โดย ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ , CEO บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด วันนี้ผมได้พูดสองหัวข้อในงาน Event ที่ Google Thailand เรื่องแรกได้พูดถึงวิธีการเติมไฟในการทำงานแบบ Google ครับ จุดเริ่มคือเคยสังเกตุไหมครับว่าหนึ่งในสาเหตุที่บุคลากรในองค์กรของเราเริ่มออกอาการเซ็งและหมดไฟคือเรามีกระบวนการในการทำงานที่ไม่มีมูลค่าถึงร้อยละ 70 เนื่องจากเป็นงานที่ต้องเสียเวลาในการเตรียมข้อมูล ต้องปิงปองไปกลับระหว่างเพื่อนร่วมงาน ต้องเดินเอาเอกสารไปให้ ต้องพิมพ์เอกสารออกมาเซ็นต์ และต้องเก็บเอกสารเป็นตั้งๆ เพราะกลัวตรวจสอบไม่ได้ หรือแม้แต่ต้องเดินทางมาประชุมด้วยการฝ่ารถติดเข้ามา โดยที่ทำงานเป็นเรื่องเป็นราวอาจจะแค่ 30% ที่เหลือเป็นการเสียเวลาในกระบวนการโดยทั้งนั้น เหตุว่าทำไม Google ถึงได้เป็นองค์กรนวัตกรรมระดับโลก เพราะ Google เน้นในเรื่องแค่สามเรื่องคือ 1) เน้นการทำงานแข่งกับเวลา 2) มีกระบวนการขั้นตอนในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้าใจ pain points ของผู้ใช้งาน และ 3) การแบ่งปันข้อมูลในการทำงานร่วมกัน ซึ่งหากเรามีเครื่องมือในการทำให้ทั้งสามเรื่องเกิดขึ้นได้ง่าย เท่ากับว่าเวลาที่ต้องสูญเสียไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องในการพูดคุย การแก้งานไปมา การแชร์ข้อมูลเดียวกันก็จะหายไปอย่างมหาศาล ซึ่ง Google ได้ใช้ G Suite ในการเป็นเครื่องมือการทำงานในชีวิตประจำวันนั่นเอง เอาเข้าจริงหลายองค์กรมักจะเข้าใจผิดคิดว่าการทำ Digital Transformation คือการใช้เงินแก้ปัญหาด้วยการซื้อเครื่องมือเทคโนโลยี (Technology) มาใช้งานในองค์กร แต่องค์กรจำนวนมากได้ลืมปัจจัยอีกสองอย่างที่ละเลยเสมอในการทำ Digital Transformation ขององค์กร นั่นก็คือ 1. People และ 2. Process!!!! ทั้งสองอย่างประกอบกับ 3. Technology จึงจะทำให้การทำ Digital Transformation ในองค์กรเกิดขึ้นได้จริง เพราะตอนนี้คนรวยสุดคือทรัพย์ศรีไทยที่รับจ้างเก็บเอกสารกองพะเนินให้เราอยู่ การทำ Digital Transformation ในองค์กรจะประกอบไปด้วยสามเรื่องคือ 1) Technology 2) People และ 3) Process ฟังดูจะรู้ว่ามันไม่จบแค่ใช้เงินซื้อเทคโนโลยีเหมือนกับที่หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนเข้าใจคำว่า Thailand 4.0 ว่ารีบๆ ไปหาระบบงานมารองรับ ทั้งกระบวนการทำงานและการวิเคราะห์ข้อมูล เสร็จแล้วก็จบแล้ว แต่นั่นเรากำลังพูดแค่ในมุมของ Technology...
