Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

5 Pain Points ที่ทำให้คุณอาจเสียลูกค้าคนสำคัญได้โดยไม่รู้ตัว

ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะออกจากบ้านไปทำงาน จับจ่ายใช้สอยสินค้าต่างๆ หรือแม้แต่ติดต่อธุรกรรม เชื่อว่าเราล้วนต่างเคยประสบปัญหาใดปัญหาหนึ่งที่พาลให้อารมณ์เสีย จนทั้งวันหม่นหมองด้วยกันมาแล้วทั้งสิ้น ในแง่ของการตลาด เราเรียกปัญหาที่ลูกค้าพบเจอจากสาเหตุบางอย่าง ที่ทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบหรือทำให้ใช้ชีวิตลำบากมากขึ้นเหล่านั้นว่า “Pain Point” แล้ว Pain Point สำคัญอย่างไร? Pain Point ส่งผลโดยตรงถึงประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับ ซึ่งประสบการณ์ยอดแย่เหล่านี้เองก็ได้จุดประกายไอเดียจนเกิดเป็นธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมามากมาย ยกตัวอย่างเวลาที่เราจะติดต่อสอบถามปัญหาสินค้าหรือบริการแต่ก็ไม่ได้รับการตอบกลับสักที ไม่ก็ต้องบอกเล่าปัญหาซ้ำๆ อย่างน่าเบื่อหน่าย ประสบการณ์ด้านลบที่มีต่อแบรนด์นี้เองที่ทำให้ลูกค้าปันใจไปใช้แบรนด์อื่นที่เป็นคู่แข่งแทนอย่างง่ายดาย  ในขณะเดียวกันหากอีกแบรนด์สามารถแก้ Pain Point เหล่านี้ และทำให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีได้ ก็จะมีแนวโน้มสูงมากว่าลูกค้าจะกลับมาซื้อหรือใช้บริการซ้ำ แบรนด์นั้นจะได้เปรียบในฐานะการสร้างจุดเด่นด้านความแตกต่าง (Differentiation) ได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่มองว่าแบรนด์เก่าเป็นปัญหา อีกทั้งจากการวิจัยยังพบว่าลูกค้ายินยอมที่จะจ่ายเงินเพิ่ม หากว่ามันคุ้นค่าให้พวกเขาได้รับประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย เรามาดู 5 Pain Points ที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ยอดแย่มากที่สุดกัน 01 ต้องรอ/ใช้เวลานานในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เรื่องของเวลายังคงเป็นอะไรที่สำคัญที่สุดเสมอ จากการสำรวจของ Zendesk บริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำที่โดดเด่นเรื่องการสร้างประสบการณ์ลูกค้า ซึ่งได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจเจ้าหน้าที่ Customer Service 1,000 คน เจ้าหน้าที่บริหารด้านประสบการณ์ลูกค้า 300 คน หัวหน้าฝ่ายขาย 300 คน และลูกค้า 3,000 คนจากทั่วทุกมุมโลก พบว่า การที่ต้องรอเป็นอะไรที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ที่แย่มากที่สุด ไม่ว่าใครก็คงไม่อยากเป็นฝ่ายต้องรอกันทั้งนั้น จริงไหม? 02 ระบบตอบกลับอัตโนมัติที่ทำให้เข้าถึงยาก ลองนึกภาพว่าตัวคุณเองกำลังเผชิญปัญหาที่ต้องการการแก้ไขเสียเดี๋ยวนั้น แต่พอติดต่อไปหาเจ้าหน้าที่กลับเจอแต่ระบบตอบกลับที่โมโนโทนเสียเหลือเกิน ก็พาให้รู้สึกเข้าถึงเจ้าหน้าที่ได้ยากและเสียอารมณ์ได้ง่ายๆ 03 ต้องบอกข้อมูลเดิมๆ ซ้ำๆ ถือเป็นปัญหายอดฮิตเลยก็ว่าได้ ลูกค้ามักมีความคาดหวังให้แบรนด์มีการประสานงานกันเองภายใน ไม่ใช่ติดต่อไปที่เจ้าหน้าที่คนหนึ่งทีแต่กลับถูกโยนเรื่องไปอีกคนหนึ่ง แล้วก็ต้องคอยบอกเล่าปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ  04 เจ้าหน้าที่ให้บริการไม่เป็นมิตร เจ้าหน้าที่ให้บริการเป็นเหมือนด่านหน้าของแบรนด์ที่ช่วยให้ลูกค้าได้รู้จักกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น หากได้รับการตอบกลับที่ไม่ดีจากที่อาจกำลังเป็นลูกค้าก็กลายเป็นขอถอยห่างไปไกลๆ ได้ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ที่รับหน้าที่บริการลูกค้าจึงควรมุ่งเน้นถึงความเข้าอกเข้าใจในตัวลูกค้าให้มาก และตอบกลับอย่างประนีประนอมอยู่เสมอ 05 เจ้าหน้าที่ไม่มีข้อมูลเพียงพอ ไม่เพียงแต่การให้บริการให้เป็นมิตรเท่านั้นที่ต้องใส่ใจ เพราะในเรื่องของข้อมูลความรู้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะคงไม่มีใครที่ให้คำตอบที่ถูกต้องกับลูกค้าได้มากไปกว่าเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบอีกแล้ว และนี่ก็เป็นตัวอย่าง 5 Pain Points จากการสำรวจที่ลูกค้ามองว่าทำให้ตนได้รับประสบการณ์ยอดแย่มากที่สุด ขอพึงระลึกไว้ว่าอะไรคุณมองว่าเป็นปัญหาจนเกิดเป็นความรู้สึกด้านลบนั้น ลูกค้าของคุณเองก็อาจรู้สึกได้ไม่ต่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากว่าเราสามารถนำเสนอทางแก้ Pain Points...

