ตั้งค่า Gmail เร็วทันใจด้วยฟีเจอร์ใหม่ Quick setting

Google เพิ่มเมนูการตั้งค่าโฉมใหม่ที่เรียกว่า Quick setting ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาการตั้งค่าในหน้าต่าง Gmail ได้ง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เมื่อคลิกที่การตั้งค่า หรือไอคอนรูปฟันเฟือง คุณจะเห็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ โดยตัวเลือกการตั้งค่าต่างๆ จะแสดงอยู่ข้างกล่องจดหมายของคุณเลย ในขณะเดียวกันเมนูการตั้งค่าแบบเดิมจะยังคงใช้งานได้อยู่ โดยคลิกปุ่ม “ดูการตั้งค่าทั้งหมด” ที่ด้านบนของเมนู Quick setting แบบใหม่ ใน Gmail มีตัวเลือกมากมายสำหรับการปรับแต่งเลย์เอาท์ สี ธีม และรายละเอียดอื่นๆ เพื่อให้เหมาะกับการทำงานของผู้ใช้ สำหรับการตั้งค่าใน Quick setting จะประกอบไปด้วย: การปรับแต่งความหนาแน่นของข้อความและข้อมูลที่แสดง (Density) การเลือกประเภทกล่องจดหมายที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของอีเมล เพิ่มหน้าต่างเพื่อดูเนื้อหาอีเมลอย่างรวดเร็ว ตัวเลือกธีมเพื่อปรับแต่งรูปลักษณ์ของกล่องจดหมาย ฟีเจอร์ Quick setting ใหม่นี้ จะทำให้ผู้ใช้ค้นหาตัวเลือกการตั้งค่าที่กล่าวมาข้างต้นได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น และกล่องจดหมายจริงของคุณจะอัปเดตทันทีเพื่อแสดงให้เห็นว่าหน้าอินเทอร์เฟซมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ขอเน้นว่าการอัปเดต Gmail ครั้งนี้จะไม่มีตัวเลือกการตั้งค่าใหม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด Quick setting เป็นเพียงการเพิ่มวิธีที่ง่ายขึ้นในการเข้าถึงการตั้งค่าที่มีอยู่แล้วในเมนูการตั้งค่า Gmail แบบเต็มเท่านั้น  และการตั้งค่าปัจจุบันของผู้ใช้จะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ที่มา – G Suite Updates G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...