Continue reading10 ไอเดียการทำงานด้วย G Suite สำหรับการขายและการตลาด
1. การทำร่างข้อเสนอ Request for Proposal (RFP) ร่วมกันภายในทีม ถ้าคุณต้องการใส่ข้อมูลที่มาจากหลายๆทีมใน Request for Proposal แต่คุณก็กลัวมีปัญหาการมีเอกสารหลายเวอร์ชันจากแก้ไขงาน คุณสามารถใช้ Google Docs เพื่อสร้างเอกสารที่ทำงานได้พร้อมกันและในเวลากัน ซึ่งผู้ร่วมงานของคุณสามารถเข้ามาแก้ไขเอกสารนี้ในระหว่างที่คุณทำอยู่ด้วยได้ และสามารถแสดงความคิดเห็นในเอกสารเดียวกันนี้เพื่อให้คุณแก้ไขงาน ข้อดีของ Google docs คือมีไฟล์เอกสารแค่อันเดียว ซึ่งคุณสามารถเข้าดู version history ได้และด้านในจะบอกเวลาและคนที่เข้ามาแก้ไข นอกจากนี้ทุกการเปลี่ยนแปลงบนเอกสารจะถูกบันทึกแบบอัตโนมัติ 2. จัดเก็บไฟล์อย่างไร ให้ทุกคนเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์การใช้งาน ผู้ใช้งาน G Suite ทุกท่าน สามารถเข้าถึงไฟล์ที่สำคัญขณะที่ทำงานอยู่ภายนอกบริษัทได้ เมื่อเซลล์หรือนักการตลาดออกไปพบลูกค้าและต้องอัพเดตเอกสารระหว่างที่อยู่ในบริษัทลูกค้า แต่ดันลืมคอมพิวเตอร์มาด้วย ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อผู้ใช้งานจัดเก็บไฟล์ไว้บน Google Drive หรือ Team Drive คุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์เอกสารหรือไฟล์ต่างๆเพื่ออัพเดตหรือแก้ไขงานได้จากทุกอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เน็ต 3. สร้างและแชร์ศักยภาพในการใช้สินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์ให้กับเอเจนซี่ คุณเคยทำงานในการใช้สินทรัพย์ทางความคิดสร้างสรรค์กับเอเจนซี่หรือไม่ ? ในการทำงานคุณจะต้องมั่นใจว่าทุกคนมีการไฟล์ออกแบบสินค้าอันใหม่ล่าสุด มีไฟล์วีดีโอโฆษณา มีไฟล์ PDFs และไฟล์เอกสารสำคัญต่างๆ ซึ่งผู้ใช้งาน G Suite สามารถจัดเก็บไฟล์ต่างๆนี้ได้ด้วย Google Drive หรือ Team Drive จากนั้นก็แชร์ไฟล์เหล่านี้ให้กับเอเจนซี่ได้ทันที เมื่อมีคนเข้ามาร่วมในโปรเจคของคุณ คุณสามารถแชร์ไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่อยู่ใน Google Drive ให้กับเพื่อนร่วมโปรเจคได้ทันที ซึ่งทุกการเปลี่ยนแปลงในเอกสารหรือไฟล์ต่างๆเหล่านี้จะถูกบันทึกแบบอัตโนมัติ ทำให้ทุกคนที่อยู่ในทีมเห็นหน้าเดียวกันนี้ทั่วทั้งภูมิภาคและเขตเวลา 4. สามารถฝึกอบรมพนักงานขายของคุณได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้าคุณจำเป็นต้องอบรมพนักงานและต้องการลดค่าใช่จ่ายด้านการไปอบรมนอกสถานที่ คุณสามารถใช้ Hangouts Meet เพื่อเปิดคอร์สเรียนเสมือนนั่งเรียนอยู่ห้องเรียน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง มากไปกว่านั้นคุณสามารถบันทึกวีดีโอระหว่างการอบรม เพื่อนำมาเปิดใช้งานที่หลังได้ 5. จัดการงานแสดงสินค้า ถ้าคุณมีเทศการแสดงสินค้าหลายงานจากหลากหลายทีมงานและต้องส่งงานให้ทันเวลา คุณต้องมั่นใจว่าไฟล์ต่างๆเช่น ไฟล์ PDFs ไฟล์เอกสารหรือไฟล์วีดีโอ จะเสร็จเรียบร้อยและส่งได้ตรงเวลา คุณอาจจะต้องจัดทำเอกสารบันทึกข้อมูลกระบวนการของงาน ว่าอยู่ในลำดับที่ขั้นตอนเท่าไหร่ และทำบันทึกหน้าที่ของเพื่อนร่วมทีมว่าแต่ละคนทำอะไรแล้วบ้าง คุณสามารถใช้ Google Sheets จัดเก็บ แบ่งปันและอัปเดตข้อมูลโครงการทั้งหมดในแบบเรียลไทม์ 6. จัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลแบบสำรวจ คุณต้องการสำรวจกลุ่มเป้าหมายและเก็บข้อมูลอย่างรวดเร็วที่ไม่เกี่ยวกับ data expert หรือไม่ ? สามารถสร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ง่ายๆด้วย Google Forms ซึ่งคุณจะเห็นคำตอบได้แบบเรียลไทม์ และสามารถสร้างกราฟและตารางเพื่อวิเคราะห์คำตอบได้ทันทีบน Google Sheets 7. สร้างเว็บไซต์สำหรับทีม เพื่ออัพเดตข้อมูลล่าสุดไว้ในที่เดียว เบื่อกับการตอบกลับอีเมล เพื่อขอเทมเพลตองค์กรล่าสุดหรือไม่ ? และต้องการวิธีการสื่อสารภายในทีมโดยไม่ต้องส่งอีเมลในรูปแบบเดียวกันส่งให้หลายๆคนมั้ย เมื่อคุณใช้ Google Sites คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ข่าวสารหรือแหล่งรวมข้อมูล และแชร์ให้เพื่อนร่วมงานทุกคนในแผนกให้ทราบโดยที่ไม่ต้องขอความช่วยเหลือจากฝ่ายไอที 8. สร้างพรีเซนเทชั่นอย่างมืออาชีพ เมื่อคุณต้องเตรียมสไลด์พรีเซนเทชั่นสำหรับพบลูกค้า และต้องเตรียมนำเสนอประเด็นสำคัญต่างๆพร้อมกับทีมงานของคุณ...
Continue readingบรรยากาศงาน Advanced G Suite Workshop for Smart Enterprise ครั้งที่ 9
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2562 ที่ผ่านมา บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์รายใหญ่ในประเทศไทยของ Google ที่ให้บริการ G Suite ได้จัดงานอบรมการใช้งานอีเมลองค์กร G Suite ภายใต้หัวข้อ “Advanced G Suite Workshop for Smart Enterprise” ณ KX – Ecosystem for Innovation Driven Entrepreneurship ซึ่งครั้งนี้เราได้จัดงานอบรมเป็นครั้งที่ 9 แล้วค่ะ ภายในงานมีการเผยเคล็ดลับการจัดการองค์กรยุคใหม่ให้เท่าทันเทคโนโลยี และการทำงานร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเครื่องมือต่างๆ จาก G Suite แถมยังเผยเคล็ดลับการใช้งานแบบเจาะลึก และการนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อย่างเช่น ฟังก์ชันลับใน Gmail, Google Sheets, Google Forms, Google Sites และอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อน มีเฉพาะในงานนี้เท่านั้น พร้อม Workshop ให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านได้ปฏิบัติไปพร้อมกันอีกด้วย บรรยายโดย คุณโป้ง ชนัส สาทรกิจ (Manager, Technical Consulting & Support Unit) ผู้เชี่ยวชาญของ ดีมีเตอร์ ไอซีที ของเรา ที่มีประสบการณ์กว่า 10 ปี และจัดอบรมการใช้งาน G Suite มาแล้วมากกว่า 100 คอร์ส ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมงานนี้กันอย่างล้นหลามเลยทีเดียว ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความอบอุ่น เป็นกันเอง ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจกันเป็นอย่างดี นอกจากจะได้รับความรู้ไปอย่างเต็มเปี่ยม ยังได้รับความสนุกสนานจากการเล่นเกม และของที่ระลึกมากมายกลับไปอีกด้วย สำหรับใครที่พลาดโอกาสครั้งนี้ก็อย่าเพิ่งน้อยใจไปนะคะ สามารถติดตามข่าวสารกิจกรรมครั้งต่อไปได้ที่ https://www.dmit.co.th/th/events/ แล้วพบกันครั้งหน้าค่ะ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G...
