Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

4 ทริค! เพิ่มการทำงานแบบ Productive ด้วย G Suite

หลาย ๆ ท่านคงจะเคยได้ยินการทำงานแบบ Productive มาบ้างแล้ว ซึ่งในการทำงานแบบนั้นคืออะไร เราจะอธิบายเพิ่มเติมให้ฟังกันสักนิดนึง   การทำงานแบบ Productive คือ การทำงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ไม่หักโหมให้ได้งานปริมาณเยอะ ๆ แต่เป็นการทำงานที่ให้ได้งานที่มีคุณภาพเหมาะสมตามเวลานั่นเอง เกิดมาจากการจัดการ การวางแผน ลำดับความสำคัญงานในแต่ละวัน และการทำงานแบบนี้ ไม่ได้หมายถึงว่าเราสามารถจัดการเวลางานได้เพียงอย่างเดียว ยังรวมไปถึงการจัดการด้านอื่น ๆ เช่น เวลาครอบครัว เวลาพักผ่อน ได้ดีอีกด้วย  ซึ่งวันนี้เรามี 4 ทริคที่จะช่วยให้การทำงานของคุณมี Productive มากขึ้น ด้วย G Suite ที่ทุก ๆ ท่านสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานได้เลยทันที! ทริคที่ 1 การจัดลำดับความสำคัญของงานและเวลา การที่เราสามารถจัดสำดับความสำคัญงานในแต่ละวันได้ จะทำให้เรานั้นสามารถทำงานได้งานเป็นระบบ อาจะเริ่มจากการทำ To-Do-List ในแต่ละวัน หลังจากนั้นเรียงลำดับความสำคัญของงานแต่ละชิ้น ก็จะทำให้เราโฟกัสงานและเสร็จไปเป็นอย่าง ๆ แบบมีคุณภาพและเป็นไปตามเวลาที่เรากำหนด  ซึ่งการใช้ Google Calendar เราจะสามารถสร้าง Task ลงในปฎิทินของเราในแต่ละวันได้ สามารถดูตารางนัดประชุมกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ได้ และเห็นภาพรวมงานที่เราจะต้องทำในแต่ละเดือนได้ อีกทั้งยังสามารถแจ้งเตือนล่วงหน้าได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้เราบริหารเวลาในการทำงานได้ดีมากขึ้น ทริคที่ 2 Brainstorm หรือแชร์ไอเดียงานร่วมกับทีม ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันจะต้องมีการทำงานร่วมกันในหลาย ๆ ฝ่ายเพื่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพหรือบูรณาการ ซึ่งการมีเครื่องมือที่ดี ที่สะดวกสบาย สามารถแชร์ แก้ไข หรือ Feedback เอกสารได้แบบเรียลไทม์ ประหยัดเวลาและลดขั้นตอนในการโหลดไฟล์ ก็จะสามารถ Support การทำงานร่วมกันได้อย่าง Productive มากขึ้น Google Docs, Sheets, Slides สามารถทำแบบนั้นได้ และทำงานสูงสุดถึง 100 คน ที่ Active พร้อมกัน โดยมีรายละเอียดในการติดตามชัดเจนว่าใครแก้ไขและเพิ่มเติมในส่วนไหนบ้าง ยืดหยุ่นต่อการทำงานอีกด้วย    ทริคที่ 3 ติดต่อสื่อสารกับคนในองค์กรให้ง่ายและเข้าใจตรงกัน หลาย ๆ ครั้งที่เราจะต้องนัดประชุมหรือคุยงาน แล้วหากเราฟังมาไม่เข้าใจมากพอหรือเข้าใจผิด...

