Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

Gmail อัพเกรดตัวกรองมัลแวร์-อีเมลหลอกลวง ใช้ Machine Learning คาดเดามัลแวร์ที่ยังไม่รู้จักได้

ต่อไปไม่ต้องกลัวอีกแล้วว่าจะถูกโจรกรรมข้อมูล กูเกิลใช้ AI เพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยให้ Gmail/G Suite ทั้งหมด 4 อย่าง ดังนี้ เพิ่มความแม่นยำในการดักอีเมลหลอกลวง (phishing) ด้วยเทคนิค machine learning และเทคนิคใหม่คือการหน่วงเวลาอีเมลบางฉบับให้ไปถึงผู้รับช้าลงเล็กน้อย เพื่อให้เวลาอัลกอริทึมของกูเกิลทดลองวิเคราะห์ดูว่าเป็น phishing หรือไม่ ด้วยระบบเดียวกับ Google Safe Browsing ที่เช็ค URL อันตราย click-time warning ในกรณีที่ผู้ใช้คลิกลิงก์ phishing จาก Gmail ระบบจะแจ้งเตือนลิงก์อันตรายแบบเดียวกับ Chrome แต่เป็นในหน้าของ Gmail เลย ระบบตรวจสอบมัลแวร์ในไฟล์แนบแบบใหม่ โดยใช้ machine learning เรียนรู้ความน่าจะเป็นของผู้ส่งรายนั้นในการส่งมัลแวร์ ช่วยให้ Gmail สามารถกรองมัลแวร์ที่ “ยัง” ไม่รู้จักได้มากขึ้น ระบบป้องกันข้อมูลรั่วไหลจากองค์กร (data loss prevention) จากพนักงานที่เผลอส่งอีเมลไปหาคนนอกโดยไม่ระวังตัว โดย Gmail จะแจ้งเตือนถ้าเราส่งเมลไปหาคนที่อยู่ภายนอกองค์กร แต่มันก็จะเรียนรู้ว่าถ้าคนไหนส่งหากันบ่อยๆ ก็อาจไม่แจ้งเตือนโดยไม่จำเป็น ฟีเจอร์ click-time warning ฟีเจอร์ data loss prevention ที่มา – Google Blog บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite (Google Apps for Work) ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th Official LINE...

G Suite เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการเข้าถึงข้อมูลเพื่อป้องกันโจรกรรม

การปกป้องข้อมูลและทรัพย์สินที่สำคัญขององค์กรคุณถือเป็นความท้าทายอย่างมาก G Suite ช่วยปกป้องข้อมูลของคุณด้วยวิธีการต่างๆ อย่างการตรวจจับการโจรกรรมที่มีประสิทธิภาพสูงผ่านทางการเรียนรู้ของระบบ โดยบังคับให้มีการตรวจสอบความถูกต้อง ด้วยการบังคับใช้หลักด้านความปลอดภัยและป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลผ่านเครื่องมือต่างๆเช่น DLP วันนี้ G Suite ได้เพิ่มฟังก์ชั่นควบคุมความปลอดภัยของข้อมูล และเพิ่มระบบป้องกันการโจรกรรมให้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบ ‘OAuth’ ให้องค์กรของคุณสามารถมองเห็นและควบคุมข้อมูลภายนอกได้   ระบบควบคุมการเข้าถึงของข้อมูลภายนอกแบบใหม่ ระบบ ‘OAuth’ ช่วยให้เก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยโดยที่ให้ผู้ใช้ G Suite สามารถเลือกรับข้อมูลจากภายนอกได้ เป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันสแปม ผู้ใช้งานสามารถเลือกสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของตนเอง ดังนั้นจึงช่วยป้องกันข้อมูลที่เข้าข่ายโจรกรรม หรือข้อมูลอันตรายต่อผู้ใช้งานโดยบังเอิญได้       ซึ่งการควบคุมความปลอดภัยแบบใหม่นี้ สิ่งที่ผู้ใช้งาน G Suite สามารถทำได้ มีดังนี้ 1. ตรวจสอบข้อมูลภายนอกอย่างละเอียดได้ ก่อนที่จะเข้าถึงฐานข้อมูลของ G Suite   2. อนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลได้ เฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือและได้รับการตรวจสอบจาก ‘OAuth’ เท่านั้น ปกป้อง ‘OAuth’ ในการเข้าถึงข้อมูลหลักของ G Suite โดยป้องกันการติดตั้งแอปที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะจำกัดปัญหาที่เกิดจาก shadow IT เมื่อทำการติดตั้งระบบ ‘OAuth’ การเข้าถึงข้อมูลภายนอกจะถูกบังคับใช้ตามนโยบายที่กำหนดโดยผู้ดูแลระบบและพนักงานจะได้รับการป้องกันโดยอัตโนมัติจากแอปที่ไม่ได้รับอนุญาต เปิดใช้งานระบบ ‘OAuth’ สำหรับโดเมนของคุณ ฟังก์ชันสุดพิเศษนี้กำลังเปิดใช้งานเป็นระยะๆ และจะมีให้บริการภายในคอนโซลผู้ดูแลระบบภายใน 2-3 วันถัดไป หากคุณสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมว่าธุรกิจของคุณสามารถทำงานร่วมกันในการจัดเก็บข้อมูล และติดต่อสื่อสารภายในองค์กรอย่างปลอดภัยด้วย G Suite ได้อย่างไร สอบถามคำแนะนำในการเริ่มต้นใช้งานได้ที่นี่   ที่มา : G suite บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ Google Apps for Work ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th Official LINE           ...

