เจาะลึก วิธีการดูอีเมลปลอมของมิจฉาชีพ by Demeter ICT

ในยุคปัจจุบันปฎิเสธไม่ได้เลยว่าผู้คนส่วนใหญ่ใช้อีเมลเพื่อการทำงานหรือรับส่งเอกสารที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นด้านธุรกรรมหรือเอกสารลับต่าง ๆ แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเรานั้นไม่ได้กำลังถูกหลอกหรือได้รับอีเมลปลอมที่แฝงมาจากมิจฉาชีพ วันนี้เรามีวิธีระวังอีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ ซึ่งมีวิธีสังเกตอยู่ 5 ขั้นตอนด้วยกัน และจะช่วยให้ผู้ใช้งานอีเมลสามารถตรวจสอบตัวตนจากผู้ส่งต้นทางว่ามีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัยหรือไม่  1. ตรวจสอบข้อมูลที่แสดงตัวตนในอีเมล ตรวจสอบชื่ออีเมลของผู้ส่งรวมถึงดูในส่วนของ Email Address ด้วยว่าตรงกับก่อนหน้านี้ที่เราเคยติดต่อหรือไม่ ตรวจสอบลายเซ็นต์ (Signature) ว่ามีใส่ข้อมูลที่ถูกต้องหรือตรงตามเดิมหรือไม่ และมีข้อมูลแสดงความเป็นเจ้าของอีเมลมากน้อยเพียงใด เช่น ชื่อ ตำแหน่ง เบอร์ติดต่อ ชื่อบริษัท ฯลฯ โดยส่วนใหญ่แล้วอีเมลที่ปลอมแปลงมามักจะใส่ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรืออาจจะไม่ใส่อะไรเลย ตรวจสอบเนื้อหาของอีเมล ในส่วนนี้อาจจะพิจารณาตามเนื้อหาที่เจอ เนื้อหาจะต้องไม่เป็นการพยายามล้วงเอาข้อมูลผู้ใช้งานหรือมีลิงก์ให้กดเพื่อเข้าไปกรอกข้อมูลหรือยอมรับให้เชื่อมต่อกับบัญชีของเรา ทั้งนี้อาจจะพิจารณาไปถึงไฟล์ที่แนบมาในอีเมลด้วย หากพบไฟล์นามสกุลแปลก ๆ ที่เราไม่เคยเจอให้งดการกดดาวน์โหลดหรือพรีวิวไปก่อน แล้วทำการตรวจสอบกับผู้ส่งให้แน่ใจว่าได้ส่งไฟล์ชนิดนั้นมาให้เราเสมอ หากพบความผิดปกติจากข้อมูลที่ทำการตรวจสอบทั้ง 3 ข้อที่กล่าวมาก็อย่าพึ่งใจร้อนกด Report spam กันทันที ให้ลองรีเช็คเพิ่มเติมในข้อถัดไปกันก่อน 2. ตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกของอีเมล เพื่อความชัวร์เราลองมาทำการเช็คอีเมลในระดับที่ Advance ขึ้นกว่าเดิมนิดนึง เพื่อการตรวจสอบที่ถูกต้อง สิ่งที่เราต้องตรวจสอบกันเพิ่มมีดังนี้ ก่อนอื่นให้ลองเช็คอีเมลก่อนว่าคุณสามารถกดแสดงข้อมูลรายละเอียดของอีเมลตามภาพ Email Information  ที่อยู่ด้านบนได้หรือไม่ สำหรับ Gmail นั้น สามารถกดดูได้จากปุ่ม Show Details ในอีเมลฉบับนั้น ๆ ได้เลย ส่วนระบบอื่น ๆ อาจจะลองสอบถาม Provider ที่ให้บริการอีกครั้ง Mailed-by: ข้อนี้จะเป็นที่บอกเราว่าอีเมลนี้ส่งออกมาจากที่ใด โดยให้สังเกตจากชื่อที่ปรากฏจะสอดคล้องกับชื่อ @Domain ของผู้ส่ง เช่น ในภาพด้านบนจะเห็นชื่อผู้ส่งเป็น @gmail.com ในส่วนของ Mailed-by ก็จะเป็น gmail.com เป็นต้น ในกรณีที่ไม่ตรงกันอาจจะต้องสอบถามไปที่ต้นทางเพื่อยืนยันแหล่งที่มาอีเมลอ้างอิงที่ปรากฏนั้นอีกที Signed-by: ข้อนี้จะบ่งบอกถึงว่าอีเมลฉบับนี้มีการรับรองจากองค์กรนั้นหรือไม่ เช่น ถ้าหากเป็นอีเมลขององค์กร ในส่วนนี้ก็จะปรากฏเป็นชื่อ @Domain แบบเดียวกันกับชื่อผู้ส่ง แต่หากองค์กรใหนไม่ขึ้นในส่วนนี้ผู้รับสามารถแจ้งให้ต้นทางเพิ่มการรับรองนี้ได้ โดยต้นทางจะไปทำการเพิ่ม DKIM Record ในระบบอีเมลเพิ่มเติม Encryption data: ข้อนี้จะแจ้งให้ทราบว่าอีเมลฉบับนี้มีการเข้ารหัสข้อมูลมาหรือไม่ ซึ่งหากอีเมลไหนไม่ได้เข้ารหัสมาก็มีโอกาสสูงที่จะถูก Hack...

