16 ประโยชน์ที่ธุรกิจควรหันมาใช้ G Suite แทนฟรี Gmail

ในปัจจุบันการทำธุรกิจผ่านโลกออนไลน์เป็นอะไรที่ง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก และแน่นอนว่าในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้านอกจากจะใช้โซเชียลมีเดียแล้ว การมี Email ในการติดต่อธุรกิจกันก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน ซึ่งหลายธุรกิจอาจจะยังใช้ฟรีอีเมลของ Gmail เช่น sale@gmail.com, staff@gmail.com หรืออาจจะมีการสร้างจากฟรีอีเมลอื่นที่ให้บริการ แต่แน่นอนเมื่อธุรกิจคุณเริ่มเติบโต ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้ เริ่มจากพื้นฐานก็คืออีเมลในการติดต่อนั่นเอง เช่น ถ้าอีเมลของคุณเปลี่ยนเป็น sale@dmit.com , staff@dmit.com ย่อมดูดีและน่าเชื่อถือกว่าแบบฟรีอีเมลแน่นอน ซึ่งถ้าวันนี้คุณมีความคุ้นเคยกับการใช้ฟรี Gmail อยู่แล้ว มันเป็นเรื่องที่ง่ายมากที่ธุรกิจของคุณจะย้ายมาใช้ G Suite เพราะการใช้งานเหมือนเดิม ทำให้ไม่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเรียนรู้ใหม่ให้เสียเวลา และจริง ๆ แล้วหลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า G Suite ไม่ได้มีแค่ Gmail อย่างเดียวเท่านั้น ภายใต้ account ที่ได้รับนั้นยังมีเครื่องมือมากมายที่พร้อมจะช่วยให้การทำธุรกิจเป็นเรื่องง่าย เช่น Google Calendar, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Forms, Google Drawings, Google My Maps, Google Group, Google Photos, Google Sites และยังมีอีกมากมาย ส่วนในการเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ปัจจุบัน G Suite มีให้เลือกอยู่ด้วยกัน  3 เวอร์ชั่นด้วยกัน G Suite Basic G Suite Business G Suite Enterprise ซึ่งถ้าวันนี้คุณเป็นเจ้าของโดเมนเนมอยู่แล้ว ไม่ว่าจะด้วยจดมาเพื่อทำเว็บไซต์ก็ตาม หรือจองชื่อไว้ก่อนแล้ว  เช่น มีชื่อโดเมน dmit.com โดยชื่อนี้อาจจะไปทำการจดทะเบียนไว้กับผู้ให้บริการจดโดเมน เช่น Godaddy, Register.com หรือรายอื่น ๆ ยิ่งเป็นการง่ายเพราะคุณเพียงแค่นำข้อมูลโดเมนนั้นๆ มาทำการติดตั้งให้เข้ากับ G Suite เวอร์ชั่นที่คุณต้องการ   เขียนมาซะยาวเลย เราไปดูประโยชน์เพิ่มเติมอีก 16 ข้อกันดีกว่า ว่าทำไมเราควรย้ายจากฟรี Gmail  ไปเป็น G Suite...

Continue reading

ไดรฟ์ (Google Drive) คืออะไร

ไดร์ฟ (Google Drive) คืออะไร ไดรฟ์ หรือ Google Drive คือ โปรแกรมการจัดการเอกสารออนไลน์ของทาง Google หรือพื้นที่เก็บข้อมูลระบบคลาวด์ หลักการทำงานจะคล้ายกับโปรแกรมเอกสาร  ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเอกสารแบบออนไลน์ได้ โดยผ่านการใช้บนเว็บเบราว์เซอร์ต่าง ๆ เช่น Inter Explorer, Chrome, Firefox  และ Safari ซึ่งจะทำให้การใช้งานของเอกสารมีความสะดวกมากขึ้น สามารถใช้งานหรือแก้ไขข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้เอกสารต่าง ๆ เหล่านั้นมีความเป็นปัจจุบันมากขึ้น และยังสามารถใช้งานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยบุคคลที่จะเข้ามาใช้งานต้องได้รับอนุญาตหรือคำเชิญจากเจ้าของเอกสารผ่าน ทางอีเมล และสามารถทำงานบนเอกสารเดียวกัน ได้หลายครั้งและหลายคนพร้อม ๆ กัน  ซึ่งจะทำให้เห็นว่า ใครกำลังพิมพ์อะไรอยู่ และสามารถกำหนดสิทธิ์ในการเข้าใช้งานได้ ว่าคนไหนสามารถแก้ไขข้อมูล หรือ อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และที่สำคัญสามารถรองรับประเภทไฟล์ได้หลายแบบ เช่น Documents, Spreadsheets, Presentations, Drawings, Forms (แบบสอบถาม) เป็นต้น ฟีเจอร์หลัก เก็บ เข้าถึง และแชร์ไฟล์ในที่เดียวได้อย่างปลอดภัย Google Drive สำหรับองค์กร พื้นที่เก็บข้อมูลไม่จำกัด Google Workspace แพ็คเกจ Business และ Enterprise มีพื้นที่เก็บข้อมูลแบบไม่จำกัด (สำหรับแพ็คเกจ Basic จะได้พื้นที่ 30 GB) สามารถดูแลระบบได้จากส่วนกลาง ป้องกันข้อมูลรั่วไหล และ Vaults ห้องนิรภัยสำหรับไดรฟ์ช่วยให้จัดการผู้ใช้และแชร์ไฟล์ตามข้อกำหนดที่เกี่ยวกับข้อมูลขององค์กรได้ละเอียดมากขึ้น พื้นที่เก็บไฟล์เป็นสัดส่วน มี Shared Drive ที่เป็นไดรฟ์ส่วนกลางขององค์กร ใช้ Shared Drive สำหรับจัดเก็บไฟล์งานของแต่ละทีม จัดการสิทธิ์ในการเข้าถึงไฟล์ได้ง่าย ทำให้ทุกคนใช้ไฟล์ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย และได้รับข้อมูลล่าสุดเสมอ (Shared Drive จะมีใน Google Workspace แพ็คเกจ Business ขึ้นไป) อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Drive Google...

