คำเตือน 5 ข้อ ทำไมห้ามใช้ฟรีอีเมล คนทำธุรกิจต้องอ่าน

รู้หรือไม่ว่าการใช้ฟรีอีเมลอย่าง gmail, yahoo หรือ hotmail ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้ดูไม่เป็นมืออาชีพเท่านั้น แต่บริษัทของคุณกำลังจะสูญเสียโอกาสในการเป็นที่น่าจดจำต่อผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้น ฟรีอีเมลนั้นไม่ปลอดภัยสำหรับการติดต่อกับลูกค้าของคุณอีกด้วย   ไม่อยากจะบอกว่า ทุกวันนี้ยังแอบเห็นบางบริษัทใช้ gmail แบบฟรีอยู่เลย และมักจะปรากฏอยู่บนเว็บไซต์บริษัท เฟซบุ๊ก นามบัตร หรือช่องทางการติดต่อต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันการสร้างอีเมลเป็นชื่อบริษัทนั้นทำง่ายขึ้นกว่าเดิม แต่ทำไมบางบริษัทถึงยังคงใช้ gmail แบบฟรีอยู่ อาจเป็นเพราะต้องการประหยัดงบประมาณ หรือใช้แบบเดิมก็ดีอยู่แล้วไม่มีปัญหาอะไร อย่างไรก็ตาม อยากให้คุณลองเปิดใจกับคำแนะนำเหล่านี้ หากคุณต้องการให้บริษัทเติบโตอย่างจริงจัง   1. ฟรีอีเมล เอื้อต่อการถูกแฮ็คได้ง่าย เหล่าแฮ็คเกอร์นั้นชื่นชอบฟรีอีเมลมาก ยิ่งเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่อย่าง gmail, hotmail, yahoo ก็ยิ่งถูกเพ่งเล็งได้ง่ายขึ้น ซึ่งจากข้อมูลสถิติเมื่อปี 2015 มีจำนวนบัญชีที่ถูกโจรกรรมทางข้อมูลสูงถึง 272.3 ล้านชื่อผู้ใช้ และในปี 2016 เว็บไซต์ CNN ลงข่าวไว้ว่า บริษัท Yahoo ได้ออกแถลงการณ์ว่าระบบของบริษัทถูกแฮ็ค ส่งผลกระทบต่อข้อมูลผู้ใช้บริการกว่า 500 ล้านบัญชี โดยการแฮ็คครั้งนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2015 แล้ว ซึึ่งข้อมูลที่หลุดออกไปประกอบด้วยชื่อ อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด ค่าแฮชของรหัสผ่าน (เป็นแบบ bcrypt) รวมถึงในบางรายมีข้อมูลคำถามคำตอบสำหรับกู้คืนรหัสผ่านหลุดออกไปด้วย นอกจากนี้จากสถิติเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2016 พบว่า การแฮ็ค (Hacktivism) สูงถึง 17.6% เมื่อเทียบกับอาชญากรรมไซเบอร์ (Cyber Crime) และการสอบแนมทางไซเบอร์ (Cyber Espionage) แฮ็คเกอร์ส่วนใหญ่จะแฮ็คเข้าอีเมลของเราเพื่อทำการส่งสแปม ไวรัส หรือแม้กระทั่งเนื้อหาเข้าข่ายลามกอนาจารไปยังรายชื่อเพื่อนในบัญชีของคุณ ซึ่งนั่นอาจหมายถึงลูกค้าของคุณ หรือผู้ร่วมงานคนอื่นๆ ด้วย น่ากลัวมากจริงๆ   2. ดูไม่โปรเฟสชันแนลเลย เมื่อคุณดำเนินธุรกิจโดยใช้ฟรีอีเมลอยู่ ลูกค้าของคุณอาจกำลังมองว่าบริษัทของคุณเป็นแบบนี้อยู่หรือเปล่า บริษัทของคุณมีงบไม่พอในการสร้างอีเมลของบริษัท หรือสร้างเว็บไซต์ที่มีความเป็นมืออาชีพได้ ในการส่งอีเมลแต่ละครั้ง ดูเหมือนมาจากอีเมลส่วนตัวมากกว่าอีเมลสำหรับธุรกิจ บริษัทของคุณมีการจัดการ หรือมีความเป็นมืออาชีพไม่เพียงพอในการจดชื่อโดเมนบริษัทของคุณ บริษัทของคุณไม่สนใจเรื่องความปลอดภัย   3....

Continue reading