Continue reading

ถอดบทเรียนรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าให้ได้ถึง 90% จาก Foodpanda

เพราะความหิว รอกันไม่ได้ ในวิกฤตโควิด-19นี้ หากพูดถึงแอปพลิเคชันเดลิเวรียอดฮิตที่คนไทยต้องมีติดเครื่อง เมื่อลองนับนิ้วไล่รายชื่อดูไม่พ้นต้องเจอผู้ให้บริการรายนี้เป็นแน่ “Foodpanda” Foodpanda ผู้ให้บริการสั่งซื้อ และจัดส่งอาหารออนไลน์เดลิเวรีผ่านแอปพลิเคชันเจ้าแรกในประเทศไทย เชื่อมโยงความหิวของลูกค้าเข้ากับอาหารที่พวกเขาชื่นชอบ โดยทำให้ผู้ใช้งานสามารถสั่งซื้ออาหารจากร้านอาหารท้องถิ่นจำนวนมาก ผ่านทางออนไลน์หรือแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน ทำให้ผู้บริโภคต่างก็หลงใหลในทางเลือกที่หลากหลาย จนปัจจุบัน Foodpanda ดำเนินการทั้งหมด 40 ประเทศ เชื่อมต่อกับร้านอาหารกว่า 580,000 แห่งทั่วโลก และเป็นหนึ่งในบริการจัดส่งอาหารที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในตลาด ถึงอย่างนั้นท่ามกลางออเดอร์ที่ทะยานเข้ามาไม่หวาดไม่ไหวในแต่ละวัน Foodpanda ก็ยังสามารถรักษาระดับความพึงพอใจของลูกค้าไว้ได้อย่างน่าประทับใจ โดยมีคะแนน CSAT (Customer Satisfaction Score) ที่พุ่งสูงถึง 90%   เรามาดูอีกหนึ่งเคล็ด(ไม่)ลับของเบื้องหลังการบริการลูกค้าอันยอดเยี่ยมนี้กัน เดิมทีนั้น คำร้องขอรับความช่วยเหลือของลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาของ Foodpanda จะเกิดขึ้นหลังจากลูกค้าสั่งซื้ออาหารเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่มีความกังวลว่าอาหารของพวกเขาจะมาถึงไม่ทันเวลา จึงได้ติดต่อสอบถามมาทาง Foodpanda แต่ปัญหาของ Foodpanda คือการที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถรับรู้กระบวนการของคำสั่งซื้อได้ ไม่รู้ว่าสถานะคำสั่งซื้อไปถึงไหนแล้ว ทำให้เจ้าหน้าที่จำเป็นที่จะต้องสื่อสารกับร้านอาหารที่เป็นพันธมิตรและผู้ขับขี่ทุกครั้ง โดยใช้วิธีการพกพาโทรศัพท์สองเครื่อง พักสายลูกค้าและโทรไปสอบถามสถานะคำสั่งซื้ออีกเครื่อง การซัพพอรต์ทางโทรศัพท์เป็นช่องทางที่รวดเร็ว เป็นส่วนตัว และเหมาะแก่ช่วงเวลาเร่งด่วน ถึงอย่างนั้นก็แลกมาด้วยทรัพยากรที่เสียไปอย่างใช่เหตุมหาศาล Foodpanda ตระหนักว่าเพื่อที่จะบริหารจัดการทีมซัพพอรต์ทั่วโลก กลยุทธ์ด้านการซัพพอรต์ที่ไม่เหมือนใครเป็นสิ่งจำเป็น จึงเลือกใช้ ‘Zendesk Support’ และ ‘Zendesk Chat’ ช่องทาง Live Chat ช่วยอำนวยความสะดวกทั้งเจ้าหน้าที่และลูกค้า ในขณะที่ Zendesk Support ทำให้ Foodpanda สามารถรวมทุกช่องทางการติดต่อ และบริหารจัดการคำร้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ “Live Chat เป็นช่องทางที่ง่ายและรวดเร็วที่สุดสำหรับลูกค้าในการติดต่อกับเรา ทุกครั้งที่ลูกค้ามีปัญหา เจ้าหน้าที่สามารถแชทตอบกลับลูกค้าได้หลายรายพร้อมกัน ดังนั้นเวลารอของลูกค้าจะลดลงและลูกค้าจะได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น” – Jorge Vernetta (Global Operations Manager at Foodpanda) กล่าว ความต่อเนื่องของการแชทผ่านแอปพลิเคชันทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยม และช่องทาง Live Chat นี้เอง ที่ทำให้ Foodpanda สามารถคงค่าคะแนนความพึงพอใจของลูกค้าเอาไว้ได้ถึง 90% ปัจจุบัน Foodpanda ยังคงเติบโตขึ้นเรื่อยๆ...

