7 ประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากการใช้ G Suite สำหรับธุรกิจ

การใช้ชื่อโดเมนเป็นชื่อเดียวกับบริษัทของคุณในการทำธุรกิจ (อย่างเช่น john@yourcompany.com) จะช่วยให้บริษัทของคุณดูมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น และเป็นเครื่องยืนยันว่าคุณกำลังทำธุรกิจอย่างจริงจัง แต่ยังมีหลายธุรกิจที่ยังใช้ชื่อโดเมนเป็น “@gmail.com” อยู่เลย สาเหตุหลักๆ อาจจะมาจากกลัวการเปลี่ยนแปลง กลัวระบบใหม่ที่ไม่คุ้นเคย หรือค่าใช้จ่ายบริษัทที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น แต่หมดกังวลไปได้เลย เพราะสิ่งที่เราจะนำเสนอต่อไปนี้ จะทำให้คุณสนใจหันมาใช้ G Suite ได้อย่างแน่นอน หน้าเว็บอีเมลแบบเดิม หน้าเว็บอีเมลของ G Suite ไม่มีอะไรต่างจาก Gmail ที่คุณใช้เลย เพราะฉะนั้นคุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องการสร้างความคุ้นเคยใหม่ สร้างแบรนด์ให้ธุรกิจของคุณ นอกจากจะใช้อีเมลในการติดต่อธุรกิจที่เป็นชื่อโดเมนของคุณเองแล้ว หน้าเว็บอีเมลยังสามารถใส่โลโก้บริษัท แทนโลโก้ของกูเกิ้ลได้อีกด้วย หน่วยความจำบนระบบคลาวด์ แต่ละ user จะได้รับพื้นที่อีเมล เอกสารต่างๆ ถึง 30GB จากเดิม 15GB ทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์ G Suite ออกแบบมาให้คุณและเพื่อนร่วมกันสามารถทำงานร่วมกันไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ เวลาใด และยังสามารถแชร์เอกสารต่างๆ ด้วยบริการอื่นๆ ที่มีอยู่ใน G Suite อย่าง Google Drive, Google Docs, Google Sheets, หรือ Google Slides เป็นต้น เชื่อมต่อได้ทุกอุปกรณ์ สามารถใช้ IMAP เพื่อช่วยให้ข้อมูลในกล่องข้อความของคุณเชื่อมต่อได้กับทุกอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ แอปพลิเคชันอย่าง Apple Mail หรือ Microsoft Outlook สามารถรองรับการตั้งค่า IMAP ของกูเกิ้ลได้อีกด้วย ซึ่งการใช้ IMAP ข้อมูลของคุณถูกเก็บรวมอยู่ในระบบคลาวด์ เป็นระบบศูนย์กลาง เมื่อคุณละออกจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มาใช้โทรศัพท์มือถือ กล่องข้อความของคุณก็จะถูกซิงค์ ข้อมูลต่างๆ ยังคงเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง การตั้งค่าที่น่าเชื่อถือ หากโฮสต์ของเว็บคุณเกิดออฟไลน์ หรือคุณตัดสินใจที่จะเปลี่ยนโฮสต์ คุณยังสามารถใช้งานอีเมลต่อได้อยู่โดยไม่มีปัญหาขัดข้องใดๆ เติบโตไปพร้อมกับธุรกิจคุณ G Suite สามารถเพิ่มหรือลบ user ตามการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจคุณได้อย่างอิสระ แต่ไม่ใช่แค่เพียงเท่านี้...

