สุดเจ๋ง Google Calendar ปักโลเคชันตอกบัตรว่าทำงานอยู่ที่ไหนได้แล้ว

สิ้นเดือนสิงหาคม ปี 2564 นี้ ใน Google Calendar จะสามารถเพิ่มตัวเลือกให้ผู้ใช้งานระบุตำแหน่งที่ทำงานในแต่ละวันได้ ซึ่งบุคคลภายในองค์กรหรือทีมจะสามารถดูและวางแผนการทำงานร่วมกันได้สะดวกมากขึ้น เรียกได้ว่า ฟีเจอร์ใหม่นี้สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ต่อการทำงานแบบ Work from Home และการทำงานในอนาคตที่เป็นแบบไฮบริดสลับทำงานที่บ้านและออฟฟิศ ซึ่งตอบโจทย์อีกหลายองค์กรที่สามารถติดตามชั่วโมงการทำงานของพนักงานได้อีกด้วย โดยฟีเจอร์นี้จะสามารถระบุได้ว่าวันนี้เราทำงานอยู่ที่ใด เช่น บ้าน ออฟฟิศ หรือเลือกปักโลเคชันอื่น ๆ ได้ วิธีการตั้งค่าง่าย ๆ เข้าไปที่ Google Calendar คลิกการตั้งค่าหรือไอคอนฟันเฟือง จากนั้นคลิกการตั้งค่า (Setting) เลือกหัวข้อชั่วโมงการทำงานและตำแหน่งที่อยู่ (Working Hours &  Location) จากนั้นตั้งค่าตามวันและเวลาที่เข้างาน และเลือกโลเคชันระบุว่าทำงานอยู่ไหน เช่น ที่บ้าน เสร็จสิ้น  แพ็กเกจที่สามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ : Google Workspace Business Standard, Business Plus, Enterprise Standard, Enterprise Plus, Education Plus, Nonprofits และ G Suite Business Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจและราคา Google Workspace 02 030 0066...

