ทุกวันนี้หากจะมีเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงจนไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คงเป็นเรื่องของเทคโนโลยีเอไอ (AI: Artificial Intelligence) ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT เครื่องมือประมวลภาษาที่ช่วยให้เราสนทนากับแชทบอทได้เหมือนแชทคุยกับเพื่อน หรือการใช้เอไอในการสร้างรูปภาพ ที่ผลลัพธ์ออกมาเป็นที่น่าประทับใจมากทีเดียว สิ่งเหล่านี้ตอกย้ำว่าแม้แต่ในเสี้ยวนาทีที่คุณกำลังอ่านบทความนี้ โลกธุรกิจก็กำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นอยู่ตลอดเวลา จากรายงาน CX Trends 2023 ของ Zendesk สองในสามของผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าเอไอจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยธุรกิจลดต้นทุน ในบทความนี้ เราจึงขอแชร์กลวิธีในการใช้เอไอลดต้นทุนและยกระดับประสบการณ์ลูกค้าให้ทุกคนได้อ่านกัน 1. ลดต้นทุน โดยที่ยังมอบการบริการที่ดีเยี่ยม งบจำกัด พนักงานน้อย มักเท่ากับว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้าต้องรับศึกหนัก และยิ่งถ้าไม่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพใช้ ก็ยิ่งเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดและนำไปสู่ประสบการณ์ลูกค้าที่ย่ำแย่ ถึงอย่างนั้นปัญหานี้ก็ไม่จบลงแค่การหาบอทสักตัวมาใช้ จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคหลายคนคุ้นชินกับการคุยกับบอท ทว่าความรู้สึกหลังจากนั้นมักค่อนไปทางติดลบเสียส่วนใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะบอทมีการตอบกลับที่ย่ำแย่ ส่งมอบข้อมูลผิด ๆ และสำคัญเลยคือขาดความสามารถในการให้ผู้บริโภคเข้าถึงเจ้าหน้าที่ “เป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับแบรนด์ที่จะมอบการตอบกลับที่ถูกต้องแม่นยำ รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรส่งต่อเคสให้กับเจ้าหน้าที่ ChatGPT ทำได้ดีเพราะสามารถสนทนาเหมือนแชทกับเพื่อนก็จริง แต่มันก็ไม่มีข้อมูลที่จะตอบคำถามที่เฉพาะเจาะจงของแบรนด์ นี่เองที่เป็นปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับลูกค้าที่ต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง” – Cristina Fonseca, Vice President, Product, Zendesk แล้วเอไอจะช่วยลดต้นทุนตรงส่วนนี้ได้อย่างไร? แชทบอทที่ดีจะต้องรับมือกับการติดต่อที่มีความซับซ้อนไม่มากได้ และสามารถเชื่อมต่อลูกค้าไปยังเจ้าหน้าที่ได้เมื่อจำเป็น ตรงจุดนี้เองที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่มีเวลาไปมุ่งเน้นกับการสร้างปฏิสัมพันธ์ของลูกค้าที่จะนำไปสู่การเพิ่มรายได้ หรือการซื้อซ้ำ (Retention) ซึ่งจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า นอกจากนี้แชทบอทก็ควรที่จะเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้าน เช่น ระบบ Knowledge Base, E-Commerce Platform หรือระบบจัดการงานต่าง ๆ และควรจะใช้งานได้ในช่องทางส่งข้อความ อีเมล โซเชียลมีเดีย หรือกระทั่งดำเนินงานที่ซับซ้อนอย่างช่วยให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้า ชำระเงิน คืนสินค้าจากในแชทได้ด้วยตนเอง ซึ่ง Zendesk ในฐานะที่เป็น CX Platform ชั้นนำเองก็มีโซลูชันที่ช่วยให้การทำสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องง่ายดาย ไม่ต้องใช้โค้ด อย่างโซลูชัน Zendesk Sunshine Conversations แพลตฟอร์ม API ที่เป็นเหมือนปลั๊คพ่วงซอฟต์แวร์ เชื่อมต่อช่องทางการติดต่อลูกค้ากับระบบหลังบ้านของคุณ เพื่อสร้างประสบการณ์สนทนาที่ไร้รอยต่ออย่างแท้จริง ตัวอย่างลูกค้าของ Zendesk ที่ใช้บอทลดค่าใช้จ่าย Handy ใช้ Zendesk สร้างระบบ Knowledge Base เพื่อให้ลูกค้าบริการตนเอง ผลคือสามารถลดปริมาณ Ticket...
