Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

G Suite เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อป้องกันโจรกรรม

การปกป้องข้อมูลและทรัพย์สินที่สำคัญขององค์กรคุณถือเป็นความท้าทายอย่างมาก G Suite ช่วยปกป้องข้อมูลของคุณด้วยวิธีการต่างๆ อย่างการตรวจจับการโจรกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงผ่านทางการเรียนรู้ของระบบ โดยบังคับให้มีการตรวจสอบความถูกต้อง ด้วยการบังคับใช้หลักด้านความปลอดภัยและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลผ่านเครื่องมือต่างๆเช่น DLP วันนี้ G Suite ได้เพิ่มฟังก์ชั่นควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล และเพิ่มระบบป้องกันการโจรกรรมให้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบ ‘OAuth’ ให้องค์กรของคุณสามารถมองเห็นและควบคุมข้อมูลภายนอกได้   ระบบควบคุมการเข้าถึงของข้อมูลภายนอกแบบใหม่ ระบบ ‘OAuth’ ช่วยให้เก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยโดยที่ให้ผู้ใช้ G Suite สามารถเลือกรับข้อมูลจากภายนอกได้ เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันสแปม ผู้ใช้งานสามารถเลือกสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของตนเอง ดังนั้นจึงช่วยป้องกันข้อมูลที่เข้าข่ายโจรกรรม หรือข้อมูลอันตรายต่อผู้ใช้งานโดยบังเอิญได้       ซึ่งการควบคุมความปลอดภัยแบบใหม่นี้ สิ่งที่ผู้ใช้งาน G Suite สามารถทำได้ มีดังนี้ 1. ตรวจสอบข้อมูลภายนอกอย่างละเอียดได้ ก่อนที่จะเข้าถึงฐานข้อมูลของ G Suite   2. อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ เฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือและได้รับการตรวจสอบจาก ‘OAuth’ เท่านั้น ปกป้อง ‘OAuth’ ในการเข้าถึงข้อมูลหลักของ G Suite โดยป้องกันการติดตั้งแอปที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะจำกัดปัญหาที่เกิดจาก shadow IT เมื่อทำการติดตั้งระบบ ‘OAuth’ การเข้าถึงข้อมูลภายนอกจะถูกบังคับใช้ตามนโยบายที่กำหนดโดยผู้ดูแลระบบและพนักงานจะได้รับการป้องกันโดยอัตโนมัติจากแอปที่ไม่ได้รับอนุญาต เปิดใช้งานระบบ ‘OAuth’ สำหรับโดเมนของคุณ ฟังก์ชันสุดพิเศษนี้กำลังเปิดใช้งานเป็นระยะๆ และจะมีให้บริการภายในคอนโซลผู้ดูแลระบบภายใน 2-3 วันถัดไป หากคุณสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมว่าธุรกิจของคุณสามารถทำงานร่วมกันในการจัดเก็บข้อมูล และติดต่อสื่อสารภายในองค์กรอย่างปลอดภัยด้วย G Suite ได้อย่างไร สอบถามคำแนะนำในการเริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่   ที่มา : G suite บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ Google Apps for Work ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th Official LINE           ...

“Pathfinder” เครื่องมือที่ทำให้คุณไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวของลูกค้าบนหน้าเว็บ