Continue readingเป็น Call Center บริการอย่างไร? ให้ได้ใจลูกค้า
รอยยิ้มอย่าอายที่จะยิ้มออกมาจริง ๆ เวลาที่คุณพูดคุยกับลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ เพราะถึงแม้ว่าลูกค้าจะไม่สามารถเห็นได้ว่าคุณยิ้มอยู่ก็ตาม แต่รอยยิ้มนั้นสามารถส่งผ่านทางโทรศัพท์ได้ในรูปแบบของอารมณ์และน้ำเสียง การยิ้มไปด้วยขณะที่คุณพูดคุยกับลูกค้าจะทำให้น้ำเสียงของคุณดูเป็นมิตรและอบอุ่น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรยิ้มให้กับลูกค้าที่กำลังโกรธหรือหงุดหงิด แต่ให้ยิ้มในเวลาที่เหมาะสมก็เพียงพอ เป็นกระจกสะท้อนลูกค้าคิดในมุมมองของลูกค้า หากคุณกำลังประสบปัญหาเดียวกันกับลูกค้า สิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดคืออะไร ขณะเดียวกันก็พยายามจับอารมณ์และน้ำเสียงของลูกค้าไปด้วยว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร เพื่อสะท้อนออกมาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างตรงใจ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เมื่อลูกค้ากำลังอารมณ์เสียหรือหงุดหงิด ลูกค้ามักจะไม่เปิดรับสิ่งที่คุณพูดสักเท่าไหร่ถึงแม้ว่าคุณจะตอบในคำตอบที่ถูกต้องก็ตาม ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ การตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกค้าต้องการพูดให้จบก่อน วิธีนี้จะช่วยทำให้ลูกค้าสงบลงและมีแนวโน้มที่จะเปิดกว้างและรับฟังวิธีแก้ปัญหาที่คุณเสนอมากยิ่งขึ้น รับทราบบอกลูกค้าว่าคุณเข้าใจปัญหาและเหตุผลในการโทรเข้ามาของลูกค้า และตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับฟังสิ่งที่คุณพูด ให้เวลากับลูกค้าเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ระบายถึงปัญหาต่าง ๆ ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถเข้าใจปัญหาเหล่านั้นได้ในทันทีก็ตาม เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักต้องการอธิบายหรือแสดงความรู้สึกในแบบของตนเองให้เสร็จก่อนที่จะพร้อมเปิดรับการดำเนินการในขั้นต่อไป สรุปมีการทบทวนซ้ำอีกครั้งถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องการให้คุณซัพพอร์ต สิ่งนี้จะช่วยแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณเข้าใจในปัญหาของพวกเขาจริง ๆ แจ้งเสมอเมื่อต้องการพักสาย ก่อนที่คุณจะพักสายของลูกค้า คุณควรแจ้งลูกค้าและควรได้รับการตกลงยินยอมเสียก่อน นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้ลูกค้ารอนานเกิน 2 นาที โดยไม่มีการตอบกลับถึงแม้ว่าคุณจะต้องใช้เวลามากกว่านั้นก็ตาม แต่หากคุณรู้ว่าการแก้ปัญหาจะต้องใช้เวลาในการพักสายนานพอสมควร คุณควรเสนอให้โทรกลับหากลูกค้าต้องการแทน สนใจทดลองใช้ Zendesk ฟรี หรือสอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทรเลย! 02-675-9371 095-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณพิม) support@dmit.co.th Official LINE...
