Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

How to สร้างเว็บด้วย Google Sites ใน 6 ขั้นตอน

How to สร้างเว็บด้วย Google Sites ใน 6 ขั้นตอน

Google Sites หนึ่งในฟีเจอร์ของ Google Workspace ทำให้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง ถึงแม้คุณจะไม่มีทักษะการเขียนโปรแกรมก็ตาม เพราะ Google Sites ช่วยให้ง่ายขึ้นด้วยการคลิก ลาก และวางเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ธุรกิจ เว็บไซต์งานกิจกรรม ก็สามารถสร้างได้ง่ายๆเพียง 6 ขึ้นตอนต่อไปนี้

หมายเหตุ: ทำความรู้จักกับ Google Sites ได้ที่ สร้างเว็บไซต์ง่ายๆ ไม่ง้อโปรแกรมเมอร์ด้วย Google Sites

1. การสร้างเว็บไซต์

จากหน้าแรกของ Sites ให้คลิกสร้าง+ ที่ด้านบน หรือเลือกเทมเพลตโดยคลิก Template gallery (แกลเลอรีเทมเพลต)

จาก Google ไดรฟ์ ให้คลิก New (ใหม่) > More (เพิ่มเติม) > Google Sites

2. การตั้งชื่อเว็บไซต์

  1. Title site (ชื่อเอกสารของเว็บไซต์) ชื่อเอกสารของเว็บไซต์จะปรากฏให้คุณเห็นเท่านั้น และคุณไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้ 
  2. Site name (ชื่อเว็บไซต์) ชื่อเว็บไซต์จะปรากฏในส่วนหัวและในแถบชื่อหน้าต่างของเว็บหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หลังจากที่คุณเผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์ของคุณปรากฏคุณต้องมีหน้าเว็บ 2 หน้าขึ้นไป
  3. Page title (ชื่อหน้าเว็บ) แต่ละหน้าในเว็บไซต์จะมีชื่อซึ่งจะปรากฏที่ด้านบนของหน้าเว็บ และชื่อหน้าเว็บจะปรากฏในเมนูการนำทางด้วย

3. การเลือกเลย์เอาต์

 

สามารถเลือกได้โดยคลิก Layouts (เลย์เอาต์) ที่ด้านขวาตามรูปภาพ

4. การเลือกภาพพื้นหลัง ประเภทส่วนหัว และธีม

เลือกรูปแบบให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดยแต่ละธีมจะมีพื้นหลังที่กำหนดล่วงหน้า รูปแบบสี และการเลือกฟอนต์ คุณจะปรับเปลี่ยนแบบอักษร สี และพื้นหลังในภายหลังได้ และยังเปลี่ยนธีมได้ทุกเมื่อหลังจากสร้างเว็บไซต์แล้ว หากต้องการเปลี่ยนแปลง ให้คลิกเลิกทำหรือทำซ้ำ

4.1 เปลี่ยนภาพพื้นหลัง

  • ไปที่ Sites และเปิดไซต์
  • ชี้ไปที่ภาพพื้นหลังแล้วคลิก Change image (เปลี่ยนรูปภาพ)
  • เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
    • หากต้องการอัปโหลดรูปภาพจากคอมพิวเตอร์ ให้คลิก Upload (อัปโหลด)
    • หากต้องการเลือกรูปภาพจากแกลเลอรีหรือตำแหน่งอื่น ให้คลิก Select image (เลือกรูปภาพ)
  • หากต้องการกลับไปที่ภาพพื้นหลังเดิม ให้คลิก Reset (รีเซ็ต)

4.2 เปลี่ยนประเภทส่วนหัว

ชี้ไปที่ภาพพื้นหลังและคลิก Header type (ประเภทส่วนหัว) สามารถเลือกตัวเลือกต่อไปนี้ได้

  • Cover (หน้าปก)
  • Large Banner (แบนเนอร์ขนาดใหญ่)
  • Banner (แบนเนอร์)
  • Title only (ชื่อเท่านั้น)

4.3 เปลี่ยนธีมและรูปแบบตัวอักษร

 
  • คลิก Themes (ธีม) ที่มุมขวาบน
  • เลือกธีมและเลือกสี
  • คลิกรูปแบบตัวอักษรและเลือกรูปแบบ

5. การเพิ่ม จัดลำดับใหม่ และวางซ้อนหน้าเว็บ

คุณสามารถเพิ่มหน้าเว็บสำหรับเนื้อหาเพิ่มเติม และสามารถเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกันโดยการวางซ้อนหน้าเว็บ จากนั้นหน้าเว็บที่ซ้อนกันจะปรากฏเป็นหัวข้อย่อยของหน้าเว็บอื่นอีกด้วย

