Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

ระบบ Help Desk คืออะไร? มาทำความรู้จักกัน

การบริการลูกค้าส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่ Help desk แต่ Help Desk คืออะไร? ทำงานอย่างไร? และบริษัทจะได้รับประโยชน์อย่างไร? เมื่อใช้ Help Desk หากจะให้แปลคำว่า Help Desk ออกมาเป็นภาษาไทยแบบตรง ๆ ก็คงจะหมายถึง “โต๊ะช่วยเหลือ” แต่ความจริงแล้ว Help Desk ไม่ใช่โต๊ะทำงานจริง ๆ หากแต่เป็นซอฟต์แวร์ หรือชุดของเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดตาม การจัดลำดับความสำคัญ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า และการเก็บบันทึกข้อมูลการติดต่อของลูกค้าที่เข้ามาจากช่องทางการให้บริการต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันการมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อผ่านอีเมลและโทรศัพท์อาจไม่เพียงพอ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลและสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ลูกค้าใช้ ฉะนั้นระบบ Help Desk จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการช่องทางการติดต่อของลูกค้าที่มีอยู่มากมายหลายช่องทางเข้าไว้ด้วยกันในหน้าแพลตฟอร์มเดียว เพื่อช่วยให้การติดตามปัญหาหรือการแก้ไขปัญหาของลูกค้าเป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง ลักษณะทั่วไปของระบบ Help desk จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. ระบบบริหารจัดการ Ticket (Ticket Management) 2. ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automations/Triggers) 3. ระบบการรายงานผล (Analytics/Reporting) ซอฟต์แวร์ Help Desk ทำงานอย่างไร? เมื่อลูกค้า (User) ติดต่อคุณเข้ามาผ่านช่องทางให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล โทรศัพท์ ไลฟ์แชท เว็บฟอร์ม รวมถึงสื่อโซเชียลมีเดีย ทุก ๆ การติดต่อจะถูกรวบรวมไปยัง Help Desk และถูกเปิดเป็น Support Ticket ตามลำดับหมายเลขการให้บริการหรือตามความสำคัญของ ticket นั้น ๆ โดย help desk จะทำการแจกจ่าย ticket ไปยังเจ้าหน้าที่ (Agent) ในฝ่ายต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามข้อมูลที่ได้ตั้งค่าไว้ในระบบ ซึ่ง ticket เหล่านั้นจะมีข้อมูลของลูกค้า...

Continue reading

ระบบ Automations VS. Triggers – แตกต่างกันอย่างไร?

หากเราพูดถึงฟังก์ชัน 2 ฟังก์ชันที่มีอยู่ใน Zendesk Support อันได้แก่ Automations และ Triggers ว่าทั้งสองฟังก์ชันนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร? และควรใช้เมื่อไหร่? เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะขอจำแนกความแตกต่างในการทำงานหลัก ๆ ออกเป็น 2 ด้าน อันได้แก่ Automations ทำงานเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลา (Time based) Triggers ทำงานเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำที่เกิด (Action based) 1. Automations Automations ภายใน Zendesk Support นั้นใช้พื้นฐานของเวลาเป็นหลัก คุณสามารถใช้มันเมื่อคุณต้องการให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลาที่คุณได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว automations ค่อยทำงาน สำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Automations แบบง่าย ๆ แนะนำให้คุณทำการระบุข้อกำหนดด้านการบริการขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาโดยเฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณต้องการให้ระบบทำการส่งแบบสำรวจความพึงพอใจไปให้ลูกค้าเมื่อครบ 24 ช.ม. ภายหลังจากการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว และ Ticket นั้น ๆ ได้ถูก Solved แล้ว หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่รอการตอบกลับจากลูกค้านานเกิน 3 วัน ให้ระบบ Automations ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เป็นต้น วิธีการตั้งค่าระบบ Automations ระบบ Automation ใน Zendesk Support จะมาด้วยการตั้งค่าเริ่มต้น หากต้องการปรับแต่งการตั้งค่าให้คลิกที่ไอคอน Admin ที่แถบด้านข้าง > เลื่อนไปที่หัวข้อ Business rules > คลิกที่ Automations เพื่อดูการตั้งค่า  2. Triggers Triggers ภายใน Zendesk Support นั้นใช้พื้นฐานของการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นหลัก คุณสามารถใช้มันเมื่อคุณต้องการให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้มีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว triggers ค่อยทำงาน สำหรับการออกแบบ...

