Customer Centric ค่านิยมหลักในการทำธุรกิจ แต่ต้องทำอย่างไรถึงจะเป็นจริงได้?

Customer Centric ช่วยเพิ่มความภักดีในแบรนด์ของลูกค้าและโอกาสในการซื้อซ้ำ Customer Centric เพิ่มโอกาสในการที่ลูกค้าจะนำแบรนด์ไป ‘บอกต่อ’  Customer Centric ช่วยให้แม้จะเกิดเหตุที่ลูกค้าไม่พอใจ ก็สามารถหาแนวทางที่จะช่วยบรรเทาหรือสร้างความรู้สึกที่ดีกลับคืนมาได้ จากผลการศึกษาพบว่าองค์กรที่ให้ความสำคัญในด้านนี้มีผลประกอบการณ์ดีกว่าองค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญกับลูกค้าถึง 60% แม้จะเป็นที่รู้จักมานานแต่ Customer Centric ก็ยังไม่ ‘เชย’ และเป็นความจริงที่องค์กรใหญ่ต่าง ๆ ทั้ง Amazon Netflix Mcdonald’s ก็ล้วนใช้กลยุทธ์ Customer Centric เช่นกัน มีเหตุผลรองรับหลายอย่างที่พิสูจน์ว่าการทำธุรกิจโดยยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางหรือ Customer Centric เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในยุคนี้ ถึงอย่างนั้นเรื่องของการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าหรือนำเรื่อง Customer Centric มาแทรกเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมขององค์กรก็ดูเป็นแนวทางสวยหรูที่ปฏิบัติให้ได้ผลลัพธ์จริงยากกว่าที่คิด เหตุใดเราถึงต้องทุ่มเทขนาดนั้น เราต้องยึดลูกค้าเป็นพระเจ้าหรือ? ผิดแล้ว ลูกค้าไม่ใช่พระเจ้า พนักงานเองก็ไม่ใช่คนที่ต้องยอมตามใจลูกค้าเสียทุกอย่างเช่นกัน แต่ลูกค้าเป็นเหมือนคน ๆ หนึ่งที่หากเปรียบตัวคุณเองเป็นธุรกิจ ลูกค้าก็คือเป้าหมายที่คุณต้องการจะจีบให้ติด คำถามต่อไปที่ต้องคิดคือ ทำอย่างไรถึงจะได้ใจลูกค้ามาครอง ดังนั้นหากเรามองลึกลงไป เราก็จะวกกลับมาที่พื้นฐานของการเข้าหาใครสักคน ก็คือทำความรู้จัก ดูว่าเป้าหมายของเราคือใคร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เหมือนกับการทำ Persona ของธุรกิจ สมมติคุณสั่งข้าวผัด ทว่าคนที่คุณจีบไม่ชอบกินมะเขือเทศ ในครั้งต่อไปเมื่อมาทานข้าวด้วยกันอีกคุณจึงสั่งข้าวผัดแบบไม่ใส่มะเขือเทศ การกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกได้รับความใส่ใจ นี่เองก็ถือเป็น Customer Centric แล้ว หากกล่าวโดยสรุปเราจะหาแนวทางในการทำกลยุทธ์ Customer Centric ได้ดังนี้ 9 วิธีเปลี่ยนองค์กรให้เป็น Customer Centric มากขึ้น สร้างวัฒนกรรมองค์กรให้ใส่ใจลูกค้า หยุดที่จะทำงานแบบไซโล ให้ความสำคัญเรื่องการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล รับฟัง Feedback ของลูกค้าอยู่เสมอ ติดตามและวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า AI และ Automation เป็นเครื่องมือช่วยลดภาระงานชั้นเยี่ยม สร้างภาพจำที่ดีต่อแบรนด์ ให้ลูกค้ารับรู้ว่าคุณใส่ใจพวกเขา Omnichannel ให้ลูกค้าเข้าถึงแบรนด์ในช่องทางที่ลูกค้าต้องการ สำคัญกว่าอื่นใดทั้งหมด มุ่งเน้นไปที่การสร้างความเชื่อมั่น จาก 9 ข้อนี้ หากจะสรุปว่าการสร้างประสบการณ์ลูกค้าหรือทำ Customer...

