Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

รู้ Insight ที่แท้จริง ด้วย Dashboard

ลองนึกดูสิว่าน่าเสียดายแค่ไหน เมื่อคุณมี Data ในมือแต่ไม่สามารถเข้าถึงแก่นที่สำคัญของข้อมูลได้เลย ไม่มีแม้แต่เครื่องมือที่ช่วย analyze ข้อมูลเหล่านั้นให้สามารถอยู่ในรูปแบบที่เราสามารถมองและเข้าใจได้ทันทีว่าตอนนี้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นอย่างไร เกิดปัญหาที่ใด และจะแก้ไขให้ทันเวลาได้อย่างไร หากจะค้นทีก็ต้องไล่เปิดตามไฟล์ Excel หรือ Spreadsheet แล้วนำมาสรุปผล ซึ่งต้องใช้เวลาที่ดูแล้วก็ไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่นอน  และจะดีกว่าไหม ถ้ามีเครื่องมือที่ช่วยนำข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาอยู่ในรูปแบบของแดชบอร์ด ให้คุณสามารถมองเห็นภาพรวมข้อมูลได้ในที่เดียว โดยบทความนี้เราจะพาไปรู้จักว่า แดชบอร์ด (Dashboard)คืออะไร และแนะนำเครื่องมือสร้างแดชบอร์ดที่นิยมอย่างมากในแวดวงธุรกิจ แดชบอร์ดคืออะไร แดชบอร์ด คือหน้าต่างที่แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ Data Visualization ให้อยู่ในรูปแบบ Graphical User Interface (GUI) หากแปลเป็นไทยก็คือ “ส่วนติดต่อผู้ใช้งานแบบกราฟิก” หรือ “ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้งาน” นั่นหมายความว่าแดชบอร์ดมักจะแสดงผลของข้อมูลในรูปแบบ แผนภูมิ กราฟ ตาราง มาตรวัด และองค์ประกอบภาพอื่นๆ โดยจุดประสงค์หลักของแดชบอร์ดก็คือให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานะของข้อมูลโดยรวมได้รวดเร็วมากขึ้น จากเดิมที่ต้อง manual ค้นหาข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งหากยิ่งมีข้อมูลจำนวนมาก ก็อาจจำต้องใช้เวลานานในการรวบรวม เพราะเหตุนี้ทำให้หลายองค์กรเลือกที่จะมีแดชบอร์ดไว้ดูภาพรวมข้อมูลขององค์กร เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ วางแผน หรือแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที  แท้จริงแล้วแดชบอร์ดมีไว้สำหรับ C-Level ? หลายคนอาจจะยังเข้าใจว่า แดชบอร์ดนั้นมีไว้สำหรับให้ผู้บริหารหรือ C-Level ขึ้นไปไว้ดูภาพรวมการบริหารเท่านั้น แต่ความจริงแล้วแดชบอร์ดสามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกระดับหน้าที่ ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานเพื่อให้เห็นภาพข้อมูลโดยละเอียดไว้สำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจในแต่ละวัน    แดชบอร์ดที่ดีจำเป็นต้องมีลักษณะพื้นฐานอย่างไร องค์ประกอบของหน้าแดชบอร์ดจำเป็นต้องมีการจัดวางที่เหมาะสม เรียบง่าย และดูสบายตา  อัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ สามารถดึงข้อมูลได้หลากหลายแหล่ง เช่น ฐานข้อมูล สเปรดชีต API และบริการบนคลาวด์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้ในที่เดียว สามารถรองรับและเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ เดสก์ท็อป และ สมาร์ทโฟน ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถป้องกันข้อมูลของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี เปรียบเทียบการใช้และไม่ใช้แดชบอร์ด Dashboard Dashboard อำนวยความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลด้วยแผนภูมิ กราฟ ฯลฯ ใช้เวลาวิเคราะห์จากข้อมูลดิบ แล้วนำมาทำรายงานอีกที ซึ่งอาจพลาดข้อมูลที่สำคัญ แสดงข้อมูลเป็นล่าสุดอยู่เสมอ ต้องคอยอัปเดตข้อมูลใหม่อยู่ตลอด สามารถเลือกมุมมองแสดงผลข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้ ออกแบบรายงานแยกให้ตรงกับบทบาทของแต่ละบุคคลด้วยวิธี manual มีระบบควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน มีความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหลได้มากกว่า...

