Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

Customer Experience Trend ปี 2020 ฉบับจัดเต็ม

เปิดกรุ Customer Experience Trend ปี 2020 ฉบับจัดเต็ม – Every company can inspire loyalty – จะองค์กรไหนก็สร้างความจงรักภักดีได้ ในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จะหวังพึ่งเศรษฐกิจก็ช่างไม่แน่นอนเอาเสียเลย สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลย คือ Customer loyalty หรือความจงรักภักดีของลูกค้า สามารถนำพาให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ และการนำมาซึ่ง Customer loyalty นั้น ก็ต้องสร้าง Customer experience (CX) หรือประสบการณ์ของลูกค้าให้ออกมาดีเสียก่อน ดังข้อมูลนี้ จากตัวเลขถือว่าเป็นข่าวดีเลยทีเดียว แต่ช้าก่อน Loyalty ไม่ใช่อะไรที่แค่ให้ไปแล้วจะเกิดขึ้นได้ หากแต่เกิดจากการหมั่นบ่มเพาะและรักษาให้คงอยู่เอาไว้ เมื่อปราศจากความเอาใจใส่ที่ดี มันก็จะหายไปอย่างง่ายดาย การเข้าใจจุดเชื่อมระหว่าง Loyalty กับวิธีการที่ใช้ดูแลลูกค้าตลอดประสบการณ์ของลูกค้าจึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก หากคุณเป็นบริษัทที่มีธุรกิจแบบ B2B ล่ะก็ Loyalty ยังข้องเกี่ยวโดยตรงถึงการตัดสินใจของลูกค้าในการทำธุรกิจ ในการนำเสนอข้อเสนอต่างๆ ตลอดถึงด้านความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในทางตรงกันข้าม ผลลัพธ์ที่จะเกิดหากไร้ซึ่ง Loyalty เลยก็คือ ถูกตัดสัมพันธ์และย้ายไปทำธุรกิจกับแบรนด์คู่แข่งของคุณแทน  – ปัจจัยที่จะตัดสินว่าลูกค้าของคุณจะเลือกเส้นเรื่องไหนก็คือ Service (การบริการ) ประสบการณ์ลูกค้าที่ดีสร้างความภักดี ประสบการณ์ลูกค้าที่แย่พาจมดิ่งลงเหว – ในผลการวิจัยนี้จะเป็นรายงานของ Zendesk หนึ่งในซอฟท์แวร์ Customer Service ที่ดีที่สุด ซึ่งได้วิเคราะห์ข้อมูลการใช้ซอฟท์แวร์ของบริษัทต่างๆ ร่วมกับข้อมูลจากการสำรวจเจ้าหน้าที่ Customer Service 1,000 คน เจ้าหน้าที่บริหารด้านประสบการณ์ลูกค้า 300 คน หัวหน้าฝ่ายขาย 300 คน และลูกค้า 3,000 คนจากทั่วทุกมุมโลก เราลองมาดูว่าอะไรที่สำคัญที่สุดในการให้บริการประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า เทียบกับเหตุการณ์สุดย่ำแย่จนนำไปสู่ประสบการณ์ด้านลบของลูกค้ากัน จะเห็นได้ว่าเรื่องของเวลาการตอบกลับเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก ลูกค้าต้องการการตอบกลับที่รวดเร็ว เลือกช่องทางสื่อสารที่ตอบกลับเร็วที่สุดตามแต่ความซับซ้อนของคำถาม ลูกค้าจะคาดหวังให้ทางบริษัทประสานงานกันเองภายใน จะได้ไม่ต้องกล่าวถึงปัญหาซ้ำๆ ซากๆ ลูกค้ายังมีความต้องการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ใช้ self-service และเปิดใจต่อบอทหรือปัญญาประดิษฐ์ (AI) หากว่ามันสามารถแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ในอีกด้านหนึ่ง หากลูกค้ารู้สึกว่าตนเองถูกละเลย...