Continue reading

Paperless สร้างระบบไร้กระดาษอย่างยั่งยืนด้วย Google Workspace

Paperless สร้างระบบไร้กระดาษอย่างยั่งยืนด้วย Google Workspace Google Workspace พื้นที่การทำงานร่วมกันแบบ Real-time ที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นพื้นที่แห่งอนาคตที่ไม่ว่าคุณและเพื่อนร่วมงานของคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานร่วมกันได้ทันทีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ช่วยให้คุณประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากร หากคุณกำลังสงสัยว่า Google Workspace ช่วยให้คุณสามารถทำงานแบบไร้กระดาษ (Paperless) ได้อย่างไร และ Google Workspace ตอบโจทย์ในการเป็นเครื่องมือเพื่อการทำงานแห่งอนาคตได้อย่างไรนั้น มาดูกันเลย! เปลี่ยนแบบสำรวจหรือแบบสอบถามจากกระดาษสู่ฟอร์มออนไลน์ การสร้างแบบฟอร์มออนไลน์ช่วยประหยัดกระดาษและเวลาในการเก็บและตรวจแบบสอบถามได้อย่างมาก คุณสามารถสร้างแบบฟอร์มได้ในเวลาไม่กี่นาที ไม่ว่าจะเป็นแบบสำรวจความต้องการ, แบบฟอร์มอาสาสมัคร, และอื่นๆ ซึ่งคุณสามารถตั้งค่ารับการแจ้งเตือนเมื่อมีคนส่งแบบฟอร์มใหม่เข้ามาผ่านทางอีเมลด้วย Gmail  ได้อีกด้วย ผลลัพธ์จะอยู่ในรูปแบบข้อมูลสรุปและแผนภูมิโดยอัตโนมัติ เพื่อให้คุณสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้ในทันที ติดตามรายละเอียดก่อนการประชุมผ่านทางออนไลน์ ใช้ปฏิทิน (Calendar) สร้างปฏิทินของสมาชิกในทีมเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและอัปเดตได้ทันทีเมื่อมีการประชุมใหม่หรือการเปลี่ยนแปลงกำหนดการเวลาในการประชุม ซึ่งคุณและสมาชิกในทีมสามารถนำข้อมูลรายละเอียดสำหรับการประชุมใส่ไว้ในกำหนดการนั้นๆในปฏิทิน เพื่อให้ทุกคนสามารถอัปเดตและทำความเข้าใจกับข้อมูลรายละเอียดการดำเนินงานก่อนเข้าร่วมการประชุมได้ สร้าง จัดเก็บ และแชร์ข้อมูลออนไลน์แทนการพรินต์กระดาษ การจัดเก็บใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารที่เป็นกระดาษอาจทำให้ข้อมูลสูญหายได้ง่าย แต่ไดรฟ์ (Drive) จะทำให้การทำงานร่วมกันกับทีมและพาร์ทเนอร์เป็นเรื่องง่ายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เมื่อคุณทำการจัดเก็บไฟล์ต่างๆบนไดรฟ์แล้ว ระบบจะซิงค์และจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์โดยอัตโนมัติ หากคุณต้องการให้ผู้อื่นเข้าถึงไฟล์ของคุณ คุณสามารถทำได้ง่ายๆเพียงเปิดฟีเจอร์การแชร์และเลือกแชร์ให้กับคนที่คุณต้องการได้ในทันที ประหยัดกระดาษเมื่องานของคุณมีเอกสารแบบร่างหลายฉบับ เป็นเรื่องปกติสำหรับการทำงานที่คุณจะมีข้อมูลอยู่มากมายกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง มีแบบร่างหลายฉบับกว่าโครงการของคุณจะได้รับการอนุมัติ การเก็บแบบร่างไว้ทั้งหมดเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการทำงานในอนาคตอาจเป็นเรื่องยากทั้งในเรื่องการจัดเก็บและการค้นหา แต่ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากคุณใช้เอกสาร (Docs), ชีต (Sheets), หรือสไลด์ (Slides) ระบบเหล่านี้จะบันทึกและเก็บฉบับร่างทั้งหมดไว้ในไฟล์เดียวกันโดยอัตโนมัติ หากต้องการใช้ข้อมูลเดิมเพียงแค่เปิดประวัติการแก้ไขและกดเปลี่ยนไปใช้เวอร์ชันก่อนหน้าได้ทันทีที่คุณต้องการ แชร์ข้อมูลและทรัพยากรด้วยเว็บไซต์ภายใน การเก็บรวบรวมทรัพยากรข้อมูลทั้งหมดขององค์กรเพื่อนำมาอ้างอิงในการจัดโครงการใหม่อาจใช้เวลาในการรวบรวมมากโดยเฉพาะเมื่อองค์กรของคุณมีขนาดใหญ่ และมีข้อมูลจากหลายสาขา การเก็บข้อมูลทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียวกันด้วย Sites เฉพาะภายในองค์กร ทำให้สมาชิกในองค์กรของคุณที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็สามารถเข้าถึงและค้นหาข้อมูลทรัพยากรล่าสุดขององค์กรได้ทันที ฝึกอบรมพนักงานใหม่ได้ทุกที่ทุกเวลา คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายเรื่องของสถานที่และเอกสารประกอบการฝึกอบรมพนักงานใหม่ได้อย่างมาก เพียงแค่ใช้ Google Meet คุณก็จะสามารถจัดการฝึกอบรมพนักงานใหม่ผ่านทางออนไลน์ได้พร้อมกันทั่วโลก แม้ว่าคุณและพนักงานของคุณจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เดียวกันก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้พนักงานของคุณประหยัดเวลาและค่าเดินทางได้ จากนั้นใช้ Sites เพื่อสร้างหน้าเว็บไซต์เพื่อแชร์เอกสารประกอบการฝึกอบรมให้พนักงานได้ทำการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกอบรม ระบบการทำงานแบบไร้กระดาษเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆเหตุผลที่ทำไมคุณถึงต้องลองใช้ Google Workspace กับการทำงานในองค์กรของคุณ เพราะนอกจากจะช่วยให้การทำงานของคุณสะดวกขึ้นแล้วยังช่วยให้องค์กรของคุณขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย เปลี่ยนการทำงานร่วมกันที่แสนยุ่งยากให้ง่ายขึ้นด้วย Google Workspace นำองค์กรของคุณก้าวสู่อนาคตไปกับ ดีมีเตอร์ ไอซีที อัปเกรดแพ็กเกจหรือสมัครแพ็กเกจเพื่อรับบริการจาก Google Workspace กับ ดีมีเตอร์ ไอซีที พันธมิตรระดับ Google Premier...