Continue reading

3 เครื่องมือสุดเทพ บน Gmail ที่คุณอาจยังไม่รู้จัก

มาถึงวันนี้เชื่อว่าคงไม่มีใครไม่รู้จัก Gmail บริการ Free Email ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ ที่สามารถใช้งานบนอุปกรณ์ชนิดใดก็ได้ มาพร้อมกับ เครื่องมือการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ปฏิทินสำหรับบันทึกตารางการประชุม, ห้องสนทนาสำหรับเจรจาธุรกิจ, รวมถึงมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บ Email ที่มากถึง 15 GB ทำให้มีผู้ใช้งาน Gmail มากที่สุดในโลก คือมากกว่า 425 ล้านคน แต่เครื่องมือการใช้งานดังกล่าว เป็นเครื่องมือที่คนส่วนใหญ่รู้จักและใช้งานเป็นประจำอยู่แล้ว วันนี้เราจะขอแนะนำเครื่องมือที่จะทำให้ชีวิตคุณง่ายขึ้น ด้วย 3 เครื่องมือบน Gmail ที่คุณอาจไม่เคยใช้ หรือไม่รู้มาก่อนว่ามีอยู่ ซึ่งจะเป็นอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ที่นี่เลย 1. ปุ่ม “ยกเลิกการส่ง” คุณอาจเคยสะกดข้อความบนอีเมลผิด ลืมแนบไฟล์สำคัญ หรือส่งอีเมลไปให้ผิดคน! แต่กว่าจะรู้ตัวก็กด ส่ง อีเมลไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอีเมลที่ส่งไปอย่างผิดพลาดนั้นอาจทำให้ชีวิตต้องเจอกับปัญหาอื่นๆ ที่ตามมาได้ ทาง Google จึงได้ออกแบบตัวช่วยนี้ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานั้นให้กับคุณ เพียงแค่คลิกที่ปุ่ม “ยกเลิกการส่ง” แบบง่ายๆ เท่านั้นเอง วิธีการตั้งค่า “ยกเลิกการส่ง” คลิก ไอคอนเฟือง ที่มุมบนขวาของหน้า Gmail >> คลิกตัวเลือก การตั้งค่า >> คลิกแท็บ ทั่วไป >> และคลิก “เปิดใช้” ที่หัวข้อ ยกเลิกการส่ง และสามารถ ตั้งระยะเวลาการยกเลิก ได้ตามต้องการ สุดท้ายคลิก บันทึก   เพียงเท่านี้ คุณก็จะมีเวลา 5-30 วินาทีในการตรวจทานความถูกต้องของอีเมลหลังจากที่กด ส่ง ไปแล้ว เพื่อที่หากต้องการแก้ไขเพิ่มเติมก็สามารถกด Undo กลับสู่หน้าแก้ไขอีเมลได้อย่างทันท่วงที   2. เครื่องมือ “การตอบกลับสำเร็จรูป” หากคุณรู้สึกว่าต้องตอบคำถาม หรือพิมพ์ข้อความในรูปแบบซ้ำ ๆ เพื่อตอบกลับอีเมลอยู่บ่อยครั้ง เราขอแนะนำให้คุณใช้ตัวช่วย ด้วยเครื่องมือที่มีชื่อว่า “การตอบกลับสำเร็จรูป (Canned Responses)” ที่จะทำให้คุณสามารถพิมพ์เนื้อหาของอีเมลเก็บเอาไว้ และสามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ทุกครั้งที่ต้องการ การเปิดใช้งานก็สามารถทำได้ง่าย เพียงแค่ไม่กี่คลิก  วิธีการตั้งค่า “การตอบกลับสำเร็จรูป” คลิก ไอคอนเฟือง ที่มุมบนขวาของหน้า Gmail >> คลิกตัวเลือก การตั้งค่า >> คลิกแท็บ ห้องทดลอง (Labs) >> กรอกข้อความในช่องค้นหาห้องทดลอง ว่า “การตอบกลับสำเร็จรูป” >> เมื่อปรากฎหัวข้อดังกล่าวให้คลิก “ใช้งาน” >>...

