3 เครื่องมือสุดเทพ บน Gmail ที่คุณอาจยังไม่รู้จัก

มาถึงวันนี้เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก Gmail บริการ Free Email ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ ที่สามารถใช้งานบนอุปกรณ์ชนิดใดก็ได้ มาพร้อมกับ เครื่องมือการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ปฏิทินสำหรับบันทึกตารางการประชุม, ห้องสนทนาสำหรับเจรจาธุรกิจ, รวมถึงมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บ Email ที่มากถึง 15 GB ทำให้มีผู้ใช้งาน Gmail มากที่สุดในโลก คือมากกว่า 425 ล้านคน แต่เครื่องมือการใช้งานดังกล่าว เป็นเครื่องมือที่คนส่วนใหญ่รู้จักและใช้งานเป็นประจำอยู่แล้ว วันนี้เราจะขอแนะนำเครื่องมือที่จะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น ด้วย 3 เครื่องมือบน Gmail ที่คุณอาจไม่เคยใช้ หรือไม่รู้มาก่อนว่ามีอยู่ ซึ่งจะเป็นอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ที่นี่เลย 1. ปุ่ม “ยกเลิกการส่ง” คุณอาจเคยสะกดข้อความบนอีเมลผิด ลืมแนบไฟล์สำคัญ หรือส่งอีเมลไปให้ผิดคน! แต่กว่าจะรู้ตัวก็กด ส่ง อีเมลไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอีเมลที่ส่งไปอย่างผิดพลาดนั้นอาจทำให้ชีวิตต้องเจอกับปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาได้ ทาง Google จึงได้ออกแบบตัวช่วยนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้นให้กับคุณ เพียงแค่คลิกที่ปุ่ม “ยกเลิกการส่ง” แบบง่ายๆ เท่านั้นเอง วิธีการตั้งค่า “ยกเลิกการส่ง” คลิก ไอคอนเฟือง ที่มุมบนขวาของหน้า Gmail >> คลิกตัวเลือก การตั้งค่า >> คลิกแท็บ ทั่วไป >> และคลิก “เปิดใช้” ที่หัวข้อ ยกเลิกการส่ง และสามารถ ตั้งระยะเวลาการยกเลิก ได้ตามต้องการ สุดท้ายคลิก บันทึก   เพียงเท่านี้ คุณก็จะมีเวลา 5-30 วินาทีในการตรวจทานความถูกต้องของอีเมลหลังจากที่กด ส่ง ไปแล้ว เพื่อที่หากต้องการแก้ไขเพิ่มเติมก็สามารถกด Undo กลับสู่หน้าแก้ไขอีเมลได้อย่างทันท่วงที   2. เครื่องมือ “การตอบกลับสำเร็จรูป” หากคุณรู้สึกว่าต้องตอบคำถาม หรือพิมพ์ข้อความในรูปแบบซ้ำ ๆ เพื่อตอบกลับอีเมลอยู่บ่อยครั้ง เราขอแนะนำให้คุณใช้ตัวช่วย ด้วยเครื่องมือที่มีชื่อว่า “การตอบกลับสำเร็จรูป (Canned Responses)” ที่จะทำให้คุณสามารถพิมพ์เนื้อหาของอีเมลเก็บเอาไว้ และสามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ทุกครั้งที่ต้องการ การเปิดใช้งานก็สามารถทำได้ง่าย เพียงแค่ไม่กี่คลิก  วิธีการตั้งค่า “การตอบกลับสำเร็จรูป” คลิก ไอคอนเฟือง ที่มุมบนขวาของหน้า Gmail >> คลิกตัวเลือก การตั้งค่า >> คลิกแท็บ ห้องทดลอง (Labs) >> กรอกข้อความในช่องค้นหาห้องทดลอง ว่า “การตอบกลับสำเร็จรูป” >> เมื่อปรากฎหัวข้อดังกล่าวให้คลิก “ใช้งาน” >>...