Continue reading

Android ใช้โหมด Dark Theme ใน Docs, Sheets และ Slides ได้แล้ว

เมื่อไม่นานมานี้ Google ได้อัพเดตระบบการทำงานใน Google Docs, Sheets และ Slides ที่สามารถใช้โหมด Dark Theme ในระบบ Android ได้แล้ว ซึ่งตอนนี้ยังปล่อยให้อัพเดตเฉพาะระบบนี้เท่านั้น และคาดว่าระบบ IOS ก็คงจะปล่อยให้อัพเดตกันตามมาติด ๆ  ในโหมด Dark Theme นี้จะสามารถปรับ Interface และการใช้งานได้อย่างชาญฉลาด! โดยเฉพาะการทำงานที่มีสภาพแวดล้อมแสงน้อย ถ้าใช้โหมดนี้ก็จะทำให้การทำงานของคุณนั้นง่ายมากขึ้น  อีกทั้งยังประหยัดแบตเตอรี่อีกด้วย Docs, Sheets, and Slides ในโหมด Dark Theme  การตั้งค่า สำหรับใน Android ถ้ามีการเปิดใช้งาน Dark Theme อยู่แล้ว Google Docs, Sheets และ Slides ก็จะปรับเข้าสู่โหมด Dark Theme แบบอัตโนมัติ หรือคุณสามารถเปิดหรือปิดโหมดนี้ได้อย่างอิสระเพียงตั้งค่าในแอป และขั้นตอนในการเปิดโหมดนี้นั้นก็ง่ายมาก โดยมีวิธีการตั้งค่า ดังนี้ เปิดแอป Google Docs, Sheets, Slides ในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตของคุณ กดที่เมนู มุมบนซ้าย เลือก Setting เลือก Choose theme จากนั้นเลือก Theme ที่ต้องการ เช่น Dark, Light หรือ System defaut การดูตัวอย่างเอกสารหรือชีตในโหมด Light Theme หากคุณเปิดใช้ Dark Theme การกดดูตัวอย่างเอกสารหรือชีตของคุณก็จะเป็นโหมด Dark Theme แบบอัตโนมัติ แต่คุณสามารถดูตัวอย่างเอกสารว่าจะแสดงอย่างไรในรูปแบบ Light Theme ได้ ดังนี้ เปิดแอป Google Docs, Sheets, Slides ในโทรศัพท์หรือแท็บเล็ตของคุณ เปิดเอกสารหรือชีตที่คุณต้องการจะดู...