Continue reading

ภาพรวมฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ Zendesk Chat

Zendesk Chat คือ ระบบไลฟ์แชทแพลตฟอร์ม (Live Chat platform) หรือพูดง่าย ๆ ก็คือกล่องแชทบนหน้าเว็บไซต์ที่จะทำให้คุณและผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ (Visitors) สามารถสื่อสารกันได้ในแบบเรียลไทม์ (real-time) อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของลูกค้าทั้งหมดบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ โดยในอดีตจะรู้จักกันดีในชื่อ “Zopim” และต่อมาได้ถูก Zendesk พัฒนาขึ้นเป็น Zendesk Chat ในที่สุด ซึ่ง Zendesk Chat จะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้เป็น Leads ด้วยการปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมผ่านทางไลฟ์แชทบนหน้าเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นช่องทางในการซัพพอร์ตลูกค้าบนหน้าเว็บไซต์ผ่านฟีเจอร์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้ 1. ทริกเกอร์ (Triggers) กลไกส่งข้อความอัตโนมัติไปยังเป้าหมายที่ตั้งค่าไว้โดยอิงจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า ช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสซื้อสำเร็จได้ง่ายขึ้นจากการส่งข้อความผ่านทางแชทอัตโนมัติ Zendesk Chat triggers 2. แบบฟอร์มก่อนการแชทและแบบฟอร์มออฟไลน์ (Pre-chat forms) การใช้แบบฟอร์มก่อนการแชทเพื่อสอบถามข้อมูลการติดต่อจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ก่อนเริ่มต้นการแชทกับเอเจนต์ จะช่วยให้คุณสามารถแยกประเภทการติดต่อและจัดลำดับความสำคัญของคำขอรับการสนับสนุนของลูกค้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าเป็นแบบฟอร์มออฟไลน์เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะสามารถติดต่อคุณได้แม้นอกเวลาทำการ และที่สำคัญ Pre-chat forms สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของคุณ Zendesk Chat pre-chat forms 3. รายชื่อผู้เยี่ยมชม (Visitor list) สามารถติดตามและตรวจสอบผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์รวมถึงหน้าเว็บที่พวกเขากำลังเรียกดูอยู่ วิธีนี้จะช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ได้เฉพาะเจาะจงและให้การบริการได้ตรงจุดโดยการพุ่งเป้าไปยังผู้ใช้แต่ละรายและเสนอความช่วยเหลือได้เมื่อพวกเขาต้องการ สามารถเลือกให้โชว์ได้ 2 แบบ 3.1 List View Zendesk Chat visitor list view 3.2 Visual View Zendesk Chat visitor visual view นอกจากนี้ยังสามารถเลือกดูข้อมูลตามกลุ่มต่าง ๆ ได้ Zendesk Chat visitor group 4. การให้คะแนนการแชท (Chat ratings) ลูกค้าสามารถให้คะแนนความพึงพอใจในการติดต่อผ่านช่องทางการแชท ทำให้คุณสามารถรวบรวมคะแนนความคิดเห็นและนำไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปได้ Zendesk Chat ratings 5. การส่งไฟล์...

Continue reading

UX / UI คืออะไร?