เพื่อสิ่งแวดล้อม Google Maps ทำแผนที่แสดงมลภาวะในเมืองที่เกิดจากควันเสียรถยนต์

วันนี้อากาศร้อนขนาดไหนกันนะ ? การเดินทางไปทำงานวันนี้การจรารเป็นอย่างไรบ้าง? ร้านอาหารที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ไหน? … จากคำถามข้างต้น บอกได้เลยว่า ทุกวันนี้เราใช้ข้อมูลจำนวนมากมายมหาศาลรอบตัวเราเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจไม่มากก็น้อย และหนึ่งในข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ข้อมูลด้านมลพิษทางอากาศซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นมากที่จะช่วยให้เราเข้าใจว่าจะมีชีวิตที่มีสุขภาพที่ดี ในเมืองใหญ่ได้อย่างไร  เป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชาญฉลาดและยั่งยืนมากขึ้นอีกทั้งยัง ลดก๊าซเรือนกระจกที่เปลี่ยนแปลงตามสภาพภูมิอากาศได้ทั้งในเมืองและในชนบท… Google ร่วมมือกับองค์กรสิ่งแวดล้อม Environmental Defence Fund (EDF) และ Aclima ทำแผนที่แสดงมลภาวะ การกระจายตัวของก๊าซไนตริกออกไซด์, ไนโตรเจนไดออกไซด์ และ black carbon ที่ปล่อยออกมาจากรถยนต์และรถบรรทุก โดยอาศัยอุปกรณ์ที่ติดตั้งในรถ Google Street View ผู้ใช้สามารถเห็นการกระจายตัวมลภาวะในเขตเมือง เมื่อขยายหน้าจอแผนที่จะเห็นค่ามลภาวะในแต่ละจุดไม่เท่ากัน เช่นบริเวณ Bay Area เป็นทางจราจรคับคั่ง ค่ามลภาวะสูง I-80 ทาง Google ระบุว่า ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการมลภาวะในพื้นที่เขตเมือง และยังสามารถประยุกต์ใช้กับเมืองอื่นที่พยายามปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ให้ดีขึ้นอีกด้วย   ที่มา : https://goo.gl/ee5lUR บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ Google Apps for Work ในประเทศไทย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  092-262-6390  097-008-6314 (ฝ่ายขาย)  support@dmit.co.th Official LINE  ...

