รวม 7 App Integration ยอดฮิตใน Zendesk Marketplace อยากพัฒนา CX ให้ปังต้องมี

ไม่เพียงแต่แอปพลิเคชันจะคงบทบาทสำคัญต่อการทำงานในทีม แม้แต่ในมุมของลูกค้าเอง หากมีเครื่องมือที่ใช่ ก็จะช่วยส่งเสริมกระบวนการการบริการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และช่วยลดความพยายามในการเข้าหาเจ้าหน้าที่ที่พาพาลให้เสียอารมณ์ได้ เรามาดู 7 แอปพลิเคชันยอดฮิตที่ช่วยพัฒนา CX ใน Zendesk Marketplace ตลาดนัดแอปพลิเคชันที่รวบรวมมากกว่า 1,200 แอปให้ลูกค้า Zendesk ได้เลือกสรร อีกทั้ง Integrations ต่างๆ มากมายที่ช่วยเสริมฟังก์ชันการใช้งานเครื่องมือ Zendesk ให้ดียิ่งขึ้นกัน 1. Slack เสริม Slack เข้ากับ Zendesk Support ให้แน่ใจว่าจะไม่พลาดปัญหาสำคัญ โดย Slack จะช่วยรวมปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ของ Customer Support ไว้ในที่เดียว Slack Messaging ยังช่วยเปิด Tickets และทำให้เพิ่มคอมเมนต์ได้ทันที พร้อมกับรับการแจ้งเตือน Tickets แบบเรียลไทม์จาก Slack Channel ในเวลาเดียวกันได้อีกด้วย 2. Knowledge Capture Knowledge Capture ช่วยให้ทีมทำงานง่ายขึ้น ให้เจ้าหน้าที่สามารถเสิรช์และลิงก์บทความจาก Help Center เข้าสู่ Tickets และสร้างบทความใหม่ขณะตอบกลับ Tickets นั้นๆ ผ่าน Zendesk Support agent workspace นอกจากนี้ ยังสามารถบันทึกข้อมูลการทำงานของแอปเก็บไว้ใน Custom Dashboard เพื่อใช้ในการวัดอิมแพคของ Tickets เพอฟอแมนซ์ของเจ้าหน้าที่ และเพอฟอแมนซ์ของของคอนเทนต์นั้นๆ 3. User Data ดูข้อมูลต่างๆ ของลูกค้าในทันทีด้วย User Data เสริมกับ Zendesk Support เพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้าใจลูกค้ามากยิ่งขึ้นและคิดคำนึงถึงทางออกที่ดีที่สุดที่เหมาะสมในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ 4. Time Tracking Time Tracking ช่วยให้เข้าถึงข้อมูล Tickets เชิงลึก อย่างเช่นที่ว่า Tickets ปัญหาประเภทไหนที่เจ้าหน้าที่ใช้เวลาแก้ไขนานที่สุด หรือเข้าดู...

Continue reading

ระบบ IVR (Interactive Voice Response) คืออะไร?

