ทำความรู้จักกับ Zendesk ระบบ Cloud Ticketing System

Ticketing Systems: เทคโนโลยีที่ช่วยให้การสื่อสารทั้งในและนอกองค์กรเป็นเรื่องง่าย มีประสิทธิภาพ และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก Zendesk เป็นระบบ Cloud Help Desk ที่ใช้แนวคิดของ Ticketing System ในการสื่อสารรวมไปถึงการแก้ปัญหาต่างๆ เป็นหลัก โดยแนวคิดของระบบ Ticketing System คือ การนำการสื่อสารไม่ว่าจะเป็น คำถาม ปัญหา หรืองานที่ต้องทำ มาจัดความสำคัญและบันทึกอยู่ในรูปแบบของ Ticket (การออกหมายเลขการให้บริการ) เพื่อนำมาใช้เป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสื่อสารทั้งภายในและนอกองค์กร โดยแต่ละ Ticket นั้นจะมีคุณสมบัติดังนี้ สามารถกำหนดได้ว่า Ticket นั้นๆ ใครเป็นผู้รับผิดชอบและใครเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องบ้าง สามารถกำหนดสถานะของงาน (Ticket) ได้ เช่น งานยังไม่มีผู้รับผิดชอบ, งานยังไม่เสร็จและกำลังทำอยู่, งานกำลังรอคำตอบจากผู้อื่น, ไปจนถึงงานสำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้ว เป็นต้น ทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องรับทราบถึงสถานะของงานเพื่อจะได้จัดการงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแนบไฟล์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาหรือสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถโต้ตอบกับลูกค้าหรือผู้เปิด Ticket ได้ทันที จะเห็นได้ว่าแนวคิดหลักๆ คือการจัดลำดับความสำคัญและการคัดกรองการสื่อสารเพื่อนำมาจัดการในรูปแบบที่เจ้าหน้าที่ในองค์กรสามารถกำหนดสถานะของงานและสามารถสื่อสารกันใน Ticket เหล่านี้ได้เลย ทำให้การสื่อสารสามารถแยกกันไปตามแต่ละงานที่ทุกคนได้รับมอบหมาย ไม่ได้ปะปนกันจนสับสนเหมือนที่หลายๆ องค์กรพบในกลุ่มแชทของบริษัทตอนนี้ ตลอดจนการส่งผ่าน Ticket ไปให้บุคคลอื่นก็เป็นไปอย่างง่ายดายและไม่เกิดความสับสนตามมา โดยตัวอย่างของการนำ Ticketing System ไปใช้งานนั้นก็มีค่อนข้างแพร่หลาย ทั้งสำหรับการใช้รับมือกับการให้บริการลูกค้า หรือการสื่อสารกันเองภายในองค์กร ตัวอย่างเช่น การนำไปใช้ในการบริการหลังการขาย โดยนำการติดต่อร้องเรียน คำถาม หรือปัญหาต่างๆ ของลูกค้ามาจัดเก็บไว้เป็น Ticket เพื่อทำให้ทีมงานสามารถรับมือกับปัญหาต่างๆ ด้วยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและข้อมูลที่เพียบพร้อม การนำไปใช้เสริมการขายในระบบ E-Commerce ทำให้ลูกค้าสามารถสอบถามรายละเอียดต่างๆ และทีมขายทำการตอบ ข้อซักถามเหล่านั้นได้อย่างครบถ้วน ทันที การนำไปใช้ให้บริการภายในองค์กร เช่น แผนก IT นำไปใช้ให้ผู้ใช้งานแจ้งปัญหาต่างๆ, แผนก HR นำไปใช้เพื่อสื่อสารกับพนักงานในองค์กรที่ต้องการสอบถามปัญหาหรือสวัสดิการ, การนำไปใช้กับแผนกอาคารสถานที่เพื่อรับแจ้งซ่อมแซม, การนำไปใช้กับธุรกิจบริการที่มีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างเยอะ เพื่อให้การบริการแต่ละครั้งนั้นสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าได้สูงสุดด้วยข้อมูลที่แม่นยำ เป็นต้น โดย Zendesk นำแนวคิดเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นโซลูชันชั้นเยี่ยม และเพิ่มความสามารถต่างๆ...

