Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

Discord จากแพลตฟอร์มสตรีมเกม สู่อีกช่องทางหลักในการสื่อสารยุค Quarantine

เว้นระยะห่างแค่ไหน ก็เชื่อมถึงกันได้ หากพูดถึง Discord หลายคนคงจะนึกถึงโปรแกรมแชทที่รู้จักกันดีในหมู่เกมเมอร์หรือผู้ที่ชื่นชอบเกม ด้วยตัวโปรแกรมที่มีจุดเด่นที่ใช้งานได้ง่าย สามารถเลือกใช้ได้ทั้งในรูปแบบโปรแกรม แอปพลิเคชัน หรือแม้แต่ในเว็บเบราเซอร์ จะสร้างห้องแชทไว้พิมพ์คุยหรือสื่อสารด้วยเสียงก็สามารถทำได้ แถมยังฟรี มีดีเลย์ขณะเล่นเกมน้อย ทำให้ Discord เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากตอบโจทย์ครบครันสำหรับนักเกมเมอร์โดยเฉพาะ แต่ ณ ตอนนี้ Discord ไม่เพียงแต่โด่งดังในวงการเกมเท่านั้น เมื่อวิกฤตโควิด-19 ทำให้ผู้คนต้องหันมาหาแพลตฟอรม์เพื่อปฏิสัมพันธ์กันทางออนไลน์อย่างช่วยไม่ได้ และนั่นก็ทำให้ Discord มียอดการใช้งานเพิ่มมากขึ้นเป็นประวัติการณ์ จำนวนไอดีที่ใช้ Discord ในแต่ละวันทะยานสูงขึ้นสองถึงสามเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางประเทศที่ใช้มาตรการชัตดาวน์อย่างฝรั่งเศสหรืออิตาลี โดยจากสถิติแล้วพบว่าจำนวน Unique Visitors ที่เข้ารับบริการลูกค้าเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ในขณะที่ยอดการเข้าชมเว็บไซต์ทะยานขึ้นถึง 70% แล้ว Discord รับมือกับปริมาณผู้ใช้เหล่านี้ที่ทะยานขึ้นกะทันหันในวิกฤตอย่างไรกัน? คำตอบของคำถามนี้ คือการตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่ด้าน Automation, Deflection และ AI ผ่าน Zendesk Support, Guide, Gather และ Answer Bot ซึ่ง Discord เป็นหนึ่งในลูกค้าของ Zendesk ตั้งแต่ปี 2015 และเครื่องมือเหล่านี้เองที่ช่วยให้ Discord สามารถช่วยเหลือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและหาคำตอบของคำถามที่พวกเขาต้องการได้อย่างง่ายดาย และยังให้เวลาเจ้าหน้าที่ได้โฟกัสกับบทสนทนาที่สลับซับซ้อนกว่าได้ “เทคโนโลยี Automation กับ Scaling เป็นปราการด่านแรกในความคิดเราเสมอ และเรามักจะมองหาวิธีที่ทำน้อยแต่ได้มาก” Danny Duong (Discord’s director of customer experience and community management) กล่าว “เรามุ่งเน้นที่การทำให้ลูกค้าได้รับการตอบกลับที่รวดเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยต้องไม่มีเจ้าหน้าที่คนไหนต้องเสียสละรับภาระงานหนักเกินกว่าคนอื่น” อาวุธลับที่ Discord มี คือระบบ self-service ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีเอไอ Zendesk Guide ทำให้ Discord สามารถมุ่งเน้นที่การพัฒนาระบบ self-service ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกค้า รวมถึงระบบอีเมลและเครื่องมือ self-service ต่างๆ อย่าง Answer...

Continue reading

อยากรวมช่องทางติดต่อของลูกค้า ต้องทำอย่างไร?