Continue reading

Live Chat Support อีกหนึ่งช่องทางฮิตที่ลูกค้าเลือก

Live chat support เป็นอีกหนึ่งโอกาสทางธุรกิจสำหรับการพัฒนาช่องทางเข้าหาลูกค้าแบบส่วนตัว ระบบ Live chat จะทำให้ซัพพอรต์ทีมสามารถสอบถามปัญหาต่างๆ จากลูกค้าและเสนอความช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด ช่วยในการบูทยอดขายทาง Ecommerce และลดเวลาการรอของลูกค้า นอกจากนี้ Live Chat ยังเป็นหนึ่งในช่องทางซัพพอรต์ที่เติบโตเร็วที่สุด อ้างอิงจาก Zendesk Customer Experience Trends Report 2020 พบว่ากว่าสี่เท่าของลูกค้า Zendesk มีการนำ Live Chat มาประยุกต์ใช้ เป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว รู้จักระบบ Chat Support Live Chat เป็นช่องทางสนทนาซัพพอรต์ลูกค้าแบบเรียลไทม์ 1:1 เพียงกรอกข้อมูลเล็กน้อยก็จะมีป๊อปอัพหน้าต่างแชทให้เริ่มบทสนทนากับลูกค้าได้แบบเชิงรุก คอยช่วยเหลือลูกค้าในเวลาที่มีปัญหาข้อสงสัยต่างๆ ลองนึกถึงครั้งล่าสุดที่คุณเปิดเว็บไซต์สงสัยในสินค้าบางอย่าง แล้วก็มีหน้าต่างแชทป๊อปอัพให้คุณสามารถส่งข้อความขอความช่วยเหลือได้ทันที แค่คลิกก็สามารถเชื่อมต่อเข้าหาเจ้าหน้าที่ที่ประจำการอยู่ได้อย่างง่ายดาย Live Chat ทำให้ลูกค้าสามารถเริ่มบทสนทนาได้ในเวลาที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น บางทีคุณอาจจะนึกถึงตอนที่สมัครช่องทางการเงินทางออนไลน์ แล้วนึกขึ้นได้ว่าต้องระบุธุรกิจอะไรสักอย่างลงไปในแอคเค้าท์ ปุ่มแชทที่อยู่ในที่ที่พอเหมาะพอเจาะในตอนนั้นพอดีก็จะพาคุณเข้าไปอยู่ในช่องทางเดียวกันกับเจ้าหน้าที่แบบ 1:1 7 เหตุผลที่ธุรกิจของคุณควรใช้ Live Chat Support 1. เข้าถึงแบบเรียลไทม์ Live Chat Support ทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงเจ้าหน้าที่ได้อย่างง่ายดาย เพียงหน้าต่างแชทที่ติดตั้งไว้บนมุมหนึ่งของหน้าเว็บ กรอกข้อมูลเล้กน้อยก็สามารถเข้าถึงเจ้าหน้าที่ได้แบบเรียลไทม์ โดยไม่ต้องต่อสายโทรคุยเลย การตอบกลับที่รวดเร็วทันใจ ปัญหาที่ถูกแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องกดโทรหรือแจ้งปัญหาซ้ำๆ เองก็ทำให้ลูกค้ามีความรุ้สึกที่ดีต่อแบรนด์ตามไปด้วย 2. ทำอย่างอื่นได้พร้อมกัน แม้ว่าอาจต้องรอคิวการตอบกลับของเจ้าหน้าที่บ้าง แต่ลูกค้าก็สามารถทำอย่างอื่นไปพร้อมกันได้ระหว่างที่รอ อาจเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติม หรือเลือกดูในหน้าเว็บอื่นก็สามารถทำได้ 3. ทำความเข้าใจซ้ำผ่านบทสนทนาที่ถูกบันทึก ข้อดีของบทสนทนาที่ถูกบันทึกเป็นตัวหนังสือ คือการที่สามารถย้อนกลับขึ้นไปอ่านและทำความเข้าใจซ้ำได้ ต่างจากการโทรผ่านโทรศัพท์มือถือที่เป็นการฟังด้วยเสียง และมักจำเป็นต้องใช้กระดาษจดโน๊ตไว้อีกที การมีข้อความให้เลื่อนกลับขึ้นไปอ่านจึงทำให้การแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเป็นเรื่องที่ง่ายดายยิ่งขึ้น 4. Live Chat ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย การติดต่อหาเจ้าหน้าที่ผ่านการโทรเป็นช่องทางที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมานาน หากแต่ก็ทำให้ลูกค้าต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยเช่นกัน ยิ่งต้องถือสายรอนานๆ ก็ยิ่งต้องเสียเงินมากขึ้นเท่านั้น ต่างจากระบบ Live Chat ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายในการติดต่อ ทำให้ความรู้สึกเชิงลบไม่รุนแรงมากนัก ทางเจ้าหน้าที่เองก็สามารถให้การบริการได้อย่างราบรื่นด้วยเช่นกัน 5. ให้ความเชื่อมั่นที่ดีกว่าคู่แข่ง...