Continue reading

ธุรกิจธนาคารกับการใช้งาน Zendesk

Support Hours 365/24/7 Agents 18 Average Weekly Volume 3,200 Products Used ” Starling Bank กับการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทายธนาคารยักษ์ใหญ่ในประเทศอังกฤษ โดยการนำเสนอบริการบัญชีเงินฝากผ่านโทรศัพท์มือถือแห่งแรกในสหราชอาณาจักร “ Starling Bank เป็นธนาคารที่ก่อตั้งขึ้นโดยการปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและยุคสมัยที่ลูกค้าต้องการความรวดเร็วในการดำเนินชีวิต ปัจจุบันธนาคาร Starling ช่วยให้ลูกค้าของธนาคารสามารถจัดการกับบัญชีเงินฝากของตนเองผ่านทางแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งหมายความว่าลูกค้าสามารถเข้าถึงบัญชีเงินฝากได้ทุกที่ทุกเวลาที่ต้องการ รวมถึงการแจ้งเตือนทางโทรศัพท์แบบเรียลไทม์เมื่อมียอดเงินเข้า-ออก ค่าใช้จ่ายที่หักโดยอัตโนมัติ รวมถึงการใช้งานในต่างประเทศ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการใช้งานใด ๆ ทั้งสิ้น พร้อมมอบการบริการสุดพิเศษแบบ 365/24/7 อีกด้วย Patrick Vardhan หัวหน้าฝ่าย Customer Service ของ Starling Bank เริ่มต้นจากการมีสมาชิกทีมซัพพอร์ตลูกค้าเพียง 3 คน และเพิ่มจำนวนสมาชิกขึ้นเป็น 18 คน ทั้ง full-time และ part-time รวมถึงการซัพพอร์ตลูกค้าก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละเดือน จนปัจจุบันทีมต้องรับมือกับลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาถึง 500 ราย ต่อวัน Patrick รู้ได้ทันทีเลยว่า Starling Bank และทีมของเขาต้องการโซลูชันในการให้บริการลูกค้าแบบ SaaS (Software as a Service) ที่สามารถจัดการกับช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายและสามารถเติบโตไปพร้อม ๆ กับธุรกิจได้ หลังจากมองหาซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมที่สามารถตอบโจทย์ให้กับ Starling Bank ได้ Patrick พบว่ามาชิกในทีมหลายคนคุ้นเคยและนำเสนอ Zendesk “หนึ่งสิ่งที่ยอดเยี่ยมในการเป็นธุรกิจ start-up คือการที่เราอยู่ในฐานะที่สามารถเลือก Customer Service ซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของเราได้” Patrick กล่าว กุญแจสำคัญของ Zendesk คือ การช่วยให้ Starling สามารถพูดคุยกับลูกค้าได้ทุกช่องทางที่ลูกค้าพึงพอใจ ซึ่งนอกจาก Zendesk Support แล้ว Starling ยังเลือกใช้ Zendesk Chat...

Continue reading

บริหารประสบการณ์ลูกค้าจากทุกช่องทางได้ง่าย ๆ ด้วย Omni-channel โซลูชัน จาก Zendesk