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์จะเป็นที่นิยมและมีเกิดใหม่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา รวมถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับลูกค้าที่เขาต้องเจอ แต่สิ่งนึงที่ยังไม่เปลี่ยนก็คือคนยังคิดอยู่เสมอว่าการติดต่อที่สะดวกและไวที่สุดคือการโทรหรือการสื่อสารทางโทรศัพท์ (และไม่ใช่แค่ Gen X Gen Y แต่ Gen Z ก็ยังคิดแบบนั้น) เพราะฉะนั้นหากคุณต้องการที่จะเอาชนะใจของลูกค้าในทุก Gen จริง ๆ แล้วการที่คุณมีระบบการจัดการทางโทรศัพท์ที่ดีควรเป็นพื้นฐานของบริษัท เพื่อที่จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตและอยู่เหนือคู่แข่งมากขึ้น ไม่ว่าจะด้วยระบบการบริการที่ดีกว่า หรือจะเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจที่คุณไม่จำเ็นที่จะต้องจ้างพนักงานเพื่อมารับสายลูกค้าทุกคนที่ติดต่อเข้ามา ซึ่งระบบ IVR (Interactive Voice Response) สามารถช่วยคุณในสิ่งที่พูดมาทั้งหมดข้างต้นได้ ภาพจาก : https://www.zendesk.com/blog/what-is-ivr/ เรามาทำความรู้จักกับระบบ IVR (Interactive Voice Response) เพิ่มเติมกันดีกว่า ระบบ IVR (Interactive Voice Response) คือ การตอบโต้เมนูอัตโนมัติทางธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่คุณโทรหาบางบริษัท แล้วจะมีระบบบอกว่า “ติดต่อฝ่ายขายกด 1“ “ติดต่อฝ่ายซัพพอร์ตกด 2” “แจ้งปัญหากด 3” แบบนี้เป็นต้น ซึ่งระบบนี้ สามารถช่วยในการเก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น ประเภทของปัญหาหรือหมายเลขที่ติดต่อ และยังช่วยพาลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาให้ไปยังจุดที่เขาต้องการได้เลย โดยที่ไม่ต้องเพิ่มภาระให้กับฝ่ายอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยที่ระบบ IVR เก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา ผ่านตัวเลขที่เป็นตัวแทนของปัญหาในโทรศัพท์ พร้อมทั้งฝั่งของบริษัท สามารถตั้งค่าคำตอบล่วงหน้าสำหรับลูกค้าถามบ่อย ๆ เพื่อลดเวลาในการรอของลูกค้า ซึ่งถือว่าเป็นการบริการลูกค้าแบบ Self Service รูปแบบนึงที่หลายๆบริษัทชั้นนำมีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว หากคุณต้องการที่จะยกระดับการบริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นด้วยระบบ IVR นี้ ก็ควรที่จะมองหาระบบหรือซอฟต์แวร์ที่จะมาช่วยซัพพอร์ตในการติดตั้งให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งวันนี้เรา Demeter ICT ซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า Zendesk มาแนะนำ เป็นซอฟต์แวร์ที่จะช่วยยกระดับเรื่อง Customer Service และยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และยังลดเวลารวมไปถึงต้นทุนในเรื่องของกระบวนการทำงานบางอย่างได้อีกด้วย ซึ่งตัวที่จะช่วยในเรื่องของระบบ IVR นั้นจะมีชื่อว่า Zendesk Talk หากคุณต้องการดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Zendesk คลิกเลย ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ...

