Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

Google Street View บริการครบรอบ 10 ปี โชว์ภาพจากทุกทวีปทั่วโลก 83 ประเทศ และครบ 77 จังหวัด ทั่วประเทศไทย

Google Street View การบริการภาพถ่ายจากทั่วทุกมุมโลก เปิดให้บริการครบรอบ 10 ปี หลังจากเปิดตัวรถ Google Street View เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549  โดยได้ออกวิ่งบนถนนเพื่อเก็บภาพในเมืองต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และภาพแรกบน Google Street View ได้ถูกแชร์ออกไปในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550  ซึ่งปัจจุบัน Google Street View ได้ให้บริการครบ 10 ปีแล้ว โดยมีภาพจากทุกทวีปทั่วโลกครอบคลุม 83 ประเทศรวมระยะทางประมาณ 10 ล้านไมล์ หรือประมาณ 16.09 ล้านกิโลเมตร สำหรับในประเทศไทยนั้น Google Street View ได้เปิดตัวครั้งแรกและเริ่มเก็บภาพในสถานที่สำคัญๆ ของประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 และหลังจากผ่านไป 6 เดือน ภาพถ่าย Street View ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต และเชียงใหม่ ก็มีปรากฏบนแผนที่ Google ซึ่งทีมงาน Google Street View ได้เก็บภาพทั่วประเทศไทยด้วยรถ Google Street View และกล้อง Street View Trekker จนสามารถเก็บภาพ Street View ในประเทศไทยครบ 77 จังหวัดในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งนอกจากจะสามารถดูภาพ Street View ในวิวปัจจุบันได้แล้ว คุณยังสามารถย้อนกลับไปดูภาพ Street View เมื่อ 5 ปีที่แล้วได้ด้วยว่าในพื้นที่นั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และเมื่อปีที่ผ่านมา Google Street View ได้มีการเปิดตัว Google Indoor Street View ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถดูภาพภายในห้างสรรพสินค้าได้...