Omnichannel คืออะไร?Omnichannel หมายถึง การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทาง โดยการเชื่อมโยงทุกช่องทางการเข้าถึงของลูกค้ากับบริษัททั้งช่องทางออนไลน์ (Online) และ ออฟไลน์ (Offline) ผสานรวมให้เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้อย่างไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นที่มาของระบบ CRM หรือ Omnichannel โซลูชัน ขึ้นในปัจจุบันเพื่อให้ทันกับยุค 4.0 นั่นเอง ปัจจุบันพบว่าแนวโน้มการติดต่อสื่อสารของลูกค้ามายังธุรกิจในสัดส่วนของ Non-Voice ซึ่งรวมถึงการติดต่อผ่าน Mobile Application, Web Site, Instant Message, E-mail และ Social Media มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การติดต่อด้วยเสียง หรือ Voice Communication มีสัดส่วนที่ลดลง และลูกค้า 1 คน มีการติดต่อที่หลากหลายช่องทาง ฉะนั้นการบริหารประสบการณ์ลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทางให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้า Omnichannel โซลูชัน คืออะไร?Omnichannel โซลูชัน หมายถึง ระบบหรือซอฟต์แวร์ที่สามารถเชื่อมต่อทุกช่องทางการเข้าถึงของลูกค้าทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์ และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลบทสนทนาของลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทางนำมาไว้ในหน้าแพลตฟอร์มเดียว เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าถึงบริบทการสนทนาของลูกค้าในอดีตและทราบถึงเรื่องราวของลูกค้าได้ทันทีที่ลูกค้าติดต่อกลับเข้ามาอีกครั้ง ช่วยให้ลูกค้าไม่ต้องมาคอยตอบคำถามหรือเล่าเรื่องราวเดิมๆ ซ้ำๆ อีกต่อไป อีกทั้งยังช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานร่วมกันและประสานงานร่วมกันง่ายขึ้น Zendesk คืออะไร?Zendesk คือ ซอฟต์แวร์เพื่อการบริหารประสบการณ์ลูกค้า (CEM) แบบ Omnichannel บนระบบคลาวด์ (Cloud) จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับกับการขยายธุรกิจได้แบบไม่มีขีดจำกัด ช่วยให้การรวบรวมบทสนทนาของลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทางทั้งในส่วนของ Voice และ Non-Voice เป็นไปอย่างง่ายดายและเป็นระบบ ช่วยให้พนักงานในองค์กรประสานงานกันง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าไว้เพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น โดยโซลูชันหลักๆของ Zendesk มีดังนี้ Zendesk Support คือ ระบบสำหรับติดตาม จัดลำดับความสำคัญ และแก้ไข Ticket ของลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น E-mail, Web form, Facebook, twitter, Line และแอปอื่นๆ โดยรวบรวมมาไว้ในหน้าแพลตฟอร์มเดียว ในรูปแบบของการออกหมายเลขการให้บริการ หรือ Ticket Management Zendesk Chat คือ ระบบไลฟ์แชท...

Continue reading

วิธีติดตั้ง Zendesk live chat บนเว็บไซต์

Zendesk Chat เป็นหนึ่งในโซลูชันหลักของ Zendesk โดย Zendesk Chat คือ ช่องทางที่ให้ลูกค้าสามารถติดต่อคุณผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้ในแบบเรียลไทม์ ทำให้การสนทนาและการแก้ปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและง่ายดาย ซึ่งวิธีในการติดตั้ง Live chat บนเว็บไซต์ของคุณก็ง่ายแสนง่าย เพียงทำตามขั้นตอนดังนี้ 1. ไปที่ไอคอนสี่เหลี่ยม 4 ช่อง ที่อยู่ด้านมุมบนขวาในหน้าแดชบอร์ดของ Zendesk จากนั้นคลิกเลือก Chat เพื่อเข้าสู่หน้า Zendesk Chat 2. หลังจากคลิกเข้ามาแล้วจะปรากฎหน้าต่างขึ้นมาให้คุณเลือกว่า จะเปิดใช้งานตัว trial (ทดลองใช้ได้ 30 วัน) หรือเลือก Sign in (ในกรณีที่คุณได้ทำการซื้อ Zendesk Chat และมี User แล้ว) 3. เมื่อเจอหน้าต่างที่ปรากฎข้อความว่า “Welcome to Zendesk Chat!” ให้คลิกที่ลูกศรทางขวามือเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป 4. ในขั้นตอนนี้จะปรากฎข้อความเตือนให้คุณทำการเปลี่ยนสถานะของแชทให้เป็นออนไลน์ หากเจ้าหน้าที่ไม่ได้เปลี่ยน หรือเซตให้สถานะแชทเป็น invisible แชทวิดเจ็ตจะถูกแสดงเป็นออฟไลน์นั่นเอง คลิกที่ลูกศรทางขวามือเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป 5. ในหน้าต่างสุดท้ายนี้เป็นการอธิบายถึง “Incoming chats” ว่าเวลามีลูกค้าแชทเข้ามาหาคุณ คุณสามารถตอบแชทลูกค้าได้โดยคลิกที่ปุ่มด้านซ้ายมือ ซึ่งลูกค้าที่รอนานที่สุดจะถูกนำขึ้นมาก่อน คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป 6. ขั้นตอนนี้ให้กรอกชื่อ Display Name (ชื่อที่แสดงเวลาแชทกับลูกค้า สามารถเปลี่ยนได้) ส่วน Tagline เป็นเหมือนคำบรรยายสั้นๆ ซึ่งจะกรอกหรือไม่ก็ได้ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป 7. ในขั้นตอนนี้จะมี Code เพื่อใช้ในการติดตั้ง Zendesk Chat ให้คุณ copy code นี้และนำไปแปะไว้ที่ Header ของเว็บไซต์ของคุณ (แนะนำให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญในด้านการเขียนเว็บของบริษัท) โดยคุณสามารถกรอกอีเมลเพื่อทำการส่ง code ไปให้กับบุคคลที่สามารถช่วยเหลือคุณได้ หรือเลือก watch the video...