Continue reading

กลยุทธ์ CRM การตลาดยุค 4.0 ที่คุณคู่ควร

CRM คืออะไร? CRM ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือแปลก็คือ การจัดการความสัมพันธ์ของลูกค้า แล้วมันสำคัญและคู่ควรกับธุรกิจเราในยุค 4.0 ยังไง? CRM คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้า และสร้างความสัมพันธ์รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ หรือผู้บริโภคสินค้าของเรา แล้วยังเป็นตัวช่วยที่จะทำให้เรารู้จักลูกค้ามากขึ้น เพื่อที่จะได้รับรู้ถึงความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง และให้เราสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิม และเปิดรับลูกค้ารายใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะถ้าคุณมีการตลาดหรือสินค้าที่ดีแค่ไหน แต่ถ้าคุณไม่รู้จักลูกค้าหรือผู้บริโภคของคุณดีพอ ก็ไม่สามารถเติบโตธุรกิจของคุณต่อไปได้ และยิ่งในยุค 4.0 นี้ที่ทุกคนสามารถเปลี่ยนไปใช้ของคู่แข่งได้ทุกเมื่อ ดังนั้นการรักษาลูกค้าและรู้จักลูกค้าให้มากขึ้นเพื่อสร้าง Loyalty จึงสำคัญมากในตอนนี้ ซึ่งขั้นตอนหลักๆ ในการทำ CRM มีอยู่ 4 ข้อก็คือ ระบุและทำความรู้จักกับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์ อีเมล หรือช่องทางการติดต่อต่างๆ โดยหลักแล้วข้อมูลพวกนี้ การทำ CRM ในข้อนี้มักจะได้มาจาก Applications ที่เวลาเราสมัครอะไรก็แล้วแต่ เขามักจะให้เชื่อมกับ Facebook, Email หรือ อะไรต่างๆ เพื่อที่จะได้สามารถดึงข้อมูลของคนๆนั้นมาได้เลยในทันที โดยที่ไม่ต้องให้ลูกค้าหรือคุณเสียเวลากรอกรายละเอียด วิเคราะห์ลูกค้าและแบ่งกลุ่มของลูกค้า เมื่อเราได้ข้อมูลของลูกค้าที่มากมายมาแล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ เราต้องแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่ม ตามที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็น อายุ ความสนใจ หรือไลฟ์สไตล์ต่างๆ อะไรก็แล้วแต่ เพื่อให้เราสามารถเจาะกลุ่มเป้าหมาย ได้ถูกต้องและชัดเจนมากขึ้น การมีส่วนร่วมระหว่างลูกค้ากับเรา เพื่อสร้างความพึงพอใจ ความประทับใจต่อสินค้า และบริการของเรา เป็นการสร้าง Loyalty ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการในตอนนี้ เพราะ ในปัจจุบันสินค้ามีให้เลือกมากมายหลายแบบ ลูกค้าสามารถเปลี่ยนไปใช้ของคู่แข่งได้ทุกเมื่อ ดังนั้น Loyalty จึงสำคัญมาก ซึ่งการที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจนั้น เริ่มแรกต้องมาจากการดูแลเอาใจใส่ รวมถึงแก้ Pain Point และ สนองความต้องการของลูกค้าได้ ปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ และการที่เราจะแก้ Pain Point หรือ สนองความต้องการของลูกค้าได้ เราก็ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือเลือกสินค้าที่เหมาะสม ให้กับตรงกับกลุ่มลูกค้าในแต่ละประเภท ซึ่งทางเราทำได้ตรงตามที่ตั้งไว้ นอกจากที่ลูกค้าจะ Loyalty...

