แก้ไขไฟล์งาน Offices ที่แนบจาก Gmail ใน Docs, Sheets, Slides ง่าย ๆ เพียงคลิกเดียว

เพื่อให้ง่ายต่อการเปิด แก้ไข และทำงานร่วมกันบนไฟล์ Microsoft Offices ที่รับส่งใน Gmail ทาง Google Workspace ได้ออกฟีเจอร์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน โดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์ เพื่อนำมาแก้ไข แล้วอัปโหลดขึ้นไปใหม่เพื่อที่จะส่งอีเมล แต่สามารถคลิกเพื่อเปิดแก้ไขไฟล์ใน Google Docs, Sheets, Slides และแนบไฟล์ตอบกลับอีเมลได้เลยทันที  ซึ่งมีตั้งแต่แพ็กเกจ Google Workspace Business Starter, Business Standard, Business Plus, Enterprise Standard, and Enterprise Plus โดยมีฟีเจอร์ที่เพิ่มมา ดังนี้  เมื่อได้รับไฟล์ที่แนบมาจาก Gmail คุณสามารถเปิดไฟล์เพื่อแก้ไขเอกสารข้างในได้ง่าย ๆ เพียงคลิกแค่ครั้งเดียวจากตัวไฟล์ โดยที่ไม่ต้องดาวน์โหลดออกมา และเอกสารในไฟล์ยังคง Format เดิม แม้ว่าจะเป็นไฟล์ของ Microsoft หรืออื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกัน ลดเวลาการแปลงไฟล์  และลดขั้นตอนการดาวน์โหลด  ง่ายต่อการแนบไฟล์เพื่อตอบกลับอีเมลหลังจากที่แก้ไขใน Docs, Sheets, Slides ได้ทันที โดยคลิกที่ File > Email > Reply with This File เป็นฟีเจอร์ใหม่เพื่อให้การทำงานคล่องตัวและรวดเร็วมากขึ้น เนื่องจากคุณไม่ต้องบันทึกงานลงไดร์ฟหรือลงคอมพิวเตอร์ เพื่ออัปโหลดและตอบกลับอีเมล แต่คุณสามารถคลิกเพื่อส่งอีเมลพร้อมทั้งแนบไฟล์ได้เลยทันที  2 ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาใหม่นี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานร่วมกันกับไฟล์นามสกุลอื่น ๆ โดยเฉพาะไฟล์ของ Microsoft Offices ที่มีการรับส่งใน Gmail กันอย่างมาก ซึ่ง Google Workspace เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เพื่อที่จะทำให้เกิดการยืดหยุ่นต่อการทำงานร่วมกันมากที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด  Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจ 02-030-0066...

How to อัพเกรดการบริการลูกค้าด้วย Experience Data

ก่อนอื่นหากใครไม่รู้ว่า Experience Data คืออะไร? คลิกเลย ซึ่งการที่เรามี Experience Data(X-Data) ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถนำข้อมูล X-Data มาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ มันก็อาจจะเสียเปล่า ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จะมาบอกถึงการนำเอา X-Data มาปรับใช้ในธุรกิจเพื่อเป็นการอัพเกรดการบริการของคุณ และสามารถสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าได้ ติดตามตัวชี้วัด และ เปรียบเทียบกับคู่แข่ง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรก็แล้วแต่ ต้องมาจากการวัดผลที่สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นทีมบริการลูกค้าก็มีตัววัดผลที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้าหลายตัว เพื่อดูความพึงพอใจของลูกค้าและนำเอาไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน และนำมาปรับใช้ให้ดีกว่าคู่แข่งได้ ดังนี้ Net Promoter Score(NPS) คะแนนผู้สนับสนุนสุทธิ คือ คะแนนที่จะวัดความภักดีของลูกค้าด้วยการที่ถามว่า คุณจะแนะนำ องค์กรA, สินค้าB หรือ บริการC ให้กับเพื่อนหรือคนรู้จักของคุณหรือไม่ Customer Satisfaction(CSAT) ความพึงพอใจของลูกค้า คือ คะแนนที่จะวัดความพึงพอใจว่า ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสินค้าหรือบริการที่ได้รับในระดับใด Customer Effort Score(CES) คะแนนความพยายามของลูกค้า คือ คะแนนที่จะวัดความสะดวกในการใช้งานไม่ว่าจะด้วย การบริการหรือตัวสินค้าเอง แก้ปัญหาก่อนที่ส่งผลกระทบต่อกำไร หากคุณมีข้อมูล X-Data ของลูกค้า คุณจะสามารถรู้ถึงอารมณ์ของลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่เราจะควบคุมไม่ได้ และจะส่งผลถึงฟีดแบคหรือกำไรต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายหนึ่งได้ซื้อสินค้าหรือบริการของเราไปแล้วเกิดมีปัญหา เราสามารถตรวจสอบ Social Media ได้ทันทีหากมีการกล่าวถึงคุณ เพื่อเป็นการยับยั้งปัญหาก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาด ปรับแต่งกระบวนการทำงาน และฝึกอบรมภายใน เมื่อคุณเก็บข้อมูล X-Data มากขึ้น คุณจะเริ่มเข้าใจ อารมณ์ ความคิด และความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นคุณสามารถนำเอาข้อมูล X-Data มาปรับกระบวนการทำงานบางอย่างขององค์กรให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ พร้อมทั้งเทรนพนักงาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่พบเจอและให้เข้าใจถึงปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น หากมีลูกค้าติดต่อมาหาคุณถามคำถามเดียวกันบ่อย ๆ คุณก็อาจจะเพิ่มตัวเลือกการช่วยเหลือตัวเอง(Self Service) กับคำถามนี้เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาคำตอบด้วยตัวเองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นการช่วยทั้งลูกค้าและตัวพนักงานเองด้วย ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล X-Data ก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่มาช่วยให้การเก็บข้อมูลของคุณง่าย สะดวก และปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่ง Zendesk ก็เป็นหนึ่งในซอฟท์แวร์หรือเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยตอบโจทย์นี้ให้กับคุณได้ และยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมายที่คุณอาจไม่เคยรู้...

Continue reading