แจ้งยุติการให้บริการพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์เพื่อธุรกิจ (Corporate hosting)

เรื่อง แจ้งยุติการให้บริการพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์เพื่อธุรกิจ (Corporate hosting) เรียน ลูกค้าผู้ใช้งานบริการ Hosting ที่เคารพของดีมีเตอร์ ไอซีที ทุกท่าน ตามที่บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด เปิดให้บริการพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์เพื่อธุรกิจ (Corporate hosting) มาเป็นระยะเวลากว่า 10  ปี เราต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ไว้วางใจให้เราเป็นผู้ดูแลพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์เพื่อธุรกิจเป็นอย่างดีเสมอมา เนื่องด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาระบบบริการพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์เพื่อธุรกิจดังกล่าว ได้รับแจ้งปัญหาการใช้งาน ซึ่งทีมงานสนับสนุนการให้บริการได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ท่านสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง และด้วยข้อจำกัดบางประการ ทางด้านค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเทคโนโลยี และค่าใช้จ่ายด้านทรัพยากรบุคคลในการดูแลบริการ ทางบริษัทฯ ขอเรียนแจ้งว่า บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ขอยุติการให้บริการพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์เพื่อธุรกิจ (Corporate hosting) และบริการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บริการ Redirect และบริการ SSL รวมถึงบริการ DNS Server ยกเว้นผู้ที่รับบริการ  Google Workspace กับทางบริษัทฯ เจ้าหน้าที่จะให้บริการ DNS Server ตามปกติ มีผลตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2024 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ซึ่งจะส่งผลให้เว็บไซต์ของท่านไม่สามารถใช้งานได้ อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯ ได้ทำการสำรองข้อมูลเว็บไซต์ก่อนหน้าของท่านไว้เรียบร้อยแล้ว หากท่านต้องการข้อมูลสำรองเว็บไซต์ สามารถส่งคำขอได้ที่ support@dmit.co.th โดยทางบริษัทฯ จะสำรองข้อมูลของท่านจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2024 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ท่าน ทางบริษัทฯขอแนะนำทางเลือกในการโอนย้ายพื้นที่สำหรับฝากเว็บไซต์เพื่อธุรกิจ โดยทางลูกค้าสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้ หากท่านต้องการหา ผู้ให้บริการ Hosting รายใหม่ สามารถติดต่อได้ที่ https://www.itopplus.com/ https://www.chaiyohosting.com/ https://www.jaideehosting.com/ หากท่านต้องการ ทำ หรือออกแบบเว็บไซต์ใหม่ สามารถติดต่อได้ที่ https://www.readyplanet.com/ https://fahrunstudio.com/ ทั้งนี้เป็นเพียงการแนะนำทางเลือกในการรับบริการเท่านั้น ทางบริษัทฯ มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริการใดๆกับบริษัทดังกล่าว  สำหรับท่านที่ชำระค่าบริการล่วงหน้า หรือยังไม่หมดอายุสัญญาบริการ บริษัทฯ จะคืนส่วนต่างให้กับท่านตามสัดส่วนของระยะเวลาที่เหลืออยู่จนถึงหมดอายุสัญญา...