Continue reading4 Tips เตรียม Spreadsheet ให้พร้อม ง่ายต่อการสร้างแอปด้วย AppSheet
จะสร้างแอปด้วย AppSheet ก็ต้องเตรียมตาราง Spreadsheet ใน Google Sheets ให้พร้อม บอกได้เลยว่าการเตรียม Spreadsheet สำหรับการสร้างแอปนั้นง่ายนิดเดียว เพราะการสร้างชีตนั้นจะอ้างอิงจากรูปแบบตารางที่หลายองค์กรนั้นมีการใช้งานกันอยู่แล้วนั่นเอง และเพื่อให้ AppSheet สามารถทำงานได้ง่าย คุณจะต้องสร้างตารางที่ทำให้ AppSheet เข้าใจกลไกของการทำงานของคุณได้มากที่สุด ดังนั้นหากคุณรู้ Tips ในการจัดการตารางก่อนสร้างแอปจะช่วยให้คุณสามารถสร้างแอป จัดการ และแก้ไขแอปของคุณได้ง่ายมาก ๆ ทำด้วยตัวเองได้เลย คอนเฟิร์ม ! 4 Tips เตรียม Spreadsheet ให้พร้อม ง่ายต่อการสร้างแอปด้วย AppSheet 1. ใช้ layout ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ก่อนที่คุณจะกำหนดข้อมูล ให้คุณตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า คุณต้องการสร้างแอปสำหรับอะไรหรือคุณต้องการใช้แอปเพื่อทำอะไร ? คุณต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ? ตัวอย่างเช่น คุณต้องการทำแอปสำหรับเช็คสต๊อกสินค้าในร้านขายของ คุณต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ? ชื่อสินค้า รหัสสินค้า จำนวนสต๊อกที่มีอยู่ในร้านหรือจำนวนที่ขายออก เป็นต้น เมื่อข้อมูลพร้อมแล้ว ก็นำมาสร้างตารางใน Google Sheets ได้เลย (หรือหากยังไม่มีข้อมูล คุณก็สามารถใส่ชื่อคอลัมน์อย่างเดียวก็ได้ เพื่อให้แอปรับรู้ว่าข้อมูลที่คุณต้องการคืออะไรนั่นเอง) คำแนะนำ: คุณควรที่จะรวมตารางไว้ในตารางเดียวกัน หากแยกตารางออกเป็นหลาย ๆ ตาราง จะทำให้แอปทำงานค่อนข้างซับซ้อนและยากต่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูล Spreadsheet ที่ถูกต้อง Spreadsheet ที่ไม่แนะนำ 2. ตั้งชื่อคอลัมน์ให้ง่ายและสอดคล้องกัน เพื่อให้ AppSheet สามารถทำงานได้ง่ายและอ่านค่าได้อย่างรวดเร็ว เราแนะนำให้คุณตั้งชื่อคอลัมน์ให้สั้นกระชับ อ่านแล้วเข้าใจง่าย และในกรณีที่คุณต้องการใส่ข้อมูลย่อยของแต่ละรายการ ให้คุณสร้างแท็บในชีตเดียวกันเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแท็บ โดยคุณจะต้องใช้ชื่อคอลัมน์ให้เหมือนกันกับแท็บแรก ตัวอย่างเช่น แท็บ 1: มีคอลัมน์ชื่อสินค้า รหัสสินค้า และห้องจัดเก็บ ซึ่งคุณอาจจะอยากอธิบายเพิ่มเติมว่าห้องจัดเก็บของแต่ละรายการอยู่ที่ใดบ้าง ให้คุณสร้างแท็บที่ 2 โดยมีคอลัมน์แรกเป็น ‘ห้องจัดเก็บ’ คอลัมน์ต่อมาถึงจะเป็นคำอธิบายในส่วนของที่ตั้งของสถานที่นั้น ๆ ซึ่งแท็บที่ 2 จะถูกเรียกใช้งานก็ต่อเมื่อคุณต้องการให้ข้อมูลนั้นแสดงผลโดยอัตโนมัติเมื่อมีคนคลิกรายการที่กำหนด เช่น ส้มอยู่ห้องจัดเก็บ B...
Continue reading