Continue reading

เปิดกลยุทธ์ สร้าง Customer Engagement อย่างไร ผูกใจลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์

ในโลกการตลาดในยุคปัจจุบัน อีกหนึ่งหัวใจสำคัญคือการมัดใจลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์  เราอาจมีโปรดักซ์ที่ลูกค้าชื่นชอบพอที่จะยอมจ่ายเงินให้อย่างไม่ลังเล พวกเขาชื่นชอบแบรนด์ของเรา กลวิธีที่เรานำเสนอ แม้ว่ามันจะดีที่สุด แต่ก็ไม่มากพอจะการันตีได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเป็นลูกค้าของเราตลอดไป ในการสร้าง Customer Loyalty (ความภักดีของลูกค้า) อีกหนึ่งชิ้นส่วนสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ เราจะต้องทำให้ความสัมพันธ์ของแบรนด์กับลูกค้าแข็งแกร่งขึ้นมาก่อน จุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ ก็คือการสื่อสาร สารที่ใช้ส่งออกไป กลวิธีที่ใช้สื่อ และความยากง่ายแค่ไหนสำหรับลูกค้าที่จะสื่อสารกับแบรนด์ ไม่เพียงแต่ที่เราจะต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าเท่านั้น แต่เราก็ต้องคาดคะเนในมุมมองลูกค้าด้วย “การจะสร้าง Customer Engagement ที่ดีได้เราจึงควรโฟกัสไปที่คุณค่าของลูกค้าก่อนเป็นอันดับแรก และธุรกิจเป็นอันดับที่สอง” Nicole Saunders, manager, community engagement ของ Zendesk กล่าว “มันจะต้องเป็นเหรียญทั้งสองด้านนี้” Customer Engagement Marketing คืออะไร? Customer engagement marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดที่โฟกัสที่การสร้าง Engagement กับลูกค้า นำเสนอในสิ่งที่ตรงประเด็น เฉพาะบุคคล ในช่วงเวลาที่ใช่ในช่องทางที่ลูกค้าต้องการมากที่สุด รวมถึงอีเมลและแพลตฟอรม์โซเชียลมีเดียอย่างเฟสบุคหรือทวิตเตอร์ กล่าวโดยสรุปได้ว่า Customer engagement marketing เป็นการตลาดแบบเรียลไทม์ที่ส่งข้อความที่ใช่ ในช่องทางที่ถูก เสียงที่ตรงประเด็นในเวลาที่เหมาะสมให้กับลูกค้า ซึ่งจะแตกต่างจากกลยุทธ์การตลาดดั้งเดิมแบบ 1-ต่อ-หลายคน อย่างการโฆษณาผ่านโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ ที่บริษัทจะส่งเมสเสจให้กับคนจำนวนมากในครั้งเดียว การตลาดแบบ Customer engagement จะเน้นไปที่ personalization ที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกข้องเกี่ยวกับแบรนด์ โดยโฟกัสที่ความสัมพันธ์ของลูกค้าและแมสเสจแบบ 1-ต่อ-1 แบรนด์ก็สามารถสร้าง Customer Journey ที่มีความหมายกับ Marketing automation campaigns ที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายของเรารู้สึกผูกพันได้ แล้ว Customer Engagement Marketing สำคัญอย่างไร? การตลาดแบบ Customer Engagement จึงสำคัญมากเพราะลูกค้าที่มีความรู้สึกผูกพันจะมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์สูง ใช้จ่ายมากกว่า และมีแนวโน้มจะโปรโมทสินค้าหรือบริการให้แก่เพื่อนและครอบครัว ลูกค้าที่ใจสัมพันธ์กับแบรนด์ยังแปรผันตรงกับความจงรักภักดี และความพึงพอใจของลูกค้ามากกว่าลูกค้าที่ไม่มีความรู้สึกร่วมเลย กลยุทธ์ Customer engagement marketing ที่ดีที่สุดคือการสร้างตัวตนให้อยู่รอบตัวลูกค้าอย่างเป็นธรรมชาติ ให้ต่างจากองค์กรอื่นที่ให้ภาพลักษณ์และความรู้สึกที่ไปคนละทิศคนละทางกันตามแต่ช่องทางโซเชียลมีเดีย สำหรับการตลาดแบบ Digital...