Continue reading

มองมุมกลับ เพราะเหตุใดลูกค้าจึงหงุดหงิด

การให้บริการแก่ลูกค้าที่โมโหหรือหงุดหงิดง่ายถือว่าเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวและทำให้ผู้ประกอบการหนักใจได้ ไม่ว่าใครก็ตามที่ได้รับคำต่อว่าบ่อยๆนั้นก็จะทำให้เสียสุขภาพจิตซะเปล่าๆยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่เราไม่ได้เป็นฝ่ายผิดด้วย คุณอาจจะต้องสร้างกำแพงอารมณ์ขึ้นมาเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันเวลารู้สึกเสียใจ คุณอาจจะถึงขั้นรู้สึกไม่พอใจกับลูกค้าของคุณ คุณอาจจะคิดว่า ทำไมลูกค้าถึงไม่เข้าใจเรา? ทำไมต้องงี่เง่าแบบนี้? เดี๋ยวก่อนๆเรามาทำความเข้าใจในฝั่งของลูกค้ากันดีกว่า เข้าใจความโกรธ การช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับสินค้า/บริการของคุณถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ลูกค้ากำลังประสบปัญหาซึ่งปัญหานั้นมันน่าหงุดหงิด! ซึ่งมันก็เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลที่บางรายจะรู้สึกหงุดหงิด อารมณ์เสีย หรือแม้กระทั่ง โมโหจนเลือดขึ้นหน้าหรือเปล่า? พวกเราในฐานะที่มีหน้าที่บริการลูกค้า (customer service) ก็จะถูกคาดหวังว่าจะสามารถอดทนและก้าวผ่านสถานการณ์นั้นๆได้และการเอาใจใส่ลูกค้าเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ความโกรธมักจะถูกนิยามว่าเป็นอารมณ์รอง (secondary emotion) – เป็นปฏิกิริยาการป้องกันตนเองจากความทุกข์ทรมานไม่ว่าจะเป็นความทรมานจากความเจ็บปวด (ทางกายและทางอารมณ์) หรือความกลัว ความทุกข์ทรมานทางอารมณ์มักจะถูกมองว่าเกิดจากช่องว่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ความเป็นจริง อารมณ์โกรธไม่ใช่ข้อแก้ตัวของการกระทำที่ไม่เหมาะสมแต่การทำความเข้าใจถึงสิ่งที่ก่อให้เกิดอารมณ์โกรธสามารถช่วยให้เราให้อภัยได้ง่ายขึ้นเมื่อมีคนมาระเบิดความโกรธใส่เรา ความเศร้าของฝ่าย support เป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้านั้นรู้สึกหงุดหงิดกับฝ่ายบริการลูกค้าหรือ customer support และลูกค้าเหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะหัวเสียเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็เพราะว่าเขาจะไม่ไว้ใจว่าทีม support จะแก้ไขปัญหาให้ได้หรือเต็มใจแก้ปัณหาให้อีกต่อไป สิ่งเหล่านี้อาจเกิดจากการที่ลูกค้าเคยประสบกับกับการบริการที่ไม่ดีจากองค์กรของคุณมาก่อน หรืออาจจะเคยพบเจอปัญหาเหล่านี้จากองค์กรต่างๆมานักต่อนัก จนทำให้ลูกค้าเหล่านี้ไม่เชื่อใจองค์กรไหนก็ตามว่าจะใส่ใจกับปัญหาของพวกเขา                              สิ่งนี้เกิดจากอะไร? ลูกค้าเหล่านี้เบื่อหน่ายที่จะรอความช่วยเหลือที่ชักช้า ลูกค้าเหล่านี้คิดว่าเขาจะไม่ชอบทางแก้ปัญหาของคุณ ลูกค้าเหล่านี้ถูกส่งสายต่อหรือส่งเรื่องต่อไปเจ้าหน้าที่หลายต่อหลายคน แต่ก็ยังไม่ได้ทางแก้ปัญหาที่ชัดเจน ลูกค้าเหล่านี้ยังมีปัญหาอื่นที่ยังค้างอยู่ที่คุณก็ยังไม่ได้หาทางแก้ไขให้ พวกเขาเคยมีประสบการ์ณที่ไม่ดีกับการซัพพอร์ตไม่ว่าจะเป็นจากองค์กรของคุณหรือองค์กรอื่นๆก็ตาม ระดับความต้องการหรือความคาดหวังของการให้บริการจากฝ่ายซัพพอร์ตของลูกค้าอาจจะมากกว่าสิ่งที่ฝ่ายซัพพอร์ตสามารถทำให้ได้ แล้วเราจะมีวิธีอย่างไรที่จะดึงความเชื่อใจกลับมาจากลูกค้ากลุ่มนี้? จะมีวิธีใดที่จะสามารถทำให้ฝ่ายซัพพอร์ตสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น? วิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้เราสามารถรับมือกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วขึ้นคือการนำเครื่องมือ helpdesk มาช่วยในการจัดการรับเรื่องต่างๆจากลูกค้า อย่างเช่นการใช้ Customer Service Platform ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรับมือกับลูกค้าและยังถือว่าเป็นการทำ CRM อย่างเช่น Zendesk ที่ติดอันดับ Top 5 platform ที่ช่วยจัดการเรื่อง customer service   บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ของ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ สนใจติดต่อ 026759371 หรือ 0922626390 หรือ Email: support@dmit.co.th ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Zendesk  คลิ๊ก...

การพัฒนาฟังก์ชันของ G-mail ที่มาพร้อมกับการป้องกันมัลแวร์ในไฟล์แนบโดยใช้ Machine Learning