Continue reading

เรื่องจริงไม่อิงนิยาย มหันตภัยของ man-In-the-middle

คำว่า man-in-the-middle กำลังมาแรงในการสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจในยุคปัจจุบัน ฟังชื่อภาษาอังกฤษก็พอจะเดากันได้ครับว่าต้องมีบุคคลที่สามแทรกอยู่ระหว่างกลาง (ถ้าแปลกันตรงตัวเลยครับ) เช่น เป็นบุคคลที่สามระหว่างคนสองคน บุคคลที่สามที่มาสร้างความปั่นป่วนให้กับความสัมพันธ์ ซึ่งในทางธุรกิจ การทำ man-in-the-middle เป็นเทคนิคด้านไอทีที่มีคนเข้ามาแทรกระหว่างกลางของการสื่อสารระหว่างสองบริษัท ซึ่งช่องทางที่ง่ายที่สุดและจับได้ยากที่สุดก็คือช่องทางอีเมล!!! ในการติดต่อสื่อสารระหว่างสองบริษัทโดยเฉพาะการติดต่อคู่ค้าที่อยู่คนละประเทศ ช่องทางอีเมลย่อมเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดเนื่องจากประหยัดและสามารถอธิบายข้อความได้อย่างชัดเจนที่สุด โดยในทางธุรกิจก็จะนิยมใช้อีเมลตามด้วยโดเมนเนมองค์กรตนเอง ซึ่งการใช้อีเมลโดเมนองค์กรตนเองก็มีหลายทางเลือก ทางเลือกที่คนทั่วไปนิยมใช้ที่สุดก็คือใช้ระบบเมลที่แถมมากับการจดโดเมนและเว็บโฮสติ้ง ซึ่งผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งก็มักจะแถมระบบเมลฟรีที่ให้มากับเว็บโฮสติ้ง ที่ใช้งานแบบง่ายๆ อาจจะเปลี่ยนรหัสผ่านไม่ได้ วันดีคืนดีระบบล่ม หรือข้อมูลหาย เนื่องจากระบบอีเมลมักจะเป็นช่องทางที่พวกแสวงหาผลประโยชน์ในทางธุรกิจจับตามองและหาช่องในการยิงข้อความหรือล้วงความลับจากอีเมล แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องจริงไม่อิงนิยายครับ เกิดขึ้นกับผู้ประกอบธุรกิจมาแล้วหลายราย และจะพบว่าการใช้เครื่องมือในทางธุรกิจที่ฟรีแต่มีจุดอ่อนมหาศาลย่อมไม่คุ้มค่ากับมูลค่าทางธุรกิจที่สูญเสียไป หนึ่งในเทคนิคที่มิจฉาชีพยุค 4.0 ใช้กันก็คือที่เราจั่วหัวครับ คือเทคนิคที่เรียกว่า man-in-the-middle วิธีการก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ ผมขออนุญาตสมมติเหตุการณ์จริงที่เกิดกับผู้ประกอบธุรกิจหลายรายในนามสมมติ หากบังเอิญไปพ้องกับชื่อท่านใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ บริษัท AAA เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจส่งออกสินค้าจากประเทศไทย โดยมีบริษัท BBB เป็นผู้สั่งสินค้าอยู่ที่ประเทศอูกันดา โดยบริษัท AAA มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบสมมติว่าชื่อ สมชาย โดยสมชายใช้อีเมลว่า somchai@aaa.com และติดต่อกับฝั่งอูกันด้าชื่อว่าไมเคิล สมมติว่าใช้เมลว่า michael@bbb.com โดยที่ผ่านมาก็สั่งสินค้าและโอนเงินกันปกติ เป็นคู่ค้าที่ดีมาหลายปี แม้จะพูดภาษาอังกฤษกันรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง แต่เรื่องเขียนอีเมลสมชายเขียนได้ถูกหลักไวยกรณ์เป๊ะ มีอยู่วันหนึ่งมีบุคคลที่สามสมมติว่ามาจากประเทศบัลแกเรีย ที่เป็นมิจฉาชีพชื่อว่า จอห์น โดยจอห์นกำลังหาเหยื่อที่มีจุดอ่อนทางเทคโนโลยี จอห์นก็ได้ใช้เครื่องมือที่แฮกเกอร์ใช้กันประจำและสแกนเข้าไปเจอพอร์ตว่า โดเมน aaa.com นี่หวานหมูในการเข้าแทรกระหว่างกลางตามคอนเซปของ man-in-the-middle จึงได้แทรกตัวเข้าไประหว่างอีเมล ที่แทรกตัวเข้าไปได้ โดยจอห์นได้สร้างอีเมลขึ้นอันหนึ่งที่ดูแล้วเหมือนกับโดเมนของ AAA มาก โดยใช้ชื่อว่า somchai@aa-a.com มองผ่านๆ โดยไม่ทันได้สังเกต จะมองไม่ออกถึงความแตกต่าง ทำไมชีวิตถึงได้ง่ายดายขนาดนี้ ก็เพราะเหตุผลง่ายๆ คือระหว่างกลางของการส่งข้อความไม่มีการ “encrypt” ข้อมูลเพื่อความปลอดภัย โดยจอห์นได้แทรกเข้าไปในเมลที่โต้ตอบระหว่างกันด้วยเมล somchai@aa-a.com หลังจากแทรกตัวเข้าไปดูข้อมูลสักพัก ก็ทราบได้ว่าบริษัท BBB กำลังจะสั่งสินค้าจากบริษัท AAA อยู่พอดี ซึ่งจอห์นได้เล็งไว้เรียบร้อยแล้วว่า BBB จะสั่งสินค้ากับ AAA เป็นมูลค่าประมาณ 5 ล้านบาท!!! หลังจากตกลงกันเรียบร้อย ถึงขั้นตอนการชำระเงิน สิ่งที่จอห์นทำก็คือ จอห์นก็ได้ส่งอีเมลจาก  somchai@aa-a.com...