Continue reading

Self Service การบริการลูกค้าที่หลายคนมองข้าม

ต้องมาทำความรู้จักกันก่อนว่า Self Service คืออะไร? Self-service ก็คือ การบริการตนเองนั่นเอง ซึ่งหลาย ๆ คนก็อาจจะกำลังสงสัยว่า Self-service สำคัญกับลูกค้าอย่างไร? เวลามีคนให้บริการมันมักจะดีกว่าการบริการตนเองอยู่แล้ว แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากขึ้นอย่างที่ทุกคนทราบกันดี ทุก ๆ อย่างตอนนี้สามารถทำได้บนช่องทางอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้การบริการลูกค้าแบบเดิม ๆ เช่น การไปเจอพนักงานที่ศูนย์ การคุยโทรศัพท์ หรือการส่งอีเมล ต่าง ๆ ไม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การไปเจอพนักงานที่ศูนย์ยิ่งในช่วงโรคระบาดโควิด-19 นี้เสี่ยงมากที่จะไปเจอผู้คน แล้วไปถึงก็ใช่ว่าจะได้แก้ปัญหาและคำตอบจากพนักงานเสียเวลาไปโดยใช่เหตุ  หรือการโทรศัพท์ ลูกค้าก็ต้องรอว่าพนักงานจะรับหรือไม่รับ แถมบางที่กว่าจะได้คุยกับคนจริง ๆ ก็พาวนในเขาวงกตของ Auto Bot ไม่รู้กี่รอบให้ติดต่อฝ่ายนั้น ฝ่ายนี้ จะดีกว่าไหมถ้าลูกค้าของคุณสามารถค้นหาคำตอบและแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองด้วยระบบ Self-service ลดทั้งปริมาณงานที่ไม่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่ แถมลูกค้ายังได้รับการบริการที่สะดวกและรวดเร็ว จากผลสำรวจของทาง Zendesk พบว่า คนสนใจการ search หรือ Self-service ถึง 41% ซึ่งมากกว่าการแชทพูดคุยด้วยซ้ำ แต่ทางผู้ประกอบการเองกลับเน้นไปที่อีเมลส่วนใหญ่ แต่การรองรับทางด้าน Self Service นั้นกลับอยู่ในระดับที่ต่ำที่สุด ดังนั้น เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมของคนหรือลูกค้าในยุคปัจจุบันที่ไม่ชอบรอ การเพิ่มบริการแบบ Self-service ที่ลูกค้าสามารถค้นหาคำตอบได้เองหรือแก้ปัญหานั้น ๆ ได้ด้วยตัวเองในช่องทางต่าง ๆ ที่พวกเขาสะดวก จึงเป็นส่งที่ตอบโจทย์มากที่สุด ซึ่งทาง Zendesk ก็ได้มีระบบที่ชื่อว่า Zendesk Guide ที่จะช่วยให้การบริการแบบ Self-service สะดวกและง่ายขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีไม่ว่างจะเป็นลูกค้า หรือให้กับบริษัทของเราเอง ซึ่งตัว Zendesk Guide จะมีฟีเจอร์ เช่น Answer Bot ก็คือ เราสามารถจับ Keyword ที่ลูกค้าเราพิมพ์เข้ามา หรือต้องการรู้ แล้วทาง Answer Bot ก็จะหาชุดคำตอบหรือบทความที่เขาต้องการส่งให้ลูกค้า เพื่อที่เวลาลูกค้าจะมาถาม เขาสามารถได้รับคำตอบได้ในทันทีด้วยระบบ...