Continue reading
What to prepare for Hybrid Working

Checklist 5 สิ่งต้องมีก่อนปรับใช้ Hybrid Working ในบริษัท

ณ ตอนนี้จะไม่พูดถึงคงไม่ได้กับการทำงานแบบ Hybrid Working การทำงานที่ออฟฟิศและที่บ้านสลับกันไป เนื่องจากสถานการณ์โควิดในปัจจุบันทำให้พนักงานไม่สามารถไปทำงานที่ออฟฟิศได้แบบ 100% จึงเกิดเป็นเทรนด์การทำงานแบบใหม่นี้ขึ้นเรียกว่า การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid Working) ซึ่งในปัจจุบันหลายบริษัทได้นำการทำงานแบบ Hybrid Working นี้มาปรับใช้กันไม่น้อยเพราะวิธีนี้ถือเป็นหนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถานการณ์โควิดนี้ได้ มาดูไปพร้อมกันเลยว่าหากคุณต้องการปรับเปลี่ยนบริษัทให้เข้าสู่ Hybrid Working คุณจำเป็นจะต้องมีอะไรบ้าง? 1. มีซอฟต์แวร์ที่ช่วยตอบโจทย์ในการทำงาน – Google Workspace เมื่อโควิดไม่ดีขึ้นสักที เราก็ต้องปรับวิถีการทำงานโดยการสลับไปทำงานที่ออฟฟิศบ้าง ทำงานที่บ้านบ้างเพื่อช่วยกันลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อนี้ ดังนั้นการมีซอฟต์แวร์ เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่ดีจะช่วยให้การทำงานของคุณง่ายขึ้น ใช้งานสะดวก และไม่ส่งผลกระทบต่องานหากคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนสถานที่ทำงานบ่อย ๆ Google Workspace เครื่องมือที่ Demeter ICT กำลังใช้งานอยู่นั้นถือว่าตอบโจทย์มาก ๆ เพราะเป็นการทำงานร่วมกันบนโลกออนไลน์แบบ Real time collaboration และยังมีหลากหลายฟังก์ชันให้คุณได้เลือกใช้ได้ตามความต้องการของแต่ละแผนก ไม่ว่าจะทีมไหนก็สามารถนำเครื่องมือจาก Google Workspace มาใช้ทำงานได้อย่างราบรื่น มีแอปพลิเคชันและฟังก์ชันเด็ด ๆ อะไรบ้าง? คลิกเลย! 2. จัดสรรจำนวนพนักงานให้เหมาะสม จำนวนพนักงานถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่แอบสร้างปัญหาให้บริษัทอยู่บ่อยครั้งเพราะโควิดเป็นเหตุให้หลายบริษัทจำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง ทำให้งาน Overload ในบางตำแหน่งก่อเกิดความไม่พอใจและทำให้ประสิทธิผลของงานออกมาได้ไม่เต็มที่นัก ดังนั้นบริษัทควรมีการจัดสรรพนักงานที่ดีเพื่อเป็นการช่วยเหลือพนักงานเองและเพื่อรักษา Productivity ของบริษัทให้อยู่ในระดับที่ดีอยู่เสมอ 3. มีมาตรการควบคุมความปลอดภัยและดูแลความสะอาด การดูแลรักษาความสะอาดโดยเฉพาะในยุคโควิดเช่นนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก บริษัทต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเช่น มีการเตรียมเจลแอลกอฮอล์ให้พนักงานในบางจุด ไม่อนุญาตให้พนักงานถอดหน้ากากอนามัยหากไม่จำเป็น และไม่ควรให้พนักงานรับประทานอาหารหรือขนมขบเคี้ยวขณะทำงาน เป็นต้น 4. จัดโต๊ะทำงาน/ ที่นั่งแบบ Social distancing ไม่ว่าจำนวนพนักงานจะเท่าใด เพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือลดลง ก็ควรนั่งทำงานกันแบบเว้นระยะ (Social distancing) การขยายออฟฟิศคงไม่ใช่คำตอบที่ดีสักเท่าไหร่เพราะมีแต่จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเท่านั้น การจัดระยะการนั่งจึงถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อของโควิดได้ หากพนักงานนั่งห่างกันก็ทำให้เปอร์เซ็นการติดเชื้อมีน้อยลง จัดตารางให้พนักงานเข้าออฟฟิศไม่ตรงกันและนั่งแยกกัน แค่นี้ก็สามารถทำงานแบบ Hybrid working ได้อย่างสะดวกมากขึ้นแล้ว 5. จัดเตรียมอุปกรณ์สำนักงานแจกจ่ายให้พนักงาน บริษัทควรจัดเตรียมและแจกจ่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานให้กับพนักงานเพื่อที่พนักงานจะสามารถพกพาอุปกรณ์กลับไปทำงานที่บ้านได้อย่างสะดวก เช่น แล็ปท๊อปและเมาส์ เพราะหากบริษัทไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ให้ ข้อมูลของบริษัทอาจปะปนกับข้อมูลส่วนตัวของพนักงานได้ อีกทั้งยังทำให้ข้อมูลบริษัทเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมได้ง่ายเนื่องจากอุปกรณ์ส่วนตัวไม่มีการควบคุมหรือระบบป้องกันที่ดีพอนั่นเอง จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่า...

