การตลาดยุคใหม่ด้วยโมบายแอพ (Mobile App)

มีบทความหนึ่งน่าสนใจเขียนโดยซิลวิโอ พอเซลลาน่า (Silvio Porcellana) ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง mob.is.it เป็นการตอกย้ำกว่าเรื่องการมีโมบายแอพ (Mobile App) เป็นของตัวเองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็กที่ต้องการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ ซึ่งในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มมีการใช้สมาร์ทโฟนกันอย่างแพร่หลาย เราจะเห็นว่าธุรกิจที่มีโมบายแอพ มักจะเป็นธุรกิจที่มีฐานลูกค้าจำนวนมาก มีงบการตลาดแบบมหาศาล แต่สถานการณ์ปัจจุบันได้พลิกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง หลายท่านอาจจะไม่ทราบว่า ณ ขณะนี้ จำนวนโมบายแอพ (Mobile App) ที่อยู่บนทั้ง Android และ IOS มีมากกว่าสองล้านโมบายแอพพลิเคชั่น (Mobile Application) เข้าไปแล้ว แต่ที่เห็นแนวโน้มกันชัดๆ คือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหันมาลงทุนจ้างพัฒนาโมบายแอพ (Mobile App) ของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็มักจะมีคำถามว่าเราจะได้ประโยชน์จริงแท้แน่เหรอจากการลงทุนมหาศาลเมื่อเทียบกับขนาดของธุรกิจ แต่ก่อนจะด่วนสรุปว่าไม่มีประโยชน์ ต้องมาดูข้อมูลจาก Ericsson Mobility Report ปี 2560 กันนะครับว่า ปี 2559 คนไทยมีสมาร์ทโฟน (Smartphone) มากกว่า 50 ล้านเครื่อง ซึ่งกระโดดจากปี 2558 ที่มี 40 ล้านเครื่อง และประมาณการณ์ว่าในปี 2564 ประเทศไทยอาจจะมีจำนวนสมาร์ทโฟน (Smartphone) กว่า 80 ล้านเครื่อง (มากกว่าประชากรในประเทศไทยเสียอีก!!) เรียกง่ายๆ ว่าเข้าสู่สังคมคนก้มหน้าอย่างสมบูรณ์แบบเรียบร้อยแล้วครับ (ตามหลังสังคมผู้สูงอายุเล็กน้อย) คำถามต่อมาคือแล้วเราในฐานะผู้ประกอบการจะทำอย่างไรให้มีโมบายแอพของตัวเองแบบถูกหลัก เพราะว่าหลายท่านอาจจะเจอมาหลายคนที่ทำโมบายแอพแล้วก็ไม่ได้ใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากการออกแบบฟีเจอร์และฟังก์ชั่นไม่ถูกหลักและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งเรามาดูกันว่าผู้เชี่ยวชาญแบบซิลวิโอเค้ามีความเห็นอย่างไรว่าทำไมต้องนำโมบายแอพ (Mobile App) มาใช้ในทางธุรกิจ 1. เพราะโมบายแอพ (Mobile App) เป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการทำโปรโมชั่น  บริษัทหลายแห่งเชื่อว่าการออกแบบเว็บไซต์ให้สวยๆ และรองรับการแสดงผลบนมือถือหรือแทบเล็ตก็เพียงพอสำหรับการสร้างภาพลักษณ์และสื่อสารในทางธุรกิจให้ประสบความสำเร็จแล้ว แต่เอาเข้าจริงเว็บไซต์เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ และโปรโมตธุรกิจของเราผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น แต่โมบายแอพ (Mobile App) เป็นเครื่องมือที่เร็วกว่า ง่ายกว่า และล้ำกว่าในการขายสินค้าและปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจหรือแบรนด์ของเรา ซึ่งหลักการในการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางดิจิทัลในยุคนี้มีสามคำคือ “เร็ว (Quick)” “ง่าย (Simple)” และ “สนุก (Fun)”...

Continue reading