7 เหตุผล ทำไมธุรกิจควรใช้ Chatbot ในการบริการลูกค้า

ทราบหรือไม่? จากแบบสำรวจพบว่า 61% ของลูกค้า พึงพอใจที่จะติดต่อกับเจ้าหน้าที่ทางอีเมล 44% ที่พอใจกับการให้บริการทางโทรศัพท์ และเป็นจำนวนถึง 73% ที่ชอบการบริการลูกค้าทางไลฟ์แชทมากที่สุด การติดตั้งไลฟ์แชทบนหน้าเว็บไซต์ในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่เท่าไหร่นัก ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าพฤติกรรมการติดต่อพูดคุยในสังคมหลายอย่างในวิถีชีวิตของเราต่างเอนเอียงไปในการส่งข้อความโต้ตอบกันมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายบริษัทจึงมักติดตั้งไลฟ์แชทเป็นช่องทางทางเลือกให้กับลูกค้าในการติดต่อเจ้าหน้าที่ ทว่าหากต้องการส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าทางไลฟ์แชทหรือคาดหวังการเติบโตของธุรกิจในระยะยาวล่ะก็ ไลฟ์แชทก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง และมันก็เป็นจุดนี้เองที่แชทบอท (Chatbot) ได้เข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมสำหรับการบริการลูกค้าทางแชท ในบทความนี้ เรามาดู 7 เหตุผลว่าทำไม? ถึงควรใช้แชทบอทเข้ามาช่วยในการบริการลูกค้ากัน 7 เหตุผลว่าทำไมธุรกิจถึงควรใช้ Chatbot ในการบริการลูกค้า 1. เจ้าหน้าที่ไม่ต้องเสียเวลาไปกับงานที่ซ้ำซ้อน แชทบอทช่วยตอบคำถามของลูกค้าที่ซ้ำซ้อนได้ ไม่ว่าจะเป็นสถานะการจัดส่งสินค้า ระเบียบการขอคืนเงิน หรือแม้แต่การเปลี่ยนพาสเวิร์ด ขึ้นอยู่กับระบบการทำงานและประเภทของธุรกิจขององค์กรนั้น ๆ ในด้านของเจ้าหน้าที่เองก็สามารถรับมือกับคำร้องที่ยุ่งยากกว่าได้ ระยะเวลาที่ลูกค้าจะต้องรอการตอบกลับของเจ้าหน้าที่ก็จะลดน้อยลงเช่นเดียวกัน 2. ผู้ช่วยอัจฉริยะที่ประมวลผลได้รวดเร็ว ในวันทำงานที่แสนวุ่นวาย นอกจากแชทบอทจะช่วยตอบกลับลูกค้าสำหรับปัญหาบางอย่างแทนเจ้าหน้าที่ได้แล้ว เจ้าหน้าที่เองก็สามารถใช้แชทบอทช่วยประมวลผลส่งข้อมูลที่ต้องการให้กับลูกค้าได้อีกด้วย ยกตัวอย่างหากลูกค้าต้องการข้อมูลไปศึกษาเพิ่มเติม เจ้าหน้าที่สามารถใช้แชทบอทวิเคราะห์บทสนทนากับลูกค้าและให้แชทบอทแนะนำบทความที่ลูกค้าต้องการส่งไปในแชทได้ 3. การบริการที่ทรงประสิทธิภาพมากขึ้น เทคโนโลยีเอไอของแชทบอทไม่ว่าจะเป็นแชทบอทของ Zendesk หรือ InGeniusAI เปรียบเสมือนผู้ช่วยอัจฉริยะ โดยจะสามารถประมวลผลข้อมูลของลูกค้าเชิงรุกไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมความชอบ ประวัติการซื้อหรือแม้แต่หน้าเพจที่รับชมและแอคชันต่าง ๆ ทำให้แบรนด์สามารถใช้แชทบอทส่งข้อความแจ้งเตือนหาลูกค้าได้ ข้อความที่ส่งอาจเป็นได้ทั้งการประกาศข่าวสารทั่วไป สินค้าลดราคา ข้อเสนอเกี่ยวกับสินค้าที่ลูกค้าสนใจที่จะช่วยปรับปรุง Customer Journey ของลูกค้าให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 4. มอบประสบการณ์ที่เฉพาะบุคคล แม้จะเป็นแชทบอทก็สร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าได้เช่นเดียวกัน เพียงแค่มีข้อมูลของลูกค้า แบรนด์ก็สามารถใช้แชทบอทสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสมได้ อย่างการส่งข้อความหาลูกค้าตามวันเกิด หรือแม้แต่การตอบคำถามที่อ้างอิงข้อมูลในระบบของลูกค้าที่ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกพิเศษ 5. ช่องทางแชทที่มีศักยภาพ ปัจจุบันแนวโน้มการใช้ช่องทางการส่งข้อความไม่ว่าจะเป็นไลฟ์แชทหรือช่องทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ต่างได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมาก ดังที่ระบุไว้ในรายงานของ Econsultancy ว่ามีลูกค้าถึง 73% ที่ชอบการบริการลูกค้าทางไลฟ์แชท แชทบอทจึงเป็นอีกตัวช่วยที่ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ลูกค้าในช่องทางที่ลูกค้าต้องการและให้ลูกค้าได้รับการบริการที่รวดเร็วขึ้นได้ 6. แชทบอทช่วยลดต้นทุนได้ แชทบอทช่วยให้ธุรกิจบริการลูกค้าอย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงโดยไม่หลับใหล ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อเข้ามาเวลาไหนก็ตามแม้ว่าจะอยู่นอกเหนือเวลาการทำงานของเจ้าหน้าที่ แชทบอทก็สามารถรับเรื่องแทนเจ้าหน้าที่ก่อนเบื้องต้นได้ และหากไม่ใช่การติดต่อที่ซับซ้อนถึงขั้นที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ล่ะก็ แชทบอทก็สามารถปิดคำร้องหรือแม้แต่ช่วยขายสินค้าด้วยตนเองได้เลยทีเดียว 7. ภาพลักษณ์แบรนด์มีความทันสมัย เช่นเดียวกับแนวโน้มการใช้ช่องทางส่งข้อความของลูกค้า การใช้แชทบอทเองก็กำลังมาแรงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จากรายงาน  Customer Experience Trend ของ...