“Pathfinder” เครื่องมือที่ทำให้คุณไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวของลูกค้าบนหน้าเว็บ ลองนึกภาพว่าคุณเป็นลูกค้าที่ต้องการความช่วยเหลือ บางทีคุณอาจต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะข้อมูลเชิงลึกของ Zendesk (เป็นตัวอย่างหนึ่ง) ขั้นตอนแรกของคุณคือการค้นหาในศูนย์ช่วยเหลือของเราและดูบทความหนึ่งของเราเกี่ยวกับ Insights แต่นั่นอาจไม่ใช่ข้อมูลที่คุณต้องการ ขั้นตอนที่สองอาจเป็นไปเพื่อตรวจสอบฟอรัมเกี่ยวกับแดชบอร์ดข้อมูลเชิงลึกในชุมชน Zendesk ด้วย อย่างไรก็ตามฟอรัมไม่ครอบคลุมถึงปัญหาของคุณ ในที่สุดคุณจะติดต่อผู้สนับสนุนของ Zendesk เพื่อขอความช่วยเหลือ ในบางสถานการณ์การสนับสนุนผู้สนับสนุนอาจแนะนำให้คุณอ่านบทความในศูนย์ช่วยเหลือหรือไปที่ฟอรัม นี้จะน่าผิดหวังสวยแม้ว่าตั้งแต่คุณต้องการได้ลองเส้นทางเหล่านั้น สถานการณ์ที่ดีที่สุดคือถ้าผู้สนับสนุนรู้อยู่แล้วว่าคุณต้องการอะไรและสามารถพบคุณได้ตรงกับที่คุณอยู่ในประสบการณ์การสนับสนุน แนะนำแอป Pathfinder แอปพลิเคชันถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของ Zendevian Cup ซึ่งเป็นแฮ็กสตาธานีทั่วทั้ง บริษัท ของเรา พนักงาน Zendesk จำนวนหนึ่งเห็นว่าจำเป็นต้องมีแอปที่จะช่วยให้ธุรกิจรู้ได้ว่าลูกค้ามีการเข้าชมบทความของศูนย์ช่วยเหลือหรือฟอรัมชุมชนก่อนและหลังจากที่พวกเขาส่งตั๋วไปแล้ว พวกเขาสร้างแอปพลิเคชันเพื่อให้การสนับสนุนบริบทมากขึ้นและช่วยแก้ปัญหาให้เร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจรู้ว่าพวกเขาสามารถปรับปรุงการบริการตนเองได้อย่างไรหากลูกค้าเปิดตั๋วบ่อยๆหลังจากดูฟอรัมและบทความบางอย่างแล้ว ในช่วงเบต้าเราได้เห็นว่า Pathfinder App เป็นประโยชน์สำหรับลูกค้ามากแค่ไหน ตามที่ James Baldwin ผู้จัดการอาวุโสของ Advocacy ผู้ใช้ที่ Change.org แพลตฟอร์มเทคโนโลยีชั้นนำของโลกสำหรับการสร้างชุมชนการกระทำและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม Pathfinder ให้เราบริบทล้ำค่าและข้อมูลเชิงลึกในการเดินทางของลูกค้าที่ช่วยให้เราสามารถปรับการโต้ตอบ, แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ใช้ของเราอย่างเต็มรูปแบบ ด้วย Pathfinder เราสามารถใช้เวลาน้อยลงไปกับลูกค้าของเราและมีเวลามากขึ้นในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความหมายกับคนที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงในชุมชนและโลกของพวกเขา ” ประโยชน์ของแอป Pathfinder: แอป Pathfinder ช่วยปรับปรุงตัวแทนและประสบการณ์ของลูกค้าโดย: ให้การสนับสนุนส่วนบุคคลมากขึ้น ผู้สนับสนุนจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับบทความในศูนย์ช่วยเหลือและโพสต์ฟอรัมฟอรัมชุมชนที่ได้ดูไปแล้ว บริบทเพิ่มเติมช่วยให้ผู้สนับสนุนสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปรับปรุงการบริการตนเอง ด้วยการทำความเข้าใจกับบทความที่มักส่งผลต่อการรับตั๋วใหม่จากลูกค้าของคุณ ลดความขัดข้องของลูกค้า โดยมั่นใจว่าผู้สนับสนุนไม่แนะนำบทความที่พวกเขาได้อ่านไปแล้ว ตามรายงานจาก Jake Sorofman และ Laura McLellan ของ Gartner ในปี 2016 “89% ของ บริษัท คาดว่าจะแข่งขันกันส่วนใหญ่บนพื้นฐานของประสบการณ์ของลูกค้า” * นั่นหมายความว่าลูกค้า – มากขึ้นกว่าเดิม – คาดว่าจะมีปฏิสัมพันธ์กับบริการที่ง่าย ธุรกิจต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า เมื่อเร็ว ๆ นี้ Kate Leggett จาก Forrester ได้สรุปแนวโน้มด้านบริการลูกค้าของปี 2016 (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ฟรีจาก Zendesk) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการบริการลูกค้าต้องเป็นเรื่องง่ายมีประสิทธิภาพและปลูกฝังอารมณ์ในแง่ดี: “บริษัท...