    ฟังก์ชันใหม่ของ G-mail ที่มาพร้อมกับการป้องกันมัลแวร์ในไฟล์แนบโดยใช้ Machine Learning บทความนี้ถูกโพสต์โดย Sri Somanchi ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ Gmail ตอนนี้มีการอัพเดทด้านความปลอดภัยใหม่ สำหรับผู้ใช้งาน Gmail รวมถึงการตรวจจับการ Phishing โดยการใช้ Machine Learning (ML) ซึ่งจะมีการเด้งเตือนเวลาคลิ๊กสำหรับ link ที่คาดว่าจะเป็นอันตราย และแจ้งคำเตือนเด้งขึ้นมา นอกจากนี้ Gmail ยังได้ปรับปรุงการป้องกันไฟล์แนบที่เป็นอันตราย ลองมองให้ลึกขึ้นไปเกี่ยวกับการป้องกันมัลแวร์ใหม่ๆจากไฟล์แนบที่เป็นอันตรายโดยการใช้ Machine Learning นั้นทำได้อย่างไร …มันจะมีการวิเคราะห์พฤติกรรมการแนบไฟล์ของผู้ส่ง เพื่อนำมาวิเคราะห์และคาดการณ์ข้อความที่มีคำที่บ่งบอกถึงการเป็นมัลแวร์ตัวใหม่ การป้องกันเหล่านี้ช่วยให้ gmail สามารถที่จะป้องกันให้ผู้ใช้งานปลอดภัยมากขึ้นจาก zero-day, ransomeware และมัลแวร์อื่นๆที่มีความหลากหลาย นอกจากนี้ Gmail ยังทำการ block ประเภทไฟล์ที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยสูงรวมถึงไฟล์ประเภทปฏิบัติการหรือไฟล์ javascript Machine Learning นั้นช่วยให้ Gmail สามารถที่จะทำการตรวจจับสแปมได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากกว่า 99% เลยทีเดียว และด้วยการป้องกันใหม่ๆ ที่อัพเดทจาก Gmail เหล่านี้ ทำให้สามารถที่จะความเสี่ยงจากการคุกคามได้ทำการปฏิเสธการรับอีเมล์นับร้อยล้านอีเมล์ในทุกๆวัน  Gmail จะมีการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะว่าในหลายปีทีผ่านมาภัยคุกคามเองก็พัฒนามันเองขึ้นมาเรื่อยๆเช่นกัน เพราะเดี๋ยวนี้ข้อมูลมีค่ามาก ยิ่งกว่าทองคำ ซึ่งการป้องกันของ Gmail ก็มีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธข้อความและแจ้งผู้ส่งหากตรวจพบไวรัสในอีเมล ป้องกันไม่ให้คุณดาวน์โหลดไฟล์แนบ หากตรวจพบว่ามีไวรัส ป้องกันไม่ให้ส่งข้อความพร้อมไฟล์แนบที่มีไวรัส Gmail ก็คงยังไม่หยุดพัฒนาต่อไปตราบเท่าที่แฮกเกอร์ยังคงเป็นแฮกเกอร์อยู่   เขียนโดย : มนัสนันท์  ผลพูน ที่มา : https://goo.gl/eEFhJY บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ Google Apps for Work ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th Official LINE       ...

16 ประโยชน์ที่ธุรกิจควรหันมาใช้ G Suite แทนฟรี Gmail

ในปัจจุบันการทำธุรกิจผ่านโลกออนไลน์เป็นอะไรที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก และแน่นอนว่าในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้านอกจากจะใช้โซเชียลมีเดียแล้ว การมี Email ในการติดต่อธุรกิจกันก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน ซึ่งหลายธุรกิจอาจจะยังใช้ฟรีอีเมลของ Gmail เช่น sale@gmail.com, staff@gmail.com หรืออาจจะมีการสร้างจากฟรีอีเมลอื่นที่ให้บริการ แต่แน่นอนเมื่อธุรกิจคุณเริ่มเติบโต ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้ เริ่มจากพื้นฐานก็คืออีเมลในการติดต่อนั่นเอง เช่น ถ้าอีเมลของคุณเปลี่ยนเป็น sale@dmit.com , staff@dmit.com ย่อมดูดีและน่าเชื่อถือกว่าแบบฟรีอีเมลแน่นอน ซึ่งถ้าวันนี้คุณมีความคุ้นเคยกับการใช้ฟรี Gmail อยู่แล้ว มันเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่ธุรกิจของคุณจะย้ายมาใช้ G Suite เพราะการใช้งานเหมือนเดิม ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเรียนรู้ใหม่ให้เสียเวลา และจริง ๆ แล้วหลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า G Suite ไม่ได้มีแค่ Gmail อย่างเดียวเท่านั้น ภายใต้ account ที่ได้รับนั้นยังมีเครื่องมือมากมายที่พร้อมจะช่วยให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่าย เช่น Google Calendar, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Forms, Google Drawings, Google My Maps, Google Group, Google Photos, Google Sites และยังมีอีกมากมาย ส่วนในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ปัจจุบัน G Suite มีให้เลือกอยู่ด้วยกัน  3 เวอร์ชั่นด้วยกัน G Suite Basic G Suite Business G Suite Enterprise ซึ่งถ้าวันนี้คุณเป็นเจ้าของโดเมนเนมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วยจดมาเพื่อทำเว็บไซต์ก็ตาม หรือจองชื่อไว้ก่อนแล้ว  เช่น มีชื่อโดเมน dmit.com โดยชื่อนี้อาจจะไปทำการจดทะเบียนไว้กับผู้ให้บริการจดโดเมน เช่น Godaddy, Register.com หรือรายอื่น ๆ ยิ่งเป็นการง่ายเพราะคุณเพียงแค่นำข้อมูลโดเมนนั้นๆ มาทำการติดตั้งให้เข้ากับ G Suite เวอร์ชั่นที่คุณต้องการ   เขียนมาซะยาวเลย เราไปดูประโยชน์เพิ่มเติมอีก 16 ข้อกันดีกว่า ว่าทำไมเราควรย้ายจากฟรี Gmail  ไปเป็น G Suite...