Continue reading

CRM Software คืออะไร?

CRM คือ? CRM (ซีอาร์เอ็ม) ย่อมาจาก Customer Relationship Management หรือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งก็คือแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์ของบริษัทกับลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าเป้าหมาย โดยการใช้เทคโนโลยีและการใช้บุคลากรอย่างมีหลักการ CRM ได้ถูกนำมาใช้มากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องมาจากจำนวนคู่แข่งของธุรกิจแต่ละประเภทเพิ่มสูงขึ้น การแข่งขันรุนแรงขึ้นในขณะที่จำนวนลูกค้ายังคงเท่าเดิม ธุรกิจจึงต้องพยายามสรรหาวิธีที่จะสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าอันจะนำไปสู่ความจงรักภักดีในที่สุด เป้าหมายของ CRM นั้นไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการ รวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีตลอดไปนั่นเอง CRM Software คือ? CRM Software (ซีอาร์เอ็ม ซอฟต์แวร์) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยให้คุณสามารถติดตาม ตรวจสอบ และรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขายหรือรักษาผลกำไรในระยะยาว นอกจากนี้ยังรวบรวมข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าไว้เพื่อเป็นข้อมูลที่ช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่มักมองหาผลิตภัณฑ์และการบริการที่เข้าใจถึงความต้องการและสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ ซึ่ง CRM Software ถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับธุรกิจในปัจจุบันและอนาคตที่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อการแข่งขันทางธุรกิจและความอยู่รอด สิ่งหนึ่งที่สำคัญของ CRM Software คือ ความสามารถในการรวบรวมบทสนทนาหรือข้อมูลของลูกค้าจากช่องทางการสื่อสารที่แตกต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นจาก ไลฟ์แชทบนเว็บไซต์ โทรศัพท์ อีเมล และสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ตลอดจนการให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่และธุรกิจในการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายและวิธีการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ดีที่สุดได้ CRM Software ในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ CRM ในปัจจุบันจึงถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมายโดยรวมของการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่น สามารถปรับขนาดและปรับแต่งได้เพื่อให้เหมาะสมกับธุรกิจหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของลูกค้าได้ด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลแบบย้อนหลัง ดูโอกาสทางธุรกิจด้วยการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ เพื่อการดำเนินงานและปรับแต่งรูปแบบการบริการลูกค้าให้กับธุรกิจของคุณ ประเภทของเทคโนโลยี CRM On-premises CRM คือ ระบบ CRM ที่จะถูกติดตั้งไว้บนเซิร์ฟเวอร์ขององค์กร ซึ่งองค์กรจะต้องลงทุนในการซื้อเซิร์ฟเวอร์และฮาร์ดแวร์เอง โดยจะเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อสัญญาล่วงหน้าแทนที่การจ่ายค่าบริการรายปีแบบ Cloud-based CRM ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการอัพเกรดต่างๆ และยังมีกระบวนการติดตั้งที่ยาวนานเพื่อรวบรวมข้อมูลของบริษัท แต่บริษัทสามารถบริหาร ควบคุม รักษาความปลอดภัย และบำรุงรักษาฐานข้อมูลได้เอง ซึ่งช่วยในเรื่องของความสบายใจในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลมากกว่า CRM ประเภทนี้เหมาะสำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีความต้องการในระบบ CRM ที่ซับซ้อน Cloud-based CRM คือ CRM บนระบบคลาวด์ หรือที่เรียกว่า Software as a...