Continue reading

เกาะติดเทรนด์ Customer Experience 2020 โดย Zendesk กับ ดร. วรัญญู

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ได้จัดสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อ Customer Service from Home แผนปรับ “บริการออนไลน์” ท้าวิกฤตโควิด-19 โดยมีหัวข้อย่อยที่น่าสนใจคือ เกาะติดเทรนด์ Customer Experience 2020 โดย Zendesk ซึ่งเป็นการสรุปรายงานจาก Zendesk Customer Experience Trend 2020 นับได้ว่าเป็นรายงานความเคลื่อนไหวด้าน Customer Experience (CX) ที่มีคนในวงการ CX นิยมติดตามมากที่สุดชิ้นหนึ่งก็ว่าได้  ปีนี้นับได้ว่าวิกฤติโควิด-19 สร้างผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจที่หนักหน่วงที่สุดปีหนึ่งนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ว่าได้ การเกิดโรคระบาดทำให้รัฐบาลของหลายประเทศต้องบังคับใช้มาตรการระยะห่างทางสังคมหรือ Social Distancing ผลก็คือหลายธุรกิจต้องหยุดทำการ พนักงานไม่สามารถเดินทางมาทำงานได้ หรือมาทำงานได้บางส่วน แต่ลูกค้าของเราไม่ได้หยุดต้องการความช่วยเหลือไปด้วย ดังจะเห็นได้จากการที่เราติดต่อขอความช่วยเหลือจากผู้ให้บริการ เช่น ธนาคาร บริษัทบัตรเครดิต  บริษัทประกัน ฯลฯ จะพบว่าการบริการในช่วงล๊อกดาวน์ เราจะได้รับบริการที่ช้าลง รอสายนานมากขึ้น ซึ่งการบริการลูกค้า (Customer Service) ที่มีประสิทธิภาพลดลงอันเนื่องมาจากภาวะไม่ปกติอย่างโควิด-19 นั้นได้ส่งผลกระทบกับประสบการณ์ของลูกค้า (CX) ที่แย่ลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการสำรวจของ Zendesk กับผู้บริหารด้านการขายกว่า 300 คน ผู้บริหารด้านการบริการลูกค้า (Customer Service) กว่า 300 คน บุคลากรด้านการบริการลูกค้ากว่า 1,000 คน และลูกค้าในกลุ่มต่างๆ กว่า 3,000 คน โดยกระจายการสำรวจไปยังกลุ่มธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีก ท่องเที่ยว การเงิน เทคโนโลยี ภาครัฐ การบริการ ฯลฯ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยทำการเทียบวัด (Benchmark) กับลูกค้าของ Zendesk กว่า 45,000 องค์กร ก็ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย...

Continue reading

OmniChannel ช่องทางรอดในธุรกิจยุค New Normal

ทุกคนคงได้ยินกันมากในช่วงนี้กับคำว่า New Normal ซึ่งพูดถึงพฤติกรรมของคนในปัจจุบันที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เฉพาะแค่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ค้าหรือผู้ให้บริการ ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับ New Normal ด้วยเช่นกัน แล้วอะไรหล่ะ ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบนี้ได้ ก่อนอื่นเราต้องมาศึกษาก่อน ว่า New Normal มีอะไรที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิมบ้าง จริงๆแล้วระบบนี้ ไม่ได้มีในแง่มุมเศรษฐกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังมีในเรื่องของการแพร่ระบาดของโรคระบาด โดยที่เรามุ่งเน้นไปที่แบบของเศรษฐกิจเท่านั้น เพราะ ถ้าในเรื่องของการแพร่ระบาดทุกคนคงรู้กันดีอยู่แล้ว จำพวก Social Distancing หรือ การดูแลสุขอนามัยของตัวเอง แล้ว New Normal ในแง่ของเศรษฐกิจล่ะ พฤติกรรมของผู้บริโภคกับผู้ค้าหรือผู้ให้บริการต้องปรับตัวอย่างไร? ผู้บริโภค ถ้าพูดถึงในมุมของผู้บริโภค ซึ่งทุกคนก็น่าจะเคยปฏิบัติหรือทำแบบนี้การอยู่แล้วในช่วงที่ Covid ระบาดหนักในช่วงที่ผ่านมา ก็คือ ทุกคนอยู่แต่ในบ้าน ออกจากบ้านให้น้อยที่สุด ซื้อของผ่านทางออนไลน์ช่องทางต่างๆ หรือในการกินอาหารก็จะสั่งจากบริษัทชั้นนำที่ให้บริการด้าน Delivery มาส่งที่บ้านเพื่อที่จะป้องกันตัวเองมากที่สุด ผู้ค้า หรือ ผู้ให้บริการ อันนี้อาจจะแล้วแต่รูปแบบขององค์กร แต่หลายๆองค์กรก็จะมีการ Work From Home รวมถึงการดูแลลูกค้าแบบออนไลน์มากขึ้น เพื่อลดการเจอกันให้มากที่สุด รวมไปถึงการประชุมหรือระบบการทำงานต่างๆ ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ให้มากที่สุด เช่น มีการประชุมออนไลน์ หรือเป็นการพูดคุยหรือติดต่อภายในองค์กรผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น ซึ่งการที่พฤติกรรมของทั้งผู้บริโภคและผู้ค้าเปลี่ยนมาเป็นระบบออนไลน์มากขึ้น ทำให้ระบบ Omnichannel เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในตอนนี้ หลายๆคนอาจจะยังไม่เคยได้ยินคำนี้ หรือว่าเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมีทำให้คุณรู้จักคำว่า Omnichannel มากขึ้น Omnichannel คือ ช่องทางรวบรวมการสื่อสารจากหลากหลายช่องทางเป็นหนึ่งเดียว เพื่อให้ง่ายและสะดวกมากขึ้นในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป้นช่องทางที่ทุกคนคุ้นเคย เช่น Facebook, LINE, Instagram, WeChat, Whatapps หรือ Email แต่มันยังสามารถรวบรวมช่องทางอื่นเพิ่มได้อีกด้วย เช่น Applications หรือ หน้าเว็บไซด์ต่างๆ ซึ่งช่องทางที่พูดมาทั้งหมดนี้ จะอยู่ในหน้าจอคอมเพียงหน้าจอเดียวเท่านั้น ซึ่งถ้าพูดถึงในมุมผู้บริโภคที่ในตอนนี้กำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อของ มาเป็นออนไลน์กันมากขึ้น และมาจากหลากหลายช่องทางที่พวกเขาสะดวกนั้น ระบบ Omnichannel จึงตอบโจทย์อย่างมากในข้อนี้ และระบบ Omnichannel ไม่ได้เพียงใช้ได้แค่กับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ภายในองค์กรได้อีกด้วย...