Continue reading

4 ช่องทางที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นด้วย Zendesk

ความคาดหวังที่ลูกค้าทุกคนมีกับร้านค้าทุกร้าน คือ การบริการที่ดี การซัพพอร์ตลูกค้าที่ดี ซึ่งการซัพพอร์ตที่รวดเร็วก็เป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการบริการที่ดี รวมถึงซอฟต์แวร์ที่คุณใช้อยู่ช่วยให้คุณบริการและซัพพอร์ตลูกค้าได้ดีและรวดเร็วได้หรือไม่? ถ้ายังวันนี้เรามี Software ที่จะช่วยให้การบริการลูกค้าดียิ่งขึ้น และยังรวมไปถึงกระบวนการทำงานอื่นๆที่จะง่ายขึ้นอีกด้วย ซึ่งนี่เป็น 4 ช่องทางที่ Zendesk สามารถช่วยให้คุณมีการบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยมได้ (และทำให้ชีวิตง่ายขึ้นอีกด้วย) Zendesk ตั้งค่าตามต้องการและปรับแต่งตามที่ต้องการ เป็น Software ที่สามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่วันก็สามารถเริ่มใช้งานได้ ใช้งานง่ายปรับแต่งข้อมูลตามที่ตัวเองต้องการได้ และยังช่วยลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลา เพื่อให้พนักงานมุ่งเน้นกับการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้ามากกว่าการมานั่งอบรม คุณไม่ได้อยู่เพียงลำพัง Zendesk มีผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ หากคุณกำลังโซลูชันอื่นๆ ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนากระบวนการทำงานของคุณในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น Zendesk สามารถช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยที่เรามีมืออาชีพรุ่นเก๋าที่จะช่วยแนะนำ และพูดถึงการปรับกระบวนการทำงานได้ Zendesk ไม่ได้ช่วยแค่ลูกค้า แต่ช่วยพนักงานด้วย ไม่ได้ช่วยแค่ให้ CX ดีขึ้นอย่างเดียวแต่ผู้ใช้ หรือลูกค้าของ Zendesk ก็ยังทำงานง่ายขึ้นอีกด้วย ไม่ว่าจะเรื่องการเก็บข้อมูลของลูกค้าที่อยู่ในที่เดียว ทำให้พนักงานที่ทำงานทุกคนมีข้อมูลลูกค้าทุกคน ไม่จำเป็นที่จะต้องไปขอข้อมูลของคนอื่นให้ยุ่งยากอีกต่อไป Zendesk ช่วยให้คุณมีเวลาที่มากขึ้น หากบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงโซลูชันใหม่ๆ มักจะต้องใช้เวลานานทั้งการติดตั้ง การฝึกอบรม จนไปถึงการลองใช้จริงภายในองค์กร แต่ Zendesk ปรับมาให้ ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ง่าย ใครๆก็สามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เพราะ Zendesk สร้างเพื่อให้ทุกคนมีความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น ด้วยการทำงานที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความยืดหยุ่น และก็ยังช่วยผลักดันธุรกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความเชี่ยวชาญและข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าที่ทาง Zendesk มี ช่วยให้คุณสามารถมอบการบริการและการซัพพอร์ตลูกค้าที่ยอดเยี่ยมได้ เพื่อที่จะสร้างความประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า และความภักดีต่อแบรนด์ของคุณให้ง่ายยิ่งขึ้น ที่มา : Zendesk Blog ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02-030-0066 096-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก), 092-262-0475 (คุณตอง)...