Continue reading

วิธีการลงทะเบียนทดลองใช้ Zendesk Demo

ในการลงทะเบียนเพื่อขอทดลองใช้ Zendesk demo มีขั้นตอนง่ายๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอน โดยคุณสามารถเข้าไปลงทะเบียนได้ที่ www.zendesk.com ซึ่งสามารถทดลองใช้งานตัว Demo ได้ฟรีถึง 30 วัน ขั้นตอนการลงทะเบียนทดลองใช้ Zendesk มีดังนี้ 1. เข้าไปที่ www.zendesk.com จากนั้นสามารถเลือกคลิกได้ทั้งปุ่ม Free trial หรือ Get started ที่มุมบนขวา 2. กรอก E-mail ของคุณพร้อมรหัสผ่าน จากนั้นกดปุ่ม Next แต่หากคุณมีบัญชี Gmail หรือ Microsoft ที่ล็อกอินอยู่แล้วสามารถกดปุ่ม Sign in with google หรือ Sign in with Microsoft ได้เลย 3. กรอกชื่อบริษัทของคุณในช่อง company จากนั้นเลือกจำนวนพนักงานในช่อง Number of employees และกดปุ่ม Next 4. กรอกข้อมูล ชื่อ-นามสกุล และ เบอร์โทรศัพท์ของคุณ จากนั้นกดปุ่ม Next 5. กรอกชื่อ Subdomain ที่คุณต้องการใช้ (จะถูกตามด้วย.zendesk.com) ยกตัวอย่างเช่น abc.zendesk.com เป็นต้น หากชื่อที่คุณกรอกสามารถใช้ได้จะขึ้นเป็นเครื่องหมายถูกสีเขียว ต่อไปเลือกภาษาที่คุณต้องการใช้งานซึ่งในทีนี้ค่าเริ่มต้นจะมาเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว จากนั้นกดปุ่ม Next 6. ในขั้นตอนนี้จะปรากฎเป็นชื่อบัญชีที่คุณได้ทำการสร้างไว้ เพื่อให้คุณสามารถใช้ URL นี้ในการกลับเข้ามาใช้ตัว demo ได้ใหม่ จากนั้นคลิกที่ URL เพื่อเข้าสู่ตัว demo 7. เมื่อเข้าสู่ตัว demo จะปรากฎหน้าจอดังกล่าวขึ้นมา ให้กดปุ่ม Next 8. คลิกเลือกประเภทลูกค้าของคุณ จากนั้นกดปุ่ม Next 9. จะปรากฎหน้า home ของ...

Continue reading

Zendesk ได้รับคะแนนสูงสุดสำหรับ B2C จาก Gartner

จากรายงานของ Gartner report พบว่า Zendesk ถูกยกให้เป็น CRM โซลูชัน ที่ได้รับคะแนนสูงสุดสำหรับการซัพพอร์ตลูกค้าแบบ Business-to-Consumer (B2C) จากสถาบัน customer engagement center (CEC) โดยได้รับคะแนน 4.09 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนนด้วยกัน ซึ่งส่งผลให้ Gartner คาดการณ์ว่าภายในปี 2019 ที่จะถึงนี้ 85% ของการบริการลูกค้าและซอฟต์แวร์ซัพพอร์ตจะกลายเป็นระบบคลาวด์ ซึ่งหมายความว่าบริษัทต่างๆ จะมีความต้องการในโซลูชัน Software As A Service (SaaS) ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เพิ่มมากขึ้น ด้วยตัวเลือกมากมายที่เอื้อต่อการวิจัยของสถาบัน CEC ช่วยให้ผู้ตอบแบบสอบถามสามารถทดสอบความสามารถและพิจารณาได้ว่าโซลูชันใดที่เหมาะสมกับบริษัท ไม่ว่าจะเป็นความต้องการจากหน่วยงานต่างๆ การใช้งบประมาณอย่างรอบคอบ กลยุทธ์การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และที่สำคัญที่สุดโซลูชันที่เหมาะสมจะต้องสามารถให้การสนับสนุนที่ดีที่สุดสำหรับฐานลูกค้า ที่เฉพาะเจาะจงได้ นอกจากนี้ในรายงานยังมีการเน้นถึงความสามารถที่สำคัญ 8 ประการที่ควรคำนึงถึงเมื่อเลือกผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และผู้ขาย โดยความสามารถที่สำคัญทั้ง 8 อย่างของ Zendesk ที่ได้รับการจัดลำดับและพูดถึงมีดังนี้ Case Management Self-Service/Knowledge Management Integration Digital Engagement Channels Mobile Support Real-Time Guidance/Decision Support Predictive Customer Analytics Social Media Engagement Management Gartner ใช้ 4 กรณีของการใช้งานซึ่งแตกต่างกันที่สะท้อนถึงรูปแบบการใช้งานส่วนใหญ่ที่องค์กรต่างๆ ใช้พิจารณาเมื่อมองไปที่โซลูชันของ CRM โดย 4 กรณีดังกล่าว ได้แก่ Global, Business to Business (B2B), Complex Processes และ Business to Consumer (B2C) และ Zendesk คือ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์และบริการที่ได้รับคะแนนสูงสุดสำหรับ...