Continue reading

รู้หรือไม่? Zopim live chat ถูกพัฒนาเป็น Zendesk Chat แล้ว

Zopim live chat คือ แพลตฟอร์มการแชทพูดคุยกับลูกค้าแบบเรียลไทม์ (Real-Time) บนเว็บไซต์ ที่ถูกคิดค้นและก่อตั้งโดยกลุ่มนักศึกษาชาวสิงคโปร์ของมหาวิทยาลัย NUS (National University of Singapore) ซึ่งระบบ Zopim เหมาะสำหรับธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจที่ต้องสื่อสารกับลูกค้าตลอดเวลา เพื่อทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจ และได้รับการบริการที่ทันท่วงที และที่พิเศษกว่านั้นยังมีการเก็บสถิติของลูกค้าที่เข้ามาชมเว็บไซต์ในแต่ละหน้าได้อีกด้วย ซึ่งทาง Zendesk เห็นถึงความสามารถของระบบและการบริการนี้ จึงได้ซื้อมากิจการมาในปี คศ. 2014 เพื่อพัฒนาต่อในชื่อของ Zendesk Chat ซึ่งทีมของ Zopim ในสิงคโปร์ก็ได้เข้ามาร่วมงานกับทาง Zendesk และได้พัฒนาระบบร่วมกันต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพฟีเจอร์ต่างๆให้เข้ากับกลุ่มธุรกิจใน Zendesk มากขึ้น เช่น จะสามารถเห็น Customer Journey หรือ ทาง Zendesk Chat เรียกว่า Visitor Path ของลูกค้าที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ เพื่อดูพฤติกรรมต่างๆ และลดการถามคำถามซ้ำในสิ่งที่ลูกค้ารับรู้จากการไปหน้าเว็บไซต์ของเรามาแล้ว เพื่อทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจมากที่สุด www.chattooltester.com/reviews/zopim-review/ และยังมีระบบสร้าง Triggers เป็นข้อความ Popup อัตโนมัติไปยังลูกค้าที่อยู่หน้าเว็บไซต์นานๆ เพราะระบบของ Zopim หรือ Zendesk Chat เนี่ย คิดว่าลูกค้าอาจจะมีความลังเลในการตัดสินใจหรือมีคำถามบางอย่างที่ยังหาคำตอบไม่ได้จึงได้ค้างอยู่หน้าเว็บไซส์ของเรา ซึ่งทางฟีเจอร์ตัวนี้ จะทำให้ลูกค้าได้รับความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่ลูกค้าจะออกจากหน้าเว็บไซส์ของเรา ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมราคา Zendesk พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ โทร. 02-030-0066 096-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก), 092-262-0475 (คุณตอง) support@dmit.co.th Line Official...