Continue reading

Google Drive ถูกจัดให้เป็นผู้นำแห่งคลาวด์โซลูชัน

คุณทราบหรือไม่ว่าบริษัทระดับโลกอย่าง Whirlpool กำลังหันมาใช้ Google Drive เพราะต้องการเครื่องมือที่มีความปลอดภัย และใช้งานง่าย ที่สำคัญคือสามารถแชร์ข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรได้ ไม่เพียงแค่ Whirlpool ที่ใช้ ยังมีบริษัทชั้นนำระดับโลกอีกมากมายที่ใช้บริการ G Suite ของกูเกิ้ล อย่าง ASICS, HP, PWC, Salesforce ฯลฯ  ในวันนี้จากรายงาน *The Forrester Wave™ ปี 2017 Google Drive ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นำคลาวด์โซลูชันในด้าน Enterprise File Sync And Share (EFSS) หรือพูดง่ายๆ ก็คือ บริการฝากและแชร์ไฟล์สำหรับองค์กรนั่นเอง  *The Forrester Wave™ : เครื่องหมายการค้าของบริษัท Forrester Research ทำการสำรวจตลาด เปรียบเทียบ ให้คะแนน แสดงผลในรูปแบบกราฟฟิก โดยที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ข้อมูลที่ได้จะแสดงผลที่ดีที่สุดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง   แล้ว Google Drive ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของธุรกิจคุณได้อย่างไร? สำหรับหน่วยธุรกิจต่างๆ ที่กำลังใช้อยู่ หรือมีความคิดที่จะเริ่มใช้งานเครื่องมือบนระบบคลาวด์จาก Google คุณจะได้ประโยชน์มากมายจากการทำงานบนระบบคลาวด์อย่างแน่นอน ซึ่งทางกูเกิ้ลได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพของ Google Drive ด้วยฟีเจอร์ต่างๆมากมาย ให้คุณสามารถใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนี้ Team Drive มีอยู่ใน G Suite แพ็คเกจ Business ขึ้นไป เป็น Drive ส่วนกลางขององค์กร ให้คุณสามารถทำงานบนไฟล์ที่ทุกคนในทีมเป็นเจ้าของร่วมกันได้  แตกต่างกับ Drive ธรรมดาในเรื่องสิทธิ์ความเป็นเจ้าของไฟล์ ที่เป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในทีม ไม่ใช่ของส่วนกลาง AppBridge องค์กรของคุณสามารถย้ายข้อมูลไปยังระบบคลาวด์อย่างปลอดภัย สะดวก และง่ายดายมากยิ่งขึ้น Drive File Stream ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่บนดิสก์จำนวนมาก ป้องกันข้อมูลสูญหาย และ...

Continue reading

ดีมีเตอร์ ไอซีที มีเฮ ได้เกรด A กันถ้วนหน้า!

วันนี้เรามีข่าวดีจะบอก กลุ่มบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี ทำการประเมินผู้ให้บริการรายปี และบริษัทดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ของเราถูกประเมินให้อยู่ในเกรด A! เนื่องจากกลุ่มบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี ได้ดำเนินการตามนโยบายคุณภาพ ISO 9001 โดยทำการประเมินผู้ให้บริการรายปี ในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน 2560 โดยยึดหลักเกณฑ์ในการประเมิน คือ1. คุณภาพสินค้า2. การส่งมอบ3. ราคาของสินค้า ผลปรากฏว่า การประเมินคะแนนการติดต่อซื้อขายสินค้าและบริการจากทาง ดีมีเตอร์ ไอซีที ของเราอยู่ในเกรด A  เลยทีเดียวซึ่งนั่นก็เป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่า บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบอีเมลสำหรับองค์กร G Suite ได้ทำหน้าที่เป็นอย่างดี จนได้รับความพึงพอใจ และความไว้วางใจจากลูกค้าของเรามาอย่างยาวนาน สนใจใช้ G Suite อย่ารอช้าที่จะติดต่อเราเพื่อรับคำแนะนำและรายละเอียดการใช้งานได้เลยค่ะ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร!  02-675-9371092-262-6390 (support)095-896-5507 (sale)support@dmit.co.thOfficial LINE: @dmit...