Continue reading

7 สัญญาณ! ที่บ่งบอกว่าธุรกิจของคุณต้องการระบบ Customer Service

ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ย่อมต้องเคยประสบปัญหากันมาบ้างไม่มากก็น้อยก่อนที่จะประสบความสำเร็จ และส่วนที่ยากที่สุดคือการตัดสินใจที่จะนำซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับธุรกิจมากที่สุด เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการแบ่งเบาภาระจากพนักงานและราคาที่ต้องจ่าย ระบบ Customer Service (Customer Service System) หรือซอฟต์แวร์เพื่อการบริการลูกค้า เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่สำคัญเป็นระดับต้นๆสำหรับธุรกิจ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการรับรู้ของลูกค้า นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการปรับปรุงประสิทธิภาพของการบริหารประสบการณ์ลูกค้าและการเพิ่มยอดขายโดยไม่ต้องเพิ่มพนักงาน ฉะนั้นการเลือกระบบ Customer Service ที่เหมาะสมจะทำให้คุณเห็นผลตอบแทนที่รวดเร็วทั้งกับลูกค้าและพนักงานในองค์กรของคุณ ด้วยเหตุนี้ Demeter ICT จึงรวบรวม 7 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าธุรกิจของคุณต้องการระบบ Customer Service ในการบริการลูกค้า 1. ทีมของคุณไม่มีระบบในการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการโต้ตอบหรือเอกสารของลูกค้า หากคุณพบว่าตัวเองมักจะต้องคอยค้นไฟล์เอกสารและอีเมลเพื่อหาข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวกับลูกค้า ตลอดจนบทสนทนาของคุณกับลูกค้าที่เพิ่งผ่านไปเพียงไม่กี่สัปดาห์ เช่นเดียวกัน หากพนักงานฝ่ายบริการลูกค้าของคุณต้องใช้เวลานานในการพยายามขุดหาข้อมูลต่างๆเพื่อใช้ในการบริการลูกค้า ก็ถึงเวลาแล้วที่คุณจำเป็นต้องนำระบบ Customer Service เข้ามาช่วยในการจัดระเบียบข้อมูลและบทสนทนาของคุณกับลูกค้า ที่สามารถเรียกดูและติดตามเมื่อไหร่ก็ได้ง่ายๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส 2. คำขอหรือปัญหาของลูกค้าถูกเก็บไว้ในระบบอีเมลของเจ้าหน้าที่แต่ละรายและเกิดการสูญหายและสูญเสียการติดตามต่อ แม้ว่าอีเมลจะเป็นเครื่องมือยอดนิยมที่มีประโยชน์ แต่อีเมลก็ไม่เหมาะกับการใช้จัดเก็บคำขอหรือบทสนทนาจากลูกค้า เนื่องจากเมื่ออีเมลถูกเปิดอ่านแล้วจะเป็นเรื่องยากต่อการค้นหาและอาจสูญหายได้ นอกจากนี้หากลูกค้าโทรมาเป็นครั้งที่สองและได้รับสายจากเจ้าหน้าที่ท่านอื่น ซึ่งถ้าประวัติการโทรของครั้งที่แล้วอยู่ในอีเมลของเจ้าหน้าที่ที่รับสายท่านแรก