Customer Journey vs. Customer Experience

Customer Journey vs. Customer Experience ในยุคปัจจุบันที่ช่องทางเข้าถึงลูกค้ามีมากมายหลายช่องทาง ลูกค้าไม่ได้เริ่ม Customer Journey ที่เดินเข้าไปดู เลือก และซื้อสินค้าเพียงในร้านค้าอีกแล้ว กว่าครึ่งของการตัดสินใจเลือกซื้อทั้งหมดเริ่มต้นที่ออนไลน์  หากแต่เทรนด์การตลาดดิจิตัลทุกวันนี้ไม่ได้หยุดเพียงช่องทางการซื้อที่หลากหลายเท่านั้น แต่เป็น Customer Experience หรือการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า เนื่องจากลูกค้าในยุคปัจจุบันไม่ได้ตัดสินใจที่สินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่จะได้รับมากขึ้น แม้จะต้องจ่ายในราคาแพงขึ้น ก็ยินยอม การพัฒนา Customer Experience (CX) จึงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่มัดใจลูกค้า และนำไปสู่อีกขั้นของความสำเร็จได้    “การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ หากแต่การเข้าใจการเดินทางของลูกค้า ร่วมกับพัฒนาประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่าง คือปัจจัยที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว้าว ประทับใจสุดๆ ได้เลยทีเดียว” มาดูวิธีปรับให้ไม่ตกยุคปี 2020 กัน   1. เพราะโทรศัพท์มือถือคือเครื่องมือสู่ความประทับใจแรกพบ ทราบหรือไม่? 70% ของ Traffic ที่มากที่สุดในโลกมาจากโทรศัพท์มือถือ 61% ของลูกค้าอ่านอีเมลบนมือถือ และกว่า 95% ของผู้ใช้ Facebook ก็กดเข้าเว็บไซต์ด้วยสมาร์ทโฟน นั่นหมายความว่า ไม่ว่าจะเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน โพสต์ในโซเชียลมีเดีย โฆษณา สิ่งที่ควรมุ่งเน้นหลักในปี 2020 ก็คือการปรับปรุง Mobile Experience ที่ๆ ลูกค้ามองเห็น มีส่วนรวม และซื้อสินค้า 2. รู้จักลูกค้าของคุณให้มากที่สุด เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น กลยุทธ์การตลาดแบบ Personalization ก็ทำได้ง่ายขึ้น เราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะคน ผ่านการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล จัดทำคอนเทนต์ สินค้า บริการ ผ่านช่องทางสื่อสาร ราคาและประสบการณ์ที่เหมาะกับคนๆ นั้น สร้างความแตกต่างในการให้บริการให้ได้มากกว่าคู่แข่ง ทำให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ตรงความต้องการมากขึ้น  ดังนั้น การมีฐานข้อมูลลูกค้าและเครื่องมือวิเคราะห์ จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก นอกจากนี้ เรายังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ในการปรับปรุงช่องทางการเข้าถึงของลูกค้า สำรวจว่าลูกค้าเป้าหมายของเราเข้าถึงเราผ่านช่องทางไหน มีความสนใจเป็นพิเศษด้านใด วิเคราะห์เป็น Customer Journey และปรับปรุงกระบวนการให้ลูกค้าพึงพอใจมากยิ่งขึ้น เช่น หากเราต้องการทราบว่าส่วนไหนในเว็บไซต์ของเราที่ลูกค้ามีความสนใจมากที่สุด รู้พฤติกรรมของลูกค้า เราก็สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับแต่งหน้าเว็บ เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้ลูกค้าได้...