Continue reading
google-calendar-helps-you-organize-your-life-schedule-perfectly

Google Calendar ตัวช่วยในการจัดตารางชีวิตของคุณให้ลงตัว

เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันวิถีชีวิตของคนเมืองเป็นไปด้วยความเร่งรีบ ต้องแข่งขันกับเวลาเสมอ การวางแผนเรื่องต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการตั้งเวลาออกจากออฟฟิศ การตั้งเป้าหมายว่าจะออกกำลังกายกี่ครั้งต่อสัปดาห์ การเพิ่มทักษะให้ตัวเอง พบปะกับครอบครัว และการสร้างกิจกรรมให้กับตัวเอง ซึ่งการวางแผนเหล่านี้จะช่วยทำให้การใช้ชีวิตในแต่ละวันง่ายขึ้น และ Google Calendar ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่น่าสนใจในการจัดตารางชีวิตของคุณให้ลงตัว ตอบโจทย์คนทำงานที่ต้องการวางแผนงานอย่างละเอียดในทุกขั้นตอนในแต่ละวัน โดยจุดเด่นของ Google Calendar หรือแอปพลิเคชันปฏิทินออนไลน์ ที่ไม่ได้เป็นแค่ปฏิทินออนไลน์ธรรมดา ๆ เท่านั้น เเต่มีความโดดเด่นตอบโจทย์สำหรับคนวัยทำงานที่มีตารางการประชุมและมีรายละเอียดการประชุมอัดแนนทุกสัปดาห์ ส่วนจะมีความโดดเด่นอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย หาเวลานัดหมายกับเพื่อนร่วมงานให้ตรงกัน คุณสามารถดูวัน หรือเวลาว่างของเพื่อนร่วมงานของคุณเพื่อจัดการตารางนัดหมายที่ว่างตรงกันด้วยการคลิก Find a time โดยสามารถใส่อีเมลของเพื่อนหลาย ๆ คนเพื่อตรวจสอบได้มากถึง 20 คน วางเเผนกำหนดเวลาประชุมได้อย่างรวดเร็ว หลังจากตรวจสอบเวลาว่างของคนในทีมเเล้ว เลือกวัน เวลาที่ว่างตรงกัน คลิกเลือกวันที่ต้องการใส่หัวข้อการประชุม หลังจากนั้นทำการ Invite คนในทีมพร้อมส่งอีเมลยืนยัน เเละหลังจากทีมที่รับเชิญได้กดรับคำเชิญเเล้ว รายละเอียดของกิจกรรมทั้งหมดจะถูกเพิ่มลงใน Calendar ของคุณอัตโนมัติ ปฏิทินออนไลน์แบบครบวงจรที่ออกแบบมาสำหรับทีม ใช้เวลากับการวางแผนให้น้อยลงเพื่อให้มีเวลาทำงานมากขึ้นด้วยปฏิทินที่ใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งจะผสานการทำงานร่วมกับ Gmail, Drive, Contacts, Sites และ Meet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้คุณทราบกำหนดการของงานที่ต้องทำถัดไปได้สะดวกยิ่งขึ้น ปฏิทินมีการแจ้งเตือนกิจกรรม โดยค่าเริ่มต้น Google Calendar จะแสดงการแจ้งเตือนแบบ Pop up 10 นาที ก่อนกิจกรรม โดยคุณสามารถเปลี่ยนเวลาการแจ้งเตือนภายในการตั้งค่าของ Google Calendar ได้สำหรับกิจกรรมทั้งหมด โดยคลิกการตั้งค่า (การตั้งที่ด้านขวาบน) ในส่วน “ทั่วไป” ทางด้านซ้าย ให้คลิกการตั้งค่าการแจ้งเตือน ในส่วน “การตั้งค่าการแจ้งเตือน” คุณจะดำเนินการต่าง ๆ ได้ดังนี้ เปิดหรือปิดการแจ้งเตือน: คลิกเมนูการแจ้งเตือนแบบเลื่อนลง แล้วเลือกวิธีรับการแจ้งเตือนที่ต้องการ ปรับระยะเวลาของการแจ้งเตือนที่มีการเลื่อน: เปิด “การแจ้งเตือนในเดสก์ท็อป” แล้วคลิกแสดงการแจ้งเตือนแบบเลื่อนได้จนกว่าจะถึงเวลาเริ่มและปรับเวลาตามต้องการ ใช้งานผ่านอุปกรณ์ที่หลากหลาย สามารถดูและแก้ไขข้อมูลกำหนดการใน Calendar ของคุณได้จากแท็บเล็ต แล็บท็อป หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งรองรับทั้งระบบ...