ตอนนี้เรากำลังอยู่ในยุคที่จะทำอะไรก็สามารถทำได้บนโลกออนไลน์ทั้งสิ้น ดังนั้นแต่ละบริษัทจึงต้องพร้อมรับมือกับลูกค้าที่กว้างมากขึ้นในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Social Media เช่น Line, Facebook, Instagram, Twitter, WeChat, Whatsapp หรือจะเป็นช่องทาง Website, Email ต่างๆ ซึ่งลูกค้าแต่ละคนก็จะมีช่องทางที่ตัวเองชอบหรือใช้ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าเราจะแบ่งให้คนดูแลแต่ละ Platform นึงไปเลย มันก็จะเป็นการเสียต้นทุนเพิ่ม หรือถ้าจะให้คนนึงดูแลหลายๆ Platform พร้อมกัน ก็อาจจะทำให้เกิดความสับสนและเกิดความผิดพลาดได้  ดังนั้นควรจะทำอย่างไร? ที่จะสามารถรวบรวมช่องทางที่กล่าวมาข้างต้นไว้ในที่เดียวได้ โดยที่ไม่ต้องแบ่งพนักงานในแต่ละส่วน แต่ทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ และยังสามารถบริการลูกค้าทุกช่องทางได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งมันมี Software อยู่ตัวนึงที่สามารถแก้ปัญหาที่กล่าวมาได้มันมีชื่อว่า Zendesk Software เป็น Software ที่เน้นช่วยในเรื่องของ Customer Service และ Customer Support อยู่แล้ว โดยที่ Zendesk จะมี Add-on ชื่อว่า Social Messaging ที่จะเป็นเป็นตัวกลางที่จะเชื่อมช่องทางต่างๆเหล่านั้นไว้ในระบบของ Zendesk เวลาที่มีลูกค้าติดต่อเข้ามาจากช่องทางต่างๆ เราสามารถเปิดดูช่องทางต่างๆนั้นบนหน้าจอเดียวกันได้เลย ไม่ต้องเปิดหลายหน้าหรือหลาย Platform ให้สับสน แลกอาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอีกต่อไป softwarestackinvesting.com/zendesk-product-announcements-and-analyst-event/ และเจ้า Zendesk ยังทำได้มากกว่านั้น ยกตัวอย่างเช่น สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาได้อย่าง Real-time โดยที่เราไม่ต้องถามลูกค้าให้เสียเวลา และยังอัปเดตข้อมูลลูกค้าได้เรื่อยๆในอนาคตแบบอัตโนมัติเลยอีกด้วย ทำให้ข้อมูลลูกค้าที่เรามี มีความทันสมัยอยู่เสมอ ช่วยลดการทำงานซับซ้อน เวลาที่บริษัทมี Admin หรือคนดูแล Platform มากกว่า 1 คน อาจจะทำให้เกิดความสับสนในการทำงานได้ ว่าคนอีกคนรับเรื่องไปรึยัง? ปิดเคสเรียบร้อยแล้วรึยัง? ส่งผลให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ล่าช้า และอาจจะผิดพลาดได้ แต่ทาง Zendesk จะมี Status ของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาได้ว่า เรื่องนี้ใครเป็นคนรับ แก้ไขปัญหาเสร็จก็สามารถกด Solved ได้ เพื่อป้องกันความสับสนกันเองภายในองค์กร และยังตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังทั้งหมดได้อีกด้วย support.zendesk.com/hc/en-us/articles/203690856-Working-with-tickets และอีกข้อที่สำคัญมาก คือ ยังช่วยแก้ปัญหาเคสตกหล่น ที่เกิดจากการความสับสนในการทำงานร่วมกัน...

Continue reading

Customer Service Improvement in The New Normal

ปี 2020 ปีที่หลายๆ องค์กรต่างก็พูดว่าเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดต่อการดำเนินและการเติบโตของธุรกิจ ทั้งวิกฤตโควิด-19ที่ทำให้หลายบริษัทต้องหาแนวทางหรือวิธีการต่างๆ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ การปรับเปลี่ยนองค์กรให้รับกับรูปแบบการทำงานแบบดิจิตัล และการมุ่งเน้นสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ รับฟังลูกค้า ยังคงเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สมควรให้ความสำคัญอย่างมาก Customer Service หรือฝ่ายบริการลูกค้า เป็นฝ่ายที่รับหน้าที่ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง เปรียบเสมือนภาพตัวแทนของแบรนด์ และเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ได้ การมีบริการทั้งก่อนและหลังซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่ดีจะช่วยสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ และเป็นการสร้างจุดเด่นด้านความแตกต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การแข่งขันสูงนี้ ในงานสัมมนาออนไลน์นี้คุณจะได้ร่วมฟังประสบการณ์ในการมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับลูกค้า รวมถึงวิธีการพัฒนาการบริการขององค์กรที่จะช่วยให้องค์กรของคุณสามารถดำเนินและเติบโตต่อได้แม้ในขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนไป พร้อมทั้งแนวทางปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริการลูกค้าให้เข้าสู่ New Normal ด้วยซอฟต์แวร์สร้างประสบการณ์ลูกค้าที่บริษัทชั้นนำทั่วโลกเลือกใช้อย่าง Zendesk ให้องค์กรของคุณพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง เหตุการณ์ไม่คาดฝัน และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างภาคภูมิ  ลงทะเบียน Agenda 10:00 – 10:10 Opening & Welcoming Speech 10:10 – 10:25 Leading your company during a pandemic 10:25 – 10:40 How to improve your customer service in the new normal 10:40 – 10:50 Introducing Zendesk 10:50 – 11:20 Zendesk Demo 11:20 – 11:30 Q&A Speakers ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ CEO & Founder of Demeter ICT ชัยธวัช เยาว์พรหมสิริ Vice President of Zendesk Business รายละเอียด บรรยายผ่านช่องทาง Google Meetวันที่: 17 กันยายน 2563เวลา:...