Continue reading

Customer Support Trends และการรับมือลูกค้าในยุคที่อะไร ๆ ก็เป็น Omnichannel

Zendesk แพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อ “CRM” และ “Customer Support” ตอบโจทย์การให้บริการในยุคที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าต่างใช้ชีวิตและติดต่อสื่อสารกันผ่านทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ทำให้ธุรกิจหรือแบรนด์ต่างก็ต้องเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Call Center, Email, Facebook Messenger, Instagram, LINE, Twitter, Website Web Form และ Live Chat การที่ธุรกิจหรือแบรนด์มีการ support ลูกค้าในทุกช่องทาง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้ลูกค้าสามารถติดต่อและเข้าถึงแบรนด์ได้ในช่องทางที่ลูกค้าสะดวกและคุ้นเคย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่การที่จะบริหารจัดการลูกค้าพร้อมกันในหลาย ๆ ช่องทางนั้นเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวและมักสร้างปัญหาในเรื่องของการทำงานที่ซ้ำซ้อนให้กับทีมซัพพอร์ตลูกค้าอยู่ไม่น้อย ทำให้บริษัทในปัจจุบันจำเป็นต้องมี Admin คอยดูแล ตอบคำถามและแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าต่างช่องทางกันตามความเชี่ยวชาญของแต่ละทีม ยกตัวอย่างเช่น Admin ที่ดูแลเนื้อหาบนโซเชียล รวมทั้งคอยตอบคำถามทาง inbox Admin ที่ดูแลเนื้อหาบนเว็บไซต์ รวมทั้งคอยตอบคำถามทาง Email Admin ที่ตอบคำถามและบริการลูกค้าทาง LINE ทีม Call Center ที่รับเรื่อง ตอบคำถามและประสานงานกับทีมอื่น ๆ ให้กับลูกค้า ซึ่งหากอ้างอิงจากลิสด้านบนอย่างคร่าว ๆ ใน 1 องค์กร จำเป็นต้องมี Admin อย่างน้อย 4 คน หรือมากกว่า 2 ทีม ที่ต้องคอยตอบคำถาม แก้ไขปัญหา รับเรื่องร้องเรียนของลูกค้าในแต่ละวัน ในจุด ๆ นี้เองที่จะทำให้เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนเกิดขึ้น ทั้งความซ้ำซ้อนของการทำงาน และความซ้ำซ้อนที่ลูกค้าจะได้รับ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ลูกค้าท่านเดียวกัน แต่ติดต่อเข้ามาต่างช่องทาง หากเจ้าหน้าที่ของทั้ง 2 ทีมไม่มีการทำงานร่วมกันจะเกิดการแก้ปัญหาที่ซ้ำซ้อน ลูกค้าแจ้งเรื่องกับเจ้าหน้าที่ Call Center เจ้าหน้าที่ทำการโอนสายให้ทีมที่เกี่ยวข้อง ลูกค้าต้องตอบคำถามและเล่าปัญหาเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ปัญหาการทำงานที่ซ้ำซ้อนดังกล่าวก่อให้เกิดการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองเวลาโดยไม่จำเป็น และอาจกลายเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ไม่ประทับใจในการรับบริการให้กับลูกค้าได้ Customer Support เทรนด์ของลูกค้าในยุค Seamless และ Omnichannel 60% ของลูกค้า เลือกใช้มากกว่าหนึ่งช่องทางในการติดต่อกับแบรนด์...