Continue reading

Zendesk เผยเทรนด์การซื้อของผู้บริโภคและเคล็ดลับของร้านค้ายุคใหม่

“ผลสำรวจ 95% ของลูกค้าหรือผู้บริโภคในปัจจุบัน อ่านรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ” ผู้บริโภคในสมัยนี้จะต่างกับสมัยก่อนในเรื่องของอำนาจในการซื้อสินค้า เพราะในปัจจุบันการซื้อสินค้าของเราเปลี่ยนเป็นแบบดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งทุกคนก็รู้กันดีว่าดิจิทัลหรือสื่อโซเชียลในยุคปัจจุบันนั้นมันกว้างและรวดเร็วขนาดไหน ดังนั้นการที่คุณจะทำสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง คุณต้องมีความรอบคอบเพิ่มมากขึ้น เพราะถ้าเกิดสิ่งที่ไม่ดีขึ้นเมื่อไหร่ สิ่งไม่ดีนั้นจะถูกแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว และในวงกว้างมากๆ ดังนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับคำว่า การรีวิวจากลูกค้า (Customer Reviews) กันมากขึ้น โดยเรามาเริ่มกันที่ การรีวิวจากลูกค้า หรือ Customer Reviews คืออะไร? คือ บทวิจารณ์ หรือ ความคิดเห็นที่เกี่ยวกับสินค้า บริการหรือประสบการณ์โดยรวมระหว่างลูกค้ากับธุรกิจนั้นๆ ซึ่งลูกค้าสามารถเขียนบทวิจารณ์บนเว็บไซต์ของธุรกิจนั้นๆ บนแพลตฟอร์มของร้านค้า หรือแอพลิเคชั่นต่างๆ จนไปถึงบนสื่อโซเชียลของตนเอง แล้วการรีวิวหรือบทวิจารณ์ของลูกค้ามีความสำคัญอย่างไร? ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจจะเป็นแบบไหน แบบB2C หรือ แบบB2B การรีวิวจะส่งผลต่อการรับรู้ของลูกค้าคนอื่นๆของคุณและมันจะส่งผลต่อกำไรในที่สุด การรีวิวมันสามารถสร้างความไว้วางใจได้ เพราะการรีวิวของลูกค้าคนอื่นๆจะปรากฏเป็นหลักฐานทาง ในการพิสูจน์ว่าร้านคุณนั้นดีจริงหรือไม่ จนไปถึงสามารถเพิ่มชื่อเสียงให้กับร้านค้าได้อีกด้วย เพราะในความเป็นจริงจากผลวิจัยการตลาดแบบปากต่อปากถือเป็นการตลาดที่มีคุณภาพมากที่สุด ลูกค้าจะเชื่อมั่นมากกว่าโฆษณาของแบรนด์ ข้อเสนอแนะที่มีคุณค่า คนที่รีวิวจะสามารถให้ข้อมูล ตั้งแต่คุณภาพของสินค้า ไปจนถึงความง่ายในการซื้อขาย และประสิทธิภาพของการบริการลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้ารายอื่นๆมักจะอยากรู้ข้อมูลเหล่านี้อยู่แล้วก่อนที่จะซื้อ รวมไปถึงผู้ขายเองที่ต้องการรู้ข้อมูลจากลูกค้าเองเพื่อที่จะได้นำไปปรับปรุงในอนาคต ซึ่งพอแล้วรู้แล้วว่าการรีวิวหรือบทวิจารณ์จากลูกค้าสำคัญแค่ไหน แต่ว่าสิ่งที่ยากคือจะทำอย่างไรล่ะ ให้ลูกค้ามารีวิวร้านค้าของเรา? ซึ่ง Zendesk ก็ได้มีวิธีมาแนะนำทุกคนในวันนี้ วิธีขอความเห็นหรือบทวิจารณ์จากลูกค้า เลือกช่องทางที่ลูกค้าสะดวกและติดต่อเรามามากที่สุด การจะให้ลูกค้ารีวิวควรที่จะต้องเลือกหาช่องทางที่ลูกค้าสะดวกมากที่สุด เพราะว่าถ้าลูกค้าต้องพยายามหรือเจอวิธีการที่ลำบากที่จะให้รีวิว เขาก็คงจะเลิกหรือยอมแพ้ไป โดยส่วนมากลูกค้าจะรีวิวในช่องทางที่เขาเอาไว้พูดคุยกับร้านค้าอยู่แล้ว ซึ่งมันก็คือบทสนทนาระหว่างร้านค้ากับลูกค้านั่นเอง ก็คือการรีวิวไปในตัว หรือถ้ามีแอปพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์ของตัวเองก็จะยิ่งดีมากขึ้นที่จะรวบรวมการรีวิวไว้ในที่เดียว ติดตามการซื้อ จนไปถึงมีแอคชั่นกับลูกค้าจนกว่าจะได้รับของ สำหรับธุรกิจก็จะมีแอคชั่นแตกต่างกันไปบางธุรกิจก็เป็นส่งอีเมลเพื่อเอาไว้ติดตามผลการซื้อและตอบโต้กับลูกค้า แต่ที่นิยมและได้ผลการรีวิวดีที่สุด คือหลังจากที่ลูกค้าได้รับของแล้วจะใช้ซอฟต์แวร์ในการบริการลูกค้า ด้วยการช่วยจัดส่งแบบสำรวจความพึงพอใจให้กับลูกค้า สำหรับลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ควรขอข้อมูลาให้ได้มากที่สุด ผมสำรวจจาก Zendesk บอกว่า ลูกค้าคนไหนที่ภักดีต่อแบรนด์ 66% มักจะเขียนรีวิวให้ร้านค้านั้นๆในเชิงบวก ซึ่งถ้าร้านค้าไหนเจอลูกค้าประเภทนี้แล้ว คุณอาจจะขอให้เขามีการแนะนำไปยังเพื่อนฝูง ครอบครัว รวมไปถึงเขียนรีวิวในแพลตฟอร์มอื่นๆ เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือในส่วนอื่นๆได้อีกด้วย อาจจะมีการฝึกอบรมทีม บริการลูกค้าหรือทีมซัพพอร์ตลูกค้า เพื่อเป็นการขอความเห็นจากลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม หรือในเวลาที่ลูกค้าต้องการจะแสดงความเห็น เสนอสิ่งจูงใจให้กับลูกค้า มีผลสำรวจจาก PowerReviews พบว่า ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งที่ไม่ได้เขียนรีวิว เพราะต้องการแรงจูงใจหรือข้อเสนอที่ถ้าเขาเขียนรีวิวให้ร้านค้าแล้ว ร้านค้าควรมอบอะไรเป็นสิ่งตอบแทนให้เขาบ้าง เช่น ส่วนลด หรือ...