Continue reading

ทีมของคุณพร้อมสำหรับวันหยุดปีใหม่นี้หรือยัง?

ในช่วงวันหยุดยาวของการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปี 2020 ที่กำลังจะถึงนี้ ก็ถือเป็นเทศกาลที่ธุรกิจอาจมีการหยุดให้บริการในช่วงนั้น ๆ หรือการบริหารจัดการพนักงานที่ต้องอยู่ทำงานในช่วงวันหยุดอาจมีความเบาบางและไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่เท่าตอนเปิดบริการตามเวลาปกติ บางปัญหา… ลูกค้าอาจรอได้ และบางปัญหา… ลูกค้าก็อาจจะรอไม่ได้ ซึ่งหากเกิดกรณีเหล่านี้ขึ้น สิ่งสุดท้ายที่ลูกค้าต้องการคงไม่ใช่การถือสายรอ หรือการถูกโอนสายไป ๆ มา ๆ ระหว่างแผนกเป็นแน่แท้ สำหรับบริษัทที่ไม่อยากสูญเสียลูกค้าไปจากความไม่พร้อมในการเตรียมการรับมือกับลูกค้าในช่วงวันหยุด จึงควรมีการเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าให้กับแผนกบริการลูกค้าหรือแผนกซัพพอร์ตลูกค้าไว้เป็นกรณีพิเศษสำหรับช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะการเตรียมทีมบริการลูกค้าที่ดีก็เหมือนแสงสว่างให้กับลูกค้าที่กำลังมองหาความช่วยเหลือ และเป็นโอกาสอันดีที่จะคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์และเป็นการเพิ่มความภักดีให้กับลูกค้า สิ่งแรกที่บริษัทต้องทำคือการเตรียมรับมือกับจำนวนการติดต่อของลูกค้าที่จะเข้ามาให้มากกว่าจำนวนที่คาดการณ์ว่าจะได้รับ เพราะจากการศึกษาของ Zendesk พบว่า ปริมาณ ticket โดยรวมสามารถเพิ่มขึ้นได้มากถึง 42% ในช่วงวันหยุด โดยปริมาณ ticket ทางอีเมลจะเพิ่มขึ้นถึง 49% ช่องทางแชทเพิ่มขึ้นถึง 92% ขณะที่การสนทนาทางโทรศัพท์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว และการสนทนาบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม เช่น Facebook เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ซึ่งสำหรับบริษัทที่ไม่ได้มีการเตรียมการไว้รองรับการติดต่อกับลูกค้าจำนวนมากจะทำให้เวลาในการตอบสนองต่อลูกค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า หรือคะแนน CSAT เป็นอย่างมาก ทดลองใช้ trial ฟรี เวลาสำหรับ Omnichannel วิธีการที่ดีที่สุดในการรับมือกับปริมาณการติดต่อที่เพิ่มขึ้นคือการเพิ่มพนักงานหรือเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนการติดต่อของลูกค้า โดย Zendesk พบว่าผู้ค้าปลีกมักเพิ่มเจ้าหน้าที่ 10-20% ในช่วงวันหยุด แต่ธุรกิจเหล่านั้นกลับต้องพิจารณาการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากลักษณะที่เปลี่ยนไปของลูกค้าในปัจจุบันที่ต้องการการบริการแบบ Omnichannel หรือก็คือการที่ลูกค้าคาดหวังว่าจะสามารถติดต่อกับบริษัทใด ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ ในช่องทางที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา โดยพบว่า 95% ของลูกค้าใช้ช่องทางที่แตกต่างกัน 3 ช่องทาง ในการติดต่อกับบริษัทหรือแบรนด์ต่าง ๆ ความท้าทายของการซัพพอร์ตลูกค้า โดยส่วนใหญ่ทีมที่เล็กกว่ามักมีรูปแบบการรับพนักงานที่ผสมผสาน ภายใต้กรอบการทำงานทำให้พนักงานในทีมเล็ก ๆ ต้องมีความคล่องตัว สามารถปรับตัวได้ดีและมักจะได้รับการฝึกอบรมอย่างเต็มที่เพื่อจัดการกับคำขอของลูกค้าที่มาจากหลายช่องทางได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันทีมที่มีขนาดใหญ่มักมีรูปแบบการซัพพอร์ตที่เฉพาะตัวซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมากขึ้นและสามารถปลดล็อกประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าทีมจะมีโครงสร้างอย่างไร สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจในปริมาณ ticket เพื่อที่จะจัดขนาดของทีมซัพพอร์ตได้อย่างเหมาะสม โดยมีตัวแปรที่ควรพิจารณาดังนี้ 1. ปริมาณ ticket ต่อวัน 2. เวลาเฉลี่ยในการจัดการกับ ticket ต่อวัน 3. เวลาเฉลี่ยที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการรับลูกค้าทางโทรศัพท์ในแต่ละวัน ต้องใช้ Agents...

