5 สุดยอดเคล็ดลับใน Gmail

5 สุดยอดเคล็ดลับใน Gmail ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน และเคล็ดลับเหล่านี้จะปลดล็อกฟังก์ชันการทำงานที่รวดเร็วให้กับการส่งอีเมลของคุณ 1. ตั้งเวลาส่งอีเมล (Schedule an Email) บางครั้งคุณต้องการส่งข้อความอีเมลหลังจากที่คุณเขียน สิ่งที่คุณสามารถทำได้ คือ การเปิดใช้คุณสมบัติการตั้งเวลาส่งอีเมล ( Schedule send ) ซึ่งวิธีนี้อีเมลจะถูกส่งตามวัน เวลาที่คุณกำหนดไว้ 2. ยกเลิกอีเมลที่ส่งไปแล้ว (Undo Send an Email) คุณเคยส่งอีเมลไปผิดหรือลืมแนบไฟล์หรือไม่? หนึ่งในเคล็ดลับ Gmail ของเราคือ การยกเลิกการส่งอีเมลโดยใช้ฟีเจอร์ Undo Send  ซึ่งสามารถลบอีเมลที่ส่งออกไปแล้วโดยตั้งเวลาให้ยกเลิกได้เริ่มต้นที่ 5 วินาที นานสุด 30 วินาที  3. ตอบกลับอีเมลอัตโนมัติ (Vacation Responder) อีกฟีเจอร์หนึ่ง คือ ฟังก์ชันตอบกลับอัตโนมัติ (Vacation Responder) ตามระยะเวลาที่กำหนด คุณสามารถตอบกลับโดยอัตโนมัติไปยังผู้ส่ง วิธีนี้จะช่วยในกรณีที่คุณไม่ว่างตอบกลับข้อความระยะเวลาหนึ่ง 4. คัดกรองอีเมลสแปม (Use a Spam Filter) Spams อาจเป็นหนึ่งในข้อความอีเมลที่น่ารำคาญที่สุดในกล่องจดหมายของคุณ โชคดีที่ Gmail ย้ายอีเมลที่เป็นสแปมไปยังโฟลเดอร์สแปมของคุณ ดังนั้นคุณจะไม่ถูกรบกวน การตั้งค่าตัวกรองสแปม (Customize Spam Filter) ในแบบของคุณจะทำให้ Gmail ของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น  5. แจ้งเตือนอีเมลภายหลัง (Snooze Gmail notifications) เมื่อคุณได้รับอีเมลจำนวนมากเกินไป Gmail Snooze จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับอีเมลให้แจ้งคุณทางอีเมลในเวลาที่คุณต้องการเท่านั้น สามารถติดตามและเรียนรู้ฟีเจอร์อื่น ๆ ของ G Suite ได้ที่นี่ G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...

4 เช็คลิสต์ ก่อนจะเป็น Omnichannel ต้องมีอะไรบ้าง?

“Omnichannel is the New Norm” เมื่อโควิด19 เป็นตัวเร่งให้เกิด Omnichannel เร็วขึ้น หากพูดถึงกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะช่วยตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ไม่ให้แบรนด์ต้องตามหลังคู่แข่งแล้วล่ะก็ การอัพเดทและรู้เท่าทันเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอถือเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก เรื่องของ “Omnichannel” คือหนึ่งในนั้น เดิมทีการค้าปลีกรูปแบบ Omni-channel หรือ O2O หรือก็คือการประสานระหว่าง Offline to Online และ Online to Offline ถูกพูดถึงมาระยะหนึ่งแล้ว แต่เมื่อเกิดวิกฤต COVID-19 จะเห็นได้ว่าโมเดล Omnichannel ปรากฏให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นในไทย เมื่อไม่อาจพึ่งพาช่องทางการขายจากหน้าร้านเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป หลายแบรนด์ดังจึงหันมาให้ความสนใจการให้บริการที่หลากหลายในแพลตฟอรม์อื่นมากยิ่งขึ้น  เรามาดูเช็คลิสต์ 4 ข้อ ก่อนจะเป็น Omnichannel ต้องใช้อะไรบ้างกัน 1. ช่องทางที่เชื่อมโยงถึงกัน Omnichannel (การตลาดแบบบูรณาการ) ต่างจาก Multichannel (การตลาดหลายช่องทาง) ตรงที่ไม่เพียงแต่ต้องมีช่องทางที่หลากหลายเท่านั้น แต่ช่องทางเหล่านั้นต้องสร้างประสบการณ์ที่เชื่อมโยงถึงกันได้ด้วย เช่น การส่งคูปองพิเศษเฉพาะลูกค้าบางกลุ่ม โดยลูกค้าจะสามารถนำคูปองนั้นไปใช้ในช่องทางไหนก็ได้ เพราะทุกช่องทางถูกเชื่อมกันไว้หมดแล้ว และทุกช่องทางรู้จักคูปองนั้น หรือลูกค้ากลุ่มนั้น 2. ให้ความสำคัญแก่ลูกค้า จุดประสงค์ของ Omnichannel คือ ลูกค้าจะสามารถเลือกช่องทางไหนก็ได้ และช่องทางนั้นก็ต้องพร้อมที่จะเข้าใจลูกค้าคนนั้น ดังนั้นการทำความเข้าใจใน Customer Journey และวิเคราะห์ทุก Stage อารมณ์ความรู้สึกของลูกค้า ยังคงเป็นอะไรที่สำคัญเสมอ เพื่อที่จะดีไซน์ถึงการบริการที่ตอบโจทย์ที่สุด แบรนด์จะต้องมีความเข้าใจเชิงลึกเสียก่อนว่าลูกค้าของตัวเองเป็นใคร จะรู้จักสินค้าได้อย่างไร หาข้อมูลได้จากที่ไหน ขั้นตอนการซื้อตั้งแต่ต้นจนจบ บริการจัดส่ง บริการหลังการขายมีอะไรบ้าง ทำอย่างไรถึงจะสร้าง Loyalty ให้เป็นลูกค้าประจำและสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้าได้ 3. เน้นที่การสื่อสารแบบ Personalization สื่อสารให้รู้ใจ ก่อนลูกค้าจะรู้ตัว การมี Omnichannel ทำให้แบรนด์สามารถพัฒนาการสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ลูกค้าในแบบที่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคลมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างคุณเพิ่งจะใช้บริการสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ชำระเงินเรียบร้อยผ่านแอปพลิเคชันหนึ่ง แล้วเกิดนึกสงสัยว่า “ทุกอย่างมันจะเรียบร้อยจริงๆ น่ะเหรอ?” จึงได้กดโทรเข้าไปถามที่แอปพลิเคชันนั้น แต่ว่าพนักงานรับสายกลับพูดชื่อนามสกุลของคุณได้ถูกต้องตามที่ลงทะเบียนไว้ และถามถึงปัญหาเกี่ยวกับสินค้าที่คุณเพิ่งกดสั่งซื้อ โดยที่คุณยังไม่ทันจำเป็นต้องแนะนำตัวก่อนเลย หรือถ้าคุณไปพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว และคุณได้ห้องพักที่วิวสวยที่คุณนึกอยากกลับไปพักยังห้องนั้นอีกครั้ง...

Continue reading