Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

PDPA คืออะไร? กฎหมายบังคับใช้ที่ทุกองค์กร “ต้อง” ให้ความสำคัญ

PDPA is

PDPA หรือ Personal Data Protection Act B.E. 2562 คือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

เป็นกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเจ้าของข้อมูล (บุคคลธรรมดา ไม่รวมถึงผู้ถึงแก่กรรมและข้อมูลของนิติบุคคล) มีอำนาจเด็ดขาดที่จะขอ แก้ไข ลบ ระงับ ยกเลิก หรือทำลายข้อมูลนั้น ๆ โดยที่องค์กรจะต้องยินยอมปฏิบัติตามสิทธิ์การเข้าถึงของข้อมูลตามที่เจ้าของข้อมูลได้ระบุไว้เท่านั้น

ตัวอย่างข้อมูลที่ได้รับการคุ้มครองตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)

  • ชื่อ-นามสกุล
  • เชื้อชาติ
  • ที่อยู่
  • อีเมล
  • เบอร์โทรศัพท์
  • เลขบัตรประจำตัวประชาชน/ เลขหนังสือเดินทาง
  • ข้อมูลเลขบัญชีธนาคาร/ ข้อมูลบัตรเครดิต
  • ข้อมูลรูปใบหน้า
  • ความคิดเห็นทางการเมือง
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลพันธุกรรม
  • ข้อมูลสุขภาพ
  • และอื่น ๆ สามารถดูได้ที่นี่

ตัวอย่างข่าวในประเทศไทยที่มีปัญหาด้านข้อมูลรั่วไหลปี 2564

DLP news

ทำไมทุกองค์กร"ต้อง"ให้ความสำคัญ?

เมื่อ PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำลังจะมีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2565 นี้ คุณได้เตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับนี้แล้วหรือยัง?

แน่นอนว่าหากเป็นข้อบังคับใช้แล้วเนี่ย องค์กรของคุณจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นแน่ เพราะความปลอดภัยไม่ใช่พื้นฐานที่องค์กรควรมีอีกต่อไป แต่เป็นพื้นฐานที่องค์กร “ต้องมี” ต่างหาก เพราะ ณ ปัจจุบัน หลาย ๆ องค์กรหันมาดำเนินกิจการแบบออนไลน์และทำธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านโลกอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ข้อมูลถูกเก็บไว้บนอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก เป็นเหตุให้หลาย ๆ หน่วยงานต่างจับตาอยู่ไม่น้อยทีเดียว ซึ่งหน่วยงานที่ว่านี้คือบุคคลผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง ที่ต้องการเข้ามาปลอมแปลงดึงข้อมูลความลับภายในบริษัทไปใช้เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือกระทำการใด ๆ โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่รู้ตัวหรือไม่ได้ยินยอมในการกระทำดังกล่าว

ซึ่งจากที่ได้กล่าวไปด้านบนจะเห็นได้ว่าองค์กรทุกองค์กรต้องมีระบบรักษาความปลอดภัย (Data Loss Prevention) ภายในบริษัทที่จะสามารถป้องกันข้อมูลรั่วไหลนี้ได้ ซึ่ง DLP นี้จะคอยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล คอยดูความเคลื่อนไหว สังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติ หากเกิดเหตุอันใดน่าสงสัย ระบบก็จะทำการคุ้มกันข้อมูลโดยทันที โดยที่ท่านสามารถซื้อระบบรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะก็ได้ หรือซื้อซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันในการเก็บข้อมูลได้อย่างปลอดภัยก็ได้