ถึงเวลาแล้วหรือยัง? สำหรับการบริการลูกค้าแบบ omnichannel
Omnichannel เป็นคำศัพท์ใหม่ในอุตสาหกรรมการบริการลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจให้ความสนใจที่จะทำอะไรสักอย่างกับกระแสการบริการในรูปแแบบใหม่นี้ หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ omnichannel solution คือ การรวมช่องทางการบริการลูกค้าทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเก็บรวบรวมและรักษาบทสนทนาทั้งหมดของลูกค้าเอาไว้ ซึ่งช่วยให้ทีม customer service สามารถเข้าถึงข้อมูลอ้างอิงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ลูกค้าเป็นใคร? เคยติดต่อเข้ามาผ่านช่องทางใด? เคยได้มีการสนทนาอะไรกับเจ้าหน้าที่คนไหน? และเคยได้ซื้อผลิตภัณฑ์ใดบ้าง? เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการจบปัญหาต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นจากการแยกช่องทางการบริการลูกค้าหลายช่องทางออกจากกันโดยไม่มีจุดเชื่อมโยงกันอย่างสิ้นเชิง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาที่ธุรกิจควรปรับเปลี่ยนการบริการลูกค้าแบบเดิมไปสู่การบริการลูกค้าแบบทุกช่องทาง (omnichannel customer service) หากคุณกำลังต้องการคำตอบสำหรับคำถามนี้อยู่ ลองอ่านและพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้: เจ้าหน้าที่หนึ่งคนรับงานหนักเกินไป ปริมาณ ticket เพิ่มขึ้นจนเป็นเหตุให้จำนวน ticket ไม่สัมพันธ์กับจำนวนเจ้าหน้าที่หรือไม่? เจ้าหน้าที่ของคุณรู้สึกทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเครียดหรือไม่? ไม่ว่าพนักงานของคุณจะมีความสามารถมากแค่ไหน แต่เมื่อต้องเจอกับปริมาณ อีเมล โทรศัพท์ และคำถามที่เข้ามาจากช่องทางต่าง ๆ มากเกินไปจนรู้สึกรับมือไม่ไหว จัดการได้ไม่ทันใจลูกค้า อาจทำให้เจ้าหน้าที่รู้สึกเครียดเกินไป เพราะในโลกของการบริการลูกค้า ไม่มีอะไรที่จะเครียดไปกว่าจำนวน ticket ค้างที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากขาดทรัพยากรเข้ามาช่วยแบ่งเบางาน ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของคุณไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสื่อสารหรือทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์ได้ ถือเป็นการขาดประสิทธิภาพในการซัพพอร์ตลูกค้าขั้นพื้นฐานที่จะส่งผลกระทบถึงค่า CSAT และ ASAT ได้ การบริการไม่สอดคล้องกันในทุกช่องทาง หากทีมของคุณให้การซัพพอร์ตลูกค้าข้ามช่องทางโดยไม่สอดคล้องกัน หากจะให้ยกตัวอย่างเคสง่าย ๆ คงหนีไม่พ้นการให้ลูกค้าต้องเล่าซ้ำ ๆ ถึงปัญหาของพวกเขาเมื่อมีการโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่ท่านอื่น หรือ วันนี้ลูกค้าโทรหาคุณโดยที่คุณไม่เคยรู้เลยว่าลูกค้าคนเดียวกันนี้เคยส่งอีเมลมาหาคุณแล้ว เป็นต้น การทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสนว่าช่องทางไหนบ้างที่สามารถไว้วางใจได้อาจส่งผลกระทบถึงความไม่ไว้วางใจในบริษัทไปด้วย ถือเป็นข้อผิดพลาดที่ไม่ควรมองข้าม การบริการและการสื่อสารข้ามช่องทางที่ไม่สอดคล้องกันนี้ยังรวมไปถึงบริบทต่าง ๆ ของลูกค้าที่อาจสูญหายไป และ ticket อาจมีการตกหล่นอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้การสนทนากับลูกค้ามีความยืดเยื้อ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหานานกว่าเดิม และเกิดเป็น ticket คงค้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบให้ได้รับค่าความพึงพอใจของลูกค้าในระดับต่ำ อีกทั้งพนักงานของคุณจะรู้สึกหงุดหงิดเนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการหาข้อมูลและทำงานร่วมกัน ฉะนั้นอย่าปล่อยให้ทีมซัพพอร์ตของคุณต้องใช้เวลาถึง 20 นาทีในการโทรหาแผนกอื่นเพื่อหาคำตอบให้กับลูกค้าของคุณ เจ้าหน้าที่แอดมินต้องพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่ง report ประสบการณ์ของลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญ ทุกธุรกิจควรมีการตั้งเป้าหมายและมีตัวชี้วัดในด้านประสบการณ์ของลูกค้า (customer experience) ซึ่งหากเจ้าหน้าที่แอดมินหรือผู้ดูแลระบบของคุณต้องหัวหมุนและดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งการรายงานผลต่าง ๆ...