Continue reading

Zendesk รั้งตำแหน่งผู้นำด้าน CRM จากการจัดอันดับของ Gartner

เชื่อว่าหลายคนในแวดวงไอที อาจจะเคยได้ยิน Magic Quadrant ของ Gartner มาบ้างไม่มากก็น้อย ล่าสุดในการจัดอันดับของปี 2020 นี้ Zendesk ก็ได้รั้งตำแหน่ง Leader ของการจัดอันดับ Gartner Magic Quadrant ด้าน CRM Customer Engagement Center แล้ว Gartner’s Magic Quadrant คืออะไร ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจการจัดอันดับในครั้งนี้กัน Magic Quadrant คือ ชื่อของรายงานการวิจัยทางการตลาด (Market Research Reports) โดยบริษัท Garner Inc. ซึ่งเป็นบริษัทเพื่อการวิจัยและให้คำปรึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา มีจุดประสงค์เพื่อการวิเคราะห์เชิงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในตลาด รวมทั้งทิศทาง, พัฒนาการของเทคโนโลยี และผู้มีส่วนร่วมกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ สรุปให้เข้าใจได้ว่า Magic Quadrant ก็คือการวิเคราะห์ตำแหน่งด้านการแข่งขันทางการตลาด (Positioning) ของบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมนั่นเอง โดยจะแสดงผลเป็นกราฟเมทริกซ์ 2 มิติ พิจารณาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ Completeness of Vision แกน X ปัจจัยด้านวิสัยทัศน์ และ Ability to Execute แกน Y ปัจจัยด้านขีดความสามารถ  การประเมินของ Gartner Magic Quadrant จึงสามารถช่วยให้เห็นภาพรวมการแข่งขันของบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีแวดวงนั้นๆ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อาทิ บริษัทไหนที่เป็นผู้นำตลาด บริษัทไหนที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต หรือบริษัทไหนมีขีดจำกัดในการพัฒนา ยิ่งตำแหน่งอยู่ด้านขวามาก ก็แสดงว่ามีคะแนนด้าน Completeness of Vision สูง และยิ่งตำแหน่งอยู่ด้านบน ก็แสดงว่ามี Ability to Execute สูงมากเช่นเดียวกัน โดยเมทริกซ์จะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อแสดงความสามารถของแต่ละแบรนด์ ดังนี้ Leaders...

