เลือกไม่ถูกจะแนวตั้งหรือแนวนอน ก็ใช้ทั้ง 2 แบบเลยสิ! กับ Google Docs

เลือกไม่ถูกจะแนวตั้งหรือแนวนอน ก็ใช้ทั้ง 2 แบบเลยสิ! กับ Google Docs วันนี้ ดีมีเตอร์ ไอซีที จะพาคุณมารู้จักกับฟีเจอร์ที่หลายๆคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีฟีเจอร์นี้ใน Google Docs โดยความน่าสนใจอยู่ตรงที่ฟีเจอร์นี้จะทำให้คุณสามารถเปลี่ยนการวางแนวของหน้ากระดาษแบบเฉพาะส่วนตามที่ต้องการได้แล้ว จากเดิมที่ต้องเลือกใช้เอกสารรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งในไฟล์เอกสารเดียวกัน เลือกแนวตั้งก็ต้องแนวตั้งไปตลอด หากต้องการใช้แบบแนวนอนก็ต้องไปสร้างเอกสารใหม่อีกให้ยุ่งยาก แต่ตอนนี้คุณสามารถเลือกวางแนวหน้ากระดาษได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอนในไฟล์เดียวกันได้แล้ว! วิธีนี้จะช่วยทำให้คุณมีที่ว่างสำหรับเนื้อหาที่ขนาดกว้างเช่น ตาราง, แผนภูมิ, ไดอะแกรม, และรูปภาพ นอกจากนี้คุณยังสามารถแก้ไข นำเข้า และส่งออกเอกสารร่วมกับไฟล์จาก Microsoft Word ที่มีทั้งหน้าแนวตั้งและแนวนอนได้อีกด้วย วิธีการเปลี่ยนการวางแนวหน้ากระดาษ วิธีที่ 1 ไฮไลต์ข้อความหรือรูปภาพที่คุณต้องการเปลี่ยนการวางหน้ากระดาษ > คลิกขวาที่ข้อความหรือรูปภาพ > เลือกเปลี่ยนหน้ากระดาษเป็นแนวนอน (landscape) หรือเปลี่ยนหน้ากระดาษเป็นแนวตั้ง (portrait)  วิธีที่ 2 ไปที่แทรก (Insert) > การแบ่ง (Break) > ตัวแบ่งส่วน (Section break) วิธีที่ 3 ไปที่ไฟล์ (File) > การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page setup) วิธีที่ 4 ไปที่รูปแบบ (Format) > การวางแนวของหน้า (Page orientation) เคล็ดลับ หากต้องการแสดงตัวแบ่งส่วนในเอกสาร ให้คลิกดู (View)แสดงตัวแบ่งส่วน (Show section breaks) หากต้องการแสดงโครงร่างหน้ากระดาษ ให้คลิกดู (View)รูปแบบการพิมพ์ (Print layout) คุณยังสามารถเปลี่ยนการวางแนวสําหรับทั้งเอกสารได้อีกด้วย โดยคลิกไฟล์ (File)การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page setup) ใช้กับ: ทั้งเอกสาร (Whole document) เพียงเท่านี้คุณก็สามารถจัดการข้อมูลที่หลากหลายรูปแบบในงานเอกสารได้สะดวกยิ่งขึ้น เพราะ Google Workspace คือพื้นที่การทำงานร่วมกันแบบ Real-time ที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นพื้นที่แห่งอนาคตที่ไม่ว่าคุณและเพื่อนร่วมงานของคุณจะอยู่ที่ไหนก็สามารถทำงานร่วมกันได้ทันทีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต สอบถามและสมัครแพ็กเกจเพื่อรับบริการจาก Google Workspace กับ...