Continue readingG Suite: Your Digital Transformation Partner
โดย: ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์, Founder & CEO, Demeter ICT ผ่านไปด้วยดีกับอีเวนทํประจำไตรมาสของ Demeter ICT ร่วมกับ Google ในหัวข้อ G Suite: Your Digital Transformation Partner คำว่า Digital Transformation คำนี้ค่อนข้างฮิตกันในยุคนี้ ที่ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนก็พูดถึง ซึ่งเรามักจะมองว่ามันเกี่ยวข้องกับองค์กรขนาดใหญ่ แต่องค์กรระดับ SME ไม่น่าจะเกี่ยวข้องเพราะว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือมักจะมองว่า Digital Transformation คือการลงทุนทางด้าน ‘เทคโนโลยี’ ใช้เงินแก้ปัญหาแล้วจบเลย แต่จริงๆ แล้วเรื่องราวไม่ได้ง่ายแบบนั้นครับ หลายองค์กรมักจะตั้งต้นคำว่า Digital Transformation คือการไปเอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้งต้น ด้วยการดูว่าปัจจุบันในอุตสาหกรรมเดียวกับธุรกิจมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง แล้วก็ลงทุนซื้อเทคโนโลยีมาใช้งานเลย แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาขององค์กรจริงๆ เพราะกินยาผิด เนื่องจากเทคโนโลยีที่เอามาใช้ไม่ได้แก้ปัญหาขององค์กรจริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่คนในองค์กรยังคงมีรูปแบบการทำงานที่เหมือนเดิม แม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็ตาม ในความเห็นผมการทำ Digital Transformation จะต้องเริ่มที่ Pain point หรือจุดที่องค์กรมีปัญหาองค์กรก่อน เช่น ทำการวิเคราะห์ว่าทุกวันนี้องค์กรมีปัญหาอะไร ทำงานช้าที่ตรงไหน data discrepancy อยู่จุดไหน ขาดข้อมูลส่วนไหนบ้าง โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงเทคโนโลยีก่อน จากนั้นพอสรุปประเภทปัญหาได้แล้ว จึงคิดต่อว่าเครื่องมืออะไรบ้างที่มาแก้โจทย์นี้ได้ และที่สำคัญคือ ‘คนในองค์กร’ จะมีภาพความฝันในการทำงานบนเทคโนโลยีนั่นด้วยวิธีการทำงานแบบไหนที่ไม่เหมือนเดิม ซึ่งมาถึงจุดนี้เราจะตอบได้ทันทีว่า Digital Transformation จะไม่ใช่เรื่องของ CIO เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ CEO ที่ต้องทำหน้าที่ Project Sponsor ในการไดรฟ์ให้คนในองค์กรมาทำงานด้วยวิธีใหม่ บนเทคโนโลยีใหม่ ไม่ใช่ทำงานบนเทคโนโลยีใหม่ด้วยวิธีการทำงานแบบเดิม ซึ่งการทำ Change Management หรือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนในองค์กรปรับเปลี่ยนวิธีทำงานบนเทคโนโลยีใหม่ เป็นสิ่งทีืจำเป็นในการทำ Digital Transformation มากครับ ผมมักจะยกตัวอย่างขององค์กรที่ใช้ Google G Suite อยู่เสมอว่า G Suite ไม่ใช่มาแทนระบบอีเมลเดิม...