Google Street View บริการครบรอบ 10 ปี โชว์ภาพจากทุกทวีปทั่วโลก 83 ประเทศ และครบ 77 จังหวัด ทั่วประเทศไทย

Google Street View การบริการภาพถ่ายจากทั่วทุกมุมโลก เปิดให้บริการครบรอบ 10 ปี หลังจากเปิดตัวรถ Google Street View เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2549  โดยได้ออกวิ่งบนถนนเพื่อเก็บภาพในเมืองต่างๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา และภาพแรกบน Google Street View ได้ถูกแชร์ออกไปในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2550  ซึ่งปัจจุบัน Google Street View ได้ให้บริการครบ 10 ปีแล้ว โดยมีภาพจากทุกทวีปทั่วโลกครอบคลุม 83 ประเทศรวมระยะทางประมาณ 10 ล้านไมล์ หรือประมาณ 16.09 ล้านกิโลเมตร สำหรับในประเทศไทยนั้น Google Street View ได้เปิดตัวครั้งแรกและเริ่มเก็บภาพในสถานที่สำคัญๆ ของประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 และหลังจากผ่านไป 6 เดือน ภาพถ่าย Street View ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต และเชียงใหม่ ก็มีปรากฏบนแผนที่ Google ซึ่งทีมงาน Google Street View ได้เก็บภาพทั่วประเทศไทยด้วยรถ Google Street View และกล้อง Street View Trekker จนสามารถเก็บภาพ Street View ในประเทศไทยครบ 77 จังหวัดในเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งนอกจากจะสามารถดูภาพ Street View ในวิวปัจจุบันได้แล้ว คุณยังสามารถย้อนกลับไปดูภาพ Street View เมื่อ 5 ปีที่แล้วได้ด้วยว่าในพื้นที่นั้นๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง และเมื่อปีที่ผ่านมา Google Street View ได้มีการเปิดตัว Google Indoor Street View ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถดูภาพภายในห้างสรรพสินค้าได้...

Continue reading

16 ประโยชน์ที่ธุรกิจควรหันมาใช้ G Suite แทนฟรี Gmail

ในปัจจุบันการทำธุรกิจผ่านโลกออนไลน์เป็นอะไรที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก และแน่นอนว่าในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้านอกจากจะใช้โซเชียลมีเดียแล้ว การมี Email ในการติดต่อธุรกิจกันก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน ซึ่งหลายธุรกิจอาจจะยังใช้ฟรีอีเมลของ Gmail เช่น sale@gmail.com, staff@gmail.com หรืออาจจะมีการสร้างจากฟรีอีเมลอื่นที่ให้บริการ แต่แน่นอนเมื่อธุรกิจคุณเริ่มเติบโต ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้ เริ่มจากพื้นฐานก็คืออีเมลในการติดต่อนั่นเอง เช่น ถ้าอีเมลของคุณเปลี่ยนเป็น sale@dmit.com , staff@dmit.com ย่อมดูดีและน่าเชื่อถือกว่าแบบฟรีอีเมลแน่นอน ซึ่งถ้าวันนี้คุณมีความคุ้นเคยกับการใช้ฟรี Gmail อยู่แล้ว มันเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่ธุรกิจของคุณจะย้ายมาใช้ G Suite เพราะการใช้งานเหมือนเดิม ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเรียนรู้ใหม่ให้เสียเวลา และจริง ๆ แล้วหลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า G Suite ไม่ได้มีแค่ Gmail อย่างเดียวเท่านั้น ภายใต้ account ที่ได้รับนั้นยังมีเครื่องมือมากมายที่พร้อมจะช่วยให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่าย เช่น Google Calendar, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Forms, Google Drawings, Google My Maps, Google Group, Google Photos, Google Sites และยังมีอีกมากมาย ส่วนในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ปัจจุบัน G Suite มีให้เลือกอยู่ด้วยกัน  3 เวอร์ชั่นด้วยกัน G Suite Basic G Suite Business G Suite Enterprise ซึ่งถ้าวันนี้คุณเป็นเจ้าของโดเมนเนมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วยจดมาเพื่อทำเว็บไซต์ก็ตาม หรือจองชื่อไว้ก่อนแล้ว  เช่น มีชื่อโดเมน dmit.com โดยชื่อนี้อาจจะไปทำการจดทะเบียนไว้กับผู้ให้บริการจดโดเมน เช่น Godaddy, Register.com หรือรายอื่น ๆ ยิ่งเป็นการง่ายเพราะคุณเพียงแค่นำข้อมูลโดเมนนั้นๆ มาทำการติดตั้งให้เข้ากับ G Suite เวอร์ชั่นที่คุณต้องการ   เขียนมาซะยาวเลย เราไปดูประโยชน์เพิ่มเติมอีก 16 ข้อกันดีกว่า ว่าทำไมเราควรย้ายจากฟรี Gmail  ไปเป็น G Suite...