ทำความรู้จักให้มากขึ้นกับข้อความอัตโนมัติใน Google Search

ข้อความอัตโนมัติ (Autocomplete) เป็นฟีเจอร์หนึ่งใน Google Search ที่ออกแบบมาเพื่อให้การค้นหารวดเร็วขึ้น ในโพสต์นี้เราจะมาทำความรู้จักฟีเจอร์นี้ให้มากขึ้น และดูกันว่าข้อความอัตโนมัติที่ว่านี้ทำงานอย่างไร ข้อความอัตโนมัติ หรือ Autocomplete ข้อความอัตโนมัติมีให้บริการเกือบทุกที่ที่คุณพบช่องค้นหาของ Google อย่างหน้าโฮมเพจของ Google แอป Google เช่น Youtube สำหรับ iOS และ Android ช่องค้นหาภายใน Android และ Chrome เมื่อลองพิมพ์ลงไปก็จะเห็นคีย์เวิร์ดมากมายปรากฏขึ้น หรือบางครั้ง Google จะช่วยเติมคำ และวลีให้สมบูรณ์ขณะที่เรากำลังพิมพ์อยู่ การเติมข้อความอัตโนมัติมีประโยชน์อย่างมากทั้งสำหรับผู้ที่ใช้ Google บนเดสก์ท็อปและโทรศัพท์มือถือ ที่ทำให้การค้นหาบนหน้าจอขนาดเล็กๆ เป็นเรื่องง่ายขึ้น รวมถึงช่วยประหยัดเวลาได้ดีทีเดียว โดยเฉลี่ยจะลดการพิมพ์ลงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ Google คาดการณ์ว่าจะช่วยประหยัดเวลาในการพิมพ์ได้มากกว่า 200 ปีต่อวัน “การคาดคะเน” ไม่ใช่ “คำแนะนำ” ข้อความอัตโนมัติถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ทำการค้นหาคำที่ต้องการได้เร็วขึ้น ไม่ใช่การแนะนำคำใหม่ให้ ซึ่งนั่นจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไปจากเดิม เป็นการคาดคะเนคีย์เวิร์ดที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้ Google กำหนดการคาดการณ์เหล่านี้ได้อย่างไร? คำตอบคือ Google ดูการค้นหาจริงที่เกิดขึ้นใน Google และแสดงรายการทั่วไป และรายการที่มีแนวโน้มที่เกี่ยวข้องกับตัวอักษรที่ป้อน นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่คุณอยู่ และการค้นหาก่อนหน้า ทำไมการคาดคะเนบางคำจึงถูกลบ? Google มีระบบที่ออกแบบมาเพื่อตรวจจับคำที่ไม่เหมาะสมโดยอัตโนมัติเพื่อไม่แสดงให้ผู้ใช้เห็น มีการประมวลผลการค้นหาหลายพันล้านครั้งต่อวัน ซึ่งอาจมีคำที่ไม่เหมาะสมบางคำเล็ดลอดเข้าไปในระบบได้ จึงต้องอาศัยการแจ้งรายงานคำที่ไม่เหมาะสม เพื่อให้ Google สามารถลบออกอย่างรวดเร็ว Google จะลบการคาดคะเนที่ขัดต่อนโยบายการเติมข้อความอัตโนมัติ ซึ่งมีดังนี้ เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ส่อไปในทางลามกอนาจาร ไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ หรือเรื่องเพศศึกษา การแสดงความเกลียดชังต่อกลุ่มและบุคคลบนพื้นฐานของเชื้อชาติ ศาสนา หรือประชากรอื่นๆ ความรุนแรง กิจกรรมที่เป็นอันตราย การคาดการณ์ที่ Google พิจารณาว่าเป็นสแปมที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ หรือเพื่อตอบสนองต่อคำขอทางกฎหมาย ซึ่งก็เป็นสาเหตุที่ทำให้การค้นหายอดนิยมตามที่วัดในเครื่องมือ Google Trends อาจไม่ปรากฏในการเติมข้อความอัตโนมัติ Google Trends ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้ทุกคนสามารถดูความนิยมของหัวข้อการค้นหาได้ตลอดเวลา นโยบายลบการเติมข้อความอัตโนมัติจึงไม่ได้ใช้สำหรับ Google Trends วิธีแจ้งรายงานเมื่อพบคำจากการคาดคะเนที่ไม่เหมาะสม ด้วยการคาดการณ์หลายพันล้านครั้งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน...