Continue reading

Omada Health ใช้ Zendesk รวมช่องทางการเข้าถึงให้คนไข้ได้รับการดูแลอย่างดีเยี่ยม

รู้หรือไม่? Zendesk สามารถใช้กับอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพได้ด้วยนะ อย่างที่ทราบกันดีว่าเทียบกับประเทศไทยแล้ว ค่ารักษาสุขภาพของประเทศอื่นโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกานับว่ามีราคาสูงลิ่ว หากเปรียบเทียบโดยตั้งคำถามง่าย ๆ ว่าถ้าคุณป่วยติดโควิดที่อเมริกาจนต้องแอดมิทในโรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่ คำตอบก็คือประมาณสี่หมื่นถึงเจ็ดหมื่นเหรียญ หรือก็คือประมาณหนึ่งล้านสามแสนบาท เรียกได้ว่าเยอะจนหมดตัวได้เลยทีเดียว ถ้าอย่างนั้นก่อนที่จะมีโควิดล่ะ? ย้อนกลับไปในช่วงปี 2018 สหรัฐอเมริกาก็ยังคงเป็นประเทศที่ประชากรใช้จ่ายด้านสาธารณสุขมากที่สุดในโลก สามารถวัดได้ประมาณ 3.6 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 11,000 ดอลลาร์ (ประมาณสามแสนหกหมื่นบาท) ต่อคน สาเหตุสำคัญก็คือโรคหัวใจและโรคเบาหวาน ถึงอย่างนั้นสำหรับผู้ป่วย การจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นความเคยชินก็ยังคงเป็นเรื่องยากยิ่ง และเพราะแบบนั้น Omada Health จึงเลือกใช้วิธีการเข้าถึงผู้ป่วยที่ต่างออกไป Omada Health ผู้ให้บริการการดูแลคนไข้ในรูปแบบเสมือนจริงที่มีผู้ใช้งานกว่า 500,000 ราย ได้ออกโปรแกรมโรคหัวใจและโรคเบาหวาน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวกับไลฟ์สไตล์ที่ใส่ใจสุขภาพได้มากขึ้นผ่านเครื่องมือต่าง ๆ ทั้งบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือหรือเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีที่ปรึกษาคอยดูแลอย่างใกล้ชิด แน่นอนว่า Mission ของ Omada Health ที่จะพิชิตโรคนั้นชัดเจนมาก ทว่าเรื่องของการบริการลูกค้ากลับยังเป็นอะไรที่ท้าทาย ยิ่งบริษัทเติบโตมากขึ้น ซอฟต์แวร์เดิมที่ Omada Health ใช้ก็เริ่มส่งสัญญาณที่ไม่ตอบโจทย์นัก ระบบเสียงที่แย่ ตัวชี้วัดที่จำกัด และไม่สามารถผสานเข้ากับแพลตฟอร์มของ Omada Health เองได้ เป็นอุปสรรคของบริษัทที่อยากให้การบริการคนไข้เป็นไปอย่างราบรื่นไร้รอยต่อ แต่แล้วด้วยความสามารถในการ Tracking ของ Zendesk อย่างสายโทรศัพท์ที่วางไปแล้วหรือระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละ Ticket ทั้งยังสามารถจัดลำดับความสำคัญตามข้อตกลงระดับการให้บริการ (SLA; Service Level Agreement) ผลลัพธ์คือทีมของ Omada Health ยกระดับอัตราการโต้ตอบทางโทรศัพท์ได้มากถึง 95% และจากช่องทางทั้งหมด 85% อีกทั้งเจ้าหน้าที่ยังสามารถรับสายจากที่ไหนก็ได้ไม่จำกัดแค่ในออฟฟิศอีกต่อไป “ความสามารถเรื่องระบบโทรศัพท์ถือว่าใหญ่มาก ก่อนหน้านี้เราโฟกัสแค่เรื่องอัตราความพึงพอใจและคอยดูจากที่โน้ตไว้ใน Ticket ว่าเกิดอะไรขึ้น แต่ตอนนี้เราบันทึกการโทรแล้วฟังเองได้เลย” – Bill Dougherty, Vice President of IT and Security at Omada Health กล่าว อีกประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเป็นเรื่องของฟังก์ชันการสมัครสมาชิกที่ทำได้อย่างโปร่งใสมากขึ้นและมีประสิทธิภาพ...

Continue reading