Continue reading

4 เเอปสร้างรายได้ขายของออนไลน์ในจีน

การสร้างเเบรนด์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นต้องเข้าใจเเละรู้จักกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเเบรนด์ก่อนว่า เป็นใคร อยู่ในอายุช่วงไหน เพศไหนบ้าง หลังจากที่ได้กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนเเล้วเจ้าของเเบรนด์ควรมีสตอรี่ที่น่าสนใจ บอกประวัติความเป็นมาของเเบรนด์ เเละสำรวจ Big Data เพื่อรวบรวมข้อมูลของลูกค้าของเราตั้งเเต่เริ่มสร้างเเบรนด์  เเละสิ่งสำคัญที่สุดก็คือการเลือกเครื่องมือที่ทันสมัย เเละทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าหรือเเบรนด์ได้ง่ายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ยุคปัจจุบันที่คนเริ่มเกียจคร้านในการออกจากบ้านไปซื้อของ ดังนั้นการมีเครื่องมือออนไลน์เข้ามาช่วยทำให้ทั้งผู้ซื้อเเละผู้ขายสะดวกสบายมากขึ้นเเละก้าวทันโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนเเปลงไปอย่างรวดเร็ว การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในประเทศจีนผ่านเเอป ทุกวันนี้การนำของเข้าไปขายในประเทศจีนเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมาก เจ้าของเเบรนด์ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้านที่จีนหรือมีใบจดทะเบียนบริษัทที่ประเทศจีนอีกต่อไป เพราะทุกวันนี้เรามีเทคโนโลยีอีคอมเมิร์ซที่ช่วยให้คนไทยสามารถเข้าถึงลูกค้าชาวจีนได้ง่ายขึ้นผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ที่คนจีนนิยมใช้ ซึ่งก็มีหลายแพลตฟอร์มด้วยกัน เช่น TMall Taobao JD.com เเละ WeChat Mini Program ซึ่งเเต่ละแพลตฟอร์มก็มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับ เเละระบบที่เเตกต่างกันไป ดังนั้นวันนี้เเอดมินขออนุญาติมาเล่าให้ฟังว่าเเต่ละเเอปทำอะไรได้บ้างเเละต้องมีเตรียมเอกสารอะไรในการสมัครบ้าง ใช้เวลาในการสมัครนานเเค่ไหนไปดูกันเลย  การเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในจีนผ่านเเอปต่างๆ  >> TMALL, Taobao, JD.com, WeChat Mini Program     T- mall Taobao JD.com WeChat Mini Program   ประเภทการขาย ขายปลีก ขายปลีก ขายปลีก ขายปลีก ประเภทสินค้า เฉพาะสินค้าเเบรนด์เนม เเละถูกลิขสิทธิ์เท่านั้น สินค้าทุกประเภท สินค้าทุกประเภท สินค้าเเบรนด์เนม จนถึง สินค้าระดับกลาง ราคาการสมัคร ราคาสูง ราคาถูก ราคาสูงกว่าทุกอัน ราคาปานกลาง ภาษาในการสื่อสาร สื่อสารภาษาจีนเเละ อังกฤษได้ สื่อสารภาษาจีน สื่อสารภาษาจีน สื่อสารภาษาจีนเเละ อังกฤษได้ การชำระเงิน Alipay Alipay WeChat Pay WeChat Pay การจัดส่ง ที่อยู่จัดส่งในจีนเท่านั้น ที่อยู่จัดส่งในจีนเท่านั้น จัดส่งปลายทาง ที่อยู่จัดส่งในจีน เเละในไทย คุณภาพสินค้า สินค้ามีคุณภาพดี ไม่รับรองคุณภาพสินค้า ความน่าเชื่อถือน้อย สินค้ามีคุณภาพดี สินค้ามีคุณภาพดี อื่นๆ บริษัทต้องมีการจดทะเบียนในจีน เเอปนี้ในไทยสามารถจดได้ เว็บไซด์เปิดฟรีสำหรับคนจีนเท่านั้น บริษัทต้องมีการจดทะเบียนในจีนเท่านั้น บริษัทต้องมีการจดทะเบียนในจีน เเอปนี้ในไทยสามารถจดได้...