Continue reading

งานสัมมนา Ease to Transform Asset Management with G Suite

ทางบริษัท Demeter ICT ได้เห็นถึงความสำคัญในการสนับสนุนองค์กรให้พัฒนาไปสู่ Digital Transformation โดยใช้เครื่องมือ G Suite จึงจัดงานสัมมนาสำหรับลูกค้าของเรา ภายใต้ชื่องาน “Ease to transform Asset Management with G Suite” การจัดการทรัพย์สินทั้งหลายภายในองค์กร รวมถึงพบกับ feature ใหม่ๆ ของ G Suite เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ณ Google Thailand อาคาร Park Venture เพลินจิต ซึ่งในงานนี้ได้รับการตอบรับจากลูกค้าของเราเป็นอย่างดี และบรรยากาศภายในงานก็อบอุ่นและเป็นกันเอง สำหรับใครที่พลาดโอกาสเข้าร่วมงานนี้ ก็อย่าเพิ่งเสียใจไป เราจะยังจัดอีเว้นท์ครั้งต่อไปแน่นอน คุณสามารถติดตามอีเว้นท์ของเราครั้งต่อไปได้ที่ https://www.dmit.co.th/th/events/ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร!  02-030-0066 (Office) 092-262-6390 (Support) 095-896-5507 (Sale) 097-008-6314 (Sale) support@dmit.co.th Official LINE...

ระบบ Help Desk คืออะไร? มาทำความรู้จักกัน

การบริการลูกค้าส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่ Help desk แต่ Help Desk คืออะไร? ทำงานอย่างไร? และบริษัทจะได้รับประโยชน์อย่างไร? เมื่อใช้ Help Desk หากจะให้แปลคำว่า Help Desk ออกมาเป็นภาษาไทยแบบตรง ๆ ก็คงจะหมายถึง “โต๊ะช่วยเหลือ” แต่ความจริงแล้ว Help Desk ไม่ใช่โต๊ะทำงานจริง ๆ หากแต่เป็นซอฟต์แวร์ หรือชุดของเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดตาม การจัดลำดับความสำคัญ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า และการเก็บบันทึกข้อมูลการติดต่อของลูกค้าที่เข้ามาจากช่องทางการให้บริการต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันการมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อผ่านอีเมลและโทรศัพท์อาจไม่เพียงพอ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลและสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ลูกค้าใช้ ฉะนั้นระบบ Help Desk จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการช่องทางการติดต่อของลูกค้าที่มีอยู่มากมายหลายช่องทางเข้าไว้ด้วยกันในหน้าแพลตฟอร์มเดียว เพื่อช่วยให้การติดตามปัญหาหรือการแก้ไขปัญหาของลูกค้าเป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง ลักษณะทั่วไปของระบบ Help desk จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. ระบบบริหารจัดการ Ticket (Ticket Management) 2. ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automations/Triggers) 3. ระบบการรายงานผล (Analytics/Reporting) ซอฟต์แวร์ Help Desk ทำงานอย่างไร? เมื่อลูกค้า (User) ติดต่อคุณเข้ามาผ่านช่องทางให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล โทรศัพท์ ไลฟ์แชท เว็บฟอร์ม รวมถึงสื่อโซเชียลมีเดีย ทุก ๆ การติดต่อจะถูกรวบรวมไปยัง Help Desk และถูกเปิดเป็น Support Ticket ตามลำดับหมายเลขการให้บริการหรือตามความสำคัญของ ticket นั้น ๆ โดย help desk จะทำการแจกจ่าย ticket ไปยังเจ้าหน้าที่ (Agent) ในฝ่ายต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามข้อมูลที่ได้ตั้งค่าไว้ในระบบ ซึ่ง ticket เหล่านั้นจะมีข้อมูลของลูกค้า...