Continue reading

Trivago บอกเล่าประสบการณ์การบริหารจัดการลูกค้า

ที่ Trivago พนักงานมากกว่า 950 คนมุ่งเน้นที่จะผลักดันนวัตกรรมทั้งในเครื่องมือค้นหา และการแก้ปัญหาด้านการตลาดของบริษัท โดยการท้าทายสถานะของอุตสาหกรรม ตั้งแต่ปี 2005 บริษัท Trivago เป็นหนึ่งในบริษัทอินเทอร์เน็ตที่เติบโตเร็วที่สุดในภาคเทคโนโลยีการท่องเที่ยว วันนี้ Trivago เป็นบริษัทค้นหาโรงแรมทางอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทุกๆ เดือน มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 120 ล้านคนเลือกใช้บริการของ Trivago ในการค้นหาที่พัก เพื่อเปรียบเทียบราคาที่ถูกที่สุดจากโรงแรมมากกว่า 1 ล้านแห่ง เพื่อที่จะให้ข้อมูลที่นักท่องเที่ยวต้องการในเว็บไซต์ Trivago ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงแรม จึงได้ทุ่มเทให้กับทีม Hotel Relation และยังส่งมอบประสบการณ์สุด ‘ว้าว’ ให้กับลูกค้า เมื่อพูดถึงรายงานบรรทัดแรก ระบบสนับสนุนจะให้ภาพรวมที่ชัดเจนและรวดเร็ว “การวิเคราะห์ของระบบสนับสนุนเป็นสิ่งที่โดดเด่นจริงๆ การมองเห็นกระบวนการทำงานและความคืบหน้าของทีม Hotelier Care ของเราเป็นเครื่องมือสร้างแรงบันดาลใจที่ยอดเยี่ยม” Savvidis กล่าว สำหรับ Savvidis แล้ว ระบบสนับสนุนนั้นใช้งานง่าย อีกทั้งระบบนี้ยังเป็นทางการและโปร่งใส “คนของเราตอนนี้มีความภาคภูมิใจในงานของพวกเขา แต่สิ่งที่เรารู้สึกสนุกไปกับงานจริงๆก็คือฟังก์ชัน Multi-brand ซึ่งช่วยให้เราสามารถสร้างประสิทธิภาพและความพึงพอใจในบริการให้ดียิ่งขึ้นได้ “ หลังจากดำเนินการใช้ระบบสนับสนุนแล้ว Trivago ทำการสำรวจฝ่ายธุรกิจโรงแรมเพื่อประเมินความพึงพอใจโดยรวม พวกเขาพบว่ามากกว่า 8 ใน 10 ของธุรกิจโรงแรมมีความสุขกับบริการของทีม Hotelier Care ไม่เพียงแค่นั้น ทีมงานของเรายังคงทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างความพึงพอใจในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น โดยการปรับปรุงเทคนิคการตอบสนองต่อไป Savvidis บอกเล่าประสบการณ์ให้ว่า ทีมยังสามารถบรรลุเป้าหมายในการโต้ตอบตลอด 24 ชั่วโมง ธุรกิจโรงแรมส่วนใหญ่เกินครึ่งได้รับการตอบกลับภายในเวลาดังกล่าวอีกด้วย   “การวิเคราะห์ของระบบสนับสนุนเป็นสิ่งที่โดดเด่นจริงๆ การมองเห็นกระบวนการทำงานและความคืบหน้าของทีม Hotelier Care ของเราเป็นเครื่องมือสร้างแรงบันดาลใจที่ยอดเยี่ยม” – Ioannis Savvidis หัวหน้าฝ่าย HOTELIER CARE & OPERATIONS ที่ Trivago ที่มา: Zendesk บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371...

Continue reading

การปฏิบัติงานบริหารลูกค้า 4 ประเภท บริษัทของคุณอยู่ในประเภทใด?