Continue reading

เชื่อมทุกช่องทางไร้รอยต่อด้วย Social Messaging add-on

ทราบหรือไม่ กว่า 75% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนต่างมีแอปพลิเคชันสำหรับส่งข้อความ กล่าวได้ว่า Mobile Messaging เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการสื่อสารที่นิยมใช้กันทั่วถึงก็ไม่ผิดนัก ทุกวันนี้เชื่อว่าแม้แต่คุณเองในบางครั้งก็ใช้การส่งข้อความในการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนหรือครอบครัว เช่นเดียวกัน ลูกค้าเองก็มีความคาดหวังว่าจะสามารถต่อบทสนทนาทางธุรกิจแบบที่ทำกับเพื่อนหรือครอบครัวได้ง่ายดายผ่านแอปส่งข้อความอันโปรด เพราะมันเป็นช่องทางที่สะดวก ส่วนตัว และให้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วเทียบกับช่องทางอื่น Social Messaging add-on เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้ลูกค้าได้อย่างง่ายดาย โดยเครื่องมือนี้จะเชื่อมต่อแอปพลิเคชันส่งข้อความยอดนิยมอย่าง Facebook Messenger, WhatsApp, LINE, Wechat และ Twitter DMs เข้ากับ Zendesk Support กับ Zendesk Support Suite ให้คุณเริ่มบทสนทนากับลูกค้าอย่างง่ายดายไร้รอยต่อ Social Messaging add-on ช่วยให้ธุรกิจของคุณดีขึ้นอย่างไร Build meaningful relationships – เข้าถึงลูกค้าด้วยแอปพลิเคชันส่งข้อความที่ลูกค้าพึงใจจะใช้ ไม่ว่าจะเป็น WhatsApp, WeChat, LINE, Facebook Messenger และ Twitter Dms Make it easy for your agents – ช่วยให้การบริหารจัดการผ่านช่องทางต่างๆ เป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะเป็น email, chat, กล่องข้อความตามโซเชียลมีเดีย และ agent workspace Do it all effortlessly – ประสานงานไร้รอยต่ออย่างง่ายดายและรวดเร็วด้วยการเชื่อมช่องทางต่างๆ กับ Zendesk เพิ่มพูน Productivity ในทีมของคุณ สร้าง workflows ให้การทำงานเป็นไปอย่างไร้ข้อติดขัด ฟีเจอร์หลักๆ ของ Social Messaging add-on มีอะไรบ้าง มาดูกัน Live notifications view – อนุญาตให้เจ้าหน้าที่เข้าถึงบทสนทนาจากแอปข้อความต่างๆ แบบเรียลไทม์ ขณะที่ทำงานบริหารจัดการ ticket ไปด้วยพร้อมกัน Auto-responses – กำหนดระบบตอบกลับอัตโนมัติในแต่ละแอปพลิเคชันไม่ว่าจะเป็น WhatsApp,...

Continue reading

Ticketing System ช่วยให้ธุรกิจของคุณดีขึ้นอย่างไร?