Continue reading

Google ประกาศเพิ่มขนาด Attachment ใน Gmail เป็น 50MB

นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่ใช้งาน Gmail ที่ตอนนี้จะสะดวกขึ้นอีกขั้น เมื่อ Google ประกาศให้ใช้งาน Attachment ขนาดใหญ่สุดที่ 50MB ได้แล้ว จากเดิมที่ใช้ได้เพียง 25MB เท่านั้น ก่อนหน้านี้ผู้ใช้งาน Gmail ที่ต้องการส่งไฟล์ใหญ่ๆ นั้นต้องหันไปใช้ Google Drive และทำการแชร์ไฟล์ขนาดใหญ่กันแทน ซึ่ง Google เห็นว่าก็ยังมีบางกรณีที่มีการส่งเมล์จากภายนอกพร้อมไฟล์แนบขนาดใหญ่เข้ามาอยู่ดี จึงได้ประกาศขยาย Attachment ให้รองรับได้ถึง 50MB ในครั้งนี้ ผู้ใช้งานทุกคนจะได้ใช้ฟีเจอร์นี้ภายใน 1-3 วันนับจากวันนี้เป็นต้นไป...

ไดรฟ์ (Google Drive) คืออะไร

ไดร์ฟ (Google Drive) คืออะไร ไดรฟ์ หรือ Google Drive คือ โปรแกรมการจัดการเอกสารออนไลน์ของทาง Google หรือพื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์ หลักการทำงานจะคล้ายกับโปรแกรมเอกสาร  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารแบบออนไลน์ได้ โดยผ่านการใช้บนเว็บเบราว์เซอร์ต่าง ๆ เช่น Inter Explorer, Chrome, Firefox  และ Safari ซึ่งจะทำให้การใช้งานของเอกสารมีความสะดวกมากขึ้น สามารถใช้งานหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้เอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นมีความเป็นปัจจุบันมากขึ้น และยังสามารถใช้งานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยบุคคลที่จะเข้ามาใช้งานต้องได้รับอนุญาตหรือคำเชิญจากเจ้าของเอกสารผ่าน ทางอีเมล และสามารถทำงานบนเอกสารเดียวกัน ได้หลายครั้งและหลายคนพร้อม ๆ กัน  ซึ่งจะทำให้เห็นว่า ใครกำลังพิมพ์อะไรอยู่ และสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้งานได้ ว่าคนไหนสามารถแก้ไขข้อมูล หรือ อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และที่สำคัญสามารถรองรับประเภทไฟล์ได้หลายแบบ เช่น Documents, Spreadsheets, Presentations, Drawings, Forms (แบบสอบถาม) เป็นต้น ฟีเจอร์หลัก เก็บ เข้าถึง และแชร์ไฟล์ในที่เดียวได้อย่างปลอดภัย Google Drive สำหรับองค์กร พื้นที่เก็บข้อมูลไม่จำกัด Google Workspace แพ็คเกจ Business และ Enterprise มีพื้นที่เก็บข้อมูลแบบไม่จำกัด (สำหรับแพ็คเกจ Basic จะได้พื้นที่ 30 GB) สามารถดูแลระบบได้จากส่วนกลาง ป้องกันข้อมูลรั่วไหล และ Vaults ห้องนิรภัยสำหรับไดรฟ์ช่วยให้จัดการผู้ใช้และแชร์ไฟล์ตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับข้อมูลขององค์กรได้ละเอียดมากขึ้น พื้นที่เก็บไฟล์เป็นสัดส่วน มี Shared Drive ที่เป็นไดรฟ์ส่วนกลางขององค์กร ใช้ Shared Drive สำหรับจัดเก็บไฟล์งานของแต่ละทีม จัดการสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ได้ง่าย ทำให้ทุกคนใช้ไฟล์ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย และได้รับข้อมูลล่าสุดเสมอ (Shared Drive จะมีใน Google Workspace แพ็คเกจ Business ขึ้นไป) อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Drive Google...