Continue reading

ทีมของคุณพร้อมสำหรับวันหยุดปีใหม่นี้หรือยัง?

ในช่วงวันหยุดยาวของการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปี 2020 ที่กำลังจะถึงนี้ ก็ถือเป็นเทศกาลที่ธุรกิจอาจมีการหยุดให้บริการในช่วงนั้น ๆ หรือการบริหารจัดการพนักงานที่ต้องอยู่ทำงานในช่วงวันหยุดอาจมีความเบาบางและไม่สามารถให้บริการได้อย่างเต็มที่เท่าตอนเปิดบริการตามเวลาปกติ บางปัญหา… ลูกค้าอาจรอได้ และบางปัญหา… ลูกค้าก็อาจจะรอไม่ได้ ซึ่งหากเกิดกรณีเหล่านี้ขึ้น สิ่งสุดท้ายที่ลูกค้าต้องการคงไม่ใช่การถือสายรอ หรือการถูกโอนสายไป ๆ มา ๆ ระหว่างแผนกเป็นแน่แท้ สำหรับบริษัทที่ไม่อยากสูญเสียลูกค้าไปจากความไม่พร้อมในการเตรียมการรับมือกับลูกค้าในช่วงวันหยุด จึงควรมีการเตรียมแผนรับมือล่วงหน้าให้กับแผนกบริการลูกค้าหรือแผนกซัพพอร์ตลูกค้าไว้เป็นกรณีพิเศษสำหรับช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะการเตรียมทีมบริการลูกค้าที่ดีก็เหมือนแสงสว่างให้กับลูกค้าที่กำลังมองหาความช่วยเหลือ และเป็นโอกาสอันดีที่จะคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์และเป็นการเพิ่มความภักดีให้กับลูกค้า สิ่งแรกที่บริษัทต้องทำคือการเตรียมรับมือกับจำนวนการติดต่อของลูกค้าที่จะเข้ามาให้มากกว่าจำนวนที่คาดการณ์ว่าจะได้รับ เพราะจากการศึกษาของ Zendesk พบว่า ปริมาณ ticket โดยรวมสามารถเพิ่มขึ้นได้มากถึง 42% ในช่วงวันหยุด โดยปริมาณ ticket ทางอีเมลจะเพิ่มขึ้นถึง 49% ช่องทางแชทเพิ่มขึ้นถึง 92% ขณะที่การสนทนาทางโทรศัพท์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว และการสนทนาบนโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์ม เช่น Facebook เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ซึ่งสำหรับบริษัทที่ไม่ได้มีการเตรียมการไว้รองรับการติดต่อกับลูกค้าจำนวนมากจะทำให้เวลาในการตอบสนองต่อลูกค้าโดยเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อคะแนนความพึงพอใจของลูกค้า หรือคะแนน CSAT เป็นอย่างมาก ทดลองใช้ trial ฟรี เวลาสำหรับ Omnichannel วิธีการที่ดีที่สุดในการรับมือกับปริมาณการติดต่อที่เพิ่มขึ้นคือการเพิ่มพนักงานหรือเจ้าหน้าที่เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนการติดต่อของลูกค้า โดย Zendesk พบว่าผู้ค้าปลีกมักเพิ่มเจ้าหน้าที่ 10-20% ในช่วงวันหยุด แต่ธุรกิจเหล่านั้นกลับต้องพิจารณาการจ้างงานเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากลักษณะที่เปลี่ยนไปของลูกค้าในปัจจุบันที่ต้องการการบริการแบบ Omnichannel หรือก็คือการที่ลูกค้าคาดหวังว่าจะสามารถติดต่อกับบริษัทใด ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลาที่พวกเขาต้องการ ในช่องทางที่สำคัญที่สุดสำหรับพวกเขา โดยพบว่า 95% ของลูกค้าใช้ช่องทางที่แตกต่างกัน 3 ช่องทาง ในการติดต่อกับบริษัทหรือแบรนด์ต่าง ๆ ความท้าทายของการซัพพอร์ตลูกค้า โดยส่วนใหญ่ทีมที่เล็กกว่ามักมีรูปแบบการรับพนักงานที่ผสมผสาน ภายใต้กรอบการทำงานทำให้พนักงานในทีมเล็ก ๆ ต้องมีความคล่องตัว สามารถปรับตัวได้ดีและมักจะได้รับการฝึกอบรมอย่างเต็มที่เพื่อจัดการกับคำขอของลูกค้าที่มาจากหลายช่องทางได้อย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันทีมที่มีขนาดใหญ่มักมีรูปแบบการซัพพอร์ตที่เฉพาะตัวซึ่งเจ้าหน้าที่จะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้านมากขึ้นและสามารถปลดล็อกประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าทีมจะมีโครงสร้างอย่างไร สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจในปริมาณ ticket เพื่อที่จะจัดขนาดของทีมซัพพอร์ตได้อย่างเหมาะสม โดยมีตัวแปรที่ควรพิจารณาดังนี้ 1. ปริมาณ ticket ต่อวัน 2. เวลาเฉลี่ยในการจัดการกับ ticket ต่อวัน 3. เวลาเฉลี่ยที่เจ้าหน้าที่ใช้ในการรับลูกค้าทางโทรศัพท์ในแต่ละวัน ต้องใช้ Agents...