UX = ประสบการณ์ของผู้ใช้UI = ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้องค์ประกอบทั้งสองนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งแม้จะมีความคล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ แต่บทบาทของ UX / UI นั้นมีความแตกต่างกันและมีเส้นกั้นของความเป็นเหตุเป็นผลกันอยู่ ทำให้หลายคนสงสัยและเกิดความเข้าใจผิดกันอยู่ว่า UX / UI แท้จริงแล้วคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นในบทความนี้ Demeter ICT จะขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับ UX / UI มากยิ่งขึ้น UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในด้านความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือระบบต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ความสนุกสนาน จนเกิดเป็นความพึงพอใจสูงสุดหรือเกิดประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานนั่นเอง ฉะนั้นในอีกแง่นึง User experience หรือ UX มีการพัฒนามาจากผลของการปรับปรุง UI เมื่อมีบางอย่างให้ผู้ใช้ได้โต้ตอบกับประสบการณ์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นแง่บวก ลบ หรือเป็นกลาง สามารถเปลี่ยนวิธีที่ผู้ใช้รู้สึกเกี่ยวกับการโต้ตอบเหล่านั้น UX จึงเป็นจุดที่ต้องพยายามศึกษาและทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร แบบไหน พอใจไหม กลุ่มเป้าหมายมีใครบ้าง มีอะไรน่าสนใจบ้าง อย่างละเอียด เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานมากที่สุด ฉะนั้นอาจเปรียบได้ว่า UX คือ “ศาสตร์แห่งความพยายามเข้าใจผู้อื่นเพื่อประโยชน์อันสูงสุด” UI หรือ User Interface คือ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน หรือ ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน กล่าวคือ ส่วนที่ให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของหน้าตา การออกแบบ และการดีไซน์ ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอ แพลตฟอร์ม เมนู ฟอร์มต่าง ๆ การวางภาพ ขนาดตัวอักษร ปุ่ม แป้นพิมพ์ เสียง หรือแม้แต่แสงไฟ เป็นต้น สิ่งสำคัญสำหรับ UI ก็คือดีไซน์ที่ดูสะอาด สวยงาม ดึงดูดใจ อีกทั้งต้องเข้าใจง่าย ใช้งานง่าย มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังต้องมีฟังก์ชันที่น่าสนใจ มีภาษาภาพที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกอยากจะใช้งาน และที่สำคัญจะต้องมีความเป็นเอกลักษณ์...

Continue reading

มาดูกันว่า Harris Farm Markets ใช้ Zendesk ในการรับฟังและตอบกลับลูกค้าอย่างไร?