Continue reading

5 วิธีสร้างกลยุทธ์การขายแบบ Step-By-Step ง่าย ๆ แต่ผลลัพธ์ปัง

กว่าวิศวกรจะสร้างตึกให้มั่นคงได้ต้องมีแบบแปลนที่ดีเสียก่อนฉันท์ใด การจะสร้างยอดขายให้ประสบความสำเร็จได้ก็ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์การขายฉันท์นั้น ในบทความนี้ เราจะมาดูวิธีสร้างกลยุทธ์การขาย ให้คุณนำไปประยุกต์ทำเองได้จาก Zendesk กัน – กลยุทธ์การขายคืออะไร – กลยุทธ์การขาย (Sales Strategy) คือ การวางแผนที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อขายสินค้า ตลอดจนยอดขายที่ตั้งเป้าเอาไว้และรายละเอียดการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การมีกลยุทธ์การขายช่วยให้ฝ่ายขายมีกำหนดหมายงานที่ชัดเจน และมีวิสัยถึงสิ่งที่ตนต้องทำในระยะยาว ดังนั้นการสร้างกลยุทธ์การขายเองควรจะทำอย่างครอบคลุม มีการค้นคว้าอย่างถ่องแท้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เรามาดูวิธีสร้างกลยุทธ์การขายกัน 1. ระบุยอดเป้าหมาย หากจะขายสินค้าให้ได้ผลตอบรับดี ก่อนอื่นก็ต้องตั้งเป้าหมายให้มั่นคงเสียก่อน โดยเริ่มจากวิธีดังนี้ ประเมินสินทรัพย์ขององค์กรว่าจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรใดเพิ่มเติมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หรืออาจจะเป็นเครื่องมือต่าง ๆ อย่างซอฟต์แวร์ CRM ที่ช่วยบริหารจัดการ Sales Pipeline ให้ดีขึ้น ทำให้มั่นใจว่าทุกองค์ประกอบมีครบก่อนวางแผน ทบทวนข้อมูลประวัติการขายของลูกค้า ใช้ข้อมูลนี้ตั้งเป้าหมายที่อยู่ในขอบเขตที่จะทำได้ ใช้ S.M.A.R.T. โมเดลเข้าช่วยในการตั้งเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น “เพิ่มขนาดดีล 35%” หรือ “บรรลุยอดขาย 1 ล้านในปีนี้” เป็นต้น 2. สำรวจตลาดให้ดี การทำความเข้าใจเรื่องมูลค่าแบรนด์ในตลาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก หากไม่รู้ว่าแบรนด์ของคุณจะช่วยมอบคุณค่าใดให้กับผู้ซื้อได้บ้าง ก็เป็นการยากที่จะจูงใจลูกค้าให้ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ หนึ่งในวิธียอดนิยมที่มักใช้วิเคราะห์ตลาด ก็คือ SWOT Analysis SWOT Analysis ประกอบด้วยการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และภัยคุกคาม (Threats) ลองตั้งคำถามว่าสินค้าของคุณตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้จริง ๆ หรือไม่? Value Preposition ที่มีคืออะไร? อะไรที่เป็นอุปสรรคทั้งภายนอกภายในที่อาจทำให้ล้มเหลว? การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมมากขึ้น และเป็นการทบทวนถึงโอกาสการขายให้ดีขึ้นกว่าเดิม 3. สร้าง Customer Personas เมื่อเข้าใจเรื่องตลาดเป้าหมายแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำก็คือทำความเข้าใจลูกค้าในอุดมคติที่จะซื้อสินค้าเรา ในที่นี้สามารถทำได้โดยการสร้าง Buyer Persona เริ่มจากการแบ่งกลุ่มเป็น segment ต่าง ๆ และใส่ข้อมูลเพิ่มเติมไปในหัวข้อดังนี้ จำลองชื่อและตำแหน่ง เช่น “Dana Matthews, CPA” จำลองว่าอยู่อุตสาหกรรมไหน...

Continue reading