Continue readingซื้อ Zendesk กับดีมีเตอร์ ไอซีที VS ซื้อโดยตรง
หลังจากมีหลายท่าน ๆ สอบถามกันเข้ามาถึงความแตกต่างระหว่างการซื้อ Zendesk กับ Demeter ICT ที่เป็น Zendesk partner ในประเทศไทย กับการซื้อจาก Zendesk โดยตรงว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจจึงขอจำแนกการบริการออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1. Licenseการซื้อบริการ License นั้นสามารถซื้อได้ทั้งกับ DMIT หรือซื้อกับ Zendesk โดยตรง ซึ่งราคาจะไม่มีความแตกต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับอัตราการแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทไทย 2. Implementในส่วนของการ Implement นั้นจะสามารถซื้อได้กับ DMIT เพียงอย่างเดียว เนื่องจากทาง Zendesk ยังไม่มีบริการ Implement ให้ในประเทศไทย ฉะนั้นท่านสามารถซื้อ License กับ Zendesk แล้วมาซื้อ Implement กับทางเราก็ได้ หรือจะซื้อทั้ง License และ Implement กับเราทีเดียวเลยก็ได้เช่นกัน ซึ่งหากซื้อ Implement กับเราจะได้รับการ Training ให้ด้วย ความแตกต่างระหว่างซื้อ/ไม่ซื้อ implementซื้อ: ทาง DMIT จะทำการ setting ระบบตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงมีการ training ให้กับพนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องใช้งานระบบ Zendesk และหากเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น เกิด bug หรือ software มีการ upgrade หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานอื่น ๆ ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตและรับประกันให้ 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ซื้อ: หากลูกค้าไม่ต้องการ implement ลูกค้าจะต้องศึกษาการใช้งานระบบ Zendesk ด้วยตัวเอง โดยทาง DMIT มีการซัพพอร์ตในส่วนวิธีการใช้งานเป็นภาษาไทยให้ ซึ่งทางลูกค้าต้องทำการ setting ระบบเอง ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตให้ลูกค้าแบบ 8/5...
Continue readingอยากซื้อ Zendesk กับ Demeter ICT ต้องทำอย่างไร?
ในประเทศไทย Zendesk ถือว่ากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากคนเริ่มรู้จักบวกกับบริษัทหลาย ๆ แห่งได้มีการนำ Zendesk มาใช้งานแล้ว (คลิกดูลูกค้า DMIT ที่ใช้งาน Zendesk) ซึ่งอาจเกิดเป็นคำถามสำหรับหลาย ๆ ท่านที่สนใจ Zendesk ว่าการจะซื้อหรือนำ Zendesk ไปใช้งานนั้นต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนอย่างไร บทความนี้จึงจะขอแนะแนวทางให้ทุกท่านได้ทราบคร่าว ๆ กัน 1. ศึกษารายละเอียดเบื้องต้นหากคุณยังไม่ทราบรายละเอียดชัดเจนว่า Zendesk คืออะไร? Zendesk จะตอบโจทย์กับการใช้งานในบริษัทคุณหรือไม่ คุณสามารถสอบถามรายละเอียดเข้ามาได้ตามช่องทางการติดต่อที่แนบไว้ด้านล่าง หรือจะลองทดลองใช้ฟรีก่อน 30 วันก็ได้ไม่ว่ากัน (คลิกลงทะเบียนทดลองใช้ฟรี) LINE: @dmitOffice: 02-675-9371Sales: 095-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก)Email: support@dmit.co.th 2. นัดเข้าไปนำเสนอ (present) ผลิตภัณฑ์หลังการศึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเบื้องต้น หากคุณสนใจและต้องการให้เราเข้าไปนำเสนอตัวผลิตภัณฑ์เพื่อให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น ก็สามารถติดต่อเข้ามานัดวันให้เราเข้าไปนำเสนอได้ทั้ง 2 แบบ คือ ให้เราเข้าไปนำเสนอที่บริษัทของคุณ ในกรณีที่บริษัทของคุณอยู่ต่างจังหวัด หรือนอกเหนือจากกรุงเทพฯ สามารถนำเสนอผ่าน Video Conference ได้ 3. พิจารณา/ประเมินราคาหลังจากการนำเสนอ ถามคำถามเบื้องต้น อย่างเช่น คุณต้องการนำ Zendesk ไปใช้ในด้านใด ไปใช้กับแผนกหรือทีมใด บริษัทของคุณมีระบบการดำเนินงานอย่างไร มีเจ้าหน้าที่ที่ต้องใช้งานจำนวนเท่าไหร่ เพื่อประเมินราคาเบื้องต้น ซึ่งหากคุณต้องการให้เรา implement ให้ด้วย จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่ม ความแตกต่างระหว่างซื้อ/ไม่ซื้อ implementซื้อ: ทาง DMIT จะทำการ setting ระบบตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงมีการ training ให้กับพนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องใช้งานระบบ Zendesk และหากเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น เกิด bug หรือ software มีการ upgrade หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตและรับประกันให้ 1 ปี...