Continue reading

สร้าง Dashboard ออนไลน์แสนง่าย ด้วย Data Studio

ผ่านมาแล้วครึ่งปี หลาย ๆ ท่านอาจจะต้องรวบรวมข้อมูลการทำงานที่ผ่านมาแล้วสรุปรายงานต่าง ๆ ให้เจ้านายได้วิเคราะห์ข้อมูลกัน ใช้เวลาหมดไปเป็นวัน ๆ กับการเตรียมข้อมูลจากระบบในองค์กรที่หลากหลาย รวมทั้งข้อมูลตารางจาก Excel ที่แต่ละแผนกได้จัดทำและเราต้องมานั่งรวบรวมข้อมูล จับสูตรใส่ลงไปเพื่อให้ข้อมูลได้ผลมาตามต้องการ รวมถึงการสร้างกราฟแสดงผลสรุปข้อมูลส่งให้เจ้านายของคุณได้เอาไปดูกันอย่างง่ายดาย ในการสร้างรายงานประจำปี รายงานประจำเดือน หรือรายงานประจำวัน คงปฏิเสธไปไม่ได้ที่จะมีการเก็บข้อมูลแบบ spreadsheet ไว้ เพราะการจัดการข้อมูลที่สะดวก มีสูตรช่วยการคำนวณที่รวดเร็ว และยังนำข้อมูลไปสร้างกราฟได้ไม่ยากมากนัก หากท่านมีการเก็บข้อมูลในลักษณะนี้อยู่แล้วนั้น การปรับเปลี่ยนเครื่องมือในการสร้างกราฟข้อมูลก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป Data Studio อีกหนึ่งเครื่องมือของ Google ที่ช่วยในการสร้างกราฟแสดงผลข้อมูลแบบ interactive ที่ท่านสามารถเลือกกรองข้อมูลที่ต้องการได้ด้วยตนเอง สามารถสร้างให้แสดงผลลัพธ์จากหลายแหล่งที่มา มารวมกันที่เดียว ทำให้การติดตามการเคลื่อนไหวของข้อมูลมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถสนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบ collaboration ที่ให้ท่าน เพื่อนร่วมงาน และเจ้านายหรือหัวหน้าของท่านใช้กราฟสรุปผลข้อมูลเดียวกันได้ การใช้งาน Data Studio ด้วยวิธีการ 3 ขั้นตอน ทำได้ดังนี้ เตรียมไฟล์ข้อมูลบน Google Sheets (ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลตัวอย่างได้ที่นี่ คลิก) เปิดโปรแกรม Google Data Studio (datastudio.google.com) แล้วเลือก สร้างรายงาน (Create report)  กำหนดแหล่งข้อมูลของท่าน (Create New Data Source) เลือกการเชื่อมต่อข้อมูลจาก Google Sheets แล้วเลือกชื่อไฟล์ข้อมูลของท่าน พร้อมทั้งเลือกชื่อแผ่นงาน (Workbook) ที่ท่านต้องการ Data Studio จะทำการอ่านข้อมูลใน Spreadsheet ของท่าน และได้สร้างข้อมูลชุดใหม่บน Data Studio ท่านสามารถตรวจสอบ หรือแก้ไขชื่อหัวข้อของข้อมูลตามที่ท่านต้องการได้ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วเลือก Add to Report เมื่อท่านเชื่อมต่อกับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว การนำไปใช้งานอยู่ที่ความเหมาะสม และความสวยงามได้เลย เครื่องมือที่ท่านควรรู้ไว้ ประกอบด้วย Add Chart จะรวบรวมประเภทของการแสดงผลข้อมูลไว้ ท่านสามารถเลือกการแสดงผลที่ต้องการ แล้วกำหนดการเชื่อมต่อข้อมูลตรงส่วน Data (ด้านขวา)...

Continue reading

ช่องทางติดต่อหลายช่องทาง ทำให้ลูกค้าพอใจจริงหรอ?