Continue reading

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่ใช้ง่ายยิ่งขึ้นใน Chrome

การรักษาความปลอดภัยทางออนไลน์ให้ผู้ใช้งานนับว่าเป็นหัวใจหลักของของ Google Chrome นอกเหนือจากค่าเริ่มต้นที่ Chrome เซ็ตมาให้แล้ว ทาง Google ให้คุณสามารถเข้าถึงการควบคุมได้ง่ายขึ้นเพื่อให้คุณสามารถเลือกตัวเลือกที่เหมาะสมเพิ่มเติมได้ วันนี้ Google เปิดตัวเครื่องมือใหม่และการออกแบบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของ Chrome บนเดสก์ท็อป เพื่อช่วยให้คุณควบคุมความปลอดภัยบนเว็บเบราวเซอร์ได้ดียิ่งขึ้น การควบคุมที่ง่ายดายยิ่งขึ้น ด้วยการออกแบบใหม่นี้ Google ทำให้การค้นหาตัวเลือกต่างๆ ง่ายยิ่งขึ้นในการตั้งค่าการควบคุม และยังใช้ภาษาและภาพที่เข้าใจง่ายมากขึ้นด้วย: คุกกี้ (Cookies) คือ โค้ดที่ฝังอยู่บนเว็บไซต์ ทำให้เจ้าของเว็บไซต์สามารถจัดเก็บข้อมูลบางอย่างไว้ที่เว็บบราวเซอร์ของผู้ใช้งาน เช่น ข้อมูลแบบฟอร์มที่เคยกรอก ข้อมูลที่บันทึกว่าเคยมีการเข้ามาที่เว็บแห่งนี้ ฯลฯ ซึ่งหลายคนมองว่าไม่ปลอดภัยต่อความเป็นส่วนตัว ฟีเจอร์ใหม่นี้ทำให้จัดการคุกกี้ได้ง่ายขึ้น สามารถเลือกว่าจะใช้คุกกี้อย่างไรในเว็บไซต์ที่คุณเข้าชม มีตัวเลือกในการบล็อกคุกกี้ third-party ทั้งในเบราวเซอร์ปกติ และแบบไม่ระบุตัวตน (Incognito mode) ในการตั้งค่าเว็บไซต์ มีการจัดระเบียบการควบคุมเป็นสองส่วนที่แตกต่างกันเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา อย่างการเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของคุณ กล้องถ่ายรูป หรือไมโครโฟน และการแจ้งเตือนต่างๆ ที่ด้านบนของการตั้งค่า Chrome คุณจะเห็น “You and Google” (ก่อนหน้านี้เป็นคำว่า “People”) ซึ่งคุณสามารถค้นหาตัวควบคุมการซิงค์ การตั้งค่าเหล่านี้ทำให้คุณจัดการข้อมูลที่แชร์กับ Google เพื่อจัดเก็บในบัญชี Google ของคุณและทำให้สามารถใช้งานได้ในทุกอุปกรณ์ เนื่องจากมีหลายคนมีการลบประวัติการเข้าชมเว็บไซต์เป็นประจำ การตั้งค่า “Clear browsing data” จะย้ายไปด้านบนในส่วนของ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (Privacy & Security) ตรวจสอบความปลอดภัยใน Chrome  การตั้งค่าการตรวจสอบความปลอดภัยแบบใหม่ คุณสามารถยืนยันความปลอดภัยของประสบการณ์การใช้งาน Chrome ได้อย่างรวดเร็ว เครื่องมือใหม่นี้จะบอกคุณว่ารหัสผ่านที่คุณขอให้ Chrome จดจำนั้น กำลังถูกบุกรุกหรือไม่ พร้อมบอกคำแนะนำในการแก้ไข แสดงสถานะ Safe Browsing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Google ที่จะเตือนก่อนที่คุณจะเข้าชมเว็บไซต์ หรือดาวน์โหลดแอปหรือ extension ที่ดูเป็นอันตราย เครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยยังมีวิธีเพิ่มเติมในการดูว่า Chrome ของคุณเป็นรุ่นล่าสุดหรือไม่ หากมีการติดตั้ง extensions ที่เป็นอันตรายไว้ ระบบจะแจ้งให้ทราบว่าควรจะลบออกที่ไหนอย่างไร การควบคุมคุกกี้ Third-party ในเบราวเซอร์แบบไม่ระบุตัวตน...

Continue reading

แชทกับบุคคลนอกโดเมนด้วย Google Chat ได้แล้ว

อัพเดตจาก Google Workspace! ประมาณต้นเดือนมิถุนยน 2563 เป็นต้นไป คุณจะสามารถคุยแชทกับบุคคลที่อยู่นอกองค์กรหรือนอกโดเมนได้เเล้ว ด้วย Google Chat (เดิมคือ Hangote Chat)  โดยที่คุณสามารถใช้ Google Chat ประสานงานกับผู้ขาย คุยกับลูกค้า  หรือสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองของนักเรียน เป็นต้น เรียกได้ว่าเปิดโอกาสให้คุณได้สนทนากับบุคคลนอกองค์กรได้สะดวกยิ่งขึ้นและจัดเก็บบทสนทนาทั้งหมดไว้ใน Google Chat ที่เดียว อย่างไรก็ตาม หากบุคคลที่อยู่นอกองค์กรหรือโดเมนคุณ ใช้ Google account ระบบจึงจะแสดง Bage “External” ไว้ที่ Chat ให้คุณมั่นใจความปลอดภัยในการยืนยันตัวตนของคู่สนทนา หากคุณเคยสนสนากับบุคคล external ใน Hangout Classic มาก่อน จากนี้บุคคลนั้นก็จะปรากฎใน Google Chat ด้วย ก็ต่อเมื่อมีการเริ่มบทสนทนาอีกครั้ง G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจ 02 030 0066...