Continue reading

Google Apps Standards ต่างจาก Google Apps for Work อย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง  Google Apps  Standard กับ Google Apps for Work จะอยู่ที่พื้นที่และผู้ดูแลระบบเพราะ  Google Apps  Standard จะไม่มีผู้ดูแลระบบ( Admin)ให้กับท่านค่ะ Google Apps for Work  คือ อีเมล์ที่เหมาะสำหรับท่านที่ประกอบธุรกิจไม่ว่ธุระกิจของท่านจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ก็สามารถใช้งานได้ โดยอีเมล์ที่ท่านจะใช้นั้น ท่านสามารถกำหนดเองโดเมนเองได้ (@yourcompany.com) พร้อมการสนับสนุนตลอด 24/7, พื้นที่เก็บข้อมูล 30 GB และอื่นๆ หากท่านใช้ Google Apps for Work ท่านสามารถกำหนดได้ว่า จะให้ใครเป็นผู้ดูและรบบ (Admin) ซึ่งผู้ดุแลระบบนั้น สามารถจัดการทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง Google Apps  Standard  จะไม่เหมาะสำหรับท่านที่ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่  เพราะพื้นที่เก็บข้อมูลมีเพียง 15 GB เท่านั้น  ท่านสามารถกำหนดเองโดเมนเองได้ (@yourcompany.com) เหมือน Google Apps for Work แต่ท่านจะไม่มีผู้ดูแลระบบ (admin) เช่น สมมติท่านต้องการเพิ่มผู้ใช้งาน ท่านก้ไม่สามารถเพิ่มผู้ใช้งานเองได้...

สรุปการทำงานของ Google Mail

สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ แอปพลิเคชันแบบเว็บไซต์จึงทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนอย่างสมบูรณ์ในหลากหลายอุปกรณ์ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์เพื่อให้ทำงานต่อเนื่อง 1.ลดการเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยง แอปพลิเคชันบนเบราว์เซอร์ช่วยให้ข้อมูลที่มีความสำคัญได้รับความปลอดภัยมากกว่า ต่างจากซอฟต์แวร์แบบเดิม คือเมื่อผู้ใช้สิ้นสุดการใช้แอปพลิเคชันแบบเว็บ จะมีข้อมูลที่เสี่ยงต่อการรั่วไหลเหลือในเครื่องเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ใดก็ได้ ลดโอกาสในการเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีความปลอดภัย เช่น ธัมบ์ไดรฟ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปสูญหาย และไวรัสทำให้ข้อมูลสูญหาย การทำให้สามารถใช้งานข้อมูลได้อย่างปลอดภัยจากเบราว์เซอร์ และลดปริมาณการเสี่ยงของข้อมูลที่เก็บไว้ในอุปกรณ์ คือยุทธศาสตร์การรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ 2.ระบบคลาวด์ของ Google ช่วยให้ทำงานร่วมกันได้เร็วกว่า เนื่องจากข้อมูลใน Google Apps นั้นเก็บไว้ในคลาวด์ แทนที่จะเป็นคอมพิวเตอร์ของพนักงาน ทำให้ผู้ใช้หลายคนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการทำงานพร้อมกัน โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้ระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ หรือเบราว์เซอร์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น แทนที่จะทำงานร่วมกันในเอกสารด้วยการส่งการแก้ไขกลับไปกลับมาในรูปของไฟล์แนบ ก็จะสามารถเก็บเอกสารไว้ในคลาวด์ด้วย Google Apps เพื่อนร่วมงานสามารถเข้าถึงเอกสารทางเว็บได้พร้อมกันในเบราว์เซอร์ของตนเอง และสามารถแก้ไขเอกสารได้ การขจัดการรับส่งเอกสารเป็นไฟล์แนบด้วยการเก็บข้อมูลในคลาวด์ช่วยประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากของการทำงานที่ต้องการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ 3.สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพจากที่ใดก็ได้ แอปพลิเคชันแบบเว็บ ทำให้พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลของตนได้อย่างสมบูรณ์ในอุปกรณ์หลากหลายชนิด เพื่อให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพในหลากหลายที่ ข้อมูลของผู้ใช้จะเก็บไว้ในคลาวด์ ไม่ใช่ในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลทั้งหมดของตน และทำงานผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกทั้งในที่ทำงาน ที่บ้าน ขณะเดินทางและจากโทรศัพท์มือถือของตน สำหรับเทคโนโลยีแบบเดิม ข้อมูลสำคัญอาจติดค้างอยู่ในซอฟต์แวร์ที่ใช้ได้เฉพาะในอุปกรณ์บางชนิด ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำงาน ระบบอีเมล์ของ Google Mail ระบบอีเมล์ทั่วไป ระบบกรองอีเมล์ขยะ           พื้นที่ในการใช้อีเมล์           ความรวดเร็วในการรับ-ส่ง อีเมล์           ระบบรักษาความปลอดภัย           รองรับการใช้งานผ่านทางโทรศัพท์          ...