G Suite คำตอบที่ใช่สำหรับธุรกิจคุณ

ไม่ว่าบริษัทของคุณจะขนาดใหญ่ บริษัทสตาร์ทอัพ  หรือบริษัทเล็กๆ ที่กำลังไม่แน่ใจว่าจะใช้ G Suite ดีไหม เราลองมาดูกันดีกว่าว่า G Suite ตอบโจทย์การทำธุรกิจของคุณอย่างไรได้บ้าง แล้วคุณจะรู้ว่าการใช้ G Suite นั้นไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับการทำธุรกิจของคุณเลย โดยเราสรุปสั้นๆออกมาเป็น 6 ประเด็นดังนี้ 1. ราคา ราคา G Suite นั้นจับต้องได้ง่าย และคุ้มค่ากับสิ่งที่บริษัทของคุณจะได้รับอย่างแน่นอน คุณสามารถพิจารณาราคา G Suite ได้ตามแต่ละแพ็คเกจที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งหากใช้บริการผ่านพาร์ทเนอร์อย่าง บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ก็จะคิดราคาต่อ 1 ผู้ใช้ ต่อปี นอกจากนี้ยังมีโปรโมชั่นดีๆเสนอให้คุณอีกด้วย 2. ความคุ้นเคยกับเครื่องมือ คุณและพนักงานของคุณอาจจะคุ้นเคยกับ Gmail กันดี เช่นเดียวกับเครื่องมืออื่นๆใน G Suite อย่าง Calendar, Google Docs, Google Sheet, และ Google Slides ฯลฯ ซึ่งเครื่องมือแต่ละตัวนั้นออกแบบมาให้ใช้งานง่าย คุณจึงไม่ต้องกังวลเรื่องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการอบรมการใช้งานเบื้องต้นให้พนักงานเลย 3. ความเรียบง่าย เมื่อลงชื่อเข้าใช้บัญชีกูเกิ้ลเพียงครั้งเดียว คุณจะสามารถเข้าใช้ได้ทุกเครื่องมือใน G Suite โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องมาล็อคอินใหม่ทีละเครื่องมือให้วุ่นวาย ผู้ใช้งานในทีมยังสามารถแชร์ข้อมูลและเอกสารร่วมกันได้อีกด้วย ซึ่งคุณสามารถทำงาน หรือแก้ไฟล์เอกสารร่วมกับทีม หรือแม้กระทั่งกับลูกค้าของคุณได้แบบเรียลไทม์ 4. สะดวกสบาย การใช้ระบบคลาวด์ นั่นหมายถึงความสะดวกสบายที่คุณจะได้รับ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่ หรือบนอุปกรณ์ใด พนักงานก็สามารถเข้าถึงข้อมูลและเอกสารของพวกเขาได้ทุกที่ ทุกเวลา หลายคนสงสัยว่า การทำงานบนระบบคลาวด์ แปลว่าต้องใช้อินเทอร์เน็ตตลอด แล้วถ้าไม่มีอินเทอร์เน็ตล่ะจะทำอย่างไร ถึงแม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต คุณยังคงสามารถเข้าดูไฟล์เอกสารแบบออฟไลน์ได้อยู่ดี เพราะผู้ใช้ที่เป็นแอดมินสามารถทำการตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลขณะออฟไลน์ตามข้อปฏิบัติการใช้งานบนอุปกรณ์ได้ นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันบนระบบคลาวด์แบบเรียลไทม์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้แฟลชไดรฟ์ในการโอนถ่ายข้อมูลไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์อีกด้วย 5. ระบบที่เข้ากันได้กับ Microsoft Office จากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นถึงความเรียบง่ายในข้อ 3 และข้อ 4 ของแอพ และความสะดวกสบายในการใช้งาน  อย่างไรก็ตามบางคนอาจยังเคยชินกับการใช้งาน Microsoft Office อยู่ แต่ G Suite ให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขไฟล์บน Office ได้โดยไม่ต้องลงซอฟต์แวร์ เมื่อแก้ไขงานเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถเลือกเซฟไฟล์เป็นฟอร์แมตของ Office ได้อีกด้วย (เลือก File > Downlode as จากเมนู) นอกจากนี้กูเกิ้ลยังปล่อยตัวเสริมที่จะให้คุณสามารถแก้ไขไฟล์ Office...