Continue reading

ส่องเทรนด์! พฤติกรรมผู้บริโภคปี 65 จากวิกฤติ COVID-19 ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร?

ผลการคาดการณ์ของธุรกิจธนาคารต่าง ๆ ที่ประเมินสถานการณ์โควิด-19 เอาไว้ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อจะเริ่มลดลงก็ในไตรมาสที่ 4 และในส่วนของธุรกิจเองก็คิดว่าจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวก็ในปี 65 ดังนั้นในระหว่างนี้แบรนด์ควรจะต้องมีวิธีปรับตัวอย่างไร? เพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและเป็นการสร้างโอกาสให้แบรนด์ของคุณไปอยู่ในใจของผู้บริโภคได้ ในช่วงที่ผู้บริโภคนั้นมีจิตใจที่ย่ำแย่และต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด ผลกระทบจากโควิด-19 ที่มีต่อผู้บริโภคมีอะไรบ้าง? สุขภาพจิตที่ย่ำแย่ลง เนื่องจากหลาย ๆ สถานการณ์ที่รุมเร้าไม่ใช่แค่เพียงโควิด-19 เท่านั้นแต่ยังมีปัญหาด้านเศรษฐกิจที่แย่ไม่แพ้กัน ทำให้เกิดภาวะเครียดตามมา จึงเกิดการชอปปิงบำบัดออนไลน์ขึ้นมาแทน ผู้บริโภคเริ่มเซนซิทีฟกับเรื่องราคามากขึ้นเพราะผู้บริโภคมีรายได้ที่ลดลง ออมเงินกันมากขึ้น ความมั่นใจต่อภาครัฐส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคเช่นกัน ผู้บริโภคไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เพราะไม่สามารถคาดเดาว่ารัฐจะจัดการกับสถานการณ์นี้ได้เมื่อไหร่ เทรนด์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปเมื่อเกิดโควิด-19 การบริโภคสินค้าบนช่องทาง Digital, การ Work from home, Live Online, Webinar โดยในตอนแรกอาจจะยังเป็นสถานการณ์ที่หลาย ๆ บริษัทอาจจะยังไม่คุ้นชิน แต่ตอนนี้ระยะเวลาผ่านมาเกือบ 2 ปีทำให้มันกลายเป็น Permanent Shift คือ การเปลี่ยนแปลงแบบถาวร  ความต้องการบริโภคสินค้าบนช่องทางออนไลน์มากขึ้น แต่ต้องบอกก่อนว่าจำนวนผู้บริโภคบนช่องทางออนไลน์มีจำนวนมากขึ้นเป็นปกติอยู่แล้ว และเน้นไปที่ Functional เป็นหลัก แต่เทรนด์ที่เพิ่มเข้ามาในช่วงโควิด-19 คือความต้องการทางด้าน Emotional หรือที่หลาย ๆ คนเรียกว่า ชอปปิงบำบัด Active in Social & Sustain ผู้บริโภคมี Mindset ในแง่ของสังคม วัฒนธรรมต่อแบรนด์ที่เปลี่ยนไป เช่น ความยั่งยืนในสิ่งแวดล้อม ภาพลักษณ์ของแบรนด์ทางสังคม และเรื่องที่ Sensitive ที่สุดของประเทศไทยคือเรื่องของการเมือง ทำให้แบรนด์ต้องคำนึงถึงเรื่องพวกนี้ให้มากขึ้นและเตรียมรับมือกับ Crisis Management ตลอดเวลา 8C ที่ธุรกิจต้องคำนึงถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป Connectivity การเข้าถึงผู้บริโภคในทุก ๆ Touchpoint ไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ให้เชื่อมต่อถึงผู้บริโภค Conversation การสนทนาที่เพิ่มรูปแบบมากขึ้น ไม่ใช่แค่การสนทนาเพื่อขายของเพียงเท่านั้น แต่ต้องรับฟังปัญหาของผู้บริโภคให้มากขึ้น Compassion ความเห็นอกเห็นใจผู้บริโภคว่าต้องเจอกับอะไรในตอนนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าให้จดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้เลย Consciousness การตระหนักรู้จิตใจของผู้บริโภค ธุรกิจสามารถช่วยแก้ปัญหาอะไรของคุณได้บ้าง จากเดิมที่เน้น Functional แต่มาเพิ่ม Emotional เข้าไปด้วย ซึ่งถ้าธุรกิจทำได้แบรนด์ของเราจะไปอยู่ในใจของลูกค้าอย่างแน่นอน...