Continue reading

เรื่องจริงไม่อิงนิยาย มหันตภัยของ man-In-the-middle

คำว่า man-in-the-middle กำลังมาแรงในการสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจในยุคปัจจุบัน ฟังชื่อภาษาอังกฤษก็พอจะเดากันได้ครับว่าต้องมีบุคคลที่สามแทรกอยู่ระหว่างกลาง (ถ้าแปลกันตรงตัวเลยครับ) เช่น เป็นบุคคลที่สามระหว่างคนสองคน บุคคลที่สามที่มาสร้างความปั่นป่วนให้กับความสัมพันธ์ ซึ่งในทางธุรกิจ การทำ man-in-the-middle เป็นเทคนิคด้านไอทีที่มีคนเข้ามาแทรกระหว่างกลางของการสื่อสารระหว่างสองบริษัท ซึ่งช่องทางที่ง่ายที่สุดและจับได้ยากที่สุดก็คือช่องทางอีเมล!!! ในการติดต่อสื่อสารระหว่างสองบริษัทโดยเฉพาะการติดต่อคู่ค้าที่อยู่คนละประเทศ ช่องทางอีเมลย่อมเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดเนื่องจากประหยัดและสามารถอธิบายข้อความได้อย่างชัดเจนที่สุด โดยในทางธุรกิจก็จะนิยมใช้อีเมลตามด้วยโดเมนเนมองค์กรตนเอง ซึ่งการใช้อีเมลโดเมนองค์กรตนเองก็มีหลายทางเลือก ทางเลือกที่คนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดก็คือใช้ระบบเมลที่แถมมากับการจดโดเมนและเว็บโฮสติ้ง ซึ่งผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งก็มักจะแถมระบบเมลฟรีที่ให้มากับเว็บโฮสติ้ง ที่ใช้งานแบบง่ายๆ อาจจะเปลี่ยนรหัสผ่านไม่ได้ วันดีคืนดีระบบล่ม หรือข้อมูลหาย เนื่องจากระบบอีเมลมักจะเป็นช่องทางที่พวกแสวงหาผลประโยชน์ในทางธุรกิจจับตามองและหาช่องในการยิงข้อความหรือล้วงความลับจากอีเมล แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงไม่อิงนิยายครับ เกิดขึ้นกับผู้ประกอบธุรกิจมาแล้วหลายราย และจะพบว่าการใช้เครื่องมือในทางธุรกิจที่ฟรีแต่มีจุดอ่อนมหาศาลย่อมไม่คุ้มค่ากับมูลค่าทางธุรกิจที่สูญเสียไป หนึ่งในเทคนิคที่มิจฉาชีพยุค 4.0 ใช้กันก็คือที่เราจั่วหัวครับ คือเทคนิคที่เรียกว่า man-in-the-middle วิธีการก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ ผมขออนุญาตสมมติเหตุการณ์จริงที่เกิดกับผู้ประกอบธุรกิจหลายรายในนามสมมติ หากบังเอิญไปพ้องกับชื่อท่านใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ บริษัท AAA เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกสินค้าจากประเทศไทย โดยมีบริษัท BBB เป็นผู้สั่งสินค้าอยู่ที่ประเทศอูกันดา โดยบริษัท AAA มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบสมมติว่าชื่อ สมชาย โดยสมชายใช้อีเมลว่า somchai@aaa.com และติดต่อกับฝั่งอูกันด้าชื่อว่าไมเคิล สมมติว่าใช้เมลว่า michael@bbb.com โดยที่ผ่านมาก็สั่งสินค้าและโอนเงินกันปกติ เป็นคู่ค้าที่ดีมาหลายปี แม้จะพูดภาษาอังกฤษกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง แต่เรื่องเขียนอีเมลสมชายเขียนได้ถูกหลักไวยกรณ์เป๊ะ มีอยู่วันหนึ่งมีบุคคลที่สามสมมติว่ามาจากประเทศบัลแกเรีย ที่เป็นมิจฉาชีพชื่อว่า จอห์น โดยจอห์นกำลังหาเหยื่อที่มีจุดอ่อนทางเทคโนโลยี จอห์นก็ได้ใช้เครื่องมือที่แฮกเกอร์ใช้กันประจำและสแกนเข้าไปเจอพอร์ตว่า โดเมน aaa.com นี่หวานหมูในการเข้าแทรกระหว่างกลางตามคอนเซปของ man-in-the-middle จึงได้แทรกตัวเข้าไประหว่างอีเมล ที่แทรกตัวเข้าไปได้ โดยจอห์นได้สร้างอีเมลขึ้นอันหนึ่งที่ดูแล้วเหมือนกับโดเมนของ AAA มาก โดยใช้ชื่อว่า somchai@aa-a.com มองผ่านๆ โดยไม่ทันได้สังเกต จะมองไม่ออกถึงความแตกต่าง ทำไมชีวิตถึงได้ง่ายดายขนาดนี้ ก็เพราะเหตุผลง่ายๆ คือระหว่างกลางของการส่งข้อความไม่มีการ “encrypt” ข้อมูลเพื่อความปลอดภัย โดยจอห์นได้แทรกเข้าไปในเมลที่โต้ตอบระหว่างกันด้วยเมล somchai@aa-a.com หลังจากแทรกตัวเข้าไปดูข้อมูลสักพัก ก็ทราบได้ว่าบริษัท BBB กำลังจะสั่งสินค้าจากบริษัท AAA อยู่พอดี ซึ่งจอห์นได้เล็งไว้เรียบร้อยแล้วว่า BBB จะสั่งสินค้ากับ AAA เป็นมูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท!!! หลังจากตกลงกันเรียบร้อย ถึงขั้นตอนการชำระเงิน สิ่งที่จอห์นทำก็คือ...