Continue readingไม่ต้องฝ่าฝุ่นพิษ ก็ทำงานที่บ้านได้ด้วย G Suite
จากข้อมูลรายงานคุณภาพอากาศทางสื่อต่างๆ ที่ได้ออกมาประกาศว่าดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) อยู่ในระดับสูงเกินกว่า 100 หลายแห่งทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล แสดงให้เห็นว่าค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานและคุณภาพอากาศในวันนี้เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน ทางบริษัทดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด เล็งเห็นถึงความสำคัญของเรื่องสุขภาพพนักงานเป็นหลัก จึงออกนโยบายระยะสั้นคือ ให้พนักงานสามารถทำงานจากที่บ้านได้ตามความเหมาะสม (Work From Home) เราลองมาดูเหตุผลหลักๆ กันว่า ทำไมพนักงาน Dmit ถึงสามารถใช้นโยบายนี้ได้ ที่มารูปภาพ – AirVisual Digital Transformation Era เหตุผลหลักที่ทีมงาน Dmit สามารถใช้นโยบาย Work From Home ได้เนื่องจาก Dmit มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการทำให้ระบบการทำงานทั้งหมดเป็นไปในรูปแบบดิจิตัล บริษัทของเราจึงเลือกใช้ระบบ G Suite เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกัน ลดข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ โดยแอปพลิเคชันใน G Suite ถูกออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น วันนี้เราจะยกตัวอย่างแอปพลิเคชันที่พวกเราใช้ทำงานกันจริง ขณะที่พนักงานแต่ละคนกำลังอยู่ที่บ้าน https://www.youtube.com/watch?v=oGPc_o-e4BQ&feature=youtu.be Case 1: นัดหมายการประชุมออนไลน์ เราสามารถเช็ควันและเวลาว่างของพนักงานแต่ละคนด้วย Google Calendar เพื่อลดเวลาในการทำตารางนัดหมายในรูปแบบเดิม จุดเด่นหลักของ Google Calendar คือเราสามารถนัดหมายการประชุมทางออนไลน์ได้ โดยการสร้างอีเว้นท์ขึ้นมาใน Calendar เชิญพนักงานที่เกี่ยวข้องให้เข้าร่วม เมื่อถึงวันเวลาที่นัดหมาย เราสามารถคลิกลิงก์เพื่อเริ่มวิดีโอคอลผ่าน Hangouts Meet ได้โดยตรงจาก Calendar เลย Case 2: การประชุมแบบระยะไกล ในระหว่างที่พนักงานแต่ละคนทำงานกันคนละสถานที่ เราจึงเลือกใช้ Google Hangouts ใน G Suite ในการแชท พูดคุย ส่งข้อความ หรือประชุมผ่านวีดีโอคอล มากกว่านั้นยังสามารถแชร์หน้าจอหรือแชร์ไฟล์เอกสารให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นหรือแก้ไขงานไปพร้อมกันแบบ real time ข้อดีของ Google Hangouts คือ สามารถประชุมผ่านวีดีโอพร้อมกันได้ถึง 25...
Continue reading