Continue reading
google-chat

Google Chat เครื่องมือสื่อสารทรงพลัง ตอบโจทย์การทำงานร่วมกันภายในองค์กร

ในปัจจุบันการทำงานเเบบ Online Working ในเรื่องของการสื่อสารร่วมกันถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การทำงานในเเต่ละโปรเจกต์มีความคล่องตัวเเละราบรื่นมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคุณจะทำงานในแผนกไหนขององค์กรต่างก็ต้องใช้เครื่องมือสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา เเต่การจะสื่อสารอย่างไรให้มีประสิทธิภาพเเละช่วยเสริมให้ชีวิตประจำวันของการทำงานมีความราบรื่นในเเต่ละวันนั้นถือเป็นสิ่งที่สำคัญ อีกหนึ่งตัวเลือกที่ทรงพลังอย่าง Google Chat ที่มีความโดดเด่นและตอบโจทย์เฉพาะในด้านของการสื่อสารระหว่างกันภายในองค์กร มีฟังก์ชันที่จะทำให้คุณมีความสะดวกมากขึ้นอย่างเเน่นอน โดย Google Chat ทำอะไรได้บ้าง เริ่มต้นใช้งานอย่างไร ไปดูกันเลย Google Chat เริ่มต้นใช้งานได้อย่างไร ? คุณสามารถดาวน์โหลดแอป Chat หรือจะดูข้อความได้โดยตรงจากใน Gmail เลือกช่องทางที่เหมาะสมสำหรับทุกการสนทนาสำหรับคุณ เพื่อช่วยให้คุณติดตามการสื่อสารในงานได้ทั้งหมด Google Chat ทำอะไรได้บ้าง ? 1. สนทนาเเบบแชทเดี่ยวและกลุ่ม ใน Google Chat จะแยกแชทเดี่ยวและกลุ่มกันอย่างชัดเจน ในหน้าต่าง Chat เดี่ยวจะเป็นช่องส่งข้อความส่วนตัวระหว่างคน 2 คน ส่วนหน้าต่าง Rooms คือ แชทกลุ่ม คุณสามารถสร้างพื้นที่ในการทำงานร่วมกับทีมของคุณได้อย่างสะดวก อีกทั้งยังสามารถปักหมุดแชทที่คุยบ่อย ๆ ได้อีกด้วย Chat      Rooms Chat      Rooms 2. แชร์ไฟล์ นัดหมาย ผ่านแชท คุณสามารถแชร์ไฟล์งานจาก Drive หรือไฟล์ในคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อนร่วมงานในเเชทได้ เเละยังนัดหมายต่าง ๆ ใน Calendar ได้ง่าย ๆ เพียงเเค่คลิกที่ไอคอนของเเต่ละเเอปในด้านล่างขวามือของแชทคุณ ซึ่งไอคอนต่าง ๆ เหล่านี้จะอยู่ในหน้าต่างเเชทช่วยให้คุณทำงานสะดวกมากยิ่งขึ้น 3. กล่องเเชทบอกสถานะกำลังใช้งาน โดยเบื้องต้นเมื่อคุณใช้งาน Google Chat จะเเสดงผลคล้ายกับใน Messenger ของ Facebook ที่จะขึ้นสีเขียว คือ กำลังใช้งานอยู่นั้นเอง เเต่ทาง Google Chat จะมีความโดดเด่นเฉพาะในด้านของการทำงาน เนื่องจากเวลาใช้งานจะขึ้นเป็น Active คือ กำลังใช้งานอยู่เป็นการบอกว่าคุณสะดวกในการตอบแชทได้ เเต่หากคุณกำลังติดงานอื่น ๆ หรือประชุมอยู่นั้น คุณสามารถเลือก...

