Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

4 Tips เตรียม Spreadsheet ให้พร้อม ง่ายต่อการสร้างแอปด้วย AppSheet

จะสร้างแอปด้วย AppSheet ก็ต้องเตรียมตาราง Spreadsheet ใน Google Sheets ให้พร้อม บอกได้เลยว่าการเตรียม Spreadsheet สำหรับการสร้างแอปนั้นง่ายนิดเดียว เพราะการสร้างชีตนั้นจะอ้างอิงจากรูปแบบตารางที่หลายองค์กรนั้นมีการใช้งานกันอยู่แล้วนั่นเอง

และเพื่อให้ AppSheet สามารถทำงานได้ง่าย คุณจะต้องสร้างตารางที่ทำให้ AppSheet เข้าใจกลไกของการทำงานของคุณได้มากที่สุด ดังนั้นหากคุณรู้ Tips ในการจัดการตารางก่อนสร้างแอปจะช่วยให้คุณสามารถสร้างแอป จัดการ และแก้ไขแอปของคุณได้ง่ายมาก ๆ ทำด้วยตัวเองได้เลย คอนเฟิร์ม !

4 Tips เตรียม Spreadsheet ให้พร้อม ง่ายต่อการสร้างแอปด้วย AppSheet

1. ใช้ layout ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย

ก่อนที่คุณจะกำหนดข้อมูล ให้คุณตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า

  1. คุณต้องการสร้างแอปสำหรับอะไรหรือคุณต้องการใช้แอปเพื่อทำอะไร ?
  2. คุณต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ?

ตัวอย่างเช่น คุณต้องการทำแอปสำหรับเช็คสต๊อกสินค้าในร้านขายของ คุณต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ?

  • ชื่อสินค้า
  • รหัสสินค้า
  • จำนวนสต๊อกที่มีอยู่ในร้านหรือจำนวนที่ขายออก เป็นต้น

เมื่อข้อมูลพร้อมแล้ว ก็นำมาสร้างตารางใน Google Sheets ได้เลย (หรือหากยังไม่มีข้อมูล คุณก็สามารถใส่ชื่อคอลัมน์อย่างเดียวก็ได้ เพื่อให้แอปรับรู้ว่าข้อมูลที่คุณต้องการคืออะไรนั่นเอง)

คำแนะนำ: คุณควรที่จะรวมตารางไว้ในตารางเดียวกัน หากแยกตารางออกเป็นหลาย ๆ ตาราง จะทำให้แอปทำงานค่อนข้างซับซ้อนและยากต่อการเปลี่ยนแปลงข้อมูล

2. ตั้งชื่อคอลัมน์ให้ง่ายและสอดคล้องกัน

เพื่อให้ AppSheet สามารถทำงานได้ง่ายและอ่านค่าได้อย่างรวดเร็ว เราแนะนำให้คุณตั้งชื่อคอลัมน์ให้สั้นกระชับ อ่านแล้วเข้าใจง่าย และในกรณีที่คุณต้องการใส่ข้อมูลย่อยของแต่ละรายการ ให้คุณสร้างแท็บในชีตเดียวกันเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแท็บ โดยคุณจะต้องใช้ชื่อคอลัมน์ให้เหมือนกันกับแท็บแรก 

ตัวอย่างเช่น แท็บ 1: มีคอลัมน์ชื่อสินค้า รหัสสินค้า และห้องจัดเก็บ ซึ่งคุณอาจจะอยากอธิบายเพิ่มเติมว่าห้องจัดเก็บของแต่ละรายการอยู่ที่ใดบ้าง ให้คุณสร้างแท็บที่ 2 โดยมีคอลัมน์แรกเป็น ‘ห้องจัดเก็บ’ คอลัมน์ต่อมาถึงจะเป็นคำอธิบายในส่วนของที่ตั้งของสถานที่นั้น ๆ 

ซึ่งแท็บที่ 2 จะถูกเรียกใช้งานก็ต่อเมื่อคุณต้องการให้ข้อมูลนั้นแสดงผลโดยอัตโนมัติเมื่อมีคนคลิกรายการที่กำหนด เช่น ส้มอยู่ห้องจัดเก็บ B เมื่อมีคนกรอกข้อมูลเข้ามาแล้วเลือกส้ม > ข้อมูลที่ตั้งห้องจัดเก็บ B ก็จะปรากฏขึ้นโดยทันทีนั่นเอง ทว่าในส่วนนี้คุณจะต้องใส่ Formula ที่จะมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะพอสมควร ถ้าใครไม่ต้องการ สามารถข้ามไปขั้นตอนถัดไปได้เลย