Continue reading

Zendesk องค์กรระดับโลก ที่เชื่อว่าทุกคนมีดีในแบบของตัวเอง

ก่อนอื่นจะขอพูดถึงองค์กรของ Zendesk ก่อนว่า Zendesk คือ บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ช่วยในเรื่องของ Customer Service และ Customer Support ที่มีบริษัทแม่อยู่ที่ San Francisco ประเทศ America ดังนั้นวัฒนธรรมภายในองค์กรก็จะมีความสมัยใหม่แบบสากล “Zendesk เป็นองค์กรที่มีความหลากหลาย และให้ความสำคัญกับคนหรือพนักงานในองค์กรเป็นอันดับแรก” เพราะทาง Zendesk เชื่อว่าทุกคนล้วนแล้วมีดีในแบบของตนเอง โดยที่มีความหลากหลายของพนักงานเอง ไม่ว่าจะเป็น เพศ เชื้อชาติ สีผิว หน้าที่ สภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู แต่ทุกคนก็สามารถอยู่ร่วมกัน และทำงานด้วยกันได้อย่างมีความสุข Zendesk พยายามปรับการทำงานในองค์กรให้ง่ายขึ้น และพยายามทำให้ทุกคนมั่นใจว่า ทุกความหลากหลาย ทุกตำแหน่ง ทุกเพศ หรือ ทุกส่วนในองค์กรล้วนแล้วแต่สำคัญและมีคุณค่าทั้งนั้น ไม่สามารถขาดคนใดคนนึงไปได้ โดยที่ Zendesk จะมีกลุ่มทรัพยากรบุคคลเพื่อจัดตั้งชุมชนต่างๆ เพื่อให้แต่ละชุมชนนั้นได้มีความมั่นใจว่าพวกเขาทุกคนจะได้รับการสนับสนุนในที่ทำงาน และสามารถพูดถึงพันธกิจหรือแสดงความคิดเห็น แบ่งปันข้อมูลของแต่ละชุมชนให้คนอื่นรับรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งในตอนนี้ Zendesk มีแบ่งเป็นชุมชนอะไรบ้างมาดูกัน 1. Global Veterans Network หรือ เครือข่ายทหารผ่านศึกทั่วโลก สำหรับทหารผ่านศึกที่ต้องการจะเปลี่ยนบทบาทของตัวเองมาเป็นพนักงาน ทาง Zendesk ก็ยินดีที่จะรับมาพร้อมกับมีการอบรมในวิชาชีพ และโอกาสในการฝึกสอนเกี่ยวกับการทำงาน 2. Mosaic หรือ ชุมชนคนผิวสี สำหรับชุมชนกลุ่มคนผิวสี ก็ได้มีการทำขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยให้กับกลุ่มคนผิวสีได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตัวเองเจอ และสร้างความเข้าใจให้กับคนในองค์กรยอมรับในความแตกต่าง และยังมอบโอกาสในการเติบโตอย่างมืออาชีพ เพื่อทำให้รู้ว่า คนผิวสีก็สามารถประสบความสำเร็จได้ไม่แพ้คนอื่นๆ 3. Pride หรือ กลุ่ม LGBTQ+ Zendesk จะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่ากลุ่ม LGBTQ+ ทุกคนจะถูกยกย่องและสนับสนุนในสิ่งที่ตัวเองเป็น ภารกิจของชุมชนกลุ่มนี้คือ เชิญชวนและช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนร่วมงาน กลุ่ม LGBTQ+ ด้วยกันเอง และเพิ่มความหลากหลายในกิจกรรมต่างๆภายในบริษัท 4. The Village หรือ กลุ่มคนที่มีครอบครัว กลุ่มนี้จะเป็นชุมชนสำหรับคนที่มีครอบครัว และต้องทำงานและดูแลครอบครัวในเวลาเดียว ทาง Zendesk ก็จะมีการจัดระบบการทำงานให้มีความสมดุล เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานในองค์กรกลุ่มนี้ จะทำทั้งสองสิ่งนี้...