Continue reading

8 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับผู้ใช้ G Suite ที่ช่วยให้แอดมินป้องกันข้อมูลทางธุรกิจ

ในการป้องกันข้อมูลให้ปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องมีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อนเสมอไป ด้วย G Suite ผู้ใช้ที่แอดมินสามารถจัดการ และปกป้องข้อมูลของผู้ใช้คนอื่นๆได้อย่างง่ายดาย เพราะเครื่องมือต่างๆใน G Suite ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย แต่มีประสิทธิภาพ อย่าง Vault ที่จะช่วยในการป้องกันข้อมูลสูญหายได้อย่างดีเยี่ยม และนี่คือ 8 ข้อง่ายๆ ที่จะช่วยให้แอดมินสามารถควบคุมความปลอดภัยของข้อมูลในองค์กรได้ 1. แจ้งเตือนใน Hangout เมื่อมีการสนทนากับบุคคลนอกชื่อโดเมนบริษัท หากหน่วยงานของคุณอณุญาตให้พนักงานคุยแชทกับบุคคลภายนอกผ่าน Hangout แอดมินสามารถเปิดการตั้งค่าที่จะช่วยแจ้งเตือนให้ผู้ใช้ เมื่อมีบุคคลนอกโดเมนของคุณเข้าร่วมการสนทนา และแบ่งการสนทนาจากกลุ่มที่มีอยู่ ซึ่งผู้ใช้จากภายนอกจะไม่สามารถดูการสนทนาภายในทีมย้อนหลังได้ (จากการตั้งค่าในส่วนของ Admin ไปที่ Apps > G Suite > Google Hangouts > Chat settings > Sharing options) 2. ปิดการใช้งานส่งต่ออีเมลอัตโนมัติ ตัวเลือกนี้จะสามารถปิดฟีเจอร์การส่งต่ออีเมลอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้งานได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการกรองข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ถูกบุกรุก 3. เปิดการตรวจจับการฟิชชิ่ง การเปิดใช้งานตัวเลือกนี้จะเพิ่มการตรวจสอบอีเมลที่น่าสงสัยก่อนที่จะส่งมอบ การตรวจจับฟิชชิ่งจะใช้รูปแบบการเรียนรู้โดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยวิเคราะห์การฟิชชิ่งอย่างเข้มงวด จึงอาจทำให้ข้อความที่ได้รับมีความล่าช้านิดหน่อย น้อยกว่า 0.05 เปอร์เซ็นต์ของข้อความโดยเฉลี่ยจะล่าช้าออกไปประมาณ 2-3 นาที ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะผู้ใช้ของคุณยังคงได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็วเช่นเดิม 4. แอปตรวจสอบการเข้าถึง OAuth สำหรับแอปจากภายนอก แอป OAuth ช่วยเก็บรักษาข้อมูลของบริษัทให้ปลอดภัย โดยจะทำการให้คุณเลือกว่าจะใช้แอพภายนอกใด ที่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ G Suite ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้แอปพลิเคชันที่เป็นอันตราย หรือเข้าข่ายหลอกลวงเข้าสู่ข้อมูลของบริษัทโดยบังเอิญ 5. ตรวจสอบว่าได้เปิดแจ้งเตือนการตอบกลับภายนอกแบบไม่ได้ตั้งใจสำหรับ Gmail Gmail สามารถแสดงข้อความแจ้งเตือนการตอบกลับภายนอก ป้องกันข้อมูลสูญหายหรือรั่วไหลได้ ซึ่งคุณสามารถเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเมื่อมีพนักงานบางคนกำลังโต้ตอบกับบุคคลภายนอกโดเมนบริษัทหรือไม่ พวกเขาจะได้รับการแจ้งเตือนทันทีว่ายังยืนยันที่จะส่งอีเมลนั้นหรือไม่ Gmail มีระบบอัจฉริยะ ที่รู้ว่าผู้รับอีเมลนั้นเป็นคนที่เคยติดต่อกันมาก่อน หรือเป็นคนที่ติดต่อกันเป็นประจำ และจะแสดงการแจ้งเตือนเฉพาะสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ตัวเลือกนี้เป็นตัวเลือกพื้นฐานที่มีอยู่ใน G Suite 6. จำกัด Calendar จากภายนอก เพื่อลดความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหล ทำให้มั่นใจว่ารายละเอียดต่างๆใน Google Calendar นั้นไม่ได้ถูกแชร์ไปยังบุคคลอื่นนอกโดเมนบริษัท จำกัดการแชร์ข้อมูลเพื่อป้องกันผู้ใช้จากการแฮ็ก หรือการโจรกรรมทางข้อมูลอื่นๆ ผ่านทางชื่อหัวข้อ หรือชื่อผู้เข้าร่วมการประชุม 7. จำกัดการเข้าถึงใน Google Groups โดยทำการตั้งค่าใน Google group จากค่าเริ่มต้น ให้เป็น...