Continue reading

3 เคล็ดลับ เพิ่มประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าสำหรับธุรกิจ B2C ในยุคดิจิทัล

“การเติบโตและการอยู่รอดสำหรับธุรกิจ B2C คือ เราต้องคาดการณ์ความคาดหวังและความต้องการของลูกค้าให้ได้ ในช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด” คิดว่าทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า B2C แต่ทุกท่านคงกำลังต้องการหาคำตอบหรือเคล็ดลับว่าเราจะเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าในยุคดิจิทัลได้อย่างไร? ก่อนอื่นต้องรู้ก่อนว่าในตอนนี้พฤติกรรมและความคาดหวังของลูกค้าได้เปลี่ยนไปแล้ว ในโลกของยุคดิจิทัลที่อะไรก็รวดเร็วไปซะหมด แค่เพียงไม่กี่คลิก ไม่กี่ขั้นตอนก็สามารถซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้และนั่นเองที่ทำให้ความคาดหวังของลูกค้าเปลี่ยนไป ด้วยความที่ธุรกิจ B2C (Business to Customer) ต้องเจอกับลูกค้าเป็นจำนวนมาก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยว่าลูกค้าที่เข้ามานั้นมีความคาดหวัง ความต้องการที่หลากหลาย ดังนั้นการที่ธุรกิจจะเติบโตและดำเนินต่อไปได้นั้น จะต้องเข้าใจความคาดหวัง ความต้องการพื้นฐานของลูกค้าและมองหาโซลูชันที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางจากธุรกิจของเรา เพราะถ้าหากธุรกิจไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าและมอบประสบการณ์ที่ดีให้ได้ ลูกค้าก็พร้อมที่จะย้ายไปหาคู่แข่งได้ทันที และที่แย่ที่สุดคือลูกค้านำไป รีวิว แชร์ หรือเล่าปากต่อปากให้เกิดความเสียหายต่อธุรกิจได้ ดังนั้น 3 เคล็ดลับ ต่อไปนี้ จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าของธุรกิจ B2C ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. พร้อมช่วยเหลือลูกค้าในขณะที่กำลังซื้อทันที จากผลสำรวจของ Cart Abandonment ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดสำหรับธุรกิจ B2C ในยุคดิจิทัล คือการที่ลูกค้าละทิ้งรถเข็นขณะที่กำลังช้อปปิ้งอยู่บนหน้าเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ และรถเข็นกว่า 88% จะถูกยกเลิกในเวลาต่อมา สาเหตุเกิดจากลูกค้ามักเกิดข้อสงสัย คำถาม หรือความลังเลในระหว่างการซื้อสินค้า เพราะฉะนั้นช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่สำคัญมาก การใช้ Live Chat จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจ B2C ในยุคดิจิทัล ที่จะช่วยซัพพอร์ตลูกค้าได้แบบเรียลไทม์ พร้อมทั้งเป็นการขายและสนับสนุนลูกค้าเชิงรุกเพื่อเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าตัดสินใจและปิดการขายได้เร็วขึ้น เพราะถ้าปัญหาหรือข้อสงสัยของลูกค้านั้นถูกยืดเวลาออกไป อาจจะทำให้ลูกค้าเลิกสนใจและยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าได้เช่นกัน Modsy ผู้ให้บริการด้านการตกแต่งภายในออนไลน์ ใช้ฟีเจอร์ Live Chat ของ Zendesk (Customer Service Software) เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับทีมนักออกแบบ ในขณะที่พวกเขากำลังดูว่าจะซื้อบริการแบบใด ช่วยกระตุ้น Conversion มากขึ้นและลดอัตราการยกเลิกของรถเข็นจากลูกค้าได้ 2. ให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะคำสั่งซื้อได้แบบเรียลไทม์และชัดเจน อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ธุรกิจแบบ B2C ดำเนินและเติบโตต่อไปได้ คือ การซื้อซ้ำ ไม่ใช่ว่าพอปิดการขายจากลูกค้าได้แล้วเราก็ไม่แยแสหรือว่าทิ้งเขาไว้กลางทางแบบนั้น เราต้องนึกว่าถ้าเราเป็นลูกค้าเอง สิ่งที่เราต้องการให้ธุรกิจบริการเรามีอะไรบ้าง? การติดตามสถานะการสั่งซื้อหรือดูข้อมูลประวัติการซื้อต่าง ๆ ได้แบบเรียลไทม์ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ลูกค้าคาดหวังและต้องการให้ธุรกิจนั้นมี เพราะจะให้ลูกค้ามาพิมพ์ถามทีมซัพพอร์ตลูกค้าตลอดก็คงจะไม่ดีเพราะจะทำให้เสียเวลาทั้งลูกค้าและทีมงานซัพพอร์ตอีกด้วย ลูกค้าที่ใช้งาน Zendesk หลาย ๆ ท่านที่เป็นธุรกิจแบบ...