Customers /Year 11 Million Number of Full Time Agents 7 Employees 1,000 Customer Service Channels 4 Products Used Harris Farm Markets เป็นหนึ่งในเครือข่ายร้านขายของชำอิสระที่เติบโตเร็วที่สุดของออสเตรเลีย ด้วยร้านค้า 25 ร้าน และลูกค้า 11 ล้านคนในแต่ละปี รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีกออนไลน์ที่เฟื่องฟู ทำให้บริษัทกำลังมองหาอนาคตและหัวใจของการเติบโตของบริษัท และสิ่งนั้นก็คือ “การได้รับความรักจากลูกค้า” Harris Farm Markets เป็นธุรกิจที่ดำเนินการโดยครอบครัว Harris ซึ่งเริ่มกิจการขึ้นในปี 1971 เมื่อ David และ Cathy Harris เปิดร้านแรกในวิลาวูดรัฐนิวเซาท์เวลส์ จนถึงปัจจุบันก็ยังคงดำเนินการอยู่โดยทั้งคู่ เป็นเวลามากกว่า 40 ปีที่ Harris Farm Markets ได้ส่งมอบผลผลิตสดใหม่ให้กับครอบครัวชาวออสเตรเลียด้วยคุณค่าและความเชื่อหลัก ๆ ที่ว่า ครอบครัวชาวออสเตรเลียควรมีผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่และดีที่สุด สำหรับพวกเขา Harris Farm Markets เป็นบ้านของพนักงานมากกว่า 1,000 คน ที่ตั้งใจทำงานเพื่อส่งมอบผลผลิตที่ดีให้กับลูกค้า 11 ล้านคน ที่เดินผ่านประตูเข้ามาในแต่ละปี ด้วยความมุ่งมั่นที่จะทำให้ลูกค้าชาวออสเตรเลียสามารถเลี้ยงครอบครัวด้วยอาหารรสชาติดี สดใหม่ และสะอาด คือสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าเข้ามาอุดหนุนเลือกซื้อสินค้าจนถึงทุกวันนี้ “เราต้องการรับฟังลูกค้าเมื่อลูกค้าพูดกับเรา และเราเลือกใช้ Zendesk Support เพื่อการเป็นบริษัทที่ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นหลักและดำเนินการในระดับท้องถิ่น ไม่ใช่แค่ผ่านสำนักงานใหญ่ของเราเพียงที่เดียว และเมื่อเราทบทวนกลยุทธ์ในระยะยาวของเรา เราตัดสินใจว่าเราต้องการได้รับความรักจากลูกค้าของเรา ดังนั้นประสบการณ์ของลูกค้าและการบริการจึงกลายเป็นปัจจัยผลักดันสำหรับธุรกิจของเรา และเพื่อที่จะได้รับความรักนั้น เราต้องเรียนรู้ถึงการปฏิสัมพันธ์ที่จะนำไปสู่ความสุขของลูกค้า” – James Kerridge (online operations manager) กล่าว Kerridge อธิบายต่อว่า Harris Farm Markets มีช่องทางการให้บริการลูกค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งช่องทางเหล่านั้นเดินทางไปยังสถานที่ที่แตกต่างกัน นอกเหนือจากร้านค้าหลายแห่งในนิวเซาธ์เวลส์แล้ว บริษัทยังมีศูนย์การติดต่อซึ่งตั้งอยู่ในสำนักงานใหญ่ซึ่งใช้ทั้งการโทรติดต่อ อีเมล...

Continue reading

เริ่มต้นใช้งาน Zendesk (คู่มือ) : ประเภทผู้ใช้งานระบบ

ในการใช้งานระบบ Zendesk เราสามารถแบ่งประเภทผู้ใช้งานตามสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลได้ตามความต้องการขององค์กร โดยมีผู้ดูแลระบบ (Admin) ที่ทำหน้าที่และถือสิทธิ์ในการควบคุมและตั้งค่าระบบตามการใช้งานขององค์กร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ (Agent) สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานที่องค์ได้กำหนดไว้ โดยมีลูกค้า (End-user) หรือผู้ติดต่อทำการส่ง Ticket เข้ามาผ่านตามช่องทางต่าง ๆ ขององค์กร โดยสามารถแบ่งประเภทผู้ใช้งานระบบ Zendesk อย่างละเอียดได้ดังนี้ 1. Agent (หรือ Assignee)คือ เจ้าหน้าที่ หรือ ผู้ให้บริการ ที่ต้องรับผิดชอบต่อ Ticket ที่ถูกส่งเข้ามาจากลูกค้า หรือ ผู้ติดต่อโดยระบบ Zendesk ได้เรียกผู้ใช้งานประเภทนี้ว่า “Assignee” 2. Light Agentคือ ผู้ให้บริการอีกประเภทที่มีการทำงานคล้ายกับ Agent แต่ Light Agent จะไม่สามารถเป็นเจ้าของ Ticket ได้ นอกจากนี้ Light Agent ยังไม่สามารถตอบกลับหาลูกค้าได้โดยตรง ทำได้เพียงพูดคุยกับคนในองค์กรเพื่อติดตามงานและช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เท่านั้น 3. Adminคือ ผู้ดูแลระบบ หรือ หัวหน้างาน มีรูปแบบการทำงานคล้ายกับ Agent แต่ admin จะมีสิทธิ์เข้าถึงการตั้งค่าของระบบ เช่น เพิ่มลดจำนวน Agent และสร้างกลุ่มหรือมุมมองการทำงานต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกับการทำงานขององค์กร รวมทั้งสร้าง report เพื่อดูรายงานผลการทำงานของ Agent และภาพรวมการทำงานของระบบ 4. End-User (หรือ Requester)คือ ลูกค้าหรือผู้ส่งคำขอรับบริการเข้ามาให้ Agent ช่วยแก้ปัญหาให้ในรูปแบบของ Ticket ตามช่องทางต่าง ๆ ที่องค์กรเปิดรับ โดยระบบ Zendesk ได้เรียกผูัใช้งานประเภทนี้ว่า “Requester” สนใจทดลองใช้ Zendesk ฟรี หรือสอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk...