เจ้าหน้าที่ท่านที่สองที่รับสายก็ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากให้ลูกค้าเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น ทำให้ลูกค้าไม่ได้รับประสบการณ์ที่ดีกลับไป ฉะนั้นระบบ Customer Service ที่เหมาะสมจะต้องสามารถเชื่อมต่อกับระบบอีเมลเดิมเพื่อให้ลูกค้าสามารถติดต่อผ่านอีเมลได้ และจะต้องมีระบบ Ticket เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทั้งหมดสามารถติดตามและส่งต่อการบริการระหว่างกันได้อย่างราบรื่น 3. คุณยังคงติดตามลูกค้าผ่านโปรแกรม Excel หากคุณยังพยายามที่จะติดตามลูกค้าผ่านข้อมูลที่ใส่ไว้ในโปรแกรม Excel นั่นก็หมายถึงคุณได้ใช้เวลาทำงานไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากโปรแกรมไม่มีความยืดหยุ่นในการเข้าถึงผ่านทางออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา และเป็นเรื่องยากที่จะหารูปแบบโปรแกรมที่สอดคล้องกัน ระบบ Customer Service จะช่วยให้คุณสามารถจัดระเบียบคำร้องขอของลูกค้า เพื่อให้คุณสามารถจัดลำดับความสำคัญของ Ticket และเน้นประเด็นที่สำคัญที่สุดด้วยเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมที่สุดในการรับเรื่องได้ 4. การรายงานและการรวบรวมข้อมูลใช้เวลานานเกินไปและไม่สามารถวัดผลได้ หากบริษัทของคุณใช้การปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านทางอีเมลดังข้อ 2 และติดตามปัญหาของลูกค้าผ่านโปรแกรม Excel ดังข้อ 3 ซึ่งต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลต่างๆด้วยตัวเองทั้งหมด คุณจะรู้ได้อย่างไร? ว่าทีมงานของคุณมีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากคุณไม่สามารถวัดผลใดๆได้เลย ซึ่งระบบ Customer Service ที่ดีจะประกอบด้วยรายงานหรือข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้คุณสามารถติดตามและบริหารจัดการทีมงานและลูกค้าของคุณได้ จากข้อมูลการให้คะแนนหลังการใช้บริการ จำนวน Ticket ที่ถูกปิด เวลาที่ใช้ในการรับเรื่องของลูกค้าครั้งแรก ค่าความพึงพอใจของลูกค้า และอื่นๆ อีกมากมาย 5. คุณไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกค้าของคุณ การขาดมุมมองและความเข้าใจในระดับลูกค้าถือเป็นภัยพิบัติสำหรับธุรกิจที่จะก่อให้เกิดการแก้ปัญหาและจัดการกับสถานการณ์อย่างไม่ตรงจุด ทำให้ปัญหาของลูกค้าไม่ได้ถูกแก้ไขอย่างที่ควรจะเป็นและไม่เกิดการสร้างสัมพันธ์ที่ดีให้กับลูกค้า...