New Normal ปรับตัวได้ ธุรกิจไปรอด ด้วย Google G Suite

วินาทีนี้น้อยคนนักที่จะไม่เคยได้ยินคำว่า New Normal บอกเลยว่าช่วงนี้จะเปิดโทรทัศน์ ฟังวิทยุ อ่านข่าวบนหน้าเฟส ต้องคุ้นๆคำว่า New Normal อย่างแน่นอน ซึ่ง New Normal มีอิทธิพลอย่างมากในแทบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นภาคสังคมเศรษฐกิจ ธุรกิจ การศึกษา รวมถึงชีวิตประจำวัน เมื่อทุกอย่างก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์เกือบเต็มตัว หลากหลายภาคธุรกิจรวมถึงภาคการศึกษาเริ่มปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ Work from Home และ Study from Home เรียกได้ว่าสถานการณ์บีบบังคับให้เราต้องปรับตัว  บนสัญชาติญาณของความอยู่รอดจริงๆ New Normal คืออะไร New Normal ความหมายไทยที่บัญญัติโดยราชบัณฑิตยสภาก็คือ ความปกติใหม่ , ฐานวิถีชีวิตใหม่ หมายถึงรูปแบบการดำเนินชีวิตอย่างใหม่ที่แตกต่างจากอดีต สืบเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดคำว่า New Normal ขึ้นอีกครั้ง  ซึ่งคำนี้เคยถูกใช้ครั้งแรก โดย บิลล์ กรอส (Bill Gross) ผู้ก่อตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ชาวอเมริกัน โดยเขาใช้คำว่า New Normal โดยตอนนั้นเขาใช้อธิบายถึงสภาวะเศรษฐกิจโลก หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ ในสหรัฐฯ ช่วงระหว่างปี 2007-2009 (อะไรๆก็ ‘New Normal’ แท้จริงแล้ว ‘New Normal’ คืออะไร? . 14 พฤษภาคม 2563, Workpointnews)   ฉะนั้นแล้ว New Normal ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงจากการปรับวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ จากพฤติกรรมเดิมๆที่ทำเป็นกิจวัตร ก็ถูกเปลี่ยนเเปลงไปในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา ธุรกิจ การสื่อสาร การรักษาสุขอนามัย เป็นต้น ซึ่งสิ่งใหม่ๆเหล่านี้จะกลายเป็นปกติในที่สุด New Normal กับ G Suite หาก  New Normal ในปัจุบัน คือออนไลน์ แน่นอนว่าธุรกิจที่ใช้ G...

Continue reading

แก้ปัญหาแสงน้อยด้วยโหมด low-light ใน Google Meet เฉพาะบนมือถือ

หมดกังวลเรื่องแสงไม่พอขณะวิดีโอคอล Google Meet สามารถปรับแสงวิดีโอของคุณโดยอัตโนมัติเพื่อให้เข้ากับสภาพแสงน้อย ตอนนี้คุณสามารถใช้ Meet ได้จากทุกที่แม้จะมีแสงน้อย เฉพาะบนอุปกรณ์ Android หรือ iOS เท่านั้น เนื่องจากอุปกรณ์มือถือแต่ละเครื่องมีคุณภาพกล้องที่แตกต่างกัน และความสามารถในการประมวลผลเพื่อแสดงผลทางหน้าจอขณะวิดีโอคอลอาจแตกต่างกันด้วย การปรับแสงวิดีโอในโหมด low-light จะเริ่มขึ้นประมาณ 5 วินาที หลังจากเข้าสู่พื้นที่ที่มีแสงน้อย เมื่อสภาพแสงของคุณเปลี่ยนไปหรือมืดลง Meet จะปรับแสงภายในวิดีโอให้เองโดยอัตโนมัติ และจะหยุดการประมวลผลเมื่อสภาพแสงดีขึ้น ฟีเจอร์ low-light จะทำงานโดยอัตโนมัติตามค่าเริ่มต้น (Default) หากต้องการปิดโหมดนี้คุณสามารถทำได้ในเมนูการตั้งค่าระหว่างวิดีโอคอล คลิกเพื่อปิดโหมด low-light ที่มา – G Suite Updates G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...