Continue reading

สูตรสำเร็จในการทำงานร่วมกันภายในองค์กร ด้วย Workplace Transformation

คุณรู้หรือไม่ว่า? ปัญหาของหลายองค์กรคือการทำงานที่เสียเวลากว่า 70% ไปกับการเตรียมข้อมูลและเอกสาร การรวบรวมข้อมูล การประสานงาน การส่งข้อมูลกลับไปกลับมา ฯลฯ แถมยังต้องมานั่งปวดหัว เพราะข้อมูลกระจัดกระจายอยู่กับพนักงานแต่ละคน เพราะฉะนั้นการทำงานที่มีมูลค่าจริงๆ จะเหลือเพียง 30% เท่านั้น หากเราลดเวลา 70% ในขั้นตอนทำเอกสารลงได้ องค์กรของคุณจะสามารถทำงานอื่นๆ ได้เร็วขึ้น แล้วเราจะปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานนี้ให้ดีขึ้นได้อย่างไร วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ Workplace Transformation กัน การทำ Workplace Transformation คือการเปลี่ยนวิธีการทำงานให้ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้นบนข้อมูลเดียวกัน ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ คน กระบวนการ และเทคโนโลยี การจัดกิจกรรม workshop ของเราในหัวข้อ Workplace Transformation by G Suite ของเราได้เน้นเรื่องของกระบวนการ และเทคโนโลยีเป็นหลัก ช่วยผู้ประกอบการและผู้บริหารในการหา Pain Points ในกระบวนการทำงานขององค์กร ด้วยวิธีการดังนี้ ตั้งเป้าก่อนว่าเราอยากเห็นอะไรในองค์กรของเราดีขึ้น เช่น ทำงานได้เร็วขึ้น มีนวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่มขึ้น หรือพนักงานมีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้น (Inspire) วิเคราะห์ถึง “เหตุ” แห่งปัญหา (Discover) ว่าง่ายๆ คือการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ใช่แก้ที่อาการ  หลังจากได้เหตุแห่งปัญหาแล้ว ก็วิเคราะห์ว่าสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาในกระบวนการทำงานทั้งหลาย ปัญหาไหนในกระบวนการทำงานที่แก้ง่าย และมีความสำคัญ หรือกระทบกับคนส่วนใหญ่มากที่สุด ซึ่งเราจะต้องแก้กระบวนการทำงานเหล่านี้ก่อน หรือเรียกว่า Quick Win  จากนั้นเราก็ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ ที่แก้ปัญหาการทำงานเดิม โดยใช้เทคโนโลยีที่เรามีอยู่ในการแก้ปัญหา (Prototype) โดยยังไม่ต้องคำนึงถึงการซื้อเทคโนโลยีใหม่เข้ามา เพราะอาจเปลืองทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ใช้สิ่งที่เรามีอยู่ก่อน นำกระบวนการทำงานใหม่ที่ได้ (Prototype) ไปทำจริง โดยคิดถึงในมุมการทำงานของผู้ร่วมงานที่ต้องทำงานร่วมกัน จากนั้นปรับปรุง และพัฒนาให้ดีขึ้น (Iterate) ซึ่งในงานนี้เราสร้าง Prototype ด้วยเครื่องมือจาก G Suite ต้องขอบอกเลยว่าบรรยากาศภายในงานนั้นเป็นกันเองและอบอุ่นสุดๆ สำหรับใครที่พลาดโอกาสเข้าร่วมงานนี้ ก็อย่าเพิ่งเสียใจไป เราจะยังจัดอีเว้นท์ครั้งต่อไปแน่นอน คุณสามารถติดตามอีเว้นท์ของเราครั้งต่อไปได้ที่ https://www.dmit.co.th/th/events/ บริษัท ดีมีเตอร์...

Continue reading

向Zendesk explore 问好

考虑到许多宝贵的信息都是由客户的请求产生的 ,而您的企业可以通过这些数据,更多地了解客户寻求帮助的原因 – 更重要的是 – 您的企业可以采取哪些措施来改善客户体验。 我们相信,当客户体验受数据驱动时,他们的体验会更好,并且每个企业都应该拥有易于使用的分析工具,这些工具可以让他们在客户和业务产生的服务互动的海洋里更加愉快。 这就是为什么我们那么兴奋地宣布推出Zendesk Explore,为企业提供分析,以衡量和改善整个客户体验。 借助Zendesk Explore,您可以即时访问重要的客户分析,并更深入地了解客户及其随附的业务。 可点击进入观看视频,了解有关explore的更多信息:   Say hello to Zendesk Explore | Zendesk Blog...

UX / UI คืออะไร?