Continue reading

Google ประกาศเพิ่มขนาด Attachment ใน Gmail เป็น 50MB

นับเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่ใช้งาน Gmail ที่ตอนนี้จะสะดวกขึ้นอีกขั้น เมื่อ Google ประกาศให้ใช้งาน Attachment ขนาดใหญ่สุดที่ 50MB ได้แล้ว จากเดิมที่ใช้ได้เพียง 25MB เท่านั้น ก่อนหน้านี้ผู้ใช้งาน Gmail ที่ต้องการส่งไฟล์ใหญ่ๆ นั้นต้องหันไปใช้ Google Drive และทำการแชร์ไฟล์ขนาดใหญ่กันแทน ซึ่ง Google เห็นว่าก็ยังมีบางกรณีที่มีการส่งเมล์จากภายนอกพร้อมไฟล์แนบขนาดใหญ่เข้ามาอยู่ดี จึงได้ประกาศขยาย Attachment ให้รองรับได้ถึง 50MB ในครั้งนี้ ผู้ใช้งานทุกคนจะได้ใช้ฟีเจอร์นี้ภายใน 1-3 วันนับจากวันนี้เป็นต้นไป...

ไดรฟ์ (Google Drive) คืออะไร

ไดร์ฟ (Google Drive) คืออะไร ไดรฟ์ หรือ Google Drive คือ โปรแกรมการจัดการเอกสารออนไลน์ของทาง Google หรือพื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์ หลักการทำงานจะคล้ายกับโปรแกรมเอกสาร  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารแบบออนไลน์ได้ โดยผ่านการใช้บนเว็บเบราว์เซอร์ต่าง ๆ เช่น Inter Explorer, Chrome, Firefox  และ Safari ซึ่งจะทำให้การใช้งานของเอกสารมีความสะดวกมากขึ้น สามารถใช้งานหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้เอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นมีความเป็นปัจจุบันมากขึ้น และยังสามารถใช้งานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยบุคคลที่จะเข้ามาใช้งานต้องได้รับอนุญาตหรือคำเชิญจากเจ้าของเอกสารผ่าน ทางอีเมล และสามารถทำงานบนเอกสารเดียวกัน ได้หลายครั้งและหลายคนพร้อม ๆ กัน  ซึ่งจะทำให้เห็นว่า ใครกำลังพิมพ์อะไรอยู่ และสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้งานได้ ว่าคนไหนสามารถแก้ไขข้อมูล หรือ อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และที่สำคัญสามารถรองรับประเภทไฟล์ได้หลายแบบ เช่น Documents, Spreadsheets, Presentations, Drawings, Forms (แบบสอบถาม) เป็นต้น ฟีเจอร์หลัก เก็บ เข้าถึง และแชร์ไฟล์ในที่เดียวได้อย่างปลอดภัย Google Drive สำหรับองค์กร พื้นที่เก็บข้อมูลไม่จำกัด Google Workspace แพ็คเกจ Business และ Enterprise มีพื้นที่เก็บข้อมูลแบบไม่จำกัด (สำหรับแพ็คเกจ Basic จะได้พื้นที่ 30 GB) สามารถดูแลระบบได้จากส่วนกลาง ป้องกันข้อมูลรั่วไหล และ Vaults ห้องนิรภัยสำหรับไดรฟ์ช่วยให้จัดการผู้ใช้และแชร์ไฟล์ตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับข้อมูลขององค์กรได้ละเอียดมากขึ้น พื้นที่เก็บไฟล์เป็นสัดส่วน มี Shared Drive ที่เป็นไดรฟ์ส่วนกลางขององค์กร ใช้ Shared Drive สำหรับจัดเก็บไฟล์งานของแต่ละทีม จัดการสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ได้ง่าย ทำให้ทุกคนใช้ไฟล์ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย และได้รับข้อมูลล่าสุดเสมอ (Shared Drive จะมีใน Google Workspace แพ็คเกจ Business ขึ้นไป) อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Drive Google...