Continue reading

การเพิ่มตารางนัดหมายผ่านอีเมล์

เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์มา เพื่อบอกวันที่ต้องการสร้างการนัดหมาย หรือวันที่อยากชวนทำกิจกรรมอะไรบางอย่างโดยที่ไม่ invite จากปฏิทินโดยตรง คุณสามารถเป็นผู้เพิ่มวันและเวลานั้นลงไปยังปฏิทินของคุณโดยผ่านทางอีเมล์ได้ ซึ่งมีวิธีการทำได้ง่ายๆ ดังนี้ Login เข้าสู่ระบบอีเมล์ G Suite (Google apps for business) แล้วเลือก inbox หรือกล่องข้อมูลขาเข้า แล้วเปิดอีเมล์ขึ้นมา จากนั้นดูที่วันเวลาในเนื้อหาอีเมล์ กดที่วัน หรือเวลานั้น 1ครั้ง เพื่อเริ่มการเพิ่มกิจกรรมลงในปฏิทิน จะมี Pop- up แสดงขึ้นมา เพื่อให้เราแก้ไขหัวข้อ วันและเวลา ซึ่งค่าเริ่มต้น จะนำชื่อเรื่องของอีเมล์มาเป็นชื่อกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในปฏิทิน ส่วนวันและเวลานั้นก็จะนำมาจากเนื้อหาในอีเมล์ จากนั้นกดปุ่ม “Add to calendar” เพื่อเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์นี้ลงในปฏิทินของคุณ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย *** หมายเหตุ: ผู้รับเมลล์จะสามารถเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์ลงปฏิทินได้นั้น ผู้ส่งอีเมล์จะต้องระบุวันและเวลา เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Monday, on Monday about 10.00 AM เป็นต้น และเมื่อผู้รับอีเมล์ทำการเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์ลงปฎิทิน Google จะเลือกวันที่ใกล้วันปัจจุบันมากที่สุดเป็นค่าเริ่มต้นให้ เช่น วันนี้เป็นวันอังคารที่10 มิถุนายน 2556 ถ้าได้รับอีเมล์มีเนื้อหาว่า Let’s meeting on Tuesday ค่าเริ่มต้นจะเป็นวันอังคารสัปดาห์ถัดไป คือ วันอังคารที่17 มิถุนายน 2556 นั้นเอง บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th Official LINE...

การพัฒนาฟังก์ชันของ G-mail ที่มาพร้อมกับการป้องกันมัลแวร์ในไฟล์แนบโดยใช้ Machine Learning

