Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

รู้จัก 4 วิธี เก็บข้อมูลลูกค้าแบบมืออาชีพ ขับเคลื่อนการตลาดให้ปัง!

ทุกวันนี้ ‘ข้อมูล’ เรียกได้ว่าเป็นขุมสมบัติอันล้ำค่าสำหรับการทำธุรกิจ เพราะธุรกิจในทุกวันนี้แทบจะต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ ถ้าหากธุรกิจของคุณไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ นั่นอาจทำให้ธุรกิจของคุณสูญเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์หรือเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ธุรกิจหยุดชะงักจนไปถึงการปิดตัวลงไปเลยก็ได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลในปัจจุบันก็มีหลากหลายแบบหลากหลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักการเก็บข้อมูลว่ามีกี่วิธี? อะไรบ้าง? พร้อมยกตัวอย่างการเก็บข้อมูลแต่ละวิธีให้ทุกท่านเห็นภาพกันแบบชัด ๆ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน! วิธีของการเก็บข้อมูลในปัจจุบันมี 4 ประเภทดังนี้ ภาพจาก Bloomreach Zero-Party Data (ข้อมูลศูนย์กลาง) เป็นการเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าที่เต็มใจมอบให้กับแบรนด์ผ่านการทำแบบสำรวจ แบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ การตอบคำถามจากการเล่นเกมที่ธุรกิจหรือแบรนด์จัดขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลลูกค้ามา การตั้งค่าความยินยอมก่อนที่จะสมัครเป็นสมาชิกบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชันหรือโปรแกรมสะสมคะแนนต่าง ๆ ตัวอย่าง Zero-Party Data ลูกค้าบอกไซส์และสไตล์เสื้อผ้าที่ต้องการตอนสมัครสมาชิกเพื่อสะสมคะแนนของร้านขายเสื้อผ้า ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องโปรดในช่องทางสตรีมมิ่ง การเลือกประเภทอาหาร “มังสวิรัติ” ในแอปพลิเคชันส่งอาหาร ข้อดีของ Zero-Party Data เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความแม่นยำ เนื่องจากลูกค้าเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรง จึงสะท้อนถึงความชอบและความสนใจที่แท้จริงของลูกค้าได้ ความปลอดภัยในการใช้งานสูง เพราะลูกค้ายินยอมและให้สิทธิ์ในการรวบรวมข้อมูลกับแบรนด์อย่างชัดเจน ข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจะช่วยให้คุณสามารถสร้างความไว้วางใจและความภักดีกับลูกค้าได้ง่ายและดียิ่งขึ้น ข้อมูลเชิงลึกจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ Personalized กับลูกค้า เป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมให้ดีขึ้น และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดให้กับแบรนด์ของคุณ ข้อเสียของ Zero-Party Data เป็นข้อมูลที่ต้องอาศัยการให้ข้อมูลจากลูกค้า ซึ่งบางครั้งอาจจะได้มาไม่ครบถ้วน แบรนด์ต้องใช้ความพยายามและเวลาในการรวบรวมข้อมูล ต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าแบ่งปันข้อมูลให้กับแบรนด์ให้ได้ คลิก เพื่ออ่านบทความทำความรู้จัก Zero-Party Data แบบเจาะลึก ได้ที่นี่  First-Party Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) เป็นการเก็บข้อมูลที่แบรนด์ได้รวบรวมมาจากลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีด้วยตัวเอง เพื่อให้แบรนด์สามารถระบุตัวตน พฤติกรรม ความต้องการ และประวัติของลูกค้า ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละคนได้ ตัวอย่าง First-Party Data ประวัติการซื้อสินค้า ยอดชำระ และวันที่ลูกค้าซื้อสินค้าบนช่องทางร้านค้าออนไลน์ พฤติกรรมการเข้าดูเว็บไซต์ ระยะเวลาที่อยู่ในหน้าจอของลูกค้าบนเว็บไซต์บริษัทจองตั๋วเครื่องบิน จำนวนครั้งที่ลูกค้าเปิดแอปฟิตเนสและการคลิกวิธีที่ต้องการออกกำลังกาย ข้อดีของ First-Party Data ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์และมีรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า แบรนด์เป็นเจ้าของข้อมูลนี้โดยตรง สามารถควบคุมวิธีการใช้ข้อมูลได้ตามความต้องการ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการได้รับข้อมูลเหล่านี้มา สามารถนำข้อมูลมาสร้างการตลาดที่เฉพาะตัว แบ่งกลุ่มลูกค้า เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานได้ ข้อเสียของ First-Party Data ต้องให้ความสำคัญกับมาตรการในการรวบรวมข้อมูลจะต้องมีความโปร่งใสและเป็นไปตามกฎระเบียบ แบรนด์ต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน...

Continue reading