“การกระทำสำคัญกว่าคำพูด” จริงไหม? แน่นอนว่าสิ่งที่คุณปฏิบัตินั้นย่อมมีความหมายมากกว่าสิ่งที่คุณพูด หรือสิ่งที่คุณเป็นอยู่แล้ว วลีนี้ไม่ได้ใช้เพียงแค่กับผู้คนเท่านั้น แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้เข้ากับการขาย การตลาด โซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการด้านบริการลูกค้า จากรายงานของ Zendesk Benchmark (เผยแพร่ไว้เมื่อกุมภาพันธ์ ปี 2015) เราตัดสินใจที่จะสำรวจไอเดียนี้โดยการใช้เวลาในการมองข้ามความเป็นอุตสาหกรรมธรรมดา ค้นหาการจัดประเภทที่เกี่ยวข้องและถูกต้องสำหรับการบริการลูกค้าที่มีประสิทธิภาพ   ลักษณะการบริการลูกค้าทั้ง 4 ประเภทขององค์กร จากการใช้กระบวนการวิเคราะห์แบบจัดกลุ่ม เราได้จัดกลุ่มองค์กรบริการลูกค้าตามลักษณะการปฏิบัติงานและการจัดการที่คล้ายคลึงกันและพบว่าทีมสนับสนุนสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างมาตราฐานที่ดียิ่งขึ้น 1. นักสร้างความสัมพันธ์ (Relationship Builders) เหล่าทีมเล็กพริกขี้หนูเหล่านี้ถนัดในการจัดการความสัมพันธ์ รวมถึงส่งมอบประสบการณ์ที่ทำให้ลูกค้าประทับใจได้ดี วัฒนธรรมนี้สามารถพบเห็นได้จากการขยายการตลาดของพวกเขา 2. ผู้เชี่ยวชาญด้านความจุกจิก (Master of Complexity) บริษัทเหล่านี้มีโครงสร้างการจัดการแบบไดนามิก และดำเนินงานด้านบริการลูกค้าที่จุกจิกและซับซ้อนได้ดีทีเดียว 3. ดอกไม้ที่เบ่งบานช้า (Late Bloomers) ด้วยแนวทางที่ไม่สมดุลในการสนับสนุนการจัดการ บริษัทเหล่านี้เลยยังไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่ พวกเขาอาจให้ความสำคัญไปยังฝ่ายขายหรือฝ่ายการตลาดของตนมากเกินไป แทนที่จะให้ความสำคัญกับการสนับสนุนลูกค้า (ปัญหาทั่วไปของบริษัท start-ups) 4. กัปตันการชั่ง (Captain of Scale) ทีมงานเหล่านี้ให้ความสำคัญกับการจัดการบริการลูกค้ามากที่สุดเท่าที่พวกเขาทำได้ เพื่อการขายและการตลาด และกำหนดมาตรฐานระดับทองคำในการดำเนินงานสนับสนุนลูกค้าเลยทีเดียว เราไปถึงจุดนั้นกันอย่างไร? ตามแนวทางการวิเคราะห์ จากงานวิจัยได้จัดกลุ่มธุรกิจและองค์กรไว้ 12 กลุ่มด้วยกัน โดยอาศัยตัวชี้วัดที่บอกถึงภาระงานที่คล้ายคลึงกัน กลยุทธ์การสนับสนุน และแหล่งที่มาของการดำเนินงานบริการลูกค้าของพวกเขา ซึ่ง 12 กลุ่มนี้ ถูกแบ่งอย่างละเอียดทีกที จึงได้ออกมาเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ที่มีลักษณะการดำเนินงานและการจัดการที่คล้ายกัน การมุ่งเน้นไปที่มาตรฐานการปฏิบัติงานในรายงานฉบับที่ 4 ของเรา ไม่ใช่เพียงแค่การสำรวจข้อมูลที่สนุกสนานเท่านั้น รายงานนี้จะเจาะลึกข้อมูลในแต่ละประเภททั้ง 4 ประเภท (และ 12 กลุ่มย่อย) เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกและเคล็ดลับเช่นเดียวกับเกณฑ์มาตรฐานที่แท้จริงสำหรับการเปรียบเทียบองค์กรต่างๆ ที่มีความหมายและมีความเกี่ยวข้องมากขึ้น แล้วบริษัทของคุณเป็นประเภทไหนล่ะ? เกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมรวมทั้งขนาดของบริษัท และประเภทกลุ่มเป้าหมายยังคงเป็นเรื่องใหญ่สำหรับหลาย ๆ บริษัท ที่กำลังมองหาภาพรวมในการเปรียบเทียบ แต่เราค้นพบว่าหลายบริษัทจะเกี่ยวโยงกับบริษัทที่มีการดำเนินงานและการจัดการที่คล้ายคลึงกัน โดยไม่คำนึงถึงอุตสาหกรรม ที่มา: Zendesk   บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ...