Continue reading
Change gmail background

วิธีเปลี่ยนธีมภาพพื้นหลังใน Gmail เพิ่มสีสันในการทำงาน

เมื่อเราต้อง Work From Home กันไปอีกนาน มาหาวิธีแก้เบื่อกันเถอะ การเปลี่ยนภาพพื้นหลัง Gmail นั้นถือเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถลดความน่าเบื่อของงานลงได้ เปลี่ยนจากสีขาวธรรมดา ๆ เป็นภาพที่คุณชอบ สนุกกับลูกเล่นและฟีเจอร์ต่าง ๆ และสร้างสีสันในการทำงานให้ดีกว่าเดิม ต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย! Step 1: เปิดหน้า Gmail Step 2: คลิกที่ปุ่มตั้งค่า (Setting) รูปฟันเฟืองที่ด้านบนขวา Step 3: เลื่อนลงมาจะเห็นเมนู Theme กด View all เพื่อดูภาพทั้งหมดจาก Google  Step 4: หากคุณต้องการรูปเพิ่มเติมจาก Google ให้คลิกไปที่ More images หรือกดที่ My photos ที่ด้านล่างซ้ายของแท็บนั้น Step 5: เมื่อได้รูปที่ถูกใจแล้ว คุณสามารถปรับแต่งหน้า Gmail เพิ่มเติมได้ โดยฟีเจอร์นี้จะอยู่ตรงข้ามกับ My photos  ตัวอักษร A: คุณสามารถเลือกสีพื้นหลังข้อความ Gmail ได้ว่าต้องการให้เป็นโทนสว่าง (สีขาว) หรือโทนเข้ม (สีดำ) รูปวงกลม: คุณสามารถปรับระดับความเข้มของรูปที่คุณเลือกได้ เพื่อให้คุณเห็นข้อความได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รูปจุด: คุณสามารถเบลอภาพพื้นหลังได้หากไม่ต้องการให้เห็นรายละเอียดของรูป ขั้นตอนสุดท้ายกด SAVE เป็นอันเสร็จสิ้นการเปลี่ยนพื้นหลังใน Gmail ง่าย ๆ เพียงแค่ไม่กี่ขั้นตอน ลองเอาไปปรับใช้ดูกันได้เลย...

ใช้ Zendesk ดีอย่างไร? ส่องสิ่งที่หวังได้จากการใช้ Zendesk ในมุมมองของลูกค้า ผู้บริหารและพนักงาน

การจะเลือกเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งมาใช้ในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย กว่าจะนำมาซึ่งการตัดสินใจที่เด็ดขาดล้วนต้องเริ่มจากหาข้อมูลและพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่วันหรือยาวนานเป็นเดือน สำหรับซอฟต์แวร์อย่าง Zendesk เองก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น ดังนั้นในบทความนี้ เราจึงขอนำเสนอข้อมูลที่จะช่วยประกอบการพิจารณาถึงสิ่งที่คุณจะคาดหวังได้จากการใช้งาน Zendesk ใน 3 มุมมองด้วยกัน ทั้งมุมมองของลูกค้า มุมมองของพนักงาน และมุมมองของผู้มีอำนาจตัดสินใจอย่างผู้บริหาร ก่อนอื่น หากคุณยังไม่รู้จักหรือสงสัยว่า Zendesk คืออะไร คุณสามารถอ่านบทความเพื่อทำความรู้จัก Zendesk เพิ่มเติมได้ ที่นี่ ทว่าหากคุณรู้จัก Zendesk อยู่ก่อนแล้ว เราก็มาเริ่มดูประโยชน์ใน 3 มุมมองนี้ของ Zendesk กันเลย มุมมองของลูกค้า: Zendesk ดีต่อลูกค้าอย่างไร? 1. Zendesk ช่วยให้ลูกค้าได้รับบริการที่รวดเร็ว ไม่ต้องเล่าปัญหาซ้ำ ๆ และสัมผัสได้ถึงความใส่ใจ จากการสำรวจ Pain Points ของลูกค้า พบว่า สิ่งที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์แย่มากที่สุดคือใช้เวลารอการตอบกลับจากเจ้าหน้าที่นานและต้องเล่าปัญหาซ้ำ ๆ อีกทั้งลูกค้าเกินกว่า 80% ก็พร้อมจะเปลี่ยนไปใช้แบรนด์คู่แข่งทันทีหากได้รับประสบการณ์ย่ำแย่แม้เพียงครั้งเดียว Zendesk เป็นซอฟต์แวร์ช่วยส่งเสริมด้านการบริการลูกค้าแบบ Omnichannel มีลักษณะการทำงานเป็นใบสั่งหรือ Ticket ซึ่งหมายความว่าไม่ว่าลูกค้าจะเข้ามาติดต่อกับพนักงานจากช่องทางไหน พนักงานจะสามารถมองเห็นทุกปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในหน้าจอเดียว และทุกการโต้ตอบจะถูกนับเป็น Ticket ทั้งหมด ด้วยระบบนี้ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเสียเวลารอการตอบกลับจากช่องทางใดช่องทางหนึ่งนาน ด้านพนักงานเองเมื่อเข้าไปยัง Ticket นั้น ๆ ก็จะเห็นข้อมูลและปัญหาของลูกค้า ทั้งยังสามารถย้อนดู Ticket ว่าลูกค้าคนนี้เคยส่งข้อความหรือเคยมีปัญหาติดขัดด้านใดมาก่อนบ้างเพื่อนำมาปรับและสร้างประสบการณ์แบบ Personalize ให้กับลูกค้าได้อีกด้วย – โดยเฉลี่ยแล้ว Zendesk ช่วยให้ลูกค้าได้รับการตอบกลับที่เร็วขึ้นถึง 70% – 95% ของลูกค้ายอมใช้จ่ายมากขึ้นกับบริษัทให้แน่ใจว่าตนจะไม่ต้องเล่าปัญหาซ้ำ ๆ (Zendesk CX Trends 2022) – และ 94% ของลูกค้าที่ยอมใช้จ่ายมากขึ้นเช่นกันกับบริษัทที่ให้การบริการลูกค้าแบบเฉพาะบุคคล (Zendesk CX Trends 2022) 2. Zendesk ให้อำนาจลูกค้าในการหาคำตอบด้วยตนเอง เรื่องของ Self-service หรือการบริการตนเองเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง เราจึงได้เห็นหลายแบรนด์ที่พยายามปรับปรุงหน้าเว็บให้มีข้อมูลครบถ้วนมากที่สุด...

Continue reading
work from home with Google Workspace

How To Work From Home เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วย Google Workspace