หลายๆคนก็คงรู้กันดีอยู่แล้วว่า ในปัจจุบันการซื้อหรือขายสินค้าสามารถทำได้หลายช่องทางมากๆ ไม่ว่าจะเป็น หน้าร้าน เว็บไซต์ซื้อของออนไลน์ หรือจะเป็น Social Media ต่างๆ ดังนั้นร้านค้าหลายๆร้าน จึงต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยส่วนมากก็จะเปิดช่องทางการติดต่อสื่อสาร หรือ ช่องทางการขายเพื่อรองรับลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทางนั้นให้ได้มากที่สุด เพราะคิดว่ายิ่งเปิดช่องทางมาก ก็จะรับลูกค้าได้มากเช่นกัน แต่… แต่การที่เปิดช่องทางการติดต่อหลายทาง ก็ใช่ว่าลูกค้าจะพอใจแล้ว เพราะจริงๆปัจจัยของการเปิดหลากหลายช่องทางนั้น เพื่อทำให้ลูกค้าสะดวกที่จะติดต่อเรามามากที่สุด แต่สิ่งที่จะทำให้ลูกค้าพอใจจริงๆนั้น คือการบริการที่ดี ถูกต้อง ชัดเจน และรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงต้องกลับมาถามตัวเองว่า แล้วแต่ละช่องทางที่เรามี มีคนตอบลูกค้าตลอดไหม เราสามารถตอบลูกค้าทุกช่องทางได้รวดเร็วเหมือนกันไหม แล้วคนที่ตอบแต่ละช่องทางมีข้อมูลที่ลูกค้าต้องการไหม หรือจะเป็นการพูดคุยกับลูกค้าดีไหม ทำให้ลูกค้าพอใจได้จริงๆรึป่าว ซึ่งมันก็จะส่งผลไปถึงต้นทุนในการจ้างพนักงานที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงค่าเสียโอกาสต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้คนไม่สามารถแก้ไขได้อย่างแน่นอน หรือถ้าจะแก้ไขได้จริงๆ เราต้องจ้างพนักงานมากี่คนถึงจะเพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีบริษัทมากมายทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Uber, Agoda, FoodPanda ได้นำ Software ที่ชื่อว่า Zendesk มาแก้ปัญหาที่เรากล่าวไว้ข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการตอบลูกค้า การเก็บข้อมูลลูกค้า และจุดเด่นของ Software ตัวนี้ คือ การรวบรวมช่องทางการสื่อสารระหว่างเรากับลูกค้าไว้ในที่เดียว และยังสามารถบริการทุกช่องทางให้รวดเร็วเท่ากันได้อีกด้วย ที่นอกจากจะทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดี และพึงพอใจในตัวเราแล้ว ยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงาน และตัวพนักงานเองอีกด้วย เพราะเจ้า Zendesk Software ตัวนี้ จะสามารถเพิ่มประสิทธิในการทำงาน เช่น ถ้าปกติเราจะแบ่งพนักงานในการสื่อสารกับลูกค้าในแต่ละช่องทาง แต่ด้วย Zendesk ใช้ระบบ Omnichannel ที่จะรวบรวมช่องทาง ไม่ต้องแบ่งพนักงานในแต่ละช่องทาง และยังสามารถทำให้ทุกช่องทางตอบได้เร็วขึ้นอีกด้วยเพียงหน้าจอเดียว ซึ่งมันส่งผลถึงต้นทุนในการจ้างพนักงานก็จะน้อยลงไปด้วย แต่ได้ผลลัพธ์ของงานที่เท่าเดิมหรือดีกว่าเดิม ก็จะทำให้คุณอยู่เหนือคู่แข่งได้อย่างสบายๆเลย ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02-030-0066 096-804-5482 (คุณยิ่ว),...