Continue reading

ทำไมต้อง Upskill และ Reskill

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าในยุคของดิจิตอล เกือบทุกองค์กรจะต้องมีการปรับตัวหรือปรับการทำงานเพื่อให้อยู่รอด และด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต้องมี Upskill และ Reskill เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงานและพัฒนาทักษะพนักงานเพื่อให้เกิดความรู้ ความสามารถที่เท่าทันกับอนาคตที่จะเกิดขึ้น  ซึ่ง The World Economic Forum ได้คาดการณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะมีการโยกย้ายงาน หรืองานอย่างอื่นเข้ามาแทนที่ 75 ล้าน ตำแหน่งภายในปี 2565 ใน 20 ประเทศเศรษฐกิจหลัก และในขณะเดียวกันคาดว่าจะมีการสร้างหรือเพิ่ม 133 ล้าน บทบาทหรือตำแหน่งใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีและดิจิตอล (The World Economic Forum, 2018) ทั้ง 2 เหตุผลนี้เองทำให้เกิดคำว่า ทำไมต้อง Upskill และ Reskill Upskill และ Reskill คืออะไร ? และทำไม ? ต้องมี Upskill คือ เป็นการเสริมและพัฒนาทักษะของพนักงานจากงานเดิม เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงาน และส่วนใหญ่เป็นการนำเทคโนโลยีหรือดิจิตอลมาปรับใช้ให้เข้ากับการทำงาน เช่น เรียนรู้เทคโนโลยีเพิ่มเติม เมื่อบริษัทนั้นนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่ Reskill คือ การสร้างทักษะใหม่ที่แตกต่างไปจากงานเดิมที่ทำอยู่ เป็นการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้กับบริบทอื่นของตำแหน่งงาน และเพื่อให้สามารถตอบโจทย์กับการทำงานในยุคที่เทคโลโนโลยีและดิจิตอลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ทำไมต้อง Upskill และ Reskill 1. การทำงานที่เปลี่ยนไป (หมดยุคกระดาษอย่างชัดเจน) บริษัทที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้กับกระบวนการทำงานเดิม เช่น จากเดิมคุณอาจจะต้องบันทึกข้อมูลลงกระดาษและส่งต่อให้แผนกอื่น ๆ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไปสิ่งใหม่ ๆ ก็สามารถเข้ามาแทนที่ได้ อย่างเช่น Google Workspace ที่คุณสามารถสร้างเอกสารออนไลน์และแชร์ให้กับคนอื่น ๆ ในบริษัทได้โดยที่คุณไม่ต้องพิมพ์เอกสารออกมาเพื่อนำไปวางไว้ที่โต๊ะแผนกอื่น ๆ ความจำเป็นที่ต้องใช้กระดาษหรือแฟลชไดรฟ์ ก็ลดน้อยลงไป การเรียนรู้ในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีและคลาวด์ก็จะเข้ามาแทนที่ ซึ่งก็ถือว่าเป็นทักษะใหม่ที่ต้อง Upskill และ Reskill กับแทบทุกคน 2. เพิ่มคุณค่าในพนักงานและองค์กร สร้างโอกาสในการทำงานใหม่ ๆ และพัฒนาทุกคนในองค์กรให้เท่าทันโลกและคู่แข่ง...