Continue reading

การเพิ่มตารางนัดหมายผ่านอีเมล์

เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์มา เพื่อบอกวันที่ต้องการสร้างการนัดหมาย หรือวันที่อยากชวนทำกิจกรรมอะไรบางอย่างโดยที่ไม่ invite จากปฏิทินโดยตรง คุณสามารถเป็นผู้เพิ่มวันและเวลานั้นลงไปยังปฏิทินของคุณโดยผ่านทางอีเมล์ได้ ซึ่งมีวิธีการทำได้ง่ายๆ ดังนี้ Login เข้าสู่ระบบอีเมล์ G Suite (Google apps for business) แล้วเลือก inbox หรือกล่องข้อมูลขาเข้า แล้วเปิดอีเมล์ขึ้นมา จากนั้นดูที่วันเวลาในเนื้อหาอีเมล์ กดที่วัน หรือเวลานั้น 1ครั้ง เพื่อเริ่มการเพิ่มกิจกรรมลงในปฏิทิน จะมี Pop- up แสดงขึ้นมา เพื่อให้เราแก้ไขหัวข้อ วันและเวลา ซึ่งค่าเริ่มต้น จะนำชื่อเรื่องของอีเมล์มาเป็นชื่อกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในปฏิทิน ส่วนวันและเวลานั้นก็จะนำมาจากเนื้อหาในอีเมล์ จากนั้นกดปุ่ม “Add to calendar” เพื่อเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์นี้ลงในปฏิทินของคุณ เป็นอันเสร็จเรียบร้อย *** หมายเหตุ: ผู้รับเมลล์จะสามารถเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์ลงปฏิทินได้นั้น ผู้ส่งอีเมล์จะต้องระบุวันและเวลา เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Monday, on Monday about 10.00 AM เป็นต้น และเมื่อผู้รับอีเมล์ทำการเพิ่มกิจกรรมหรือเหตุการณ์ลงปฎิทิน Google จะเลือกวันที่ใกล้วันปัจจุบันมากที่สุดเป็นค่าเริ่มต้นให้ เช่น วันนี้เป็นวันอังคารที่10 มิถุนายน 2556 ถ้าได้รับอีเมล์มีเนื้อหาว่า Let’s meeting on Tuesday ค่าเริ่มต้นจะเป็นวันอังคารสัปดาห์ถัดไป คือ วันอังคารที่17 มิถุนายน 2556 นั้นเอง บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th Official LINE...