Continue reading

เพิ่มความปลอดภัยของบัญชีอีเมล ด้วยการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน (2 Step Verification)

2 Step Verification คืออะไร ? 2 Step Verification หรือการยืนยันตัวตนในการลงชื่อเข้าใช้บัญชีอีเมลแบบ 2 ขั้นตอน คือ การใส่รหัสผ่านในขั้นตอนแรก หลังจากนั้นระบบจะมีการส่งรหัสไปยังโทรศัพท์มือถือที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ และนำรหัสนั้นมาใส่อีกครั้งเป็นขั้นตอนที่ 2 หากถูกต้อง เราจะสามารถเข้าใช้งานบัญชีอีเมลได้ ซึ่งมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มักจะใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการความปลอดภัยของบัญชี เพราะหากมีผู้ไม่หวังดีแอบรู้รหัสผ่านก็จะสามารถเข้าถึงบัญชีและข้อมูล ทั้งหมดได้ทันที แต่หากเราเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ จะทำให้เรารู้ทันทันว่ามีใครแอบเข้าบัญชีอีเมลเราหรือไม่ นั่นเป็นที่มาของคำว่า  “การยืนยัน 2 ขั้นตอน”  แต่ในทางกลับกัน ผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยเปิดใช้ เนื่องจากมีความยุ่งยากพอสมควร เพราะต้องนำรหัสที่ได้รับมาพิมพ์เองอีกครั้ง คล้ายกับเวลาเราได้รับ OTP จากธนาคารนั่นเอง โดยทาง Google ได้เล็งเห็นปัญหานี้ จึงออกแบบระบบมาใหม่เพื่อที่จะทำให้บัญชีของเราได้รับการป้องกันอย่างปลอดภัย และยังใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น  ออกแบบการใช้งานใหม่ ปลอดภัยยิ่งขึ้น ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป หากเราเปิดใช้งาน การยืนยันบัญชีแบบ 2 ขั้นตอน (2 Step Verification) จากเดิมเราต้องใส่รหัสผ่านขั้นที่ 1 และใส่รหัสที่ได้รับทางโทรศัพท์มือถือ เป็นขั้นตอนที่ 2 บางคนอาจจะมองว่ายุ่งยากเกินไป  โดยทาง Google ได้มีการปรับปรุงการใช้งานให้มีความง่ายขึ้น ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ใส่รหัสผ่าน และจะได้รับการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์ที่ทำการลงทะเบียนไว้  ขั้นตอนที่ 2 เลือกคำตอบตามหน้าจอที่ได้มีการถามให้ถูกต้อง  เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถเข้าบัญชีอีเมลของเราได้ ซึ่งจะสะดวกมากยิ่งขึ้นเพราะกดเพียงไม่กี่ปุ่ม แทนการนำรหัสหลายๆ ตัวมาใส่ และที่สำคัญไปกว่านั้นบัญชีของท่านก็ยังปลอดภัยขึ้นอีกระดับ แนะนำให้คนที่ผูกบัญชีอีเมลกับทางธนาคาร หรือรับส่งอีเมลที่มีความลับ  ดูเพิ่มเติม ได้ที่ เปิดใช้งานการยืนยันแบบ 2 ขั้นตอน  G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...