Continue reading

4 คำถาม ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Helpdesk

การตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดและเหมาะสมในการให้บริการลูกค้าเป็นเรื่องที่ยาก ดีมีเตอร์ ไอซีที จึงทำการรวบรวมผลสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT เพื่อทำความเข้าใจถึงสิ่งสำคัญที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Helpdesk และนี่คือ 4 สิ่งสำคัญที่คุณควรถามตัวเองและธุรกิจของคุณก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Helpdesk 1. ลูกค้าของคุณคือใคร? แม้จะฟังดูเป็นเรื่องธรรมดาขั้นพื้นฐาน แต่ลูกค้าถือเป็นบุคคลที่สำคัญมากกับธุรกิจ และในขั้นตอนแรกของการบริการก็เป็นเรื่องจำเป็นที่คุณจะต้องรู้ว่าใครคือลูกค้าของคุณ หรือใครบ้างที่จะมารับการ บริการจากคุณนั่นเอง เนื่องจากซอฟต์แวร์ CRM ที่แตกต่างกัน มีแพลตฟอร์มที่แตกต่างกันออกไปสำหรับการสื่อสารกับกลุ่มต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ Helpdesk แบบดั้งเดิมช่วยให้ทีม IT สามารถให้บริการพนักงานภายในองค์กรได้ แต่ก็มีซอฟต์แวร์ Helpdesk บางประเภทที่เหมาะสมสำหรับการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กร ฉะนั้นการรู้เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายของคุณจึงเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Helpdesk ให้เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณนั่นเอง 2. คุณต้องการเก็บข้อมูลของลูกค้าไว้ที่ไหน? หนึ่งในความแตกต่างที่ชัดเจนที่สุดของซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม คือ วิธีการเก็บ ticket และข้อมูลของลูกค้าที่สามารถเลือกวิธีการเก็บข้อมูลไว้บนระบบคลาวด์ หรือ เลือกที่จะเก็บข้อมูลไว้บนเซิฟเวอร์ของตัวเอง โดยจากผลการสำรวจพบว่า 68% ของผู้ตอบแบบสอบถามเลือกที่จะเก็บข้อมูลไว้บนเซิฟเวอร์ของตัวเอง เนื่องจากรู้สึกว่าสามารถควบคุมข้อมูลของตัวเองได้และมีความปลอดภัยกว่า ซึ่งการเก็บข้อมูลวิธีนี้ได้รับความนิยมในบริษัทที่มีขนาดใหญ่และมีพื้นที่ในการติดตั้งฮาร์ดแแวร์ แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและความสิ้นเปลืองของพื้นที่นั่นเอง ขณะเดียวกันพบว่าการเก็บข้อมูลบนระบบคลาวด์เริ่มได้รับความนิยมในหลายๆบริษัทและกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากใช้ต้นทุนต่ำและแพลตฟอร์มบนระบบคลาวด์มีความยืดหยุ่นสูง เหมาะกับธุรกิจที่กำลังเติบโตและวางแผนที่จะขยายการบริการอย่างรวดเร็วในอนาคต 3 บริษัทของคุณมีการติดตามและวัดผลการบริการอย่างไร? การที่ลูกค้าได้รับการสนับสนุนหรือการบริการตามความต้องการคือกุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกแฮปปี้ แพลตฟอร์มบริการลูกค้าของซอฟต์แวร์ Helpdesk บางประเภท เช่น Zendesk มีการวิเคราะห์ผลที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้คุณทราบถึงขั้นตอนของระบบ Ticket ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ ซอฟต์แวร์ Helpdesk บางประเภทมีการรายงานผลที่จำกัด หรือบางบริษัทอาจมีซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการติดตามผลของตัวเองอยู่แล้ว ฉะนั้นหากนำซอฟต์แวร์ Helpdesk ที่มีการวิเคราะห์ผลในส่วนที่มีอยู่แล้วมาใช้จะเกิดความซ้ำซ้อนและสิ้นเปลืองได้ อย่างไรก็ตามหากคุณยังไม่มีระบบที่ช่วยติดตามและวัดผลการให้บริการลูกค้าของคุณเอง ซอฟต์แวร์ Helpdesk ที่สามารถวิเคราะห์และวัดผลได้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณ 4 คุณต้องการฟีเจอร์พิเศษอื่นๆเพิ่มเติมไหม? แอปพลิเคชัน วิดเจ็ต และโปรแกรมเสริมที่มีอยู่ในซอฟต์แวร์ Helpdesk ที่แตกต่างกันอาจมีความสำคัญต่อธุรกิจของคุณในปัจจุบันตลอดจนการเติบโตในอนาคต ฉะนั้นฟีเจอร์เสริมจึงมีความสำคัญต่อการเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Helpdesk เช่นกัน นอกจากนี้จากผลการสำรวจพบว่าฟีเจอร์ Live chat ได้รับความนิยมและสำคัญเป็นอันดับต้นๆ สำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้าน IT ที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกใช้ซอฟต์แวร์ Helpdesk อีกด้วย สนใจทดลองใช้ Zendesk ฟรี หรือสอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อ บริษัท ดีมีเตอร์...

Continue reading