5.1 วิธีเพิ่มหน้าเว็บมีดังนี้

  • ที่มุมขวาบน ให้คลิก Page (หน้าเว็บ)  ชี้ไปที่+ เพื่อสร้าง
  • เลือกตัวเลือกต่อไปนี้
    • หากต้องการเพิ่มหน้าเว็บใหม่ ให้คลิกเพิ่มหน้าเว็บ ตั้งชื่อหน้าเว็บแล้วคลิกเสร็จสิ้น
    • หากต้องการเพิ่ม URL ให้คลิกเพิ่มลิงก์

5.2 วิธีซ้อนหรือเรียงลำดับหน้าเว็บใหม่มีดังนี้

  • คลิกหน้าเว็บ
  • ลากหน้าเว็บขึ้นหรือลงในรายการเพื่อเรียงลำดับใหม่
  • ลากหน้าเว็บที่ด้านบนของอีกหน้าเพื่อซ้อนกัน
  • หากต้องการยกเลิกการซ้อนหน้าเว็บ ให้ลากไปยังด้านล่างสุดของรายการ

หมายเหตุ: คุณจะซ้อนหน้าเว็บได้เพียง 5 ระดับเท่านั้น

5.3 วิธีเลือกตัวเลือกหน้าเว็บมีดังนี้

ในส่วนหน้าเว็บ ให้เลือกหน้าเว็บแล้วคลิกเพิ่มเติม  ถัดจากหน้าดังกล่าว จากนั้นเลือกตัวเลือกดังนี้

  • Make homepage (ตั้งค่าเป็นหน้าแรก)
  • Duplicate page (ทำหน้าเว็บซ้ำ)
  • Properties (เปลี่ยนชื่อหน้าเว็บ)
  • Add subpage (สร้างหน้าย่อย)
  • Hide from navigation (ซ่อนจากหน้าการนำทาง)
  • Delete (ลบหน้าเพจ)

หมายเหตุ:

  • ไม่สามารถซ่อนหน้าเว็บที่ตั้งเป็นหน้าแรก
  • ไม่สามารถลบหน้าเว็บที่ตั้งเป็นหน้าแรกออกไม่ได้

6. ตั้งค่าการนำทาง (Navigation) ของเว็บไซต์

หากมีหน้าเว็บมากกว่าหนึ่งหน้า ผู้เข้าชมเว็บไซต์จะใช้เมนูการนำทางเพื่อข้ามไปยังหน้าต่างๆ ได้ ซึ่งเมนูการนำทางจะอยู่ด้านบนสุดของเว็บไซต์โดยค่าเริ่มต้น ให้คลิกหน้าแรกเพื่อดูเมนูที่มุมขวาบน

คุณสามารถย้ายเมนูการนำทางไปทางซ้ายได้ตามความต้องการ แต่ต้องมีหน้าเว็บอย่างน้อยหนึ่งหน้าบนเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนตำแหน่งที่ปรากฏ

6.1 วิธีการเลือกโหมดการนำทาง

ชี้ไปที่ชื่อเว็บไซต์และคลิก Navigation settings (การตั้งค่าการนำทาง)

เพียงเท่านี้เว็บไซต์ของคุณก็พร้อมแชร์ได้ทันที ซึ่งคุณยังสามารถตั้งค่าเลือกเผยแพร่เว็บไซต์เพื่อให้ทุกคนเห็น หรือจำกัดสิทธิ์การแชร์เพื่อให้ผู้ใช้ที่คุณต้องการแชร์ให้เห็นเท่านั้นที่เข้าถึงเว็บไซต์ได้ เมื่อคุณเริ่มสร้างเว็บไซต์ใหม่ระบบจะบันทึกไปยังไดรฟ์โดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับไฟล์อื่นๆ ที่เก็บไว้ในไดรฟ์ คุณจะแก้ไข Google Site ร่วมกับผู้อื่นได้แบบเรียลไทม์ เช่นเดียวกับแอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google Workspace 

หากคุณกำลังมองหาพื้นที่การทำงานที่จะทำให้งานของคุณง่ายขึ้นสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที ผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ

ระบบอีเมลองค์กรและชุดแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานร่วมกัน ตอบโจทย์สำหรับทุกธุรกิจ

บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด - พันธมิตรระดับ Google Premier Partner

ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