3 สิ่งที่ควรมี หากต้องการรักษาลูกค้า

การรักษาลูกค้า หรือ ก็คือการสร้าง Brand Loyalty ให้กับลูกค้านั่นแหละ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายนึงขององค์กร แต่มันขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกฝ่ายในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละส่วน แต่ละด้าน มาร่วมมือกันสร้าง Customer Experience หรือ ประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าต่างหาก ซึ่งด่านแรกที่ต้องเจอก็มักจะเป็นฝ่ายของ Customer Service ซึ่งสิ่งที่ควรจะต้องทำอย่างแรก คือ ทีมบริการลูกค้าของคุณ สามารถอ่านความรู้สึกหรืออารมณ์ของลูกค้า ณ ตอนนั้นได้ดีแค่ไหน ว่าลูกค้าคุณต้องการอะไร ต่อมา คือ ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้า และฝ่ายอื่นๆ สามารถให้ความพิเศษอะไรกับลูกค้าได้บ้าง โดยที่แต่ละฝ่ายก็จะนำสิ่งที่ตัวเองถนัดหรือเชี่ยวชาญ มารวมเข้าด้วยกัน และเสิร์ฟให้กับลูกค้า เพื่อเป็นการบริการ และแก้ปัญหาของลูกค้าที่เข้ามา ถึงแม้ว่าแต่ละฝ่ายจะมีความแตกต่างกัน แต่สิ่งที่ทุกคนและทุกฝ่ายควรมี เพื่อเป็นการรักษาลูกค้านั้น มีอยู่ 3 ข้อหลักๆ Customer-focus มุ่งเน้นเพื่อลูกค้า การให้ความสำคัญกับลูกค้า คือ การเปลี่ยนจุดโฟกัสของคุณจาก ความต้องการของบริษัทและองค์กร เปลี่ยนเป็นโฟกัสไปที่ความต้องการของลูกค้า และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า Transparency ความโปร่งใส หากคุณเป็นลูกค้าถ้าบริษัทไหนมีความโปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือ คุณก็มักจะไว้วางใจ และบริโภคสินค้าของบริษัทอยู่เสมอ ยกตัวอย่างเช่น หากมีการรีวิวพูดถึงสินค้าหรือบริษัทของคุณในเชิงลบ คุณก็ควรที่จะแก้ไขมัน มากกว่าการที่จะลบหรือซ่อนข้อความนั้นไว้ไม่ให้ใครเห็น เพราะในแง่ของธุรกิจ ความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า มีผลมากกว่าต่อการตัดสินใจซื้อ Empathy ความเอาใจใส่ บริษัทที่มีผลตอบแทนสูงๆส่วนมาก มาจากการที่เขาเอาใจใส่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง เพราะหากคุณเข้าใจความเจ็บปวด (Pain Point) ของลูกค้า มันก็จะทำให้คุณเข้าใจและเห็นความต้องการของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น และยิ่งถ้าคุณมีเครื่องมือหรือตัวช่วยอย่าง Zendesk (Customer Service Software) ที่สามารถสร้างความประทับใจและความพิเศษให้กับลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น การทำงานของคุณก็จะสบายและได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีประสิทธิภาพที่สุด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม แหล่งที่มา : Zendesk Blog ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ...

Continue reading

จะเป็นอย่างไรเมื่อนักเขียนแชร์ Google Docs ให้ผู้อ่านทั่วโลก ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเขียนหนังสือ

เมื่อ Viviana Rivero นักเขียนชื่อดังคนหนึ่ง ตัดสินใจที่จะทดลองการเขียนหนังสือแบบใหม่ แทนที่จะใช้วิธีการเขียนและตีพิมพ์ผลงานออกมาให้คนอ่านได้อ่านทีเดียว แต่กลับใช้วิธีแชร์ Google Docs ให้กับคนมากกว่า 1,000 คน ให้เข้ามาดูงานเขียน และแสดงความคิดเห็นงานไปพร้อม ๆ กับเธอ ซึ่งมีผู้คนมากกว่า 10,000 คน ได้เข้ามาดูขณะที่เธอสร้างสรรค์ผลงานอยู่ ครั้งแรกที่ใช้ Google Docs เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน เป็นครั้งแรกที่ Viviana ใช้ Google Docs เปิดแชร์ให้กับผู้อ่านและสามารถแสดงความคิดเห็นต่องานเขียนได้ หลังจากทำการไลฟ์สดที่กำลังเขียนเรื่องราวและได้เชิญให้ผู้อ่านเข้าร่วมแสดงความคิดเห็น และความเซอร์ไพร์ก็คือ มีคนมากกว่า 1,000 คน เข้ามาดูและร่วมแสดงความคิดเห็น จนตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ  Zafiros en la Piel (Sapphires on the skin)  เป็นสิ่งที่ท้ายทายมากสำหรับนักเขียน ซึ่งปกตินักเขียนจะถ่ายทอดเรื่องราวออกมาโดยที่ผู้อ่านนั้นไม่มีส่วนร่วมใด ๆ แต่หลังจากการทำแบบนี้ ทำให้เห็นรีแอคชั่นของผู้อ่านขณะที่อ่านและร่วมแบ่งปันความรู้สึกต่อผลงานอีกด้วย  เรื่องราวที่เปลี่ยนไป การที่เปิดให้แสดงความคิดเห็นได้นั้นผู้อ่านได้ทำการแสดงความคิดเห็นพาร์ทหนึ่งที่มีตัวละครเป็นสุนัข และผู้อ่านชื่นชอบกันมาก ทำให้ Viviana ตัดสินใจที่จะเพิ่มบทบาทให้กับสุนัขตัวนั้น โดยเขียนเรื่องราวและบทพูดขึ้นมาใหม่อีกด้วย การสร้างสรรค์งาน Google Docs ช่วยให้ผู้เขียนและผู้อ่านมีส่วนร่วมกันอย่างชัดเจน ทำให้กระบวนการสร้างสรรค์งานมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถแสดงการทำงานเบื้องหลังให้ผู้อ่านได้เห็นอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษา การเว้นวรรค และอื่น ๆ และ Viviana รู้สึกเซอร์ไพร์กับจำนวนคนที่เข้ามามีส่วนร่วม ไม่ได้มีเพียงแต่แฟนคลับ แต่ยังมีผู้อ่านคนใหม่ ๆ ที่เข้ามาดูอีกด้วย และทั้งนี้ยอดขายของหนังสือก็เพิ่มขึ้น 170% รวมไปถึงได้รับรางวัล Bronze Lion ในงาน the Cannes Lions Film Festival การเชิญชวนนักเขียนคนอื่น ๆ นักเขียนหลายคนยังกลัวที่จะทำแบบนี้ แต่ Viviana ก็ได้บอกออกไปว่า เรื่องราวเป็นสิ่งที่ไม่มีวันตาย และวิธีการที่จะเล่ายังคงพัฒนาต่อไป ก่อนที่จะมีกระดาษ ผู้คนแบ่งปันเรื่องราวด้วยเสียง และแม้ว่ากระดาษจะหมดไป คนเล่าก็ยังคงอยู่ เพราะผู้คนชอบเรื่องราว  ”...

Continue reading