Google ให้คุณสนุกไปกับภาพ 3D และ AR ใน Search

สนุกไปกับประสบการณ์การเรียนรู้ที่บ้านด้วยภาพเสมือนจริง หรือที่รู้จักกันในนาม AR (Augmented reality) ในแอปพลิเคชัน Google Search บนมือถือ ที่ให้คุณสามารถนำวัตถุสามมิติเข้ามาในพื้นที่บ้านของคุณ เปลี่ยนห้องนั่งเล่นให้เป็นสวนสัตว์เสมือนจริง หรือจะถ่ายภาพคู่กับนักบินอวกาศขณะสำรวจยานอวกาศอพอลโล 11 ใกล้ๆ ก็ยังได้ เรียนรู้ร่างกายมนุษย์ Google ร่วมมือกับ BioDigital เพื่อให้คุณสามารถสำรวจระบบร่างกายมนุษย์จำนวน 11 ระบบด้วยระบบ AR ใน Search บนมือถือ เช่น ลองค้นหาคำว่าระบบไหลเวียนโลหิต แล้วแตะปุ่ม “View in 3D” เพื่อดูการทำงานของหัวใจ หรือค้นหาระบบโครงกระดูกเพื่อสำรวจชิ้นส่วนกระดูกต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ โดยจะมีป้ายกำกับในแต่ละส่วนของร่างกายเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมหรือดูภาพเสมือนจริงด้วย AR เพื่อทำความเข้าใจกับขนาดตามของจริง เปิดมุมมองที่กว้างขึ้นในโลกของกล้องจุลทรรศน์ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น แบคทีเรีย หรือเซลล์ในร่างกายนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เว้นแต่ว่าเราจะขยายดูแบบร้อยเท่า พันเท่า ทาง Google จึงร่วมมือกับ Visible Body เพื่อสร้างแบบจำลอง AR ของเซลล์สัตว์ เซลล์พืช และแบคทีเรีย ลองค้นหาคำว่าเซลล์สัตว์และขยายเข้าไปในนิวเคลียสเพื่อดูการเก็บ DNA มากไปกว่านั้น ระบบ AR ให้คุณสามารถนำเซลล์แบบสามมิติ เข้ามาในพื้นที่ที่คุณต้องการ สามารถหมุน ขยาย และดูรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบที่แตกต่างกันได้ เปลี่ยนบ้านให้เป็นพิพิธภัณฑ์ด้วยปลายนิ้ว จากสถานการณ์ COVID-19 พิพิธภัณฑ์หลายแห่งอาจถูกปิดในขณะนี้ แต่ด้วย Google Arts & Culture และสถาบันต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ Smithsonian National Air and Space คุณสามารถเปลี่ยนบ้านของคุณให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์โดยใช้ระบบ AR ลองค้นหาคำว่า Neil Armstrong บนโทรศัพท์เพื่อดูดูชุดอวกาศของจริง ในขนาดเท่าตัวจริงในรูปแบบสามมิติ สำรวจ บันทึก และแบ่งปันได้อย่างง่ายดาย เพื่อช่วยให้คุณค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างรวดเร็ว ทาง Google กำลังพัฒนาการนำเสนอในรูปแบบ carousel ใหม่บน Android...