Continue reading

5 ช่องว่างของธุรกิจ SMB ที่มีผลต่อประสบการณ์ลูกค้า

เมื่อพูดถึงเรื่องของประสบการณ์ลูกค้า (Customer experience) กับธุรกิจ SMB สิ่งที่เรามักเจอก็คือช่องว่างระหว่างสิ่งที่พวกเขากำลังทำกับประสบการณ์จริง ๆ ที่ลูกค้าจะได้รับจากคุณภาพในการให้บริการของธุรกิจ โดยจากการวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจ SMB ที่ใช้ Zendesk จำนวน 6,891 แห่ง จาก 104 ประเทศ และจากผลการสำรวจผู้นำทางด้านประสบการณ์ลูกค้าจำนวน 600 คน พบว่า ช่องว่างหลัก ๆ ที่มีผลต่อการบริการลูกค้ามีดังนี้ 1. ธุรกิจไม่ได้เสนอทางเลือกในการติดต่อให้กับลูกค้ามากนัก74% ของธุรกิจ SMB บอกว่าพวกเขากำลังทำ แต่มีเพียง 28% เท่านั้นที่เข้าถึงลูกค้าแบบ Omnichannel จริง ๆ 2. ธุรกิจไม่มีช่องทาง Self service ให้กับลูกค้า54% ใช้เพื่อวัดผลและตัดสินความสำเร็จ ขณะที่มีเพียง 9% เท่านั้นที่ใช้เพื่อช่วยเหลือลูกค้า 3. ธุรกิจไม่มีการเชื่อมต่อข้อมูล64% ของธุรกิจเห็นด้วยที่ต้องมีการเชื่อมต่อข้อมูล ขณะที่ 26% มีเครื่องมือที่ช่วยในการเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลเข้าด้วยกัน 4. ธุรกิจตอบสนองต่อลูกค้าช้า85% มีการวัดผลความสำเร็จจากความรวดเร็ว และมี 22% ที่ใช้เวลามากกว่า 8 ชั่วโมง ในการตอบกลับลูกค้าครั้งแรก 5. ธุรกิจไม่รู้ถึงศักยภาพและคุณภาพในการให้บริการของตนเอง82% ของผู้นำทางธุรกิจ SMB ประเมินความสำเร็จจากประสบการณ์ของลูกค้า แต่เมื่อคิดเป็นสัดส่วนกับธุรกิจ SMB พบว่ามีมากถึง 2 ใน 3 ที่ไม่มีการวัดประสบการณ์ของลูกค้า (CSAT) แล้วธุรกิจ SMB ควรทำอย่างไร? 1. ผลักดันการให้บริการลูกค้าแบบ Omnichannel41% ของผู้นำทางด้านประสบการณ์ลูกค้ามักเสนอช่องทางการให้บริการลูกค้า 3 ช่องทางขึ้นไป 2. มอบเครื่องมือที่จำเป็นให้กับทีมของคุณบริษัท SMB ชั้นนำสามารถแก้ไข Ticket ได้เร็วขึ้นถึง 40% เมื่อใช้ Omnichannel โซลูชันเข้ามาช่วย 3. เชื่อมต่อ live channels เข้ากับธุรกิจ อย่างเช่น live...

Continue reading

6 วิธีในการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าในทุกช่องทาง แบบ Omnichannel customer experience