ในทางกลับกันหากองค์กรของท่านไม่มีความเข้าใจในกฎหมายนี้ ไม่ปฏิบัติตาม ไม่มีการเก็บข้อมูลพนักงานเป็นความลับ เผยแพร่ข้อมูลนี้ออกไปโดยที่พนักงานเจ้าของข้อมูลนั้นไม่ได้ยินยอม ขัดต่อกฎหมายข้อบังคับ PDPA ท่านจะต้องได้รับโทษทางกฎหมาย ต้องชดเชยค่าเสียค่าเป็นจำนวนมากซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. โทษทางแพ่ง – การทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายทั้งด้านสิทธิ ชื่อเสียง และร่างกาย
    ท่านต้องชดเชยค่าสินไหมทดแทนให้เจ้าของข้อมูลและต้องได้รับโทษทางกฎหมายโดยท่านต้องชดเชยเป็นจำนวน 2 เท่าของค่าเสียหายจริง
  2. โทษทางอาญา – การสร้างความเสียหายต่อส่วนรวม
    บทลงโทษทางอาญาที่ท่านจะได้รับคือ การจำคุก 1 ปีหรือปรับ 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลหรือมีการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศโดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอันขัดต่อ พ.ร.บ. นี้จะต้องได้รับโทษ
  3. โทษทางปกครอง – การฝ่าฝืนข้อกฎหมาย
    สำหรับโทษทางปกครองนี้ท่านจะต้องโดนปรับตั้งแต่ 1 – 5 ล้าน หรือตามค่าเสียหายจริง ซึ่งนับได้ว่าเป็นจำนวนที่มหาศาลเลยทีเดียว 

ซึ่งโทษทั้ง 3 ประเภทนี้จะเป็นคนละส่วนกัน ท่านมีสิทธิ์ได้รับโทษทั้งหมดนี้ในเวลาเดียวกันได้ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงต้องให้ความสำคัญต่อกฎหมาย PDPA หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการฝ่าฝืนข้อกฎหมายดังกล่าวและเพื่อที่ท่านจะไม่ได้รับโทษใด ๆ นั่นเอง

คอร์สอบรมเรื่อง PDPA


ดังนั้นทาง Demeter ICT จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการปฏิบัติตาม PDPA และถือโอกาสจัดคอร์สอบรมเกี่ยวกับ PDPA สำหรับผู้ใช้งาน Google Workspace ในหัวข้อ
การรับมือ PDPA อย่างมั่นใจด้วย Google Workspace” เพื่อให้ทุกท่านมีความเข้าใจอย่างถี่ถ้วนว่า พ.ร.บ. นี้คืออะไร ต้องปฏิบัติตามกฎข้อใดบ้าง ข้อมูลไหนที่เข้าข่าย PDPA และหากเกิดการละเมิดท่านจะสามารถป้องกันได้อย่างไร อีกทั้งยังมีหัวข้ออื่น ๆ อีกมากมาย ท่านสามารถคลิกลิงก์นี้เพื่ออ่านรายละเอียดคอร์สเพิ่มเติม >> การรับมือ PDPA อย่างมั่นใจด้วย Google Workspace”

บริษัท Demeter ICT เองก็ได้มีการนำซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานอย่าง Google Workspace มาใช้ภายในองค์กร เพราะ Google Workspace นั้นมีระบบ DLP ที่สามารถช่วยป้องกันข้อมูลรั่วไหลได้อย่างแน่นหนา สามารถป้องกันมิจฉาชีพไม่ให้โจรกรรมข้อมูลได้ ไม่เพียงแค่นั้น Google Workspace ยังได้รับรองมาตรฐานรักษาความปลอดภัยอีกมากมาย อาทิ

  • ISO/IEC27001 ระบบมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและจัดการข้อมูลส่วนบุคคลที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูล
  • ISO/IEC27017 ระบบมาตรฐานรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์
  • ISO/IEC27018 แสดงถึงความโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลของคนในองค์กร

และมาตรฐานอื่น ๆ อีกมากมาย ดูเพิ่มเติมได้ที่ >> Data Loss Prevention (DLP) ใน Google Workspace ช่วยยกระดับความปลอดภัยของข้อมูลให้สอดคล้องกับ PDPA ได้อย่างไร?

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Workspace คลิกที่นี่ หรือติดตามบทความที่น่าสนใจได้ที่ Facebook: Demeter ICT หรือ Line: @dmit 

ระบบอีเมลองค์กรและชุดแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานร่วมกัน ตอบโจทย์สำหรับทุกธุรกิจ

บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด - พันธมิตรระดับ Google Premier Partner

ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