    ฟังก์ชันใหม่ของ G-mail ที่มาพร้อมกับการป้องกันมัลแวร์ในไฟล์แนบโดยใช้ Machine Learning บทความนี้ถูกโพสต์โดย Sri Somanchi ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Gmail ตอนนี้มีการอัพเดทด้านความปลอดภัยใหม่ สำหรับผู้ใช้งาน Gmail รวมถึงการตรวจจับการ Phishing โดยการใช้ Machine Learning (ML) ซึ่งจะมีการเด้งเตือนเวลาคลิ๊กสำหรับ link ที่คาดว่าจะเป็นอันตราย และแจ้งคำเตือนเด้งขึ้นมา นอกจากนี้ Gmail ยังได้ปรับปรุงการป้องกันไฟล์แนบที่เป็นอันตราย ลองมองให้ลึกขึ้นไปเกี่ยวกับการป้องกันมัลแวร์ใหม่ๆจากไฟล์แนบที่เป็นอันตรายโดยการใช้ Machine Learning นั้นทำได้อย่างไร …มันจะมีการวิเคราะห์พฤติกรรมการแนบไฟล์ของผู้ส่ง เพื่อนำมาวิเคราะห์และคาดการณ์ข้อความที่มีคำที่บ่งบอกถึงการเป็นมัลแวร์ตัวใหม่ การป้องกันเหล่านี้ช่วยให้ gmail สามารถที่จะป้องกันให้ผู้ใช้งานปลอดภัยมากขึ้นจาก zero-day, ransomeware และมัลแวร์อื่นๆที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้ Gmail ยังทำการ block ประเภทไฟล์ที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสูงรวมถึงไฟล์ประเภทปฏิบัติการหรือไฟล์ javascript Machine Learning นั้นช่วยให้ Gmail สามารถที่จะทำการตรวจจับสแปมได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากกว่า 99% เลยทีเดียว และด้วยการป้องกันใหม่ๆ ที่อัพเดทจาก Gmail เหล่านี้ ทำให้สามารถที่จะความเสี่ยงจากการคุกคามได้ทำการปฏิเสธการรับอีเมล์นับร้อยล้านอีเมล์ในทุกๆวัน  Gmail จะมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าในหลายปีทีผ่านมาภัยคุกคามเองก็พัฒนามันเองขึ้นมาเรื่อยๆเช่นกัน เพราะเดี๋ยวนี้ข้อมูลมีค่ามาก ยิ่งกว่าทองคำ ซึ่งการป้องกันของ Gmail ก็มีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธข้อความและแจ้งผู้ส่งหากตรวจพบไวรัสในอีเมล ป้องกันไม่ให้คุณดาวน์โหลดไฟล์แนบ หากตรวจพบว่ามีไวรัส ป้องกันไม่ให้ส่งข้อความพร้อมไฟล์แนบที่มีไวรัส Gmail ก็คงยังไม่หยุดพัฒนาต่อไปตราบเท่าที่แฮกเกอร์ยังคงเป็นแฮกเกอร์อยู่   เขียนโดย : มนัสนันท์  ผลพูน ที่มา : https://goo.gl/eEFhJY บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ Google Apps for Work ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th Official LINE       ...

Google ประกาศเพิ่มขนาด Attachment ใน Gmail เป็น 50MB

นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่ใช้งาน Gmail ที่ตอนนี้จะสะดวกขึ้นอีกขั้น เมื่อ Google ประกาศให้ใช้งาน Attachment ขนาดใหญ่สุดที่ 50MB ได้แล้ว จากเดิมที่ใช้ได้เพียง 25MB เท่านั้น ก่อนหน้านี้ผู้ใช้งาน Gmail ที่ต้องการส่งไฟล์ใหญ่ๆ นั้นต้องหันไปใช้ Google Drive และทำการแชร์ไฟล์ขนาดใหญ่กันแทน ซึ่ง Google เห็นว่าก็ยังมีบางกรณีที่มีการส่งเมล์จากภายนอกพร้อมไฟล์แนบขนาดใหญ่เข้ามาอยู่ดี จึงได้ประกาศขยาย Attachment ให้รองรับได้ถึง 50MB ในครั้งนี้ ผู้ใช้งานทุกคนจะได้ใช้ฟีเจอร์นี้ภายใน 1-3 วันนับจากวันนี้เป็นต้นไป...

Google Apps Standards ต่างจาก Google Apps for Work อย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง  Google Apps  Standard กับ Google Apps for Work จะอยู่ที่พื้นที่และผู้ดูแลระบบเพราะ  Google Apps  Standard จะไม่มีผู้ดูแลระบบ( Admin)ให้กับท่านค่ะ Google Apps for Work  คือ อีเมล์ที่เหมาะสำหรับท่านที่ประกอบธุรกิจไม่ว่ธุระกิจของท่านจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้งานได้ โดยอีเมล์ที่ท่านจะใช้นั้น ท่านสามารถกำหนดเองโดเมนเองได้ (@yourcompany.com) พร้อมการสนับสนุนตลอด 24/7, พื้นที่เก็บข้อมูล 30 GB และอื่นๆ หากท่านใช้ Google Apps for Work ท่านสามารถกำหนดได้ว่า จะให้ใครเป็นผู้ดูและรบบ (Admin) ซึ่งผู้ดุแลระบบนั้น สามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง Google Apps  Standard  จะไม่เหมาะสำหรับท่านที่ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่  เพราะพื้นที่เก็บข้อมูลมีเพียง 15 GB เท่านั้น  ท่านสามารถกำหนดเองโดเมนเองได้ (@yourcompany.com) เหมือน Google Apps for Work แต่ท่านจะไม่มีผู้ดูแลระบบ (admin) เช่น สมมติท่านต้องการเพิ่มผู้ใช้งาน ท่านก้ไม่สามารถเพิ่มผู้ใช้งานเองได้...