Continue reading

เป็น Call Center บริการอย่างไร? ให้ได้ใจลูกค้า

รอยยิ้มอย่าอายที่จะยิ้มออกมาจริง ๆ เวลาที่คุณพูดคุยกับลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ เพราะถึงแม้ว่าลูกค้าจะไม่สามารถเห็นได้ว่าคุณยิ้มอยู่ก็ตาม แต่รอยยิ้มนั้นสามารถส่งผ่านทางโทรศัพท์ได้ในรูปแบบของอารมณ์และน้ำเสียง การยิ้มไปด้วยขณะที่คุณพูดคุยกับลูกค้าจะทำให้น้ำเสียงของคุณดูเป็นมิตรและอบอุ่น แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรยิ้มให้กับลูกค้าที่กำลังโกรธหรือหงุดหงิด แต่ให้ยิ้มในเวลาที่เหมาะสมก็เพียงพอ เป็นกระจกสะท้อนลูกค้าคิดในมุมมองของลูกค้า หากคุณกำลังประสบปัญหาเดียวกันกับลูกค้า สิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดคืออะไร ขณะเดียวกันก็พยายามจับอารมณ์และน้ำเสียงของลูกค้าไปด้วยว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร เพื่อสะท้อนออกมาเป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อย่างตรงใจ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ เมื่อลูกค้ากำลังอารมณ์เสียหรือหงุดหงิด ลูกค้ามักจะไม่เปิดรับสิ่งที่คุณพูดสักเท่าไหร่ถึงแม้ว่าคุณจะตอบในคำตอบที่ถูกต้องก็ตาม ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ การตั้งใจฟังในสิ่งที่ลูกค้าต้องการพูดให้จบก่อน วิธีนี้จะช่วยทำให้ลูกค้าสงบลงและมีแนวโน้มที่จะเปิดกว้างและรับฟังวิธีแก้ปัญหาที่คุณเสนอมากยิ่งขึ้น รับทราบบอกลูกค้าว่าคุณเข้าใจปัญหาและเหตุผลในการโทรเข้ามาของลูกค้า และตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าได้รับฟังสิ่งที่คุณพูด ให้เวลากับลูกค้าเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ระบายถึงปัญหาต่าง ๆ ถึงแม้ว่าคุณจะสามารถเข้าใจปัญหาเหล่านั้นได้ในทันทีก็ตาม เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักต้องการอธิบายหรือแสดงความรู้สึกในแบบของตนเองให้เสร็จก่อนที่จะพร้อมเปิดรับการดำเนินการในขั้นต่อไป สรุปมีการทบทวนซ้ำอีกครั้งถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ลูกค้าต้องการให้คุณซัพพอร์ต สิ่งนี้จะช่วยแสดงให้ลูกค้าเห็นว่าคุณเข้าใจในปัญหาของพวกเขาจริง ๆ แจ้งเสมอเมื่อต้องการพักสาย ก่อนที่คุณจะพักสายของลูกค้า คุณควรแจ้งลูกค้าและควรได้รับการตกลงยินยอมเสียก่อน นอกจากนี้ไม่ควรปล่อยให้ลูกค้ารอนานเกิน 2 นาที โดยไม่มีการตอบกลับถึงแม้ว่าคุณจะต้องใช้เวลามากกว่านั้นก็ตาม แต่หากคุณรู้ว่าการแก้ปัญหาจะต้องใช้เวลาในการพักสายนานพอสมควร คุณควรเสนอให้โทรกลับหากลูกค้าต้องการแทน สนใจทดลองใช้ Zendesk ฟรี หรือสอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทรเลย!  02-675-9371  095-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณพิม)  support@dmit.co.th Official LINE...