Continue reading
google-docs

แอปพลิเคชันทำงานร่วมกันเเบบเรียลไทม์ ช่วยให้งานเอกสารเป็นเรื่องง่ายกับ Google Docs

แอปพลิเคชัน Google Docs ของ Google Workspace คือ แอปพลิเคชันเพื่อการสร้าง และแก้ไขเอกสารในรูปแบบข้อความ ที่มีการทำงานและจัดเก็บบนคลาวด์  หากจะเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น Google Docs มีลักษณะการทำงานที่คล้ายคลึงกับ Microsoft Word นั่นเอง แต่จะมีความสามารถพิเศษที่ดีกว่าและแตกต่างจากการใช้ Microsoft Word อย่างไร ไปดูกัน 1. Google Docs เป็นเครื่องมือในการสร้าง และแก้ไขเอกสารออนไลน์ ช่วยให้คุณจัดรูปแบบข้อความและย่อหน้าได้ง่าย ๆ มีแบบอักษรนับร้อยแบบให้คุณเลือกใช้งาน สามารถเพิ่มลิงก์ รูปภาพ และภาพวาดในไฟล์เอกสารได้อย่างสะดวกคล่องตัว เรียกได้ว่าตอบสนองคนที่ต้องการใช้งานเอกสารได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะใช้โทรศัพท์ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ หรือแม้ขณะที่คุณไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คุณก็สามารถสร้าง เเละเเก้ไขเอกสารได้ทุกเวลา 2. ใช้งานและทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์ สามารถแก้ไขไฟล์แบบเรียลไทม์และทำงานร่วมกันบนไฟล์เอกสารเดียวกันได้ทั้งกับบุคคลภายในและภายนอกองค์กร สำหรับการแก้ไขเอกสาร จะแสดงให้คุณเห็น ว่าใครแก้ไขอะไรและเมื่อใด 3. เเชทเเละเเสดงความคิดเห็น สามารถแสดงความคิดเห็นเเละแชทได้ โดยมีหน้าต่างสนทนาอยู่บนหน้าจอ สามารถเพิ่มความคิดเห็นโดยใช้ “+” กับที่อยู่อีเมลเพื่อให้คนนั้น ๆ ได้รับการเเจ้งเตือน 4. ทำงานด้วยกันได้มากกว่าเดิม เเชร์กับใครก็ได้ คุณสามารถคลิกเเชร์เพื่อให้ทุกคน เพื่อนร่วมงาน ให้คำเเนะนำกับคุณ หรือเเก้ไขเอกสารของคุณได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดได้ว่าใครสามารถดูเอกสาร แสดงความคิดเห็น หรือแก้ไขเอกสารของคุณได้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อที่คุณต้องการ 5. บันทึกอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดในเอกสารของคุณจะถูกบันทึกไว้ขณะที่คุณพิมพ์โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถดูประวัติการแก้ไขเพื่อดูเวอร์ชันเก่า ๆ และเรียกคืนได้เสมอเมื่อต้องการ ในกรณีที่มีการทำงานร่วมกันกับเพื่อนร่วมงานในเอกสารเดียวกันหลายคน คุณสามารถดูได้ว่าใครมีส่วนร่วมในการแก้ไข เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงในเนื้อหาส่วนใดบ้าง จึงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่สามารถติดตาม และตรวจสอบเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น 6. ทำงานได้กับ Word ในการใช้งานคุณสามารถแปลงไฟล์ Word เป็น Google Docs ได้ รวมถึงสามารถบันทึกไฟล์งานของคุณเป็น .docx, .pdf, .odt, .rtf, .txt หรือ .html ก็ได้ ในการใช้งานของ Google Docs...