ลูกค้าต้องการได้รับประสบการณ์ในการชอปปิ้งที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พวกเขาคาดหวังว่าบริษัทต่าง ๆ จะสามารถตอบสนองความต้องการของพวกเขาได้แม้ว่าพวกเขาจะใช้ช่องทางการสื่อสารที่แตกต่างกัน ดังนั้นการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าในทุกช่องทางแบบ Omnichannel จึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจควรคำนึงถึง และต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าในทุกช่องทาง 1. มอบทางเลือกให้กับลูกค้าลูกค้ามีความชอบและมีความสะดวกใจที่จะสื่อสารในช่องทางที่แตกต่างกัน บางคนชอบที่จะสื่อสารผ่านออนไลน์แชท หรือ อีเมล ขณะที่บางคนเลือกที่จะบริการตนเองผ่านการใช้ FAQs หรือคำถามที่พบบ่อย ในขณะที่ลูกค้าหลาย ๆ คนยังคงชื่นชอบการใช้โซเชียลมีเดียและโทรศัพท์ เป็นต้น ฉะนั้นความแตกต่างของภาวะการณ์เหล่านี้ต้องมีการปรับการบริการให้เหมาะสมและสอดคล้องต่อความต้องการของลูกค้า 2. อย่าปล่อยให้ลูกค้ารอนาน“เวลา” คือปัจจัยสำคัญในการรองรับประสบการณ์ของลูกค้าในเชิงบวกที่มีต่อแบรนด์ของคุณ จากข้อเท็จจริงในการขาย หากคุณปล่อยให้ลูกค้ารอถึง 5 นาทีค่อยตอบกลับ จะทำให้โอกาสในการติดต่อกับลูกค้ารายนั้นลดลงถึง 10 เท่า และหลังจาก 10 นาทีผ่านไป ตัวเลขของโอกาสในการรักษาลูกค้าจะลดลงถึง 400% เลยทีเดียว 3. ทำให้จุดสัมผัสทั้งหมดเป็นประโยชน์และมีประสิทธิภาพต่อการขายหากบริษัทของคุณสามารถให้บริการได้ตรงตามความคาดหวังของลูกค้า ลูกค้าจะเกิดความพึงพอใจในบริษัทของคุณมากยิ่งขึ้น และลูกค้าที่พึงพอใจมีแนวโน้มที่จะซื้อเพิ่ม จากรายงานของ Harvard Business Review การรักษาลูกค้าไว้ได้ 5% อาจหมายถึงรายได้ประจำปีที่เพิ่มขึ้นมากถึง 95% ความยืดหยุ่นจากการนำเสนอประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อแบบ Omnichannel จึงเกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของบริษัท ฉะนั้นคุณควรทำให้ลูกค้าแน่ใจว่าในทุก ๆ ช่องทางการติดต่อของธุรกิจ ลูกค้าสามารถติดต่อคุณได้โดยตรงและสามารถได้รับประสบการณ์ที่ง่ายในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ นอกจากนี้ให้คิดไว้เสมอว่าการส่งลูกค้าจากช่องทางหนึ่งไปยังอีกช่องทางหนึ่งเพื่อสอบถามราคาหรือหาคำตอบนั้นเป็นเรื่องใหญ่ 4. เข้าใจลูกค้าลูกค้าจะบอกในสิ่งที่พวกเขาต้องการหากคุณเต็มใจและมีวิธีการที่ดีพอในการรับฟังพวกเขา ข้อมูลของลูกค้าในปัจจุบันและผู้มีโอกาสกลายเป็นลูกค้าถือเป็นแหล่งข้อมูลชั้นเยี่ยม การมีข้อมูลเหล่านี้อยู่ในมือจะช่วยให้คุณสามารถวิเคราะห์และพัฒนาการขายและการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ ฉะนั้นอย่าลืมกำหนดกลยุทธ์ให้ชัดเจน รวมถึงการทำนายพฤติกรรมของลูกค้าไปด้วย 5. มอบประสบการณ์ที่เป็นส่วนบุคคลให้กับลูกค้าการทำงานได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อในทุกช่องทางนั้นถือเป็นเพียงขั้นตอนแรก นอกเหนือจากนั้นการบริการลูกค้าแบบหลายช่องทาง (Omnichannel Customer Service) ยังหมายถึงการพิจารณาและวิเคราะห์ลูกค้าเป็นรายบุคคลจากการเก็บบันทึก และการทำความเข้าใจถึงวิธีการที่ลูกค้าใช้โต้ตอบว่าพวกเขามีความสนใจหรือชอบอะไรด้วย เป็นต้น 6. ซัพพอร์ตทีมบริการลูกค้าด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมการขายสินค้าและบริการลูกค้าผ่านช่องทางที่แตกต่างกันนั้นเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับเจ้าหน้าที่ของทีมขายและทีมบริการลูกค้า บริษัทอาจเล็งเห็นถึงความสำคัญของช่องทางการบริการลูกค้าที่หลากหลาย แต่อาจไม่มีทรัพยากรที่จะซัพพอร์ตลูกค้าได้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่องทาง ฉะนั้นการนำเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเข้ามาช่วยก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งในปัจจุบันก็มีเครื่องมือและซอฟต์แวร์ที่สามารถช่วยธุรกิจและทีมงานได้ ตัวอย่างเช่น Omnichannel Customer Support Software ที่มีอยู่มากมายให้ธุรกิจทุกประเภทและทุกขนาดสามารถเลือกมาปรับใช้ เป็นต้น สนใจทดลองใช้ Zendesk ฟรี หรือสอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม...

