รู้ Insight ที่แท้จริง ด้วย Dashboard

ลองนึกดูสิว่าน่าเสียดายแค่ไหน เมื่อคุณมี Data ในมือแต่ไม่สามารถเข้าถึงแก่นที่สำคัญของข้อมูลได้เลย ไม่มีแม้แต่เครื่องมือที่ช่วย analyze ข้อมูลเหล่านั้นให้สามารถอยู่ในรูปแบบที่เราสามารถมองและเข้าใจได้ทันทีว่าตอนนี้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นอย่างไร เกิดปัญหาที่ใด และจะแก้ไขให้ทันเวลาได้อย่างไร หากจะค้นทีก็ต้องไล่เปิดตามไฟล์ Excel หรือ Spreadsheet แล้วนำมาสรุปผล ซึ่งต้องใช้เวลาที่ดูแล้วก็ไม่คุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นแน่นอน  และจะดีกว่าไหม ถ้ามีเครื่องมือที่ช่วยนำข้อมูลเหล่านั้นขึ้นมาอยู่ในรูปแบบของแดชบอร์ด ให้คุณสามารถมองเห็นภาพรวมข้อมูลได้ในที่เดียว โดยบทความนี้เราจะพาไปรู้จักว่า แดชบอร์ด (Dashboard)คืออะไร และแนะนำเครื่องมือสร้างแดชบอร์ดที่นิยมอย่างมากในแวดวงธุรกิจ แดชบอร์ดคืออะไร แดชบอร์ด คือหน้าต่างที่แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ Data Visualization ให้อยู่ในรูปแบบ Graphical User Interface (GUI) หากแปลเป็นไทยก็คือ “ส่วนติดต่อผู้ใช้งานแบบกราฟิก” หรือ “ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้งาน” นั่นหมายความว่าแดชบอร์ดมักจะแสดงผลของข้อมูลในรูปแบบ แผนภูมิ กราฟ ตาราง มาตรวัด และองค์ประกอบภาพอื่นๆ โดยจุดประสงค์หลักของแดชบอร์ดก็คือให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานะของข้อมูลโดยรวมได้รวดเร็วมากขึ้น จากเดิมที่ต้อง manual ค้นหาข้อมูลจากแหล่งเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งหากยิ่งมีข้อมูลจำนวนมาก ก็อาจจำต้องใช้เวลานานในการรวบรวม เพราะเหตุนี้ทำให้หลายองค์กรเลือกที่จะมีแดชบอร์ดไว้ดูภาพรวมข้อมูลขององค์กร เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ วางแผน หรือแก้ไขได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที  แท้จริงแล้วแดชบอร์ดมีไว้สำหรับ C-Level ? หลายคนอาจจะยังเข้าใจว่า แดชบอร์ดนั้นมีไว้สำหรับให้ผู้บริหารหรือ C-Level ขึ้นไปไว้ดูภาพรวมการบริหารเท่านั้น แต่ความจริงแล้วแดชบอร์ดสามารถนำมาปรับใช้ได้ทุกระดับหน้าที่ ซึ่งสามารถเริ่มต้นได้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติงานเพื่อให้เห็นภาพข้อมูลโดยละเอียดไว้สำหรับการวิเคราะห์และตัดสินใจในแต่ละวัน    แดชบอร์ดที่ดีจำเป็นต้องมีลักษณะพื้นฐานอย่างไร องค์ประกอบของหน้าแดชบอร์ดจำเป็นต้องมีการจัดวางที่เหมาะสม เรียบง่าย และดูสบายตา  อัปเดตข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจและสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเรียลไทม์ สามารถดึงข้อมูลได้หลากหลายแหล่ง เช่น ฐานข้อมูล สเปรดชีต API และบริการบนคลาวด์ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้ในที่เดียว สามารถรองรับและเข้าถึงได้จากทุกอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ เดสก์ท็อป และ สมาร์ทโฟน ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่สามารถป้องกันข้อมูลของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี เปรียบเทียบการใช้และไม่ใช้แดชบอร์ด Dashboard Dashboard อำนวยความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลด้วยแผนภูมิ กราฟ ฯลฯ ใช้เวลาวิเคราะห์จากข้อมูลดิบ แล้วนำมาทำรายงานอีกที ซึ่งอาจพลาดข้อมูลที่สำคัญ แสดงข้อมูลเป็นล่าสุดอยู่เสมอ ต้องคอยอัปเดตข้อมูลใหม่อยู่ตลอด สามารถเลือกมุมมองแสดงผลข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้ ออกแบบรายงานแยกให้ตรงกับบทบาทของแต่ละบุคคลด้วยวิธี manual มีระบบควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน มีความเสี่ยงข้อมูลรั่วไหลได้มากกว่า...

Continue reading
Airbus x Google