How call center get our number

เผย 7 ช่องทางสำรวจแก๊งมิจฉาชีพอย่าง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน? พร้อมแนวทางป้องกัน

คุณเป็นหนึ่งคนที่โดนแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรกวนใจใช่หรือไม่? แล้วคุณเคยสงสัยบ้างไหมว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์เอาเบอร์โทรของคุณมาจากที่ไหน? นี่เป็นคำถามที่หลายคนก็ต่างตั้งข้อสงสัยอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวเมื่อแก๊งต้มตุ๋นที่มาในรูปแบบของการโทรขอข้อมูลกลับมาระบาดอีกครั้งในปี 2565 บ้างก็อ้างว่าคุณมีพัสดุที่ยังไม่ได้รับ บ้างก็อ้างว่าคุณมียอดบัตรเครดิตที่ยังไม่ชำระ หรือแม้กระทั่งว่ามีการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยถูก ซึ่งข้ออ้างเหล่านี้ได้สร้างความรำคาญใจ สร้างปัญหาและสร้างมูลค่าความเสียหายอย่างมหาศาล ส่งผลให้ยอดผู้เสียหายสูงถึง 270% เมื่อเทียบกับปี 2564 แต่ทว่าการหลอกลวงแบบแก๊งคอลเซ็นเตอร์นั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการโจรกรรมข้อมูลของมิจฉาชีพเท่านั้น ไม่ใช่แค่เบอร์โทรศัพท์ที่แก๊งมิจฉาชีพนี้ต้องการ แต่ยังรวมถึงข้อมูลส่วนตัวอีกมากมาย เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน และเลขบัตรเครดิต ที่ซึ่งการโทรไปหลอกนั้นจะสามารถเป็นประตูเปิดทางให้แก๊งมิจฉาชีพล้วงข้อมูลเหล่านี้ไปได้  ดังนั้นเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณ คุณจึงควรกลับไปแก้ไขที่ต้นตอ ลองสำรวจว่าคุณเคยเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่ไหนบ้าง แล้วแก๊งคอลเซ็นเตอร์ได้ข้อมูลของคุณมาอย่างไร พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีปกป้องข้อมูลไม่ให้รั่วไหลไปกับ Demeter ICT 7 ข้อสำรวจแก๊ง Call Center เอาเบอร์โทรศัพท์ของคุณมาจากไหน? 1. เอามาจากเว็บไซต์สมัครงาน เว็บสมัครงานถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นดีของแก๊งคอลเซ็นเตอร์เลยก็ว่าได้ เพราะหลาย ๆ คนได้ลงข้อมูลส่วนตัวไว้ในโปรไฟล์ก็ดี บน Resume ก็ดี โดยที่จะใช้ข้อมูลนั้นในการสมัครงานและหวังว่านั่นจะเป็นช่องทางที่คุณจะได้รับการติดต่อกลับนั่นเอง แต่ว่าคุณเองก็คงลืมเอะใจไปว่าชื่อ นามสกุล เบอร์โทร อีเมล และที่อยู่ของคุณก็ต่างเป็นที่หมายปองของแก๊งมิจฉาชีพอย่างเช่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ หรือแม้กระทั่งแก๊งโทรขายตรงหรือโทรขายฝันก็รวมอยู่ในเว็บไซต์รับสมัครงานกันไม่น้อยเลยทีเดียว  2. เอามาจาก Social Media ส่วนตัว Social Media ช่องทางยอดฮิตอีกช่องทางหนึ่งที่คุณอาจจะเปิดเผยข้อมูลโดยไม่รู้ตัวว่ามิจฉาชีพก็สามารถนำข้อมูลจากช่องทางนี้ไปใช้ได้เช่นกัน ลองกลับไปเช็คที่โปรไฟล์ของคุณดูว่าคุณได้ใส่เบอร์โทรหรืออีเมลไว้หรือไม่ เพราะจริง ๆ แล้วแค่มีข้อมูล 2 อย่างนี้ แก๊งมิจฉาชีพก็สามารถเอามาทำอะไรได้หลายอย่าง เช่น การโทรหลอกเอาข้อมูลหรือที่หลายคนเรียกว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และการล้วงข้อมูลทางอีเมลแบบ Phishing หากใครที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่บนโปรโฟล์ ก็แนะนำว่าอย่าใส่จะดีกว่า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, YouTube หรือ TikTok ก็ควรเก็บข้อมูลส่วนตัวไว้เป็นความลับ 3. เอามาจากการคลิกลิงก์ คุณเคยเจอบ้างไหมลิงก์แปลก ๆ ที่ถูกส่งมาในข้อความโดยมีคำพูดที่เย้ายวนใจราวกับว่าเขาอ่านความคิดคุณออก ซึ่งยากที่จะหักห้ามใจไม่กดเข้าไปเหลือเกิน หารู้ไม่ว่าเพียงแค่คุณคลิกเข้าไปแค่ครั้งเดียวแก๊งต้มตุ๋นก็สามารถล้วงความลับของคุณได้แล้วง่าย ๆ หรืออีกรูปแบบหนึ่งคือการตอบคอมเมนต์โดยการแนบลิงก์ลงบน Social Media ซึ่งหากคุณเผลอคลิกเข้าไป ลิงก์นั้นสามารถนำคุณไปยังอีกเว็บไซต์หนึ่งที่ดูไม่น่าเชื่อถือได้ทันที  4. เอามาจากการกรอกแบบฟอร์ม หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ให้ความสนใจกับกิจกรรมออนไลน์เป็นพิเศษ คุณคือหนึ่งในเป้าหมายของแก๊งนี้ ซึ่งการหลอกลวงเช่นนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่อย่างไรก็ตามป้องกันไว้ก่อนดีกว่าตามแก้ทีหลัง โดยการทำงานของแก๊งนี้จะมาในรูปแบบของการประชาสัมพันธ์โปรโมชันต่าง ๆ...

Continue reading