UX = ประสบการณ์ของผู้ใช้UI = ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้องค์ประกอบทั้งสองนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งแม้จะมีความคล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ แต่บทบาทของ UX / UI นั้นมีความแตกต่างกันและมีเส้นกั้นของความเป็นเหตุเป็นผลกันอยู่ ทำให้หลายคนสงสัยและเกิดความเข้าใจผิดกันอยู่ว่า UX / UI แท้จริงแล้วคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นในบทความนี้ Demeter ICT จะขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับ UX / UI มากยิ่งขึ้น UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในด้านความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือระบบต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ความสนุกสนาน จนเกิดเป็นความพึงพอใจสูงสุดหรือเกิดประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานนั่นเอง ฉะนั้นในอีกแง่นึง User experience หรือ UX มีการพัฒนามาจากผลของการปรับปรุง UI เมื่อมีบางอย่างให้ผู้ใช้ได้โต้ตอบกับประสบการณ์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นแง่บวก ลบ หรือเป็นกลาง สามารถเปลี่ยนวิธีที่ผู้ใช้รู้สึกเกี่ยวกับการโต้ตอบเหล่านั้น UX จึงเป็นจุดที่ต้องพยายามศึกษาและทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร แบบไหน พอใจไหม กลุ่มเป้าหมายมีใครบ้าง มีอะไรน่าสนใจบ้าง อย่างละเอียด เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานมากที่สุด ฉะนั้นอาจเปรียบได้ว่า UX คือ “ศาสตร์แห่งความพยายามเข้าใจผู้อื่นเพื่อประโยชน์อันสูงสุด” UI หรือ User Interface คือ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน หรือ ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน กล่าวคือ ส่วนที่ให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของหน้าตา การออกแบบ และการดีไซน์ ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอ แพลตฟอร์ม เมนู ฟอร์มต่าง ๆ การวางภาพ ขนาดตัวอักษร ปุ่ม แป้นพิมพ์ เสียง หรือแม้แต่แสงไฟ เป็นต้น สิ่งสำคัญสำหรับ UI ก็คือดีไซน์ที่ดูสะอาด สวยงาม ดึงดูดใจ อีกทั้งต้องเข้าใจง่าย ใช้งานง่าย มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังต้องมีฟังก์ชันที่น่าสนใจ มีภาษาภาพที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกอยากจะใช้งาน และที่สำคัญจะต้องมีความเป็นเอกลักษณ์...

Continue reading

บรรยากาศงาน G Suite: Your Digital Transformation Partner ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา ทางบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด หนึ่งในพาร์ทเนอร์รายใหญ่ของไทยผู้ให้บริการ G Suite ได้จัดงานสัมมนาร่วมกับ Google ณ Google Thailand สำนักงานใหญ่ ในหัวข้อบรรยายเรื่อง Digital Transformation ซึ่งงานนี้ เราจัดเป็นครั้งที่ 2 แล้วค่ะ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเกินความคาดหมายของเรามากเลยล่ะค่ะ ภายในงานได้มีการพูดคุยถึงการทำงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก แนะนำฟีเจอร์ที่คุณจะได้รับจาก G Suite Business อย่าง Google Vault, Team Drives, และ App Maker มีการ Demo การใช้งานแบบคร่าวๆ และผู้เข้าร่วมงานยังสามารถมีส่วนร่วมกับวิทยากรได้อีกด้วย โดยวิทยากรที่มาร่วมพูดคุยกับเราในครั้งนี้มีถึง 4 ท่านด้วยกัน คือ 1. คุณนันทวัฒน์ เอี่ยมเจริญ – Partner Consultant จาก Google2. ดร.วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ – กรรมการผู้จัดการจาก Demeter ICT3. คุณชนัส สาทรกิจ – G Suite Consultant Manager จาก Demeter ICT4. คุณยุทธชัย ไชยสุข – G Suite Consultant จาก Demeter ICT ต้องขอบอกเลยว่าบรรยากาศภายในงานนั้นเป็นกันเองและอบอุ่นสุดๆ สำหรับใครที่พลาดโอกาสเข้าร่วมงานนี้ ก็อย่าเพิ่งเสียใจไป เราจะยังจัดอีเว้นท์ครั้งต่อไปแน่นอน แต่จะเป็นเมื่อไหร่นั้น ขออุบเอาไว้ก่อนนะคะ คุณสามารถติดตามอีเว้นท์ของเราครั้งต่อไปได้ที่ https://www.dmit.co.th/th/events/ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ(ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ)สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร!  02-675-9371...

Continue reading