Continue reading

Gmail เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ทั่วไป จะเลิกอ่านอีเมลของลูกค้าเพื่อการโฆษณา

G Suite จาก Google กำลังทำการเจาะกลุ่มไปยังผู้ใช้ที่เป็นหน่วยธุรกิจ ซึ่งการใช้บริการ G Suite นั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าใน 1 ปีที่ผ่านมา วันนี้ มีบริษัทมากกว่า 3 ล้านบริษัทที่ใช้บริการ G Suite คำครหาอย่างหนึ่งที่ Gmail โดนวิจารณ์มาตลอดคือ เปิดอ่านเนื้ออีเมล์ของผู้ใช้เพื่อหาโฆษณามาแสดงให้ตรงกับเนื้อหา ล่าสุดกูเกิลประกาศว่า Gmail เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ทั่วไป จะเลิกอ่านอีเมลของลูกค้าเพื่อการโฆษณาแล้ว โดยจะคัดเลือกโฆษณาจากข้อมูลอื่นๆ ของลูกค้าแทน (สามารถปิด ads personalization ได้จากหน้า Settings) ในส่วนของ Gmail เวอร์ชัน G Suite นั้นไม่มีโฆษณาและไม่ได้อ่านอีเมลมาตั้งแต่แรกแล้ว Gmail คือผู้ให้บริการอีเมลที่โดดเด่นที่สุดในโลก มีจำนวนผู้ใช้มากกว่า 1.2 ล้านคน ซึ่งประสบความสำเร็จในเรื่องการป้องกันผู้ใช้จากสแปม การแฮ็ค และการหลอกลวง โดยที่เจ้าอื่นไม่สามารถทำได้ดีเท่ากับ Gmail คุณสมบัติพิเศษอย่าง Smart Reply นั้นจะทำให้การรับ-ส่งอีเมลเป็นเรื่องง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนเสริมของ Gmail จะช่วยให้สามารถใช้คุณสมบัติพิเศษต่างๆเช่นการชำระเงิน และการออกใบแจ้งหนี้ได้โดยตรงภายใน Gmail เพื่อปฏิวัติสิ่งที่สามารถทำได้ในอีเมล ผู้ใช้บริการ Gmail ทั้งแบบฟรี และแบบ G Suite มั่นใจได้เลยว่ากูเกิ้ลจะรักษาความส่วนตัวและความปลอดภัยพร้อมไปกับการสร้างนวัตกรรม ซึ่งผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลที่แชร์กับกูเกิ้ลผ่านทาง myaccount.google.com เหมือนดังเช่นเคย ที่มา: Google   บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ Google Apps for Work ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th   Official LINE...

การออกแบบหน้าเพจ”คำถามที่พบบ่อย”เพื่อให้ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง

การพูดคุยกันเป็นเรื่องที่ดี และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนลูกค้าของคุณก็ทำได้ดีทีเดียว แต่จริงๆแล้ว จากการสำรวจของ Zendesk พบว่า  67% ของลูกค้าต้องการติดต่อสอบถามไปยัง call center  91% ลูกค้าที่ชอบค้นหาคำตอบด้วยตนเอง หาคำตอบด้วยตนเองจากหน้าเพจ FAQ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว  ดังนั้น การดีไซน์หน้าเพจ FAQ จึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามในการสร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้งานให้มีประสิทธิภาพ แถมยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทของคุณกับลูกค้าอีกด้วย ระบุเป้าหมาย Christopher Calabrese UX ดีไซน์เนอร์ระดับสูงแห่ง Cooper ในนิวยอร์กกล่าวว่า ก่อนที่คุณและทีมจะดีไซน์หน้าเพจ “คำถามที่พบบ่อย” บนเว็บไซต์ของคุณ ควรตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า ทำไมองค์กรของคุณต้องการเป็นหนึ่งในอันดับแรก? ถ้าเว็บไซต์ของคุณสร้างความสับสนให้แก่ลูกค้า และลูกค้าไม่สามารถหาข้อมูลสำคัญได้ งั้นหน้าเพจ “คำถามที่พบบ่อย” ก็จะเป็นเพียงแค่กล่องยาที่รักษาโรคไม่ได้ แค่นั้นเอง อย่าลืม ‘ใคร’ ในคำถามที่พบบ่อย สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ชมเว็บไซต์ คือสิ่งสำคัญที่สุด ในส่วนของหน้าคำถามที่พบบ่อย อย่าไขว้เขวกับภารกิจหลักเด็ดขาด ซึ่งในที่นี้คือเวลาลูกค้ามีคำถามที่ต้องการคำตอบ การให้ข้อมูลที่เรียบง่ายและตรงประเด็นคือสูตรลับแห่งชัยชนะ มีสิ่งที่ควรพินิจพิเคราะห์อยู่ 2 อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ คำถามในหน้าเพจคำถามที่พบบ่อยของคุณ ควรเป็นคำถามที่คาดว่าลูกค้าจะถามจริงๆ ไม่ใช่ว่าใส่อะไรลงไปก็ได้ ดังนั้นควรลองถามพนักงานคนอื่นๆดูก่อน อย่างที่สองคือ สมมติว่ามีคำถามประมาณ 4-5 คำถามบนเพจ ลองเอาออกแล้วใส่ส่วนขยายสำหรับคำตอบบริเวณด้านล่างคำถามแทน ลูกค้าของคุณจะได้ไม่ต้องคลิกนั่นคลิกนี่ ลงทุนกับสื่อต่างๆอย่างวิดีโอให้คำแนะนำ หรือรูปภาพสวยๆ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงกล่องข้อความที่เด้งขึ้นมาเพื่อเรียกยอดไลค์ สิ่งใดก็ตามที่ช่วยให้ผู้ใช้เว็บไซต์บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้ จะนำไปสู่ประสบการณ์ที่น่าทึ่งได้ดีทีเดียว มือถือ มือถือ มีแต่มือถือเต็มไปหมด กฎเหล็กที่ขาดไม่ได้เลยคือ ลูกค้าของคุณใช้โทรศัพท์มือถือกันทั้งนั้นนะ และพวกเขาก็คาดหวังที่จะใช้บริการจากคุณไม่ว่าจะเป็นตอนใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้าน หรือตอนใช้โทรศัพท์มือถือ ดีไซน์หน้าเว็บไซต์และเว็บเพจต่างๆของคุณ ต้องทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถรองรับได้ แล้วก็คำนึงถึงความสวยงามด้วยล่ะ การวางกลยุทธ์แพลตฟอร์มบนมือถือเป็นเรื่องที่ดี แต่อย่าให้มันมีบทบาทสำคัญมากกว่า หรือแยกมันออกจากเว็บไซต์หลักของคุณ เพราะว่าการดีไซน์แพลตฟอร์มบนมือถือเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการทำเว็บไซต์ของคุณเท่านั้น เป็นอย่างไรบ้างล่ะ? ยอดเยี่ยมมาก! ตอนนี้คุณได้ออกแบบหน้าเพจ FAQ ที่ดีที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อย ผ่านเข้ารอบต่อไปได้เลย หลังจากนั้นก็ควรสำรวจด้วยว่าเพจคำถามที่พบบ่อยของคุณ ประสบความสำเร็จต่อผู้ใช้งานหรือลูกค้าของคุณหรือเปล่า ตรวจดูข้อมูลต่างๆบนเว็บไซต์ และลองถามพนักงานของคุณด้วยว่าพวกเขาได้ยินอะไรจากลูกค้าบ้างหรือเปล่า? ที่มา: Zendesk สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02 030 0066 Facebook Page : @demeterict support@dmit.co.th Official LINE...

การกลับมาอีกครั้งของ Google Glass

Google Glass ผลิตภัณฑ์สุดไฮเทคที่กูเกิลยุติโครงการออกจาก Google X และเหมือนจะเงียบไป ได้ออกอัพเดตเฟิร์มแวร์และแอพพลิเคชันบน Android เวอร์ชัน XE23 ซึ่งถือเป็นอัพเดตแรกในรอบ 3 ปีเลยทีเดียว รายละเอียดของอัพเดตนี้เป็นการแก้ไขบั๊กทั่วไป และเพิ่มความสามารถให้ Glass สามารถเชื่อมต่อด้วยบลูทูธกับอุปกรณ์ป้อนข้อมูลอื่น อาทิ คีย์บอร์ด หรือเมาส์ ได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดี เพราะอย่างน้อยก็สามารถยืนยันได้ว่ากูเกิลยังไม่ลืมผลิตภัณฑ์ตัวนี้ ที่มา: Techcrunch   บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ Google Apps for Work ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th   Official LINE...