Continue reading

หมดปัญหา Google Forms มีรายชื่อซ้ำ ตั้งค่าตามได้ง่าย ๆ เมื่อได้อ่านบทความนี้

จากกระแสในโซเชียลที่กำลังมาแรงและเป็นที่วิพากษ์วิจารอยู่ในขณะนี้ ถึงกรณีการลงทะเบียนจัดสรรวัคซีนของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่ปรากฎเป็นลิสรายชื่อของบุคคลคนเดียวซ้ำกันหลายรายการ โดยอ้างว่าเกิดจากความซ้ำซ้อนจากการใช้งานระบบของ Google Forms ฉะนั้นวันนี้ “ดีมีเตอร์ ไอซีที” ผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ที่มีลูกค้าในเอเชียแปซิฟิก (APAC) กว่า 3,000 ราย จะพาทุกท่านมาไขข้อข้องใจว่าหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เราจะมีวิธีการแก้ไข และมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดอย่างไรได้บ้าง Google Forms วิธีตั้งค่า Google Forms ให้ผู้ใช้งานตอบได้คนละครั้งเท่านั้น บน Google Forms ในการจะตั้งค่าจำกัดให้ผู้ใช้สามารถกรอกแบบฟอร์มได้คนละหนึ่งครั้งสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้ เปิด Google Forms  สร้างใหม่หรือเลือก Forms ที่มีอยู่แล้ว เพื่อตั้งค่า เมื่อเลือก Forms แล้ว คลิกตรงตั้งค่า (ไอคอนรูปฟันเฟือง)   4. จากนั้นติ๊กเครื่องหมายถูกที่ “จำกัดให้ตอบกลับได้เพียง 1 ครั้ง” (Limit to 1 response)  *ผู้ที่กรอกฟอร์มจะต้องลงชื่อเข้าสู่ระบบ Google เสียก่อน ซึ่งการตั้งค่าแบบนี้จะทำให้ผู้ใช้ที่เข้ามากรอกฟอร์มอีกรอบด้วยบัญชี Google เดิม จะพบว่าไม่สามารถกรอกได้แล้วนั่นเอง วิธีตั้งค่า Google Forms ให้สามารถแก้ไขได้ใหม่เมื่อกรอกข้อมูลผิด ผู้กรอกฟอร์มสามารถแก้ไขข้อมูลเมื่อกรอกข้อมูลในฟอร์มผิดได้ โดยไม่ต้องกรอกใหม่ หากผู้สร้างฟอร์มตั้งค่าดังนี้ สร้างใหม่หรือเลือก Forms ที่มีอยู่แล้ว คลิกตรงตั้งค่า (ไอคอนรูปฟันเฟือง)   3. ตรง “ผู้ตอบสามารถ” (Respondents can) ให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ “แก้ไขหลังจากส่ง” (Edit after submit)   4. หลังกดส่งฟอร์ม ผู้ใช้จะสามารถแก้ไขได้ โดยคลิก “แก้ไขการตอบกลับของคุณ” (Edit your response) *ผู้ใช้จำเป็นที่จะต้องเก็บลิงก์สำหรับแก้ไขนี้ไว้ หลังจากส่งฟอร์ม.   5. แต่เพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น สามารถตั้งค่าให้ฟอร์มส่งลิงก์แก้ไขไปยังอีเมลผู้กรอกได้...