Continue reading

ความสำคัญของ Data Management พร้อมวิธีวางแผนจัดการข้อมูลเบื้องต้น

Data Management คือ กระบวนการจัดการข้อมูลทั้งหมดภายในองค์กร ได้แก่ การรวบรวม การควบคุม การเก็บรักษา ตลอดจนถึงการทำลายข้อมูล  ซึ่งในปัจจุบันหลายองค์กรยังไม่มีระบบการจัดการข้อมูลที่ดีเท่าไรนัก ทำให้ไม่สามารถนำข้อมูลที่มีอยู่มาเป็นอาวุธลับสำหรับการพัฒนาธุรกิจได้ ดังนั้นการจัดการข้อมูลในองค์กรจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก ทำไม Data Management จึงสำคัญ ? แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ ดังนี้ 1. สามารถใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด ข้อมูลถือเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าสำหรับธุรกิจ เพราะข้อมูลจะช่วยให้ธุรกิจกำหนดกลยุทธ์และกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถต่อยอดเป็นแคมเปญโฆษณา การประชาสัมพันธ์สำหรับการตลาด หรือการออกแบบสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งผู้บริหารยังสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างชาญฉลาด แม่นยำ มั่นใจ และรวดเร็วอีกด้วย 2. ลดกระบวนการทำงาน พนักงานสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ขณะนี้คุณอาจจะกำลังใช้เอกสารหลายฉบับสำหรับการเรียกดูข้อมูลชุดเดียวกันอยู่ ‘แล้วถ้าวันหนึ่งคุณต้องการข้อมูลแค่ชุดเดียว แต่ปรากฏว่าข้อมูลนี้มีอยู่ในเอกสารหลายฉบับมาก ๆ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าเอกสารฉบับไหนมีข้อมูลที่ถูกต้อง ?’  ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการซื้อของนาย A เอกสารฉบับที่ 1 อาจระบุว่านาย A ชอบซื้อสินค้าโดยการผ่อนชำระ แต่ในเอกสารฉบับที่ 2 ระบุว่านาย A ชอบซื้อด้วยเงินสด หรือในอีกกรณีหนึ่งคือ เอกสารฉบับที่ 1 มีข้อมูลส่วนบุคคล และเอกสารฉบับที่ 2 มีพฤติกรรมการซื้อหรือข้อมูลอื่น ๆ เวลาจะใช้งานก็ต้องเปิดดูเอกสารควบคู่กันไป หากมาลองคิดดูดี ๆ แล้วก็หลายขั้นตอนอยู่ใช่ไหม ?  ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้เป็นระบบและจัดเก็บแหล่งเดียวกันจะทำให้พนักงานไม่ต้องทำงานหลายขั้นตอน สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้เลยทันที ข้อมูลถูกต้อง และเป็นข้อมูลชุดเดียวกันกับพนักงานคนอื่น หมดกังวลเรื่องการใช้ข้อมูลผิดจากการดึงข้อมูลมาจากคนละเอกสารอีกด้วย 3. ข้อมูลมีความปลอดภัย ลดปัญหาภัยไซเบอร์ การจัดการที่ดีจะต้องมาพร้อมกับนโยบายการควบคุมความปลอดภัยภายในองค์กรด้วย ยิ่งข้อมูลมีจำนวนมากเท่าไหร่ การเลือกผู้ให้บริการในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ปลอดภัยก็ยิ่งสำคัญ หากองค์กรมีการจัดการข้อมูลที่ดีที่สามารถปกป้องข้อมูลได้อย่างหนาแน่นก็จะช่วยลดความเสี่ยงในหลายรูปแบบ เช่น การป้องกันข้อมูลรั่วไหล และการถูกโจรกรรมอันสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กร การเงิน และอื่น ๆ เป็นต้น 4. สำรองข้อมูลได้ทันที ไร้กังวลเรื่องการลบข้อมูลจาก Human Errors Human Errors เป็นอะไรที่ป้องกันยากมาก ๆ เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ตามธรรมชาติ ดังนั้นการวางแผนการจัดการข้อมูลเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ลบข้อมูลโดยที่ไม่คาดคิดจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม หากองค์กรมีการจัดการและควบคุมข้อมูลได้อย่างดีก็จะช่วยให้สามารถกู้คืนข้อมูลต่าง ๆ...

Continue reading

Google Cloud (Storage) คืออะไร?

Google Cloud คือ? Google Cloud ชื่อที่เราเรียกกันจนชินปาก จริง ๆ แล้วสิ่งที่ทุกคนหมายถึงนั่นก็คือ Google Cloud Storage นั่นเอง ซึ่งก็คือการจัดเก็บข้อมูลผ่านทาง Google ที่คุณสามารถสร้างและเก็บไฟล์ได้โดยผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างง่าย เพียงแค่คุณมีบัญชี Gmail ก็สามารถเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ผ่าน Google Workspace (Docs, Sheets, Slides) หรือ แอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google ระบบก็จะทำการบันทึกไฟล์อัตโนมัติและอัปโหลดบน Cloud ได้ทันที ไม่เพียงแต่งานเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือไฟล์ต่างๆที่คุณต้องการจัดเก็บอีกด้วย  *ในส่วนของ Google Cloud นั้นจะมีความหมายคนละอย่างกันกับ Google Cloud Storage นะ ! Google Cloud Storage ดียังไง? ไม่ต้องมี Hard Disk หรือ Flash Drive หลายๆคนอาจจะชินกับการทำงานแบบเดิมๆ ที่ต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผ่าน Hard Disk หรือ Flash Drive ซึ่งคุณนั้นต้องพกมันไปทุกที่ ไม่หนำซ้ำยังต้องระวังเรื่องไวรัสอีก ไม่เหมือนกับสมัยนี้ที่ทุกอย่างเปลี่ยนเป็นระบบออนไลน์ไปซะหมด คุณจะไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมแบบเดิมๆอีกต่อไป ทุกครั้งที่คุณมีการทำงานผ่านแอปพลิเคชันของ Google งานของคุณก็จะถูกบันทึกอยู่บน Cloud ทันที ประหยัดค่าใช้จ่าย สืบเนื่องมาจากข้อด้านบน แน่นอนว่าพอคุณไม่ต้องพก Hard Disk หรือ Flash Drive ก็จะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่ที่มีความจำเยอะขึ้นเพื่อจัดเก็บไฟล์หรือข้อมูลที่มากขึ้น แชร์ให้คนอื่นได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ จึงทำให้คุณสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวหรือแชร์ให้บุคคลอื่นได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าตัวคุณไม่ได้ออนไลน์อยู่ เพื่อนหรือทีมของคุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้ตามที่คุณต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา ใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง Hard Disk หรือ Flash Drive เช่นเดิมที่เมื่อก่อนนั้นคุณต้องเสียบกับ Computer หรือ...

Continue reading