Continue reading

Self Service การบริการลูกค้าที่หลายคนมองข้าม

ต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า Self Service คืออะไร? Self-service ก็คือ การบริการตนเองนั่นเอง ซึ่งหลาย ๆ คนก็อาจจะกำลังสงสัยว่า Self-service สำคัญกับลูกค้าอย่างไร? เวลามีคนให้บริการมันมักจะดีกว่าการบริการตนเองอยู่แล้ว แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้นอย่างที่ทุกคนทราบกันดี ทุก ๆ อย่างตอนนี้สามารถทำได้บนช่องทางอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้การบริการลูกค้าแบบเดิม ๆ เช่น การไปเจอพนักงานที่ศูนย์ การคุยโทรศัพท์ หรือการส่งอีเมล ต่าง ๆ ไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การไปเจอพนักงานที่ศูนย์ยิ่งในช่วงโรคระบาดโควิด-19 นี้เสี่ยงมากที่จะไปเจอผู้คน แล้วไปถึงก็ใช่ว่าจะได้แก้ปัญหาและคำตอบจากพนักงานเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ  หรือการโทรศัพท์ ลูกค้าก็ต้องรอว่าพนักงานจะรับหรือไม่รับ แถมบางที่กว่าจะได้คุยกับคนจริง ๆ ก็พาวนในเขาวงกตของ Auto Bot ไม่รู้กี่รอบให้ติดต่อฝ่ายนั้น ฝ่ายนี้ จะดีกว่าไหมถ้าลูกค้าของคุณสามารถค้นหาคำตอบและแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองด้วยระบบ Self-service ลดทั้งปริมาณงานที่ไม่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่ แถมลูกค้ายังได้รับการบริการที่สะดวกและรวดเร็ว จากผลสำรวจของทาง Zendesk พบว่า คนสนใจการ search หรือ Self-service ถึง 41% ซึ่งมากกว่าการแชทพูดคุยด้วยซ้ำ แต่ทางผู้ประกอบการเองกลับเน้นไปที่อีเมลส่วนใหญ่ แต่การรองรับทางด้าน Self Service นั้นกลับอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด ดังนั้น เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมของคนหรือลูกค้าในยุคปัจจุบันที่ไม่ชอบรอ การเพิ่มบริการแบบ Self-service ที่ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบได้เองหรือแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ด้วยตัวเองในช่องทางต่าง ๆ ที่พวกเขาสะดวก จึงเป็นส่งที่ตอบโจทย์มากที่สุด ซึ่งทาง Zendesk ก็ได้มีระบบที่ชื่อว่า Zendesk Guide ที่จะช่วยให้การบริการแบบ Self-service สะดวกและง่ายขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีไม่ว่างจะเป็นลูกค้า หรือให้กับบริษัทของเราเอง ซึ่งตัว Zendesk Guide จะมีฟีเจอร์ เช่น Answer Bot ก็คือ เราสามารถจับ Keyword ที่ลูกค้าเราพิมพ์เข้ามา หรือต้องการรู้ แล้วทาง Answer Bot ก็จะหาชุดคำตอบหรือบทความที่เขาต้องการส่งให้ลูกค้า เพื่อที่เวลาลูกค้าจะมาถาม เขาสามารถได้รับคำตอบได้ในทันทีด้วยระบบ...