Continue reading

Google Apps Standards ต่างจาก Google Apps for Work อย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง  Google Apps  Standard กับ Google Apps for Work จะอยู่ที่พื้นที่และผู้ดูแลระบบเพราะ  Google Apps  Standard จะไม่มีผู้ดูแลระบบ( Admin)ให้กับท่านค่ะ Google Apps for Work  คือ อีเมล์ที่เหมาะสำหรับท่านที่ประกอบธุรกิจไม่ว่ธุระกิจของท่านจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้งานได้ โดยอีเมล์ที่ท่านจะใช้นั้น ท่านสามารถกำหนดเองโดเมนเองได้ (@yourcompany.com) พร้อมการสนับสนุนตลอด 24/7, พื้นที่เก็บข้อมูล 30 GB และอื่นๆ หากท่านใช้ Google Apps for Work ท่านสามารถกำหนดได้ว่า จะให้ใครเป็นผู้ดูและรบบ (Admin) ซึ่งผู้ดุแลระบบนั้น สามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง Google Apps  Standard  จะไม่เหมาะสำหรับท่านที่ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่  เพราะพื้นที่เก็บข้อมูลมีเพียง 15 GB เท่านั้น  ท่านสามารถกำหนดเองโดเมนเองได้ (@yourcompany.com) เหมือน Google Apps for Work แต่ท่านจะไม่มีผู้ดูแลระบบ (admin) เช่น สมมติท่านต้องการเพิ่มผู้ใช้งาน ท่านก้ไม่สามารถเพิ่มผู้ใช้งานเองได้...

สรุปการทำงานของ Google Mail

สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ แอปพลิเคชันแบบเว็บไซต์จึงทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนอย่างสมบูรณ์ในหลากหลายอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์เพื่อให้ทำงานต่อเนื่อง 1.ลดการเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยง แอปพลิเคชันบนเบราว์เซอร์ช่วยให้ข้อมูลที่มีความสำคัญได้รับความปลอดภัยมากกว่า ต่างจากซอฟต์แวร์แบบเดิม คือเมื่อผู้ใช้สิ้นสุดการใช้แอปพลิเคชันแบบเว็บ จะมีข้อมูลที่เสี่ยงต่อการรั่วไหลเหลือในเครื่องเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ใดก็ได้ ลดโอกาสในการเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีความปลอดภัย เช่น ธัมบ์ไดรฟ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปสูญหาย และไวรัสทำให้ข้อมูลสูญหาย การทำให้สามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ และลดปริมาณการเสี่ยงของข้อมูลที่เก็บไว้ในอุปกรณ์ คือยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ 2.ระบบคลาวด์ของ Google ช่วยให้ทำงานร่วมกันได้เร็วกว่า เนื่องจากข้อมูลใน Google Apps นั้นเก็บไว้ในคลาวด์ แทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ของพนักงาน ทำให้ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการทำงานพร้อมกัน โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ หรือเบราว์เซอร์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น แทนที่จะทำงานร่วมกันในเอกสารด้วยการส่งการแก้ไขกลับไปกลับมาในรูปของไฟล์แนบ ก็จะสามารถเก็บเอกสารไว้ในคลาวด์ด้วย Google Apps เพื่อนร่วมงานสามารถเข้าถึงเอกสารทางเว็บได้พร้อมกันในเบราว์เซอร์ของตนเอง และสามารถแก้ไขเอกสารได้ การขจัดการรับส่งเอกสารเป็นไฟล์แนบด้วยการเก็บข้อมูลในคลาวด์ช่วยประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากของการทำงานที่ต้องการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 3.สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ใดก็ได้ แอปพลิเคชันแบบเว็บ ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างสมบูรณ์ในอุปกรณ์หลากหลายชนิด เพื่อให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพในหลากหลายที่ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์ ไม่ใช่ในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลทั้งหมดของตน และทำงานผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกทั้งในที่ทำงาน ที่บ้าน ขณะเดินทางและจากโทรศัพท์มือถือของตน สำหรับเทคโนโลยีแบบเดิม ข้อมูลสำคัญอาจติดค้างอยู่ในซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้เฉพาะในอุปกรณ์บางชนิด ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำงาน ระบบอีเมล์ของ Google Mail ระบบอีเมล์ทั่วไป ระบบกรองอีเมล์ขยะ           พื้นที่ในการใช้อีเมล์           ความรวดเร็วในการรับ-ส่ง อีเมล์           ระบบรักษาความปลอดภัย           รองรับการใช้งานผ่านทางโทรศัพท์          ...