Continue reading

5 เคล็ดลับชนะใจลูกค้า ด้วยกลยุทธ์บริหารแบบ Customer Centric

ในบางครั้งสิ่งที่ต้องคำนึงในการบริการลูกค้า ก็ไม่ใช่การจำเป็นต้องทำทุกอย่างให้ลูกค้ารู้สึกมีความสุขเสมอไป แต่เป็นการมอบสิ่งที่ใช่ที่สุดที่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาและสร้างความเชื่อใจระหว่างกันขึ้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิตัลที่เรื่องของฟังก์ชัน คุณภาพ ราคา การบริการได้กลายเป็นเรื่องพื้นฐานในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการไปแล้ว ดังนั้นการมุ่งโฟกัสไปยังลูกค้าหรือให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่าง Customer Centric จึงเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก เรามาดู 5 เคล็ดลับในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นแบบ Customer Centric กัน 1. ตั้งให้เป็นหนึ่งในพันธกิจขององค์กร ข้อแรกที่สำคัญก็คือการหาพนักงานที่มีใจรักบริการให้ได้เสียก่อน เพราะพวกเขาเหล่านี้จะเป็นผู้ที่ต้องติดต่อกับลูกค้าโดยตรง การทำให้แน่ใจว่าพนักงานจะไม่เหวี่ยงวีนและบริการลูกค้าอย่างมืออาชีพจึงสำคัญมาก การตั้งพันธกิจขององค์กรให้มุ่งเน้นถึงลูกค้าอย่างแท้จริงก็ด้วยเช่นเดียวกัน  ยกตัวอย่างเว็บไซต์ขายรองเท้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Zappos ที่ยึดถือเรื่องวัฒนธรรมองค์กรแบบ Customer Centric อย่างจริงจัง ต่างจากบริษัทอื่นที่มักมี Target ให้พนักงานเป็นจำนวนเป้ารายวัน หรือมักจะกำหนดระยะเวลาถือสายสำหรับการบริการลูกค้าแต่ละคน Zappos จะอนุญาตให้พนักงานคุยกับลูกค้านานเท่าไหร่ก็ได้ และเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการบริการที่สร้างความประทับใจถึงขั้นที่ลูกค้ารู้สึก ‘ว้าว’ ที่สุด 2. ทลายการทำงานแบบไซโล คุณเคยติดต่อสอบถามไปยังบริษัทหนึ่ง เพียงเพื่อจะถูกโอนเรื่องไปยังแผนกอื่นแล้วก็ต้องบอกเล่าปัญหาซ้ำๆ หรือเปล่า? และหลายครั้งที่มันก็พาลให้อารมณ์เสียขึ้นมาได้ ลูกค้าก็เป็นเช่นเดียวกับคุณ อ้างอิงจาก Zendesk CX Trends Report 2020 68% ของลูกค้าจะรู้สึกรำคาญใจเมื่อถูกโอนปัญหาไปมาแล้วก็ต้องคอยบอกข้อมูลซ้ำๆ และสาเหตุก็เพราะการบริหารจัดการของบริษัทที่ยังไซโลล่าช้า หรือยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ การมีข้อมูลมหาศาลให้ต้องบริหารจัดการ ทำให้หลายบริษัทแบ่งเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้แยกกัน แต่มันก็นำไปสู่การสร้างประสบการณ์ด้านลบแก่ลูกค้าได้ ดังนั้น การมีระบบ CRM (Customer Relationship Management) ที่ตอบโจทย์และจัดระเบียบข้อมูลเหล่านี้ให้เข้าถึงกันได้ก็สำคัญไม่แพ้กัน 3. มอบประสบการณ์ลูกค้าที่เป็นรายบุคคล ผลวิจัยจาก Forrestor พบว่า 77% ของลูกค้ามีแนวโน้มจะเลือก แนะนำบอกต่อ หรือจ่ายเงินเพิ่มขึ้นให้กับแบรนด์ที่มีการบริการหรือมอบประสบการณ์ลูกค้าที่เป็นรายบุคคล การสร้างประสบการณ์แบบ Personalize หรือการมุ่งเจาะจงไปที่ความต้องการที่แท้จริงหรือความสนใจของแต่ละคนหรือกลุ่มของลูกค้า ยังช่วยให้ลูกค้ามีความรู้สึกที่ดีกับแบรนด์ และเพิ่มโอกาสในการเป็นลูกค้าประจำได้อีกด้วย 4. รับฟัง Feedback / วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า อีกสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการรับฟังฟีดแบคของลูกค้า ตัวอย่างที่น่าสนใจคือแบรนด์กางเกงยีนส์ชื่อดังอย่าง Levi Strauss & Co ที่เดิมทีผลิตแต่กางเกงยีนส์ประเภท shrink-to-fit เท่านั้น แต่เมื่อกางเกงประเภทเน้นความสะดวกสบายอย่างกางเกงโยคะได้รับความนิยมขึ้นมา Levi ก็ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ รับฟังฟีดแบคและสังเกตการณ์พฤติกรรมการใส่กางเกงยีนส์ของลูกค้า ยึดถือการออกแบบที่ตอบโจทย์ลูกค้ามากยิ่งขึ้น และพบว่าในบรรดาลูกค้าของตนนั้นมักมีพฤติกรรมที่ชื่นชอบการปั่นจักรยานสูง...