Continue reading

Google Apps Standards ต่างจาก Google Apps for Work อย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง  Google Apps  Standard กับ Google Apps for Work จะอยู่ที่พื้นที่และผู้ดูแลระบบเพราะ  Google Apps  Standard จะไม่มีผู้ดูแลระบบ( Admin)ให้กับท่านค่ะ Google Apps for Work  คือ อีเมล์ที่เหมาะสำหรับท่านที่ประกอบธุรกิจไม่ว่ธุระกิจของท่านจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้งานได้ โดยอีเมล์ที่ท่านจะใช้นั้น ท่านสามารถกำหนดเองโดเมนเองได้ (@yourcompany.com) พร้อมการสนับสนุนตลอด 24/7, พื้นที่เก็บข้อมูล 30 GB และอื่นๆ หากท่านใช้ Google Apps for Work ท่านสามารถกำหนดได้ว่า จะให้ใครเป็นผู้ดูและรบบ (Admin) ซึ่งผู้ดุแลระบบนั้น สามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง Google Apps  Standard  จะไม่เหมาะสำหรับท่านที่ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่  เพราะพื้นที่เก็บข้อมูลมีเพียง 15 GB เท่านั้น  ท่านสามารถกำหนดเองโดเมนเองได้ (@yourcompany.com) เหมือน Google Apps for Work แต่ท่านจะไม่มีผู้ดูแลระบบ (admin) เช่น สมมติท่านต้องการเพิ่มผู้ใช้งาน ท่านก้ไม่สามารถเพิ่มผู้ใช้งานเองได้...

สรุปการทำงานของ Google Mail

สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ แอปพลิเคชันแบบเว็บไซต์จึงทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนอย่างสมบูรณ์ในหลากหลายอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์เพื่อให้ทำงานต่อเนื่อง 1.ลดการเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยง แอปพลิเคชันบนเบราว์เซอร์ช่วยให้ข้อมูลที่มีความสำคัญได้รับความปลอดภัยมากกว่า ต่างจากซอฟต์แวร์แบบเดิม คือเมื่อผู้ใช้สิ้นสุดการใช้แอปพลิเคชันแบบเว็บ จะมีข้อมูลที่เสี่ยงต่อการรั่วไหลเหลือในเครื่องเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ใดก็ได้ ลดโอกาสในการเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีความปลอดภัย เช่น ธัมบ์ไดรฟ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปสูญหาย และไวรัสทำให้ข้อมูลสูญหาย การทำให้สามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ และลดปริมาณการเสี่ยงของข้อมูลที่เก็บไว้ในอุปกรณ์ คือยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ 2.ระบบคลาวด์ของ Google ช่วยให้ทำงานร่วมกันได้เร็วกว่า เนื่องจากข้อมูลใน Google Apps นั้นเก็บไว้ในคลาวด์ แทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ของพนักงาน ทำให้ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการทำงานพร้อมกัน โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ หรือเบราว์เซอร์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น แทนที่จะทำงานร่วมกันในเอกสารด้วยการส่งการแก้ไขกลับไปกลับมาในรูปของไฟล์แนบ ก็จะสามารถเก็บเอกสารไว้ในคลาวด์ด้วย Google Apps เพื่อนร่วมงานสามารถเข้าถึงเอกสารทางเว็บได้พร้อมกันในเบราว์เซอร์ของตนเอง และสามารถแก้ไขเอกสารได้ การขจัดการรับส่งเอกสารเป็นไฟล์แนบด้วยการเก็บข้อมูลในคลาวด์ช่วยประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากของการทำงานที่ต้องการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 3.สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ใดก็ได้ แอปพลิเคชันแบบเว็บ ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างสมบูรณ์ในอุปกรณ์หลากหลายชนิด เพื่อให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพในหลากหลายที่ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์ ไม่ใช่ในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลทั้งหมดของตน และทำงานผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกทั้งในที่ทำงาน ที่บ้าน ขณะเดินทางและจากโทรศัพท์มือถือของตน สำหรับเทคโนโลยีแบบเดิม ข้อมูลสำคัญอาจติดค้างอยู่ในซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้เฉพาะในอุปกรณ์บางชนิด ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำงาน ระบบอีเมล์ของ Google Mail ระบบอีเมล์ทั่วไป ระบบกรองอีเมล์ขยะ           พื้นที่ในการใช้อีเมล์           ความรวดเร็วในการรับ-ส่ง อีเมล์           ระบบรักษาความปลอดภัย           รองรับการใช้งานผ่านทางโทรศัพท์          ...

Google Apps Standards คืออะไร

Google Apps Standard คือ บริการหนึ่งของ Google มีหน้าตาเหมือนหน้า web mail เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Gmail ซึ่งมีแถบเครื่องมือการใช้งานไม่ซับซ้อน  แต่การตั้งค่าลึกๆบางอย่างอาจจะยังทำได้ไม่เหมือน Google Apps for Work ปัจจุบัน Google Apps Standard มีให้บริการเริ่มต้นที่ 50  Account สนใจสอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อ ติดต่อ 026759371 หรือ support@dmit.co.th...