สรุปการทำงานของ Google Mail

สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ แอปพลิเคชันแบบเว็บไซต์จึงทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนอย่างสมบูรณ์ในหลากหลายอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์เพื่อให้ทำงานต่อเนื่อง 1.ลดการเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยง แอปพลิเคชันบนเบราว์เซอร์ช่วยให้ข้อมูลที่มีความสำคัญได้รับความปลอดภัยมากกว่า ต่างจากซอฟต์แวร์แบบเดิม คือเมื่อผู้ใช้สิ้นสุดการใช้แอปพลิเคชันแบบเว็บ จะมีข้อมูลที่เสี่ยงต่อการรั่วไหลเหลือในเครื่องเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ใดก็ได้ ลดโอกาสในการเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีความปลอดภัย เช่น ธัมบ์ไดรฟ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปสูญหาย และไวรัสทำให้ข้อมูลสูญหาย การทำให้สามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ และลดปริมาณการเสี่ยงของข้อมูลที่เก็บไว้ในอุปกรณ์ คือยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ 2.ระบบคลาวด์ของ Google ช่วยให้ทำงานร่วมกันได้เร็วกว่า เนื่องจากข้อมูลใน Google Apps นั้นเก็บไว้ในคลาวด์ แทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ของพนักงาน ทำให้ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการทำงานพร้อมกัน โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ หรือเบราว์เซอร์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น แทนที่จะทำงานร่วมกันในเอกสารด้วยการส่งการแก้ไขกลับไปกลับมาในรูปของไฟล์แนบ ก็จะสามารถเก็บเอกสารไว้ในคลาวด์ด้วย Google Apps เพื่อนร่วมงานสามารถเข้าถึงเอกสารทางเว็บได้พร้อมกันในเบราว์เซอร์ของตนเอง และสามารถแก้ไขเอกสารได้ การขจัดการรับส่งเอกสารเป็นไฟล์แนบด้วยการเก็บข้อมูลในคลาวด์ช่วยประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากของการทำงานที่ต้องการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 3.สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ใดก็ได้ แอปพลิเคชันแบบเว็บ ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างสมบูรณ์ในอุปกรณ์หลากหลายชนิด เพื่อให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพในหลากหลายที่ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์ ไม่ใช่ในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลทั้งหมดของตน และทำงานผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกทั้งในที่ทำงาน ที่บ้าน ขณะเดินทางและจากโทรศัพท์มือถือของตน สำหรับเทคโนโลยีแบบเดิม ข้อมูลสำคัญอาจติดค้างอยู่ในซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้เฉพาะในอุปกรณ์บางชนิด ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำงาน ระบบอีเมล์ของ Google Mail ระบบอีเมล์ทั่วไป ระบบกรองอีเมล์ขยะ           พื้นที่ในการใช้อีเมล์           ความรวดเร็วในการรับ-ส่ง อีเมล์           ระบบรักษาความปลอดภัย           รองรับการใช้งานผ่านทางโทรศัพท์          ...

Google Apps Standards คืออะไร

Google Apps Standard คือ บริการหนึ่งของ Google มีหน้าตาเหมือนหน้า web mail เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Gmail ซึ่งมีแถบเครื่องมือการใช้งานไม่ซับซ้อน  แต่การตั้งค่าลึกๆบางอย่างอาจจะยังทำได้ไม่เหมือน Google Apps for Work ปัจจุบัน Google Apps Standard มีให้บริการเริ่มต้นที่ 50  Account สนใจสอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อ ติดต่อ 026759371 หรือ support@dmit.co.th...