เนื่องจากสถานการณ์โควิดในปัจจุบันยังไม่ดีขึ้นเท่าไรนัก จึงเป็นเหตุให้หลาย ๆ บริษัทยังคงใช้นโยบาย Work From Home กันอยู่เช่นเดิม ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จึงอยากจะแชร์การนำ Google Workspace มาปรับใช้กับการทำงานในองค์กรฉบับ Work From Home อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีที่กำลังจะนำเสนอนี้เราได้ลองใช้กับบริษัทและพนักงานในองค์กรเองและเห็นว่า Google Workspace สามารถช่วยให้พนักงานทำงานได้อย่างชาญฉลาดและช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้นจริง ลดขั้นตอนการทำงานและประหยัดเวลามากขึ้นอีกด้วย  เพื่อให้ทุกท่านเข้าใจและเห็นภาพการใช้งาน Google Workspace ในช่วง Work From Home (WFH) ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น DMIT จะขอนำเสนอเรื่องราวเป็น 1 วันในการทำงานแบบ WFH เพื่อที่ท่านจะได้เห็นว่าแต่ละแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ต่าง ๆ สามารถ Support การใช้งานตรงไหนและอย่างไรได้บ้าง ช่วงเช้า ตอกบัตรเข้างานหรือเช็กชื่อออนไลน์ด้วย Google FormsGoogle Forms แอปที่ไม่ได้มีดีแค่การสร้างแบบสอบถามออนไลน์เท่านั้น แต่แอปนี้แหละจะช่วยให้ท่านสามารถเช็กชื่อพนักงาน ณ เวลาเริ่มงานได้ โดยที่พนักงานทุกคนจะต้องทำการกรอกข้อมูลลงในฟอร์มที่ท่านสร้างเพื่อเป็นการยืนยันเวลาเข้างานตามที่บริษัทกำหนด ส่วนรายชื่อพนักงานที่กรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วท่านสามารถดูข้อมูลได้ในช่อง Response ที่อยู่ใน Google Forms หรือจะดาวน์โหลดลง Google Sheets ก็ได้เช่นกัน และสำหรับใครที่ยังไม่เคยใช้สามารถคลิกที่ 5 STEPs มือใหม่หัดใช้ Google Forms ได้เลย DMIT รับประกันว่าสร้างง่าย ใช้เป็นภายในไม่กี่นาทีแน่นอน เช็ก Gmailหลังจากตอกบัตรออนไลน์เรียบร้อยแล้ว ท่านก็ต้องเช็ก Gmail เป็นอย่างแรกว่ามีงานอะไรเข้ามาบ้าง ลูกค้าส่งอีเมลมาหรือไม่ เมื่อเช็กเสร็จหากท่านมีสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อจากอีเมลนั้น ท่านสามารถเลือกตั้งแจ้งเตือนที่จดหมายฉบับนั้นได้ (กด Select> Snooze) เพื่อให้อีเมลนั้นถูกส่งเข้ามาใหม่อีกครั้งหนึ่งในเวลาที่ท่านต้องการ เรียกว่าเป็นการเตือนความจำอีกแบบหนึ่งนั่นเอง หรืออีกวิธีหนึ่งคือท่านสามารถกดไปที่ Task แล้วอีเมลฉบับนั้นจะถูกบันทึกลงปฏิทิน Google Calendar โดยทันที ท่านสามารถใส่รายละเอียด วันที่ เวลา และตั้งชื่อหัวข้องานได้ในนี้ จดบันทึกงานและสร้าง Check box เช็กงานที่ต้องทำด้วย...

Continue reading

เลือกไม่ถูกจะแนวตั้งหรือแนวนอน ก็ใช้ทั้ง 2 แบบเลยสิ! กับ Google Docs

เลือกไม่ถูกจะแนวตั้งหรือแนวนอน ก็ใช้ทั้ง 2 แบบเลยสิ! กับ Google Docs วันนี้ ดีมีเตอร์ ไอซีที จะพาคุณมารู้จักกับฟีเจอร์ที่หลายๆคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีฟีเจอร์นี้ใน Google Docs โดยความน่าสนใจอยู่ตรงที่ฟีเจอร์นี้จะทำให้คุณสามารถเปลี่ยนการวางแนวของหน้ากระดาษแบบเฉพาะส่วนตามที่ต้องการได้แล้ว จากเดิมที่ต้องเลือกใช้เอกสารรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในไฟล์เอกสารเดียวกัน เลือกแนวตั้งก็ต้องแนวตั้งไปตลอด หากต้องการใช้แบบแนวนอนก็ต้องไปสร้างเอกสารใหม่อีกให้ยุ่งยาก แต่ตอนนี้คุณสามารถเลือกวางแนวหน้ากระดาษได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนในไฟล์เดียวกันได้แล้ว! วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณมีที่ว่างสำหรับเนื้อหาที่ขนาดกว้างเช่น ตาราง, แผนภูมิ, ไดอะแกรม, และรูปภาพ นอกจากนี้คุณยังสามารถแก้ไข นำเข้า และส่งออกเอกสารร่วมกับไฟล์จาก Microsoft Word ที่มีทั้งหน้าแนวตั้งและแนวนอนได้อีกด้วย วิธีการเปลี่ยนการวางแนวหน้ากระดาษ วิธีที่ 1 ไฮไลต์ข้อความหรือรูปภาพที่คุณต้องการเปลี่ยนการวางหน้ากระดาษ > คลิกขวาที่ข้อความหรือรูปภาพ > เลือกเปลี่ยนหน้ากระดาษเป็นแนวนอน (landscape) หรือเปลี่ยนหน้ากระดาษเป็นแนวตั้ง (portrait)  วิธีที่ 2 ไปที่แทรก (Insert) > การแบ่ง (Break) > ตัวแบ่งส่วน (Section break) วิธีที่ 3 ไปที่ไฟล์ (File) > การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page setup) วิธีที่ 4 ไปที่รูปแบบ (Format) > การวางแนวของหน้า (Page orientation) เคล็ดลับ หากต้องการแสดงตัวแบ่งส่วนในเอกสาร ให้คลิกดู (View)แสดงตัวแบ่งส่วน (Show section breaks) หากต้องการแสดงโครงร่างหน้ากระดาษ ให้คลิกดู (View)รูปแบบการพิมพ์ (Print layout) คุณยังสามารถเปลี่ยนการวางแนวสําหรับทั้งเอกสารได้อีกด้วย โดยคลิกไฟล์ (File)การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page setup) ใช้กับ: ทั้งเอกสาร (Whole document) เพียงเท่านี้คุณก็สามารถจัดการข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบในงานเอกสารได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะ Google Workspace คือพื้นที่การทำงานร่วมกันแบบ Real-time ที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นพื้นที่แห่งอนาคตที่ไม่ว่าคุณและเพื่อนร่วมงานของคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานร่วมกันได้ทันทีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สอบถามและสมัครแพ็กเกจเพื่อรับบริการจาก Google Workspace กับ...