ถึงเวลาแล้วหรือยัง? สำหรับการบริการลูกค้าแบบ omnichannel

Omnichannel เป็นคำศัพท์ใหม่ในอุตสาหกรรมการบริการลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจให้ความสนใจที่จะทำอะไรสักอย่างกับกระแสการบริการในรูปแแบบใหม่นี้ หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ omnichannel solution คือ การรวมช่องทางการบริการลูกค้าทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเก็บรวบรวมและรักษาบทสนทนาทั้งหมดของลูกค้าเอาไว้ ซึ่งช่วยให้ทีม customer service สามารถเข้าถึงข้อมูลอ้างอิงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ลูกค้าเป็นใคร? เคยติดต่อเข้ามาผ่านช่องทางใด? เคยได้มีการสนทนาอะไรกับเจ้าหน้าที่คนไหน? และเคยได้ซื้อผลิตภัณฑ์ใดบ้าง? เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการจบปัญหาต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นจากการแยกช่องทางการบริการลูกค้าหลายช่องทางออกจากกันโดยไม่มีจุดเชื่อมโยงกันอย่างสิ้นเชิง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาที่ธุรกิจควรปรับเปลี่ยนการบริการลูกค้าแบบเดิมไปสู่การบริการลูกค้าแบบทุกช่องทาง (omnichannel customer service) หากคุณกำลังต้องการคำตอบสำหรับคำถามนี้อยู่ ลองอ่านและพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้: เจ้าหน้าที่หนึ่งคนรับงานหนักเกินไป ปริมาณ ticket เพิ่มขึ้นจนเป็นเหตุให้จำนวน ticket ไม่สัมพันธ์กับจำนวนเจ้าหน้าที่หรือไม่? เจ้าหน้าที่ของคุณรู้สึกทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเครียดหรือไม่? ไม่ว่าพนักงานของคุณจะมีความสามารถมากแค่ไหน แต่เมื่อต้องเจอกับปริมาณ อีเมล โทรศัพท์ และคำถามที่เข้ามาจากช่องทางต่าง ๆ มากเกินไปจนรู้สึกรับมือไม่ไหว จัดการได้ไม่ทันใจลูกค้า อาจทำให้เจ้าหน้าที่รู้สึกเครียดเกินไป เพราะในโลกของการบริการลูกค้า ไม่มีอะไรที่จะเครียดไปกว่าจำนวน ticket ค้างที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากขาดทรัพยากรเข้ามาช่วยแบ่งเบางาน ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของคุณไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสื่อสารหรือทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์ได้ ถือเป็นการขาดประสิทธิภาพในการซัพพอร์ตลูกค้าขั้นพื้นฐานที่จะส่งผลกระทบถึงค่า CSAT และ ASAT ได้ การบริการไม่สอดคล้องกันในทุกช่องทาง หากทีมของคุณให้การซัพพอร์ตลูกค้าข้ามช่องทางโดยไม่สอดคล้องกัน หากจะให้ยกตัวอย่างเคสง่าย ๆ คงหนีไม่พ้นการให้ลูกค้าต้องเล่าซ้ำ ๆ ถึงปัญหาของพวกเขาเมื่อมีการโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่ท่านอื่น หรือ วันนี้ลูกค้าโทรหาคุณโดยที่คุณไม่เคยรู้เลยว่าลูกค้าคนเดียวกันนี้เคยส่งอีเมลมาหาคุณแล้ว เป็นต้น การทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสนว่าช่องทางไหนบ้างที่สามารถไว้วางใจได้อาจส่งผลกระทบถึงความไม่ไว้วางใจในบริษัทไปด้วย ถือเป็นข้อผิดพลาดที่ไม่ควรมองข้าม การบริการและการสื่อสารข้ามช่องทางที่ไม่สอดคล้องกันนี้ยังรวมไปถึงบริบทต่าง ๆ ของลูกค้าที่อาจสูญหายไป และ ticket อาจมีการตกหล่นอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้การสนทนากับลูกค้ามีความยืดเยื้อ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหานานกว่าเดิม และเกิดเป็น ticket คงค้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบให้ได้รับค่าความพึงพอใจของลูกค้าในระดับต่ำ อีกทั้งพนักงานของคุณจะรู้สึกหงุดหงิดเนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการหาข้อมูลและทำงานร่วมกัน ฉะนั้นอย่าปล่อยให้ทีมซัพพอร์ตของคุณต้องใช้เวลาถึง 20 นาทีในการโทรหาแผนกอื่นเพื่อหาคำตอบให้กับลูกค้าของคุณ เจ้าหน้าที่แอดมินต้องพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่ง report ประสบการณ์ของลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญ ทุกธุรกิจควรมีการตั้งเป้าหมายและมีตัวชี้วัดในด้านประสบการณ์ของลูกค้า (customer experience) ซึ่งหากเจ้าหน้าที่แอดมินหรือผู้ดูแลระบบของคุณต้องหัวหมุนและดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งการรายงานผลต่าง ๆ...