Google Apps Standards คืออะไร

Google Apps Standard คือ บริการหนึ่งของ Google มีหน้าตาเหมือนหน้า web mail เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Gmail ซึ่งมีแถบเครื่องมือการใช้งานไม่ซับซ้อน  แต่การตั้งค่าลึกๆบางอย่างอาจจะยังทำได้ไม่เหมือน Google Apps for Work ปัจจุบัน Google Apps Standard มีให้บริการเริ่มต้นที่ 50  Account สนใจสอบถามรายละเอียดหรือสั่งซื้อ ติดต่อ 026759371 หรือ support@dmit.co.th...

Google Maps ออกฟีเจอร์ใหม่บอกสถานะได้ว่ามีที่จอดรถหรือไม่

ทุกวันนี้ Google Map อาจจะคำนวณระยะเวลาและเส้นทางที่เร็วที่สุดให้ผู้ใช้ได้ทราบและวางแผนการเดินทางได้อย่างสบายๆ แต่ทว่ามีหลายครั้งที่ไปถึงที่แล้ว กลับต้องเสียเวลาอีกเป็นชั่วโมงกับการวนหาที่จอดรถเสียอย่างนั้น ล่าสุดมีรายงานจาก Android Police เปิดเผยว่า Google Map เริ่มทดสอบฟีเจอร์ใหม่ที่มีคุณสมบัติแจ้งเตือนถึงสถานะความหนาแน่นในจุดจอดรถของสถานที่ปลายทางที่ผู้ใช้จะเดินทางไปได้ด้วย สังเกตไอคอนตัว P เล็กด้านล่างถัดจากข้อความที่ระบุเวลาเดินทาง สำหรับการแจ้งเตือนนี้ เบื้องต้นรายงานระบุว่าจะแบ่งเป็น 3 ระดับแยกตามสี คือ ไอคอนตัว P สีแดง หมายถึงที่จอดรถมีจำกัด สีฟ้า ที่จอดรถมีปานกลาง สีเขียว คือ หาที่จอดง่าย ซึ่งในเวลานี้ฟีเจอร์ดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการทดสอบใช้งานตามหัวเมืองใหญ่ คาดว่าจะได้เห็นปล่อยอัพเดทใช้งานจริงเร็วๆ นี้ อ้างอิง beartai   G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...