มีอีเมล์บริษัทโดเมนตัวเอง ง่ายนิดเดียว

สืบเนื่องจากงานสัมมนาที่ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ร่วมกับกูเกิ้ล (Google) เมื่อปลายเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา มีท่านผู้ประกอบการหลายท่านได้สอบถามว่าตอนนี้ใช้อีเมล์แบบฟรีอยู่คือใช้เป็นชื่อบริษัทแล้วตามด้วย @gmail.com หรือ @yahoo.com หรือ @hotmail.com หรือที่มีอีกแบบคือใช้ชื่อตัวเองแล้วตามด้วยโดเมนฟรีทั้งหลาย ปัญหาที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่านรับทราบร่วมกันคือการทำธุรกิจแต่ใช้โดเมนอีเมล์แบบฟรีดูแล้วไม่น่าเชื่อถือ เพราะว่าโดเมนเนมของตัวเองเปรียบเหมือนการเอาใจใส่หน้าบ้าน ว่าง่ายๆ เปรียบเหมือนป้ายชื่อบริษัทเราถ้าทำไม่ดี เอากระดาษ A4 มาแปะแล้วเขียนชื่อ ความน่าเชื่อถือก็หายไปทันที เพราะการมีโดเมนตัวเองนั่นหมายถึงการพิสูจน์ตัวตนมาระดับหนึ่ง คำถามที่ผู้ประกอบการหลายท่านมักจะถามว่าอยากอีเมล์โดเมนตัวเองจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะไม่รู้วิธีจะทำอย่างไร ซึ่งเราสามารถทำได้ง่ายๆ ตามขั้นตอนดังนี้ครับ ขั้นตอนที่ 1 : จดโดเมนเนม (Domain Name) ก่อน การมีโดเมนก็เหมือนการมีเลขที่บ้านเป็นของตัวเอง ใครผ่านไปผ่านมาก็จะรู้ว่า อ๋อ นี่คือบ้านจริงๆ นะ มีตัวตน มีทะเบียนบ้าน คล้ายๆ กับการที่เราไปจดทะเบียนการค้านะครับ คนที่มาซื้อของกับเราก็จะเชื่อถือ เพราะการจดโดเมนโดยเฉพาะโดเมน .co.th เราต้องมีการยืนยันตัวตนไม่มากก็น้อย ซึ่งการมีโดเมน .co.th นี่ชัดเจนเลยว่าต้องเป็นบริษัทอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น ใครที่มาเถียงบอกว่าไม่จริงหรอก ทำไมต้องจดทะเบียนการค้าหรือมีโดเมนตัวเอง ก็ลองดูไปเสนอสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้ารายใหญ่ๆ หรือขยายช่องทางการขายแบบ mass ดูนะครับแล้วท่านจะเข้าใจ หลังจดโดเมนเนมท่านก็จะมีเลขที่ต่างๆ หลังบ้านที่บอกว่าโดเมนของเราเบอร์อะไร จะให้เว็บไซต์เราชี้ไปที่เบอร์อะไร และอีเมล์คืออะไร ค่าใช้จ่ายไม่แพงหลักร้อยบาทเท่านั้น ขั้นตอนที่ 2 : มีข้อมูลหน้าบ้านบนเว็บไซต์และอีเมล์เท่ห์ๆ ถึงขั้นนี้เราต้องร้องเฮเพราะเรามีโดเมนตัวเองเรียบร้อยแล้ว ทีนี้อยากมีเว็บไซต์กับอีเมล์ตัวเองบ้างที่เป็น www.mydomain.com และอีเมล์ somchai@mydomain.com จะทำได้อย่างไรบ้าง ซึ่งสองเรื่องนี้ต้องแยกกันนะครับ การมีเว็บไซต์ตัวเองเราเปรียบเหมือนกับเราเอาบ้านเลขที่เราไปแขวนหน้าบ้าน ว่าแต่บ้านเราอยู่ไหนครับ ก็มีสองวิธีคือ 1 ซื้อเครื่องเซิร์ฟเวอร์มาเอง (ปลูกบ้านเอง) อันนี้วุ่นวายมากสำหรับมือใหม่ ไม่แนะนำ กับวิธีที่ 2 คือ เช่าพื้นที่กับผู้ให้บริการโฮสติ้ง (เช่าบ้านเค้าอยู่ จ่ายค่าเช่ารายปี) ค่าเช่าจ่ายก็แล้วแต่ขนาดความกว้างของบ้านมีตั้งแต่สามพันจนถึงมากกว่านั้น ซึ่งโดเมนเราก็ต้องบอกกับคนทั่วโลกด้วยการใส่ตัวเลขในระบบโดเมนในขั้นแรกว่าเว็บเราบ้านเลขที่เท่าไหร่ (แต่ถ้ายังไม่อยากมีเว็บไซต์ตัวเอง ก็ข้ามไปขั้นตอนที่ 3 นะครับ) ซึ่งโดยปกติถ้าเช่าเว็บโฮสติ้งเค้าจะมีฟรีอีเมล์มาให้ด้วยที่เป็นโดเมนตัวเอง somchai@mydomain.com แบบฟรีๆ แต่แบบที่ทราบกันครับว่าของฟรีของแถมต้องทำใจกับความเสถียรและข้อจำกัด...

Continue reading

Smart Enterprise by Google G Suite

ดูแผนที่ “Smart Enterprise by Google G Suite” 13:30 – 14:00 Registration 14:00 – 14:30 Why Collaboration is a Must in the business? 14:30 – 15:30 How G Suite enable Smart Enterprise 15:30 – 15:45 Coffee Break 15:45 – 16:30 Case Studies 16.30 – 17:00 Q&A...