Continue reading

Google Meet ตัดเสียงรบกวนระหว่างประชุม

Google Meet ใช้ระบบ Cloud-based AI ตัดเสียงรบกวนระหว่างคุณพูดประชุม เพื่อให้การทำงานของคุณนั้นมีประสิทธิภาพและโปรมากขึ้น สามารถตัดเสียงรบกวนรอบข้างได้ เช่น เสียงเปิด-ปิดประตู เสียงแป้นพิมพ์ เป็นต้น ทำให้ระหว่างที่คุณพูดประชุมเสียงชัดและไม่มีเสียงรบกวนอีกต่อไป  ตอนนี้รองรับแพ็คเกจ G Suite Enterprise, G Suite Enterprise for Education customers*  Google Workspace เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ รายละเอียดแพ็กเกจ 02 030 0066...

สร้าง Brand Loyalty อย่างไร? ในยุคที่ Content ล้นตลาด

เรากำลังอยู่ในยุคที่สินค้ามุ่งตรงหาลูกค้ามากกว่าลูกค้ามุ่งตรงหาสินค้าแล้ว มีผลวิจัยจาก วิทยาลัยการจัดการของมหาวิทยาลัยมหิดล(CMMU) ว่า มีแบรนด์หรือโฆษณาต่างๆ วิ่งเข้าหาผู้บริโภคผ่านสื่อออนไลน์มากกว่า 80% ของประชากรในประเทศไทย จึงทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “Content Shock” หรือก็คือ Content มีมากเกินกว่าความสนใจของผู้บริโภคที่มีจำกัด ส่งผลให้ผู้บริโภคสามารถลองสิ่งใหม่ๆหรือของใหม่ๆได้อยู่เสมอ ทำให้การสร้าง Brand Loyalty ในตอนนี้เป็นสิ่งที่ยากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะทำไม่ได้ไปซะทีเดียว แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า Brand Loyalty ก่อน โดยที่แบ่งออกมาเป็น 3 ประเภท แต่ละบริษัทก็จะต้องงัดกลยุทธ์ จุดเด่น หรือเอกลักษณ์ของตัวเองที่ไม่สามารถหาจากที่อื่นได้มาสู้กัน เพื่อให้ลูกค้าสนใจ และซื้อสินค้าเรามากที่สุด แต่มันก็มีปัจจัยอื่นๆในการตัดสินใจของผู้บริโภค มีอะไรบ้างมาดูกัน.. อันดับ 1 เลยก็คือ ความคุ้มค่า (Value) ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะมองเรื่องนี้เป็นหลักเลย ว่าซื้อไปแล้วจะคุ้มค่าไหม สิ่งที่เขาจะได้รับหลังจากการซื้อสินค้าไปแล้วมีอะไรบ้าง? อันดับ 2 คือ การบริการ (Service) คนขายพูดกับเราดีไหม ดูแลเราดีรึเปล่า? ข้อนี้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะต่อให้สินค้าของเราจะคุ้มค่าแค่ไหน แต่ถ้าเจอการบริการ หรือการดูแลที่ไม่ดี เราที่เป็นผู้บริโภคก็คงยอมที่จะเปลี่ยนไปบริโภคของที่อื่นเช่นกัน อันดับ 3 คือ ความสะดวกสบาย (Convenience) สามารถซื้อสินค้าได้ง่าย หรือ มีให้ซื้อหลากหลายช่องทางไหม สำหรับในยุค Digital และ New Normal แล้วข้อนี้ถือเป็นสิ่งที่ร้านค้าทุกร้านควรจะมี เพราะในปัจจุบันผู้บริโภคหันมาซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นถ้าร้านค้าสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และยังรวมถึงทั้ง 3 ข้อที่พูดมานี้ได้ ก็สามารถสร้าง Brand Loyalty ให้แก่ลูกค้าได้ และยังสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่มาได้อีกอย่างแน่นอน แล้วเราทำยังไงให้ครบได้ทั้ง 3 ข้อล่ะ? วันนี้ Demeter ICT มีตัวช่วยที่จะทำให้คุณสามารถเพิ่ม Brand Loyalty ให้กับลูกค้าของคุณได้ด้วย Zendesk Software คือ Customer Service Software ที่จะช่วยให้คุณสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างมืออาชีพ และมีประสิทธิภาพที่สามารถวัดผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคุ้มค่า ที่สามารถดูประวัติ หรือข้อมูลต่างๆของลูกค้าได้ตลอดเวลา เผื่อในเวลาที่ลูกค้ามีปัญหาหรือข้อสอบถามเพิ่มเติม...

Continue reading