Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

รู้ Insight ที่แท้จริง ด้วย Dashboard

ลองนึกดูสิว่าน่าเสียดายแค่ไหน เมื่อคุณมี Data ในมือแต่ไม่สามารถเข้าถึงแก่นที่สำคัญของข้อมูลได้เลย ไม่มีแม้แต่เครื่องมือที่ช่วย analyze ข้อมูลเหล่านั้นให้สามารถอยู่ในรูปแบบที่เราสามารถมองและเข้าใจได้ทันทีว่าตอนนี้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นอย่างไร เกิดปัญหาที่ใด และจะแก้ไขให้ทันเวลาได้อย่างไร หากจะค้นทีก็ต้องไล่เปิดตามไฟล์ Excel หรือ Spreadsheet แล้วนำมาสรุปผล ซึ่งต้องใช้เวลาที่ดูแล้วก็ไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่นอน 

และจะดีกว่าไหม ถ้ามีเครื่องมือที่ช่วยนำข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาอยู่ในรูปแบบของแดชบอร์ด ให้คุณสามารถมองเห็นภาพรวมข้อมูลได้ในที่เดียว

โดยบทความนี้เราจะพาไปรู้จักว่า แดชบอร์ด (Dashboard)คืออะไร และแนะนำเครื่องมือสร้างแดชบอร์ดที่นิยมอย่างมากในแวดวงธุรกิจ

แดชบอร์ดคืออะไร

แดชบอร์ด คือหน้าต่างที่แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ Data Visualization ให้อยู่ในรูปแบบ Graphical User Interface (GUI) หากแปลเป็นไทยก็คือ “ส่วนติดต่อผู้ใช้งานแบบกราฟิก” หรือ “ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้งาน” นั่นหมายความว่าแดชบอร์ดมักจะแสดงผลของข้อมูลในรูปแบบ แผนภูมิ กราฟ ตาราง มาตรวัด และองค์ประกอบภาพอื่นๆ

โดยจุดประสงค์หลักของแดชบอร์ดก็คือให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานะของข้อมูลโดยรวมได้รวดเร็วมากขึ้น จากเดิมที่ต้อง manual ค้นหาข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งหากยิ่งมีข้อมูลจำนวนมาก ก็อาจจำต้องใช้เวลานานในการรวบรวม เพราะเหตุนี้ทำให้หลายองค์กรเลือกที่จะมีแดชบอร์ดไว้ดูภาพรวมข้อมูลขององค์กร เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ วางแผน หรือแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที 

แท้จริงแล้วแดชบอร์ดมีไว้สำหรับ C-Level ?

หลายคนอาจจะยังเข้าใจว่า แดชบอร์ดนั้นมีไว้สำหรับให้ผู้บริหารหรือ C-Level ขึ้นไปไว้ดูภาพรวมการบริหารเท่านั้น แต่ความจริงแล้วแดชบอร์ดสามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกระดับหน้าที่ ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานเพื่อให้เห็นภาพข้อมูลโดยละเอียดไว้สำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจในแต่ละวัน 

 

แดชบอร์ดที่ดีจำเป็นต้องมีลักษณะพื้นฐานอย่างไร

  1. องค์ประกอบของหน้าแดชบอร์ดจำเป็นต้องมีการจัดวางที่เหมาะสม เรียบง่าย และดูสบายตา 
  2. อัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์
  3. สามารถดึงข้อมูลได้หลากหลายแหล่ง เช่น ฐานข้อมูล สเปรดชีต API และบริการบนคลาวด์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้ในที่เดียว
  4. สามารถรองรับและเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ เดสก์ท็อป และ สมาร์ทโฟน
  5. ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถป้องกันข้อมูลของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี

เปรียบเทียบการใช้และไม่ใช้แดชบอร์ด

อำนวยความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลด้วยแผนภูมิ กราฟ ฯลฯ

ใช้เวลาวิเคราะห์จากข้อมูลดิบ แล้วนำมาทำรายงานอีกที ซึ่งอาจพลาดข้อมูลที่สำคัญ

แสดงข้อมูลเป็นล่าสุดอยู่เสมอ

ต้องคอยอัปเดตข้อมูลใหม่อยู่ตลอด

สามารถเลือกมุมมองแสดงผลข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้

ออกแบบรายงานแยกให้ตรงกับบทบาทของแต่ละบุคคลด้วยวิธี manual

มีระบบควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน

มีความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหลได้มากกว่า

สามารถเข้าถึงตามสิทธิ์และดูข้อมูลด้วยมุมมองที่ตรงกัน ทำให้ทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น