Continue reading

ซื้อ Zendesk กับดีมีเตอร์ ไอซีที VS ซื้อโดยตรง

หลังจากมีหลายท่าน ๆ สอบถามกันเข้ามาถึงความแตกต่างระหว่างการซื้อ Zendesk กับ Demeter ICT ที่เป็น Zendesk partner ในประเทศไทย กับการซื้อจาก Zendesk โดยตรงว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจจึงขอจำแนกการบริการออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1. Licenseการซื้อบริการ License นั้นสามารถซื้อได้ทั้งกับ DMIT หรือซื้อกับ Zendesk โดยตรง ซึ่งราคาจะไม่มีความแตกต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับอัตราการแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทไทย 2. Implementในส่วนของการ Implement นั้นจะสามารถซื้อได้กับ DMIT เพียงอย่างเดียว เนื่องจากทาง Zendesk ยังไม่มีบริการ Implement ให้ในประเทศไทย ฉะนั้นท่านสามารถซื้อ License กับ Zendesk แล้วมาซื้อ Implement กับทางเราก็ได้ หรือจะซื้อทั้ง License และ Implement กับเราทีเดียวเลยก็ได้เช่นกัน ซึ่งหากซื้อ Implement กับเราจะได้รับการ Training ให้ด้วย ความแตกต่างระหว่างซื้อ/ไม่ซื้อ implementซื้อ: ทาง DMIT จะทำการ setting ระบบตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงมีการ training ให้กับพนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องใช้งานระบบ Zendesk และหากเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น เกิด bug หรือ software มีการ upgrade หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานอื่น ๆ ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตและรับประกันให้ 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ซื้อ: หากลูกค้าไม่ต้องการ implement ลูกค้าจะต้องศึกษาการใช้งานระบบ Zendesk ด้วยตัวเอง โดยทาง DMIT มีการซัพพอร์ตในส่วนวิธีการใช้งานเป็นภาษาไทยให้ ซึ่งทางลูกค้าต้องทำการ setting ระบบเอง ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตให้ลูกค้าแบบ 8/5...

Continue reading