นตัวอย่าง 5 Pain Points จากการสำรวจที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ยอดแย่มากที่สุด ขอพึงระลึกไว้ว่าอะไรคุณมองว่าเป็นปัญหาจนเกิดเป็นความรู้สึกด้านลบนั้น ลูกค้าของคุณเองก็อาจรู้สึกได้ไม่ต่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากว่าเราสามารถนำเสนอทางแก้ Pain Points...

Continue reading

ตรวจสอบความปลอดภัยของรหัสผ่านได้ง่ายๆด้วย G suite

ในฐานะผู้ดูแลระบบ G Suite คุณสามารถตรวจสอบระดับความปลอดภัยของรหัสผ่านของผู้ใช้งานได้ โดยฟีเจอร์การตรวจสอบความปลอดภัยนี้จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบทราบได้ว่ารหัสผ่านที่ผู้ใช้งานตั้งค่านั้นมีความปลอดภัย มากน้อยเพียงใด โดยมีขั้นตอนดังนี้ ไปที่คอนโซลผู้ดูแลระบบของ G Suite (ที่ admin.google.com) ไปที่ความปลอดภัย > การตรวจสอบรหัสผ่าน ตรวจสอบความยาวและความรัดกุมของรหัสผ่านของผู้ใช้แต่ละราย หากมีจำนวนแถบสีแดงและสีเหลืองที่ไม่เต็มช่องหมายความว่ารหัสผ่านยังไม่รัดกุมหรืออาจจะคาดเดาได้ง่าย ตามตัวอย่างด้านล่าง ผู้ดูแลระบบสามารถแจ้งให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนรหัสผ่านได้ในทันที G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...