Continue reading

Omada Health ใช้ Zendesk รวมช่องทางการเข้าถึงให้คนไข้ได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม

รู้หรือไม่? Zendesk สามารถใช้กับอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพได้ด้วยนะ อย่างที่ทราบกันดีว่าเทียบกับประเทศไทยแล้ว ค่ารักษาสุขภาพของประเทศอื่นโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกานับว่ามีราคาสูงลิ่ว หากเปรียบเทียบโดยตั้งคำถามง่าย ๆ ว่าถ้าคุณป่วยติดโควิดที่อเมริกาจนต้องแอดมิทในโรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ คำตอบก็คือประมาณสี่หมื่นถึงเจ็ดหมื่นเหรียญ หรือก็คือประมาณหนึ่งล้านสามแสนบาท เรียกได้ว่าเยอะจนหมดตัวได้เลยทีเดียว ถ้าอย่างนั้นก่อนที่จะมีโควิดล่ะ? ย้อนกลับไปในช่วงปี 2018 สหรัฐอเมริกาก็ยังคงเป็นประเทศที่ประชากรใช้จ่ายด้านสาธารณสุขมากที่สุดในโลก สามารถวัดได้ประมาณ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 11,000 ดอลลาร์ (ประมาณสามแสนหกหมื่นบาท) ต่อคน สาเหตุสำคัญก็คือโรคหัวใจและโรคเบาหวาน ถึงอย่างนั้นสำหรับผู้ป่วย การจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นความเคยชินก็ยังคงเป็นเรื่องยากยิ่ง และเพราะแบบนั้น Omada Health จึงเลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้ป่วยที่ต่างออกไป Omada Health ผู้ให้บริการการดูแลคนไข้ในรูปแบบเสมือนจริงที่มีผู้ใช้งานกว่า 500,000 ราย ได้ออกโปรแกรมโรคหัวใจและโรคเบาหวาน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวกับไลฟ์สไตล์ที่ใส่ใจสุขภาพได้มากขึ้นผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือหรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีที่ปรึกษาคอยดูแลอย่างใกล้ชิด แน่นอนว่า Mission ของ Omada Health ที่จะพิชิตโรคนั้นชัดเจนมาก ทว่าเรื่องของการบริการลูกค้ากลับยังเป็นอะไรที่ท้าทาย ยิ่งบริษัทเติบโตมากขึ้น ซอฟต์แวร์เดิมที่ Omada Health ใช้ก็เริ่มส่งสัญญาณที่ไม่ตอบโจทย์นัก ระบบเสียงที่แย่ ตัวชี้วัดที่จำกัด และไม่สามารถผสานเข้ากับแพลตฟอร์มของ Omada Health เองได้ เป็นอุปสรรคของบริษัทที่อยากให้การบริการคนไข้เป็นไปอย่างราบรื่นไร้รอยต่อ แต่แล้วด้วยความสามารถในการ Tracking ของ Zendesk อย่างสายโทรศัพท์ที่วางไปแล้วหรือระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละ Ticket ทั้งยังสามารถจัดลำดับความสำคัญตามข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA; Service Level Agreement) ผลลัพธ์คือทีมของ Omada Health ยกระดับอัตราการโต้ตอบทางโทรศัพท์ได้มากถึง 95% และจากช่องทางทั้งหมด 85% อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังสามารถรับสายจากที่ไหนก็ได้ไม่จำกัดแค่ในออฟฟิศอีกต่อไป “ความสามารถเรื่องระบบโทรศัพท์ถือว่าใหญ่มาก ก่อนหน้านี้เราโฟกัสแค่เรื่องอัตราความพึงพอใจและคอยดูจากที่โน้ตไว้ใน Ticket ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ตอนนี้เราบันทึกการโทรแล้วฟังเองได้เลย” – Bill Dougherty, Vice President of IT and Security at Omada Health กล่าว อีกประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเป็นเรื่องของฟังก์ชันการสมัครสมาชิกที่ทำได้อย่างโปร่งใสมากขึ้นและมีประสิทธิภาพ...

Continue reading