ส่งมอบประสบการณ์ที่แสนพิเศษให้ลูกค้าออนไลน์

หากตอนนี้คุณเป็นหัวหน้าทีมสนับสนุนที่กำลังยุ่งอยู่กับทีมเพื่อจัดการ KPI ลองนึกภาพชุดข้อมูลที่เน้นคำแนะนำและการดำเนินการที่เรียบง่าย ให้คุณสามารถใช้งานได้เพื่อบรรลุเป้าหมายของคุณ เรามีประสบการณ์ทั้งหมดที่น่าหงุดหงิดเมื่อคุณกำลังออนไลน์และต้องการความช่วยเหลืออย่างมาก แต่กลับไม่มีวิธีที่สะดวกและรวดเร็วในการติดต่อกับบริษัท อาจจะเป็นหน้าเพจ “ติดต่อเรา” ที่มีแต่ข้อมูลติดต่อพื้นฐานอย่างเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมล์ แต่ไม่มีสิ่งใดยืนยันว่าคุณจะได้รับการตอบกลับเมื่อไหร่ นี่เป็นประสบการณ์ที่คุณให้กับลูกค้าของคุณอยู่หรือไม่? ในโพสต์นี้เราจะแบ่งปันวิธีการที่ทำให้บริษัทของคุณโดดเด่น ด้วยประสบการณ์ออนไลน์ที่ไร้รอยต่อกับลูกค้า ในขณะเดียวกันก็ช่วยทีมสนับสนุนของคุณสามารถเร่งเวลาในการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที Zendesk Web Widget จึงนำพลังของ Zendesk มาสู่เว็บไซต์ของคุณผ่านการติดต่อในรูปแบบต่างๆ อย่างการแชทสด และคำแนะนำที่ฝังอยู่ในส่วนของการบริการด้วยตนเอง ลองมาดูรายละเอียดกันเถอะ ทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะไม่ห่างจากคุณ ลูกค้าของคุณไม่ควรต้องไปตามล่าขอความช่วยเหลือ ลดประสบการณ์ออนไลน์แย่ๆ ของพวกเขาด้วยการทำให้การขอความช่วยเหลือและค้นหาคำตอบเป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ใดก็ตาม เมื่อฝังเว็บวิดเจ็ตนี้ลงในเว็บไซต์แล้วล่ะก็ คลิกเพียงครั้งเดียวก็สามารถให้คำแนะนำ หรือให้คำตอบกับลูกค้าของคุณได้เลย นอกจากนี้สิ่งที่เป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับการแนะนำโดยอัตโนมัติ หากลูกค้ายังต้องการความช่วยเหลือพวกเขาสามารถเลือกประเภทของคำถามก่อนที่จะได้รับข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ***กดดูคลิป*** แก้ปัญหาได้เร็วขึ้นด้วยระบบบริการตนเอง ไม่ใช่คำถามทั้งหมดต้องได้รับการตอบกลับแบบส่วนตัวและไม่ใช่ลูกค้าทุกคนมีเวลาหรือมีความปรารถนาต่อสิ่งเดียว การแสดงสิ่งที่เป็นความรู้โดยตรงในเครื่องมือช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบได้เองแทนที่จะรอการตอบกลับ ทำให้ประสบการณ์นั้นดียิ่งขึ้นเพื่อให้ลูกค้าไม่ต้องมานั่งมองหาเนื้อหาที่ต้องการ ซึ่งความช่วยเหลือตามบริบทในเว็บวิดเจ็ตจะแสดงสิ่งที่เป็นความรู้เบื้องต้นโดยอิงตามหน้าเว็บที่ลูกค้ากำลังดูอยู่ ยกตัวอย่างเช่น หากลูกค้ากำลังมองหาหน้าเช็คเอาต์ พวกเขาสามารถหาบทความเกี่ยวกับการชำระเงินหรือตัวเลือกการจัดส่งได้เมื่อคลิกที่วิดเจ็ต ลูกค้าที่หาคำตอบเองนั้นจะช่วยย่นระยะเวลาในการรอการตอบกลับ และเป็นโอกาสสำหรับทีมสนับสนุนของคุณเพื่อให้ความสำคัญกับคำถามที่ท้าทายมากขึ้น ตรวจจับข้อมูลมากขึ้นอย่างแม่นยำและรวดเร็ว การจับข้อมูลตามบริบทจากลูกค้าจะช่วยลดความไม่แน่นอนในการแก้ปัญหา ตัวอย่างเช่น ได้รับหมายเลขคำสั่งซื้อของลูกค้าก่อนที่พวกเขาจะส่งคำถามเกี่ยวกับสถานะการสั่งซื้อ โดยโฟกัสไปยังข้อมูลที่มีความสำคัญจริงๆ ลูกค้าจะไม่รู้สึกจมอยู่กับรูปแบบที่ยืดเยื้อ ในขณะที่ตัวแทนสนับสนุนยังมีทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการจะเสนอรายละเอียดในเวลาอันรวดเร็ว ในกรณีที่เป็นไปได้คุณสามารถหลีกเลี่ยงการทิ้งภาระให้กับลูกค้าเพื่อให้ข้อมูลโดยการใช้ข้อมูลที่คุณมีอยู่แล้วจากเส้นทางของลูกค้าด้วยแอพพลิเคชัน Pathfinder ที่ตัวแทนสนับสนุนสามารถดูหน้าเพจต่างๆ ที่ลูกค้าเข้าชม ค้นหา รวมถึงบทความที่พวกเขาดูก่อนที่จะเข้าถึงในส่วนของความช่วยเหลือได้ ติดตั้งข้อมูลนี้เพื่อให้ตัวแทนสนับสนุนสามารถตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น เว็บวิดเจ็ตนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ความช่วยเหลือนั้นสามารถค้นหาได้อย่างง่ายดายเสมอ โดยมีตัวเลือกด้านบริการตนเองและศูนย์กลางเพื่อให้ลูกค้าสามารถได้รับสิ่งที่ต้องการได้ในเวลาที่รวดเร็วที่สุด สำหรับในส่วนบริษัทของคุณนั่นหมายถึงการทำให้ลูกค้าพึงพอใจจากการบริการที่สามารถตอบสนองได้มากขึ้น อีกทั้งทีมสนับสนุนที่มีบริบทมากขึ้นจากคำถามที่ได้รับ เพื่อให้สามารถสนับสนุนและช่วยเหลือลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ที่มา : Zendesk สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02 030 0066 Facebook Page : @demeterict support@dmit.co.th Official LINE...