เกิดโอกาสแบ่งปันหรืออภิปรายข้อมูลไม่ตรงกัน เสี่ยงต่อข้อมูลคลาดเคลื่อน

จะเห็นได้ว่า การนำแดชบอร์ดมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถทำให้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่รวดเร็วและนำไปสู่การตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้น ในทางกลับกันหากไม่มีแดชบอร์ด ก็จะส่งผลให้การตัดสินใจและแก้ไขปัญหาช้าลง เพราะต้องอาศัยการเรียกดูข้อมูลจากหลายแหล่งเนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่กระจัดกระจายและเข้าถึงยาก

แนะนำเครื่องมือสร้างแดชบอร์ดองค์กรฟรี ด้วย Looker Studio

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หลายท่านอาจเริ่มสนใจนำแดชบอร์ดมาใช้งาน แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร มีราคาการใช้งานอย่างไร เราขอแนะนำ เครื่องมือสร้างแดชบอร์ดของ Google ที่สามารถให้คุณใช้งานได้ฟรี เพียงแค่มีบัญชี Gmail  คุณก็เริ่มออกแบบหน้าตาแดชบอร์ดที่คุณต้องการได้แล้ว

นาทีนี้เครื่องมือการสร้างแดชบอร์ดที่เป็นที่นิยมสำหรับธุรกิจต่างๆ คงหนีไม่พ้น Looker Studio เรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มในการสร้างแดชบอร์ดที่เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกยอดนิยมสำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างการแสดงภาพและรายงานที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล โดยไม่ต้องใช้ทักษะทางเทคนิคขั้นสูงหรือเครื่องมืออื่นที่มีราคาแพง แค่ใช้วิธี drag&drop เท่านั้น

โดยการแสดงผลบนหน้าแดชบอร์ดนั้น Looker Studio สามารถดึงข้อมูลจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Search Console, Google Analytics, Google Ads, Google Sheet รวมถึงเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่เป็น BigQuery, MySQL , PostgreSQL หรืออื่นๆ เพื่อแปลงข้อมูลเหล่านั้นเป็นรายงานหรือแดชบอร์ดที่สามารถปรับแต่งได้อย่างเต็มที่ในรูปแบบ Data Visualization ทั้งแบบรูปภาพ กราฟ แผนภูมิ และอื่น ๆ อีกมากมาย ให้มีลักษณะที่ง่ายทั้งต่อการอ่านและการทำความเข้าใจ

Tip:  สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นใช้งานก็ไม่ต้องกังวลเพราะ Looker Studio เอง มี tutorial ไว้ให้แล้ว สามารถทำตามขั้นตอนได้เลย

ทำความรู้จัก Looker Studio เพิ่มเติมได้ที่: Looker Studio แพลตฟอร์มที่จะทำให้งาน Data เป็นเรื่องง่าย

6 จุดเด่นของ Looker Studio

สมัครใช้งานฟรี ด้วยบัญชี Gmail

หน้าตาของ interface ที่ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว และฟีเจอร์ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน สามารถคลิกลากและวาง (drag&drop) ได้เลย 

สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้หลากหลาย และมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง รวมถึงการคาดการณ์ล่วงหน้า (predictive)

ออกแบบปรับแต่งการแสดงผลรายงานได้หลายรูปแบบ 

ทุกคนในทีมหรือบริษัททำงานร่วมกันผ่านการเห็นข้อมูลชุดเดียวกัน และสามารถตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลระดับต่างๆได้

เข้าถึงข้อมูลด้วยเบราว์เซอร์ได้ทุกอุปกรณ์ เพราะเป็นรูปแบบ on Cloud ของ Google 100% 

  1. ใช้งานฟรี ด้วยบัญชี Gmail 
  2. หน้าตาของ interface ที่ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็ว และฟีเจอร์ที่ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน สามารถให้คุณคลิกลากและวาง (drag&drop) ได้เลย 
  3. สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้หลากหลาย และมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง รวมถึงการคาดการณ์ล่วงหน้า (predictive)
  4. ออกแบบปรับแต่งการแสดงผลรายงานได้หลายรูปแบบ 
  5. ทุกคนในทีมหรือบริษัททำงานร่วมกันผ่านการเห็นข้อมูลชุดเดียวกัน และสามารถตั้งค่าการเข้าถึงข้อมูลระดับต่างๆได้
  6. เข้าถึงข้อมูลด้วยเบราว์เซอร์ได้ทุกอุปกรณ์ เพราะเป็นรูปแบบ on Cloud ของ Google 100% 

หากท่านใดสนใจปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลองค์กร ดีมีเตอร์ ไอซีทีเราเป็น Google Cloud Premier Partner ที่พร้อมให้คำปรึกษาด้าน Cloud Solution  หรือท่านสามารถดูบริการเพิ่มเติมจากเราได้ที่นี่

ขอบคุณรูปภาพประกอบบทความจาก https://cloud.google.com/looker-studio

Transform Data to Google Cloud

เพิ่มศักยภาพข้อมูลองค์กรด้วยเทคโนโลยี Google Cloud Solution พร้อมขับเคลื่อนองค์กรสู่ Digital Transformation