5 Pain Points ที่ทำให้คุณอาจเสียลูกค้าคนสำคัญได้โดยไม่รู้ตัว

ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะออกจากบ้านไปทำงาน จับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆ หรือแม้แต่ติดต่อธุรกรรม เชื่อว่าเราล้วนต่างเคยประสบปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่พาลให้อารมณ์เสีย จนทั้งวันหม่นหมองด้วยกันมาแล้วทั้งสิ้น ในแง่ของการตลาด เราเรียกปัญหาที่ลูกค้าพบเจอจากสาเหตุบางอย่าง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบหรือทำให้ใช้ชีวิตลำบากมากขึ้นเหล่านั้นว่า “Pain Point” แล้ว Pain Point สำคัญอย่างไร? Pain Point ส่งผลโดยตรงถึงประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ ซึ่งประสบการณ์ยอดแย่เหล่านี้เองก็ได้จุดประกายไอเดียจนเกิดเป็นธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย ยกตัวอย่างเวลาที่เราจะติดต่อสอบถามปัญหาสินค้าหรือบริการแต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับสักที ไม่ก็ต้องบอกเล่าปัญหาซ้ำๆ อย่างน่าเบื่อหน่าย ประสบการณ์ด้านลบที่มีต่อแบรนด์นี้เองที่ทำให้ลูกค้าปันใจไปใช้แบรนด์อื่นที่เป็นคู่แข่งแทนอย่างง่ายดาย  ในขณะเดียวกันหากอีกแบรนด์สามารถแก้ Pain Point เหล่านี้ และทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีได้ ก็จะมีแนวโน้มสูงมากว่าลูกค้าจะกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ แบรนด์นั้นจะได้เปรียบในฐานะการสร้างจุดเด่นด้านความแตกต่าง (Differentiation) ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มองว่าแบรนด์เก่าเป็นปัญหา อีกทั้งจากการวิจัยยังพบว่าลูกค้ายินยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่ม หากว่ามันคุ้นค่าให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย เรามาดู 5 Pain Points ที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ยอดแย่มากที่สุดกัน 01 ต้องรอ/ใช้เวลานานในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เรื่องของเวลายังคงเป็นอะไรที่สำคัญที่สุดเสมอ จากการสำรวจของ Zendesk บริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำที่โดดเด่นเรื่องการสร้างประสบการณ์ลูกค้า ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจเจ้าหน้าที่ Customer Service 1,000 คน เจ้าหน้าที่บริหารด้านประสบการณ์ลูกค้า 300 คน หัวหน้าฝ่ายขาย 300 คน และลูกค้า 3,000 คนจากทั่วทุกมุมโลก พบว่า การที่ต้องรอเป็นอะไรที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ที่แย่มากที่สุด ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากเป็นฝ่ายต้องรอกันทั้งนั้น จริงไหม? 02 ระบบตอบกลับอัตโนมัติที่ทำให้เข้าถึงยาก ลองนึกภาพว่าตัวคุณเองกำลังเผชิญปัญหาที่ต้องการการแก้ไขเสียเดี๋ยวนั้น แต่พอติดต่อไปหาเจ้าหน้าที่กลับเจอแต่ระบบตอบกลับที่โมโนโทนเสียเหลือเกิน ก็พาให้รู้สึกเข้าถึงเจ้าหน้าที่ได้ยากและเสียอารมณ์ได้ง่ายๆ 03 ต้องบอกข้อมูลเดิมๆ ซ้ำๆ ถือเป็นปัญหายอดฮิตเลยก็ว่าได้ ลูกค้ามักมีความคาดหวังให้แบรนด์มีการประสานงานกันเองภายใน ไม่ใช่ติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่คนหนึ่งทีแต่กลับถูกโยนเรื่องไปอีกคนหนึ่ง แล้วก็ต้องคอยบอกเล่าปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ  04 เจ้าหน้าที่ให้บริการไม่เป็นมิตร เจ้าหน้าที่ให้บริการเป็นเหมือนด่านหน้าของแบรนด์ที่ช่วยให้ลูกค้าได้รู้จักกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น หากได้รับการตอบกลับที่ไม่ดีจากที่อาจกำลังเป็นลูกค้าก็กลายเป็นขอถอยห่างไปไกลๆ ได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่บริการลูกค้าจึงควรมุ่งเน้นถึงความเข้าอกเข้าใจในตัวลูกค้าให้มาก และตอบกลับอย่างประนีประนอมอยู่เสมอ 05 เจ้าหน้าที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอ ไม่เพียงแต่การให้บริการให้เป็นมิตรเท่านั้นที่ต้องใส่ใจ เพราะในเรื่องของข้อมูลความรู้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะคงไม่มีใครที่ให้คำตอบที่ถูกต้องกับลูกค้าได้มากไปกว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบอีกแล้ว และนี่ก็เป็นตัวอย่าง 5 Pain Points จากการสำรวจที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ยอดแย่มากที่สุด ขอพึงระลึกไว้ว่าอะไรคุณมองว่าเป็นปัญหาจนเกิดเป็นความรู้สึกด้านลบนั้น ลูกค้าของคุณเองก็อาจรู้สึกได้ไม่ต่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากว่าเราสามารถนำเสนอทางแก้ Pain Points...

Continue reading

ตรวจสอบความปลอดภัยของรหัสผ่านได้ง่ายๆด้วย G suite

ในฐานะผู้ดูแลระบบ G Suite คุณสามารถตรวจสอบระดับความปลอดภัยของรหัสผ่านของผู้ใช้งานได้ โดยฟีเจอร์การตรวจสอบความปลอดภัยนี้จะช่วยให้ผู้ดูแลระบบทราบได้ว่ารหัสผ่านที่ผู้ใช้งานตั้งค่านั้นมีความปลอดภัย มากน้อยเพียงใด โดยมีขั้นตอนดังนี้ ไปที่คอนโซลผู้ดูแลระบบของ G Suite (ที่ admin.google.com) ไปที่ความปลอดภัย > การตรวจสอบรหัสผ่าน ตรวจสอบความยาวและความรัดกุมของรหัสผ่านของผู้ใช้แต่ละราย หากมีจำนวนแถบสีแดงและสีเหลืองที่ไม่เต็มช่องหมายความว่ารหัสผ่านยังไม่รัดกุมหรืออาจจะคาดเดาได้ง่าย ตามตัวอย่างด้านล่าง ผู้ดูแลระบบสามารถแจ้งให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนรหัสผ่านได้ในทันที G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็คเกจ 02-030-0066...