เมื่อเกิดวิกฤตที่การทำงานรูปแบบเดิมๆ ถูก Disrupt บริษัทจำนวนมากในหลายภาคธุรกิจได้หันมาลงทุนด้านเทคโนโลยีที่จะตอบโจทย์การทำงานรูปแบบใหม่ หนึ่งในนั้นคือ Ticketing System ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก Ticketing System หรือ ระบบ Ticket คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยรวบรวมคำร้องขอของลูกค้าทั้งหมดที่มาจากหลากหลายช่องทางนำมาจัดเก็บไว้ในที่เดียว พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ว่าลูกค้าจะติดต่อคุณเข้ามาทาง Live Chat, E-mail, Facebook, Messenger, Line@ หรือ Twitter ก็ตาม ข้อความเหล่านั้นจะถูกส่งเข้ามาและถูกเก็บเป็น Ticket ไว้ในระบบหรือหน้าแพลตฟอร์ม หากสรุปให้เห็นภาพก็คงเสมือนระบบรันคิวของธนาคาร ที่ไม่ว่าลูกค้าจะมาจากช่องทางไหน มีปัญหาอะไร ระบบก็จะจัดให้เป็น Ticket เมื่อมีเจ้าหน้าที่คนไหนที่ว่างอยู่ก็จะถูกจัดให้ไปยังช่องทางนั้นได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลารอเจ้าหน้าที่ประจำฝ่ายไหนสักฝ่ายตอบกลับ กล่าวโดยสรุปได้ว่า Ticketing System คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้การสื่อสารและงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงได้มากขึ้นนั่นเอง Ticketing System ดีอย่างไร ทำไมถึงต้องใช้ เรามาดูข้อดีส่วนหนึ่งของระบบนี้กัน 1. ยกระดับการทำงานในองค์กร ระบบ Ticket ทำให้การทำงานภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีระเบียบมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าคำร้องจากลูกค้าจะเข้ามาจากช่องทางไหนก็สามารถรับมือและกระจายงานให้เจ้าหน้าที่ได้อย่างเสมอภาคกัน เจ้าหน้าที่ยังสามารถพิจารณาสถานะของคำร้อง เพื่อจำแนกถึงความสำคัญในการแก้ปัญหา และยังสามารถติดตามผลให้แน่ใจได้อีกด้วย 2. เพิ่มพูนประสิทธิภาพการทำงาน คนเท่าเดิม แต่ทำงานได้เพิ่มขึ้น ด้วยระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การตอบกลับคำร้องเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายดาย เจ้าหน้าที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าด้วยเวลาการตอบกลับที่น้อยลง แต่กลับมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในยุคเศรษฐกิจที่แข่งขันสูงอย่างตอนนี้ 3. ให้ภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพ ภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่ปฏิเสธไม่ได้ในโลกของธุรกิจ การจัดการที่ไม่เป็นระบบจึงพลอยนำพาภาพลักษณ์ของบริษัทให้ดูไม่มีความเป็นมืออาชีพตามไปด้วย ในทางตรงกันข้าม ระบบบริหารจัดการที่ทันสมัยอย่าง Ticketing System ถือเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือ ยิ่งหากเลือกใช้ซอฟต์แวร์ด้านนี้ที่มีประสิทธิภาพด้วยแล้วล่ะก็จะสามารถสร้างความเชื่อถือให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี 4. แข่งขันด้วยความเร็ว ลูกค้าย่อมคาดหวังการตอบกลับที่รวดเร็ว แทนที่จะต้องรอหลายชั่วโมงหรือเป็นวันที่พลอยทำให้เสียอารมณ์ ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ก็พลอยแย่ไปด้วย แต่ระบบ Ticket ทำให้ได้รับการตอบกลับทุกช่องทางเร็วพอกัน ทำให้พนักงานตอบกลับลูกค้าได้รวดเร็วและมากขึ้น แม้พนักงานเท่าเดิม 5. บันทึกบทสนทนาอัตโนมัติ อีกสิ่งที่นำไปสู่ประสบการณ์ที่แย่ของลูกค้าคือการที่ต้องคอยบอกข้อมูลซ้ำๆ เปลี่ยนเจ้าหน้าที่ทีก็ต้องบอกใหม่ที แต่ระบบซอฟต์แวร์ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยบันทึกข้อความเหล่านั้นให้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะจะเกี่ยวข้องกับปัญหาในปัจจุบันหรือไม่ก็ตาม เจ้าหน้าที่จะได้รับข้อมูลและความต้องการของลูกค้า และสามารถเสนอทางออกที่ตรงความต้องการของลูกค้ามากที่สุดได้ 6. เก็บข้อมูลเป็นสถิติ คาดคะแนทุกความเป็นไปได้ ข้อมูลที่ถูกบันทึกทั้งหมดจะถูกนำมาเก็บไว้เป็นสถิติ เจ้าหน้าที่ยังสามารถสอบถามความพึงพอใจของลูกค้าหลังบริการเพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูล ไว้ใช้สำหรับประเมิณการทำงานของฝ่ายซัพพอรต์และถามความเห็นถึงมุมมองของลูกค้าที่มีต่อบริษัทได้อีกด้วย...

Continue reading