วิธีที่ Google จัดการกับข้อมูลของคุณ

เทคโนโลยีของ cloud มีประโยชน์และสะดวกมากสำหรับองค์กรในทุกวันนี้ แต่การเติบโตของ cloud ได้ก่อให้เกิดคำถามเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยมากมาย นั่นเป็นเพราะว่า cloud services มีการทำงานที่แตกต่างจากเทคโนโลยีเดิม ๆ ที่เคยใช้กันมา โดยแทนที่การทำงานจะอยู่บน server ของตัวเองที่เคยชินกันมา ก็กลับไปอยู่ที่ Google servers ที่กระจายกันอยู่ใน data center ทั่วโลก ดังนั้นในอดีตที่ผ่านมาการจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรนั้น ๆ แต่ปัจจุบันหลายองค์กรหันไปใช้ cloud และยกหน้าทีต่าง ๆ ให้ผู้ให้บริการดูแลจัดการโครงสร้างพื้นฐานให้แทน แต่ในเรื่องของข้อมูลจะเป็นขององค์กรนั้น ๆ และควบคุมบริหารจัดการได้เองผ่านทาง cloud-based tools ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากหลายอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็น compute หรือ mobile devices เพื่อความสะดวกและคล่องตัว Why Google ? Google เติบโตมากับ cloud และทำการพัฒนา technology หลายอย่างขึ้นมาใช้เองตั้งแต่ระดับโครงสร้างพื้นฐาน Server, OS, Network ไปจนถึง cloud services ต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าทุกอย่างจะต้องมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยที่ดีเยี่ยมอยู่ตลอดเวลาเพื่อตอบรับความต้องการในภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ ทั่วโลก Google มีพนักงานที่ดูแลรับผิดชอบด้าน security และ privacy มากกว่า 500 คนรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญชั้นนำระดับโลกในด้าน information, application และ network security ที่คอยพัฒนาและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นให้มีความปลอดภัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้มิได้ทำเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้ Google เท่านั้น แต่ทำเพื่อทุก ๆ คนที่ใช้งาน Internet ด้วย How Google Handle your data ? หลายปีที่ผ่านมา การปกป้องข้อมูลกลายเป็นประเด็นสำคัญมาก สืบเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ และ Internet ในด้านของ Google ก็ได้มุ่งมั่นในการพัฒนา Technology ต่าง...

Continue reading

จุดกำเนิดของ กูเกิ้ล (The Birth of Google)

จุดกำเนิดของ กูเกิ้ล (The Birth of Google)  โดย รองศาสตราจารย์ ดร. บุญญฤทธิ์ อุยยานนวาระ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แหม เห็นแฟนๆเรียกร้องกันมามากมาย ก็เริ่มทนไม่ได้ครับ ต้องหาเวลาที่ว่างที่สุดของวันที่ไม่ค่อยว่าง ปั่นต้นฉบับเรื่องจุดกำเนิดของ Googleออกมาซักหน่อย เข้าใจว่าหลายคนคงเรียกร้องเพราะจะเอาไปทำรายงาน (ผมแนะนำให้ cut-paste ไปเลย – พูดเล่นครับ – เพราะถ้าทำจริงขอให้ได้ 0 และ คงได้ 0 แน่นอนครับ เพราะภาษาที่ผมใช้เขียนต่อไปนี้เป็นภาษาพูดครับ ไม่ใช่ภาษารายงาน อ่านแล้วก็เอาไปเรียบเรียงใหม่เป็นรายงานเองนะจ๊ะหนูๆ)   1. เซอร์เก บริน และลาร์รี่ เพจ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้อยู่ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) อีกหนึ่งสุดยอดแห่งมหาวิทยาลัยด้านไอที (จริงๆแล้ว Stanford ก็จัดว่าเป็นอันดับต้นๆของโลกในสาขาอื่นๆอีกมากมาย ด้วยเช่นกัน) มหาวิทยาลัยแห่งนี้ นอกจากจะเป็นต้นกำเนิดของสุดยอด 2 ไอเดียออนไลน์ระดับโลกอย่าง Yahoo! และ Google แล้ว มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ๆกันอยู่ด้วยซ้ำไป ที่นี่เป็นที่ที่ คุณ John von Neuman (จอห์น วอน นูแมน) คิดและประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ที่มีสถาปัตยกรรมที่เหมือนกับที่เราใช้อยู่นี่แหล่ะ เป็นคนแรกของโลก (แม้จะไม่ใช่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกก็ตาม – สับสนมั้ยครับ – คืออย่างงี้ครับ คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกชื่อว่า ENIAC ซึ่งเป็นเครื่องที่มีความซับซ้อนสูง ต่อมาคุณ von Neuman ซึ่งก็ช่วยงานในการสร้างคอมพิวเตอร์ ENIAC อยู่ด้วย แกเสนอว่า เราน่าจะแยกส่วนของคอมพิวเตอร์ออกเป็น หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยรับเข้าและส่งข้อมูล ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากคอมพิวเตอร์เครื่องแรก และเป็นสถาปัตยกรรมที่เรายังใช้มาอยู่จนในปัจจุบัน หลายสถาบันก็เลยยกย่องให้ von Neuman เป็นบิดาของคอมพิวเตอร์เลยทีเดียว) แหม! พูดถึงมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดซะยืดยาวเลย พักไว้แค่นี้ก่อน เดี๋ยวหาใครที่กำลังเรียนแถวนั้นมาบรรยายสรรพคุณของ...

Continue reading