Continue reading

Customer Support Trends และการรับมือลูกค้าในยุคที่อะไร ๆ ก็เป็น Omnichannel

Zendesk แพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อ “CRM” และ “Customer Support” ตอบโจทย์การให้บริการในยุคที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าต่างใช้ชีวิตและติดต่อสื่อสารกันผ่านทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์ต่างก็ต้องเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Call Center, Email, Facebook Messenger, Instagram, LINE, Twitter, Website Web Form และ Live Chat การที่ธุรกิจหรือแบรนด์มีการ support ลูกค้าในทุกช่องทาง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้าสามารถติดต่อและเข้าถึงแบรนด์ได้ในช่องทางที่ลูกค้าสะดวกและคุ้นเคย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่การที่จะบริหารจัดการลูกค้าพร้อมกันในหลาย ๆ ช่องทางนั้นเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวและมักสร้างปัญหาในเรื่องของการทำงานที่ซ้ำซ้อนให้กับทีมซัพพอร์ตลูกค้าอยู่ไม่น้อย ทำให้บริษัทในปัจจุบันจำเป็นต้องมี Admin คอยดูแล ตอบคำถามและแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าต่างช่องทางกันตามความเชี่ยวชาญของแต่ละทีม ยกตัวอย่างเช่น Admin ที่ดูแลเนื้อหาบนโซเชียล รวมทั้งคอยตอบคำถามทาง inbox Admin ที่ดูแลเนื้อหาบนเว็บไซต์ รวมทั้งคอยตอบคำถามทาง Email Admin ที่ตอบคำถามและบริการลูกค้าทาง LINE ทีม Call Center ที่รับเรื่อง ตอบคำถามและประสานงานกับทีมอื่น ๆ ให้กับลูกค้า ซึ่งหากอ้างอิงจากลิสด้านบนอย่างคร่าว ๆ ใน 1 องค์กร จำเป็นต้องมี Admin อย่างน้อย 4 คน หรือมากกว่า 2 ทีม ที่ต้องคอยตอบคำถาม แก้ไขปัญหา รับเรื่องร้องเรียนของลูกค้าในแต่ละวัน ในจุด ๆ นี้เองที่จะทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนเกิดขึ้น ทั้งความซ้ำซ้อนของการทำงาน และความซ้ำซ้อนที่ลูกค้าจะได้รับ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ลูกค้าท่านเดียวกัน แต่ติดต่อเข้ามาต่างช่องทาง หากเจ้าหน้าที่ของทั้ง 2 ทีมไม่มีการทำงานร่วมกันจะเกิดการแก้ปัญหาที่ซ้ำซ้อน ลูกค้าแจ้งเรื่องกับเจ้าหน้าที่ Call Center เจ้าหน้าที่ทำการโอนสายให้ทีมที่เกี่ยวข้อง ลูกค้าต้องตอบคำถามและเล่าปัญหาเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนดังกล่าวก่อให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองเวลาโดยไม่จำเป็น และอาจกลายเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจในการรับบริการให้กับลูกค้าได้ Customer Support เทรนด์ของลูกค้าในยุค Seamless และ Omnichannel 60% ของลูกค้า เลือกใช้มากกว่าหนึ่งช่องทางในการติดต่อกับแบรนด์...

Continue reading

ระบบ Help Desk คืออะไร? มาทำความรู้จักกัน

การบริการลูกค้าส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่ Help desk แต่ Help Desk คืออะไร? ทำงานอย่างไร? และบริษัทจะได้รับประโยชน์อย่างไร? เมื่อใช้ Help Desk หากจะให้แปลคำว่า Help Desk ออกมาเป็นภาษาไทยแบบตรง ๆ ก็คงจะหมายถึง “โต๊ะช่วยเหลือ” แต่ความจริงแล้ว Help Desk ไม่ใช่โต๊ะทำงานจริง ๆ หากแต่เป็นซอฟต์แวร์ หรือชุดของเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดตาม การจัดลำดับความสำคัญ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า และการเก็บบันทึกข้อมูลการติดต่อของลูกค้าที่เข้ามาจากช่องทางการให้บริการต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันการมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อผ่านอีเมลและโทรศัพท์อาจไม่เพียงพอ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลและสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ลูกค้าใช้ ฉะนั้นระบบ Help Desk จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการช่องทางการติดต่อของลูกค้าที่มีอยู่มากมายหลายช่องทางเข้าไว้ด้วยกันในหน้าแพลตฟอร์มเดียว เพื่อช่วยให้การติดตามปัญหาหรือการแก้ไขปัญหาของลูกค้าเป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง ลักษณะทั่วไปของระบบ Help desk จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. ระบบบริหารจัดการ Ticket (Ticket Management) 2. ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automations/Triggers) 3. ระบบการรายงานผล (Analytics/Reporting) ซอฟต์แวร์ Help Desk ทำงานอย่างไร? เมื่อลูกค้า (User) ติดต่อคุณเข้ามาผ่านช่องทางให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล โทรศัพท์ ไลฟ์แชท เว็บฟอร์ม รวมถึงสื่อโซเชียลมีเดีย ทุก ๆ การติดต่อจะถูกรวบรวมไปยัง Help Desk และถูกเปิดเป็น Support Ticket ตามลำดับหมายเลขการให้บริการหรือตามความสำคัญของ ticket นั้น ๆ โดย help desk จะทำการแจกจ่าย ticket ไปยังเจ้าหน้าที่ (Agent) ในฝ่ายต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามข้อมูลที่ได้ตั้งค่าไว้ในระบบ ซึ่ง ticket เหล่านั้นจะมีข้อมูลของลูกค้า...

Continue reading