Continue reading

ระบบ Help Desk คืออะไร? มาทำความรู้จักกัน

การบริการลูกค้าส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่ Help desk แต่ Help Desk คืออะไร? ทำงานอย่างไร? และบริษัทจะได้รับประโยชน์อย่างไร? เมื่อใช้ Help Desk หากจะให้แปลคำว่า Help Desk ออกมาเป็นภาษาไทยแบบตรง ๆ ก็คงจะหมายถึง “โต๊ะช่วยเหลือ” แต่ความจริงแล้ว Help Desk ไม่ใช่โต๊ะทำงานจริง ๆ หากแต่เป็นซอฟต์แวร์ หรือชุดของเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดตาม การจัดลำดับความสำคัญ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า และการเก็บบันทึกข้อมูลการติดต่อของลูกค้าที่เข้ามาจากช่องทางการให้บริการต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันการมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อผ่านอีเมลและโทรศัพท์อาจไม่เพียงพอ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลและสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ลูกค้าใช้ ฉะนั้นระบบ Help Desk จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการช่องทางการติดต่อของลูกค้าที่มีอยู่มากมายหลายช่องทางเข้าไว้ด้วยกันในหน้าแพลตฟอร์มเดียว เพื่อช่วยให้การติดตามปัญหาหรือการแก้ไขปัญหาของลูกค้าเป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง ลักษณะทั่วไปของระบบ Help desk จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. ระบบบริหารจัดการ Ticket (Ticket Management) 2. ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automations/Triggers) 3. ระบบการรายงานผล (Analytics/Reporting) ซอฟต์แวร์ Help Desk ทำงานอย่างไร? เมื่อลูกค้า (User) ติดต่อคุณเข้ามาผ่านช่องทางให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล โทรศัพท์ ไลฟ์แชท เว็บฟอร์ม รวมถึงสื่อโซเชียลมีเดีย ทุก ๆ การติดต่อจะถูกรวบรวมไปยัง Help Desk และถูกเปิดเป็น Support Ticket ตามลำดับหมายเลขการให้บริการหรือตามความสำคัญของ ticket นั้น ๆ โดย help desk จะทำการแจกจ่าย ticket ไปยังเจ้าหน้าที่ (Agent) ในฝ่ายต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามข้อมูลที่ได้ตั้งค่าไว้ในระบบ ซึ่ง ticket เหล่านั้นจะมีข้อมูลของลูกค้า...

Continue reading

ระบบ Automations VS. Triggers – แตกต่างกันอย่างไร?

หากเราพูดถึงฟังก์ชัน 2 ฟังก์ชันที่มีอยู่ใน Zendesk Support อันได้แก่ Automations และ Triggers ว่าทั้งสองฟังก์ชันนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร? และควรใช้เมื่อไหร่? เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะขอจำแนกความแตกต่างในการทำงานหลัก ๆ ออกเป็น 2 ด้าน อันได้แก่ Automations ทำงานเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลา (Time based) Triggers ทำงานเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำที่เกิด (Action based) 1. Automations Automations ภายใน Zendesk Support นั้นใช้พื้นฐานของเวลาเป็นหลัก คุณสามารถใช้มันเมื่อคุณต้องการให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลาที่คุณได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว automations ค่อยทำงาน สำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Automations แบบง่าย ๆ แนะนำให้คุณทำการระบุข้อกำหนดด้านการบริการขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาโดยเฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณต้องการให้ระบบทำการส่งแบบสำรวจความพึงพอใจไปให้ลูกค้าเมื่อครบ 24 ช.ม. ภายหลังจากการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว และ Ticket นั้น ๆ ได้ถูก Solved แล้ว หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่รอการตอบกลับจากลูกค้านานเกิน 3 วัน ให้ระบบ Automations ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เป็นต้น วิธีการตั้งค่าระบบ Automations ระบบ Automation ใน Zendesk Support จะมาด้วยการตั้งค่าเริ่มต้น หากต้องการปรับแต่งการตั้งค่าให้คลิกที่ไอคอน Admin ที่แถบด้านข้าง > เลื่อนไปที่หัวข้อ Business rules > คลิกที่ Automations เพื่อดูการตั้งค่า  2. Triggers Triggers ภายใน Zendesk Support นั้นใช้พื้นฐานของการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นหลัก คุณสามารถใช้มันเมื่อคุณต้องการให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้มีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว triggers ค่อยทำงาน สำหรับการออกแบบ...

Continue reading