“AI จะมาแย่งงานของคนจริงหรือไม่?” เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนถกเถียงและสงสัยกันมาอย่างยาวนาน แต่จากที่ข่าวสารและสิ่งที่ทุกท่านเห็นกันมาคงบอกได้แน่ ๆ ว่า AI เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในปัจจุบัน ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันไปจนถึงการทำงาน แต่ก็ยังมีหลายองค์กร ยิ่งในประเทศไทยเอง ยังไม่ได้มีแผนการรับมือหรือการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการมาถึงของ AI ขนาดนั้น
ซึ่งถ้าองค์กรของคุณกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่อง AI แต่ยังไม่รู้วิธีว่าต้องเตรียมตัวอย่างไร? บทความนี้ช่วยคุณได้อย่างแน่นอน ในบทความนี้เราได้นำเนื้อหามาจาก Report ของทาง Asana ที่มีชื่อว่า ‘The State of AI at Work’ โดยที่จะมาพูดถึงเคล็ดลับในการเตรียมตัวรับมือกับ AI จากบริษัทชั้นนำด้าน AI กันอย่างเจาะลึก จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!
เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย!
1. ยกระดับความเข้าใจใน AI ในองค์กร
ลงทุนในด้านการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาทักษะ
เพื่อให้องค์กรของคุณสามารถนำ AI มาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พนักงานจำเป็นจะต้องมีความรู้ และทักษะในการใช้งานเพื่อดึงศักยภาพและประโยชน์จาก AI ออกมาให้มากที่สุด ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่สามารถสำเร็จได้ในครั้งเดียว แต่องค์กรจะต้องให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เข้าใจถึงความสามารถของ AI ได้อย่างลึกซึ้ง
56% ของพนักงานในองค์กร กำลังเรียนรู้ และทดลองใช้งาน Generative AI ด้วยตนเอง
จากการวิจัยของ Asana พบว่า 56% ของพนักงานกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับ Generative AI ด้วยตนเอง โดยที่ไม่มีการฝึกอบรมการใช้งานอย่างเป็นทางการ องค์กรควรที่จะต้องสนับสนุนพนักงานที่มีแรงจูงใจด้านนี้ ให้ขึ้นสู่การเป็นผู้นำในการขับเคลื่อน AI มาใช้ภายในองค์กร และยังสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน พร้อมกับเป็นแรงผลักดันให้ทั่วทั้งองค์กรหันมาสนใจการใช้งาน AI มากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม..การพัฒนาทักษะด้าน AI ไม่ควรตกอยู่ที่พนักงานเพียงฝ่ายเดียว องค์กรควรที่จะต้องสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับพนักงานของคุณด้วย เช่น การจัดหาระบบ AI ต่าง ๆ มาให้ใช้งาน การฝึกอบรม (Training) และการออกแบบโครงสร้างหรือกระบวนการทำงานที่สนับสนุนการใช้งาน AI ภายในองค์กรด้วย เมื่อทีมของคุณได้ใช้งาน AI ในหลาย ๆ มุมมองมากขึ้น ทักษะของพวกเขาจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นการให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจ การฝึกอบรม และการพัฒนาทักษะด้าน AI เป็นสิ่งที่สำคัญ และจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือระหว่างพนักงานและองค์กร เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานจะมีทั้งเครื่องมือและความรู้ในการใช้งาน AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. จัดการกับความกังวล
การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือของ AI
การให้ความสำคัญในด้านความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของ AI มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เมื่อถ้าองค์กรของคุณเลือกใช้เครื่องมือหรือแพลตฟอร์มที่เป็น Generative AI ในการสร้างความไว้วางใจแก่พนักงาน ลูกค้า และผู้ถือหุ้น เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI องค์กรของคุณจะต้องมุ่งเน้นและให้ความสำคัญที่ 3 ข้อนี้เป็นหลัก
1. ความน่าเชื่อถือ
ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอันดับหนึ่งสำหรับกลุ่มผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้าน AI กว่า 69% ของพนักงานที่มีความรู้ด้าน AI กล่าวว่าความน่าเชื่อถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้เครื่องมือ Generative AI ส่วน AI ที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ อาจนำไปสู่ความผิดพลาด ตั้งแต่การวิเคราะห์และการตัดสินใจทางธุรกิจที่ผิดพลาดไปจนถึงการทำให้องค์กรของคุณเสื่อมเสียชื่อเสียง ดังนั้นองค์กรควรเลือกผู้ให้บริการด้าน AI ที่มีข้อมูลที่ครบถ้วน และลงทุนในฐานข้อมูลที่มีคุณภาพสูง พร้อมแนวทางการกำกับดูแลของข้อมูลที่เข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่า AI ที่องค์กรเลือกใช้ จะได้รับผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถืออย่างสม่ำเสมอ
2. การตีความ
38% ของพนักงานเชื่อว่า สิ่งที่สำคัญอีกอย่างสำหรับ AI คือ จะต้องมีการอธิบายการทำงานที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายว่าข้อสรุปต่าง ๆ ที่ AI ประมวลผลมานั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยก่อนเลือกใช้ AI องค์กรควรต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า AI นั้นสามารถอธิบายการทำงานของตัวเองได้อย่างชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่า AI ที่นำมาใช้มีความน่าเชื่อถือและสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย
3. ความคล่องตัวและยืดหยุ่นของ AI
31% ของพนักงานต้องการ AI ที่สามารถควบคุมและกำหนดทิศทางด้วยตนเองได้ เพื่อกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการ ความคล่องตัวและยืดหยุ่นของ AI จะช่วยให้พนักงานสามารถผสานสิ่งที่ตัวเองเชี่ยวชาญเข้ากับกระบวนการทำงานได้ยิ่งขึ้น เมื่อองค์กรพัฒนาไปสู่ความเชี่ยวชาญทางด้าน AI ความยืดหยุ่นก็จะมีความสำคัญมากขึ้น เครื่องมือ AI ที่สามารถปรับแต่งได้ตามที่องค์กรและพนักงานต้องการ มีแนวโน้มที่จะสร้างผลลัพธ์และได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งานมากขึ้น
3. การทำงานร่วมกับ AI
แบบมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
การที่องค์กรจะสามารถดึงศักยภาพของ Generative AI ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและขับเคลื่อนเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ คุณจะต้องทบทวนบทบาทของ AI ภายในองค์กรของคุณใหม่ เริ่มจากการมองว่า AI ไม่ใช่เป็นเพียงเครื่องมือที่จะมาทำงานแทนพนักงาน แต่เรานำมาใช้งาน AI เพื่อเป็นเพื่อนร่วมงาน และทำงานร่วมกับพนักงานทุกคน เพื่อเสริมศักยภาพให้กับทีม แก้ปัญหาและบรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน
การปรับมุมมองเรื่อง AI ที่มาเป็นเพื่อนร่วมงาน จะเป็นเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในการระดมความคิดไอเดียใหม่ ๆ การแก้ปัญหาที่หลากหลาย และช่วยในการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น เพื่อปลดล็อกศักยภาพของ AI อย่างเต็มที่ในที่ทำงาน ผู้นำต้องให้ความสำคัญกับการมอง AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมศักยภาพของพนักงาน ไม่ใช่แค่เครื่องมือ
4. สร้างกฎเกณฑ์ให้ AI ทำงานอย่างถูกต้อง
เพื่อเป็นพื้นฐานที่แข็งแกร่งให้กับองค์กร
ถ้าอยากให้องค์กรสามารถใช้งาน AI ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ องค์กรจำเป็นจะต้องกำหนดนโยบายหรือกฎเกณฑ์ของ AI ที่ครอบคลุมและชัดเจน เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้ AI ทำงานผิดพลาดหรือก่อให้เกิดความเสียหาย รวมถึงจะช่วยให้เราใช้ AI ได้อย่างมีความรับผิดชอบ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านจริยธรรม
มีองค์กรเพียง 13% เท่านั้นที่ได้พัฒนานโยบายและกฎเกณฑ์เพื่อการกำหนดแนวทางของการนำ AI มาใช้ร่วมกับการทำงานภายในองค์กรเพื่อให้พนักงานปฏิบัติตาม
การกำหนดนโยบายและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน เหมือนเป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับการนำ AI มาใช้ภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม..มีองค์กรจำนวนมากที่มีนโยบายหรือกฏเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน มีองค์กรเพียง 13% เท่านั้นที่ได้พัฒนานโยบายและกฎเกณฑ์เพื่อการกำหนดแนวทางของการนำ AI มาใช้ร่วมกับการทำงานภายในองค์กร องค์กรที่ยังไม่มีกฎเกณฑ์ชัดเจนในการใช้ AI ส่งผลให้พนักงานไม่สามารถใช้ AI ได้อย่างเต็มที่
5. การเพิ่มประสิทธิภาพของ AI
จากการวัดผลกระทบและคุณค่าของ AI
การปรับเทียบ (Calibration) คือ กระบวนการที่สำคัญมากในการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ AI เพราะมันจะช่วยให้ AI ทำงานได้อย่างแม่นยำและให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องตามที่เราต้องการ เช่นเดียวกับการปรับตั้งเครื่องมือวัดให้ได้ค่าที่ถูกต้องก่อนใช้งาน องค์กรจะต้อง
- กำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ
- สร้างมาตรฐานพื้นฐานเพื่อวัดผลกระทบของ AI ได้อย่างแม่นยำ
- ติดตามการใช้งาน ประสิทธิภาพ และความคิดเห็นจากพนักงาน
- วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูแนวโน้มและโอกาสเพื่อปรับปรุง
ตัวอย่างเช่น เมื่อตัวแทนฝ่ายบริการลูกค้าพบว่าแชทบอทไม่เข้าใจคำถามบางประเภท นั่นคือการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับจุดอ่อนของ AI ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการฝึกอบรม AI เพิ่มเติม เพื่อให้ AI สามารถเข้าใจคำถามเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต ทำให้ประสิทธิภาพของแชทบอทดีขึ้น ลูกค้าก็จะได้รับบริการที่ดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการนำปัญหาที่เกิดขึ้นจริงมาปรับปรุง AI นั้นเปรียบเสมือนการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด เพื่อให้ AI ฉลาดขึ้นและทำงานได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
เพราะฉะนั้นการสร้างมาตรฐานเบื้องต้นก่อนที่จะนำ AI มาใช้เป็นสิ่งสำคัญ ผู้นำต้องรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะเริ่มใช้งาน AI ว่าเราต้องการจะกำหนดทิศทางของ AI ที่นำมาไปในทิศทางใด และมีอะไรเป็นตัวชี้วัดพร้อมการประเมินเป็นระยะ ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงและพัฒนาตัว AI ต่อไป
แม้ว่าหลายองค์กรจะตระหนักถึงความสำคัญของการเก็บรวบรวมความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับ AI ถึง 59% แต่กระบวนการนี้ยังไม่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพียงพอ เพราะความคิดเห็นของพนักงานมักถูกเก็บรวบรวมผ่านการพูดคุยส่วนตัวกับผู้จัดการ ซึ่งขาดความเป็นระบบและอาจทำให้ข้อมูลบางส่วนหายไป รวมถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่ก็ไม่มีกระบวนการที่ชัดเจนในการนำข้อมูลเหล่านั้นไปปรับปรุงและพัฒนา AI
ซึ่งเท่ากับส่วน 41% ที่เหลือของพนักงานกล่าวว่าองค์กรของพวกเขาไม่ได้เก็บรวบรวมความคิดเห็นจากพนักงานเกี่ยวกับเครื่องมือ AI เลย
พนักงานด่านหน้า คือ ทรัพยากรและแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดในการปรับปรุงประสิทธิภาพของ AI เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่ใช้งาน AI โดยตรง และมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ AI กำลังเผชิญ
ถึงเวลาที่คุณจะต้องเตรียมองค์กรให้พร้อมกับการมาถึงของ AI เพื่อให้ธุรกิจของคุณขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี รวมถึงให้พนักงานในองค์กรสามารถทำงานร่วมกับ AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

ซอฟต์แวร์บริหารทีม โปรเจค และประสานงานบนคลาวด์
บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด - Your Business Transformation Partner
ผู้ให้บริการ Asana ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ

LINE : @dmit