Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ความปลอดภัยของ Google Meet

ในช่วงนี้หลายองค์กรกำลังใช้ Google Meet เพื่อการประชุมออนไลน์ อาจจะมีความกังวลอยู่บ้างในเรื่องของการรักษาความปลอดภัย แต่บอกได้เลยว่า Google Meet นั้นขึ้นชื่อในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยและข้อมูลส่วนตัวในระดับสูง ได้รับการรับรองจากมาตรฐานสากลอย่าง ISO/IEC SOC FedRAMP PCI DSS FISC Compliance และ ENS ซึ่งคุณสามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัยและสบายใจได้เลย การประชุมของคุณจะปลอดภัยได้อย่างไร รหัสการประชุม  – รหัสการประชุมแต่ละรหัสมีความยาว 10 อักขระโดยมี 25 อักขระในชุด วิธีนี้จะทำให้การ “คาดเดา” รหัสการประชุมทำได้ยากขึ้น รายละเอียดการประชุม – หากคุณเปลี่ยนรายละเอียดการประชุมในคำเชิญ รายละเอียดจะเปลี่ยนทั้งรหัสเข้าประชุมและ PIN ทางโทรศัพท์ ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งหากผู้ใช้ไม่ได้อยู่ในคำเชิญเข้าร่วมการประชุมอีกต่อไป ซึ่งหมายถึงว่าผู้ใช้คนนั้นจะไม่เห็นรายละเอียดและจะเข้าร่วมการประชุมไม่ได้แล้วนั่นเอง การเข้าร่วมการประชุม – ผู้เข้าร่วมภายนอกจะเข้าร่วมการประชุมโดยตรง ก็ต่อเมื่อได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมในปฏิทิน (Calendar) หรือได้รับคำเชิญโดยผู้เข้าร่วมในโดเมนจากการประชุมของ Google Meet เท่านั้น– ผู้เข้าร่วมภายนอกรายอื่นจะต้องขอเข้าร่วมการประชุม จากนั้นสมาชิกขององค์กรที่จัดการประชุมจะต้องยอมรับคำเชิญนั้น– จำกัดไม่ให้ผู้เข้าร่วมภายนอกเข้าร่วมการประชุมล่วงหน้าเกิน 15 นาทีขึ้นไป – ฟีเจอร์เพิ่มเติมต่างๆ เช่น ผู้สร้างการประชุมจะสามารถควบคุมผู้เข้าร่วมประชุมได้ อย่างการปิดไมค์ หรือนำออกจากการประชุมหากพบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม   เรียกได้ว่า Google Meet มีมาตรฐานในการรับรองความปลอดภัยการใช้งานของคุณในระดับสูงและสากล อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ที่รักษาความปลอดภัยการเข้าร่วมประชุมของบุคคลภายนอกองค์กรอีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้การประชุมในองค์กรของคุณราบรื่นและไม่ต้องกังวลเรื่องความปลอดภัยอีกต่อไป  ที่มา – support.google.com/meet Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจ 02-030-0066...

5 เหตุผล ทำไมธุรกิจต้องมี Sales CRM

หากพูดถึง CRM (Customer Relationship Management) หลายคนอาจนึกไปถึงซอฟตแวร์หรือเครื่องมือสักอย่างที่ช่วยในการบริหารและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ทว่าแม้แต่ CRM เองก็สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าต้องการใช้ CRM กับเนื้องานใด ทีมซัพพอร์ตอาจใช้ CRM ในการจัดการ Tickets หรือคำร้องที่ถูกส่งเข้ามา ฝ่ายการตลาดอาจใช้ CRM ในการวิเคราะห์ผลตอบรับจากแคมเปญออนไลน์ ขณะที่ฝ่ายขายหรือ Sales มักใช้ CRM ในการปรับปรุง Sales Pipeline (ระบบการวางแผนการขาย)  เรามาดู 5 เหตุผลว่าทำไมถึงต้องใช้ Sales CRM กัน 1. ลดความซ้ำซ้อน Sales CRM เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริหาร Touchpoint ของลูกค้าผ่านกระบวนการขาย ซึ่ง Touchpoint ในที่นี้ อาจจะเป็นทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ทางตรงหรือทางอ้อมกับลูกค้าก็เป็นได้ เครื่องมือ Sales CRM จะช่วยติดตามทุกการสื่อสารต่างๆ นำข้อมูลมาจัดเรียงให้โดยอัตโนมัติ ทั้งส่งแจ้งเตือนกำหนดการในการ follow up leads และอีกมากมาย Sales CRM ยังช่วยลดความยุ่งยากในส่วนของการดูแลลูกค้าเป้าหมาย เมื่อไม่ต้องมานั่งเสียเวลาเรื่องการกรอกเก็บข้อมูลพนักงาน ฝ่ายขายก็สามารถโฟกัสไปที่การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น  2. ระบบการขายแบบรวมศูนย์กลาง พนักงานแผนกขายใช้เวลาเป็นวันในการทำทุกอย่างตั้งแต่รีเสิรช์ยันติดต่อเพื่อดีลกับฝ่ายจัดสรรและฝ่ายขายหน้าร้าน ทางเมเนเจอร์เองก็ยุ่งวุ่นวายกับการมอนิเตอร์เพอฟอแมนซ์ บริหารคลังสินค้า ไหนจะต้องให้คำแนะนำทีมอีก เมื่อไม่มีระบบศูนย์รวมที่ช่วยจัดการงานแต่ละงาน อะไรที่อาจถูกมองว่าเล็กน้อยก็กลายเป็นเรื่องยุ่งยากในแผนกที่นำไปสู่ความไม่มีระเบียบแบบแผนได้ Sales CRM จึงมักถูกออกแบบขึ้นมาในรูปแบบของ one-stop solution ให้รองรับกับการทำงานในแต่ละวัน สามารถบูรณะเข้ากับเครื่องมืออื่นที่กำลังใช้งานอยู่ตลอดจนช่องทางสื่อสารต่างๆ มากมาย ให้การจัดการงานทั้งหมดสามารถทำครบจบในแพลตฟอร์มเดียว การมีระบบที่รวมศูนย์กลางนี้ยังช่วยให้องค์กรมีรากฐานที่น่าเชื่อถือ พนักงานฝ่ายขายสามารถหาข้อมูล Lead ได้แม่นยำและง่ายดายยิ่งขึ้น ทั้งข้อมูลเก่าต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตามหรือปิดดีลลูกค้า และยังสามารถเข้าถึงช่องทางสื่อสารอื่นขององค์กรไม่ว่าจะเป็นอีเมล โทรศัพท์ กระทั่งกล่องแชทบนเว็บไซต์ ไม่ต้องยุ่งยากสลับหน้าจอไปมาให้น่าเวียนหัวอีกต่อไป 3. ปรับปรุงข้อมูลลูกค้าให้แม่นยำยิ่งขึ้น หลายครั้งที่การกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อนไปมามากๆ นำไปสู่ความผิดพลาดได้ Sales CRM ช่วยลดข้อผิดพลาดเหล้านั้นด้วยระบบที่บันทึกทุก action ของพนักงานแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยหรือส่งอีเมลก็บันทึกไว้ได้หมด โดยเฉพาะถ้าใช้ Zendesk...

Continue reading