Continue reading

Google ปรับโฉมหน้าต่างสำหรับการแชร์ไฟล์ใหม่ เรียบง่ายกว่าเดิม

Google ทำการอัปเดตอินเทอร์เฟซที่ใช้เพื่อแชร์ไฟล์ หรือจัดการสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์จาก Google Drive, Docs, Sheets, Slides และ Forms บนเว็บเราวเซอร์ ซึ่งจะทำให้การแชร์ไฟล์กับคนที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้นโดยลดขั้นตอนที่ยุ่งยากเกินความจำเป็นออกไป การแชร์ไฟล์ให้กับเพื่อนในทีมนับว่ามีความสำคัญต่อการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงนี้ที่เราต้องอาศัยการทำงานจากระยะไกล แต่ละคนก็อยู่กันคนละสถานที่ Google จึงได้พัฒนาฟีเจอร์สำหรับการแชร์ไฟล์ให้ง่ายขึ้น ในขณะที่ลดความเสี่ยงในการเข้าถึงโดยผู้ใช้ที่ไม่ต้องการ ซึ่งสิ่งที่คุณจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงต่างๆ มีดังนี้: กล่องหน้าต่างการแชร์ไฟล์แบบใหม่จะเน้นผู้ใช้งานที่สำคัญ คล้ายกับการแชร์ไฟล์ เปลี่ยนแปลงหรือดูสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ นอกจากนี้ยังแยกการแชร์ไฟล์ไปยังบุคคลกับกลุ่มออกจากกันด้วย เพื่อป้องกันการสับสน เพิ่มปุ่ม “คัดลอกลิงก์” เพื่อให้ง่ายต่อการนำลิงก์ไปใช้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนการอนุญาต อินเทอร์เฟซแบบใหม่นี้จะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าใครที่มีสิทธิ์เข้าถึงไฟล์นั้นๆ บ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบและเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ที่มา – G Suite Updates หน้าต่างแชร์ไฟล์แบบใหม่ หน้าต่างแชร์ไฟล์แบบเก่า G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...

มาดูกัน Google Meet ช่วยให้การวิดีโอคอลปลอดภัยได้อย่างไร

ในช่วงที่เราต้อง Work from home หลายคนที่ใช้ Video conference ในการทำงานร่วมกันเริ่มมีความกังวลใจในเรื่องความปลอดภัยไม่น้อย วิดีโอจะหลุดมั้ย? จะมีคนแฮ็คหรือเปล่า? Google Meet นับว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือดีๆ ที่ให้คุณสามารถวิดีโอคอลได้อย่างปลอดภัย อ่านบทความเพิ่มเติม: 6 เคล็ดลับ Video Conference อย่างไรให้ราบรื่น รู้หรือไม่? Google Meet ถูกออกแบบมาให้มีการป้องกันในตัว มีโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยตามมาตรฐานเดียวกับที่ Google ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน: Meet นั้นมีมาตรฐานความปลอดภัย IETF สำหรับ Datagram Transport Layer Security (DTLS) และ Secure Real-time Transport Protocol (SRTP) ตามปกติแล้วใน Meet ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเข้ารหัส (encrypted) ระหว่างผู้ใช้งานและ Google ทั้งการประชุมทางวิดีโอบนเว็บเบราว์เซอร์ และในแอปพลิเคชันบน Android และ iOS รหัสที่ใช้สำหรับการเข้าร่วมประชุม หรือ Meeting ID แต่ละอันมีความยาว 10 ตัวอักษร โดยมีตัวอักษรถึง 25 ตัวในรหัส 1 ชุด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากหน่อยหากจะมีใครสักคนพยายามแฮ็คเข้ามาด้วยการเดารหัส เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนในการอัปเดตแพ็ตช์ด้านความปลอดภัย Meet จะทำงานเองบนเว็บเบราวเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น Chrome, Firefox, Safari, หรือ Microsoft Edge ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอิน หรือซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติม ส่วนอุปกรณ์เคลื่อนที่แนะนำให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน Meet แทนการใช้งานผ่านเบราวเซอร์ เพื่อการใช้งานที่เสถียรมากยิ่งขึ้น สนับสนุนข้อกำหนดการปฏิบัติตามกฎระเบียบซึ่งรวมถึง COPPA, FERPA, GDPR และ HIPAA ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Meet ที่ช่วยให้การประชุมปลอดภัยยิ่งขึ้น Google ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ G Suite ทุกคน...

Continue reading