3. หัวข้อควรอยู่ที่คอลัมน์

คุณจะเห็นได้จากตัวอย่างว่าเราได้นำข้อหัวทั้งหมดมาใส่ไว้ในแต่ละคอลัมน์ เมื่อมีรายการเพิ่มเข้ามา รายการใหม่จะถูกเพิ่มไปที่ Row หรือถูกเพิ่มลงมาเป็นแนวตั้ง

แต่ถ้าคุณอยากสลับกันล่ะ อยากเอาหัวข้อมาไว้ที่ Row จะได้หรือไม่ ? 
คำตอบคือ ‘ทำได้’ แต่หากมีรายการใหม่เพิ่มเข้ามา รายการจะถูกเพิ่มออกไปทางด้านขวาเรื่อย ๆ ทำให้อาจจะไม่ค่อยสะดวกมากนักในการเรียกดูข้อมูลในแต่ละครั้ง

และหากในกรณีที่คุณต้องการคำนวณด้วยว่าสต๊อกเหลือเท่าไหร่ ต้องสั่งเพิ่มเท่าไหร่ เราแนะนำให้คุณสร้างคอลัมน์ต่อออกมาจากตารางเดียวกันได้เลย ไม่ต้องสร้างตารางใหม่หรือเปิดแท็บใหม่

4. ชื่อรายการหรือรหัสสินค้าต้องไม่ซ้ำกัน

ตัวอย่างเช่น SKU แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้จะต้องเป็นอะไรที่ห้ามซ้ำกันโดยเด็ดขาด หากรายการซ้ำกันจะทำให้ AppSheet ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะ AppSheet ไม่สามารถตัดสินใจได้เองว่าคุณต้องการใช้ข้อมูลชุดใดหากตรวจพบข้อมูลที่ซ้ำกัน

มาดูตัวอย่างตารางที่ได้ปรับตามข้อ 1 ถึง 4 จะมีหน้าตาดังนี้

แอปสำหรับการเช็คสต๊อกสินค้า

หมายเหตุ: ในตัวอย่างนี้คือการจัดตารางจากข้อมูลที่มีการใช้งานอยู่แล้วใน Google Sheets แต่จริง ๆ แล้วคุณไม่จำเป็นต้องใส่ข้อมูลเหล่านี้เลยแม้แต่นิดเดียว เพียงแค่ตั้งหัวข้อไว้ในคอลัมน์ ก็สามารถสร้างแอปได้เลย

เมื่อตารางของคุณพร้อมแล้ว ก็ถึงขั้นตอนสำคัญ มาสร้างแอปพลิเคชันกัน !

ในส่วนของการสร้างแอป คุณสามารถคลิก Blog ด้านล่างนี้ได้เลย 

นี่คือ หน้าตาแอปพลิเคชันที่เราได้สร้างขึ้นจากการจัดทำบทความนี้ โดยมีการกำหนดค่าข้อมูลต่าง ๆ และตกแต่งแอปเรียบร้อยแล้ว

(Mobile Version)

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสต๊อกในแอป ระบบจะมีการอัปเดตลงใน Google Sheets โดยอัตโนมัติ และเพื่อให้คุณสามารถดูข้อมูลได้ง่ายขึ้นว่าสินค้าชนิดใดขายดีที่สุด หรือสินค้าใดเหลือน้อยที่สุด คุณสามารถสร้างกราฟใน Google Sheets ไว้ก็ได้เช่นกัน อัปเดตได้ Real -Time เลย

Demeter ICT หวังว่าบทความนี้จะสามารถสนับสนุนองค์กรของคุณให้สามารถเข้าใจถึงการสร้างแอปพลิเคชันด้วย AppSheet มากขึ้น หรือหากคุณต้องการเรียนรู้วิธีการสร้างแอปแบบละเอียด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับกระบวนการทำงานภายในองค์กร คุณสามารถดูบริการเสริม AppSheet ของเราได้ที่นี่

แอปพลิเคชันเพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติ ตอบโจทย์สำหรับทุกธุรกิจ

บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด - พันธมิตรระดับ Google Premier Partner

ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ

แอปพลิเคชันเพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติ ตอบโจทย์สำหรับทุกธุรกิจ

บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด – พันธมิตรระดับ Google Premier Partner

ตัวแทนจำหน่าย AppSheet และ Google Workspace ในประเทศไทย
และเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