Google บริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กลุ่ม LGBT ในนครนิวยอร์ก

ในวันอาทิตย์ที่ผ่านมา Google บริจาคเงินเป็นจำนวน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กลุ่ม LGBT ในนครนิวยอร์กเพื่ออนุรักษ์ประวัติศาสตร์จากเหตุการณ์จราจลที่เหล่ากลุ่มรักร่วมเพศออกมาต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของพวกเขาที่โรงแรม Stonewall ในปี 1969 Chuck Schumer วุฒิสภาของสหรัฐฯ ประกาศว่าทาง Google บริจาคทุนให้กับศูนย์ชุมชนคนรักร่วมเพศที่นครนิวยอร์กเพื่อเป็นทุนในการเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา และเพื่ออนุรักษ์สถานที่นี้ไว้ให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้เรียนรู้และรับรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์การจราจลในอดีต โดย Schumer ยังกล่าวเกี่ยวกับโครงการนี้อีกว่า “จะนำเงินนี้มาแปลงจากสถานที่มาเป็นในรูปแบบเนื้อหาดิจิตอลที่สามารถเข้าถึงและเป็นบทเรียนให้กับคนนับล้านทั่วโลกได้” โดยเจ้าของไอเดียของโครงการบริจาคครั้งนี้คือ William Floyd หัวหน้างานด้านต่างประเทศของ Google และโครงการนี้จะเสร็จสิ้นในช่วงครบรอบ 50 ปีของประวัติศาสตร์ในปี 2019 ที่มา : Unicorn Booty   บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา Zendesk โปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย! 02-675-9371 092-262-6390 097-008-6314 (ฝ่ายขาย) support@dmit.co.th Official LINE...