Continue reading
features-applications-in-google-workspace-improves-productivity-smartly

ฟีเจอร์เด็ดของ (แอปพลิเคชันใน) Google Workspaceช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอย่างชาญฉลาด

ในปัจจุบันภาคองค์กรและภาคธุรกิจมีการปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Work from Home สูงขึ้นเรื่อย ๆ การเลือกใช้เครื่องมือในการทำงานให้มีความสอดคล้องและสามารถรองรับการทำงานจากที่บ้านได้นั้นจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และแอปพลิเคชันของ Google Workspace ก็เป็นแอปพลิเคชันที่กลายเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในช่วงนี้ เนื่องจากมีความโดดเด่นในเรื่องของการทำงานร่วมกันภายในองค์กรแบบเรียลไทม์ แม้พนักงานไม่ได้ทำงานอยู่ที่เดียวกัน หรืออยู่ที่ออฟฟิศก็สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่นด้วยแอปพลิเคชันต่าง ๆ ของ Google Workspace ดังนี้ 1. Gmail ที่มีความพิเศษเเละโดดเด่นแตกต่างจาก Gmail ธรรมดาในเรื่องของการเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทของคุณ เนื่องจากบริการ Gmail ของ Google Wrokspace สามารถกำหนดชื่อโดเมนอีเมลเป็นชื่อบริษัทของคุณได้ เช่น you@yourcompany.com และยังสามารถสร้างรายชื่ออีเมลแบบกลุ่มได้อีกด้วย เช่น sales@yourcompany.com 2. Google Calendar ไม่ได้เป็นเเค่ปฎิทินออนไลน์ธรรมดา ๆ เท่านั้น เเต่มีความโดดเด่นเเละพิเศษเปรียบเสมือนกับว่าคุณมีเลขา ฯ ส่วนตัวเลยทีเดียว โดยการใช้งานสามารถตั้งค่าและกำหนดรายละเอียดการประชุมหรือนัดหมายได้ อีกทั้งยังมีการตั้งเวลาแจ้งเตือนเพื่อไม่ให้คุณพลาดนัดหมายสำคัญ ๆ และง่ายต่อการใช้งาน สามารถสร้างนัดหมายได้ตามต้องการอย่างรวดเร็ว 3. Google Sheets ช่วยในการทำงานของเอกสารรูปแบบสเปรดชีต มีความโดดเด่นในการทำงานร่วมกันและการแชร์ข้อมูลใน Sheets สามารถเพิ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับแผนงาน เห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลแบบเรียลไทม์ ระบบจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดอัตโนมัติ ช่วยให้ทีมของคุณทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น 4. Google Site เป็นเครื่องมือสร้างเว็บไซต์สำหรับองค์กรโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม ใช้งานง่าย รองรับได้กับหน้าจอทุกขนาด 5. Google Meet ตัวแอปพลิเคชันประชุมทางวิดีโอสำหรับองค์กร (Video Conference) มีความพิเศษซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานเป็นทีม เชื่อมต่อกับทีมของคุณได้จากทุกที่ สามารถเข้าร่วมประชุมทางวิดีโอได้โดยตรงจาก Calendar, Gmail หรือคำเชิญทางอีเมล ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน และรองรับกับทุกอุปกรณ์ 6. Google Drive ช่วยในการจัดเก็บ เข้าถึง และแชร์ไฟล์ขององค์กรอย่างปลอดภัยได้จากที่เดียว สามารถเปิดดูไฟล์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกแพล็ตฟอร์ม 7. Google Slides ตัวช่วยในการสร้างไฟล์นำเสนอในรูปแบบสไลด์ ซึ่งสามารถสร้างและแก้ไขงานนำเสนอร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังสามารถแสดงความคิดเห็น และแชทสนทนากับเพื่อนร่วมงานได้ในไฟล์นั้นเลย ช่วยให้การทำงานนำเสนอกับเพื่อนร่วมทีมเป็นไปอย่างง่ายดายและมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังสามารถจัดการสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ว่าใครสามารถแก้ไข ดู หรือเพิ่มความคิดเห็นได้บ้างอีกด้วย...

Continue reading

Nexon

Nexon บริษัทเกมอันดับหนึ่งในเกาหลีใต้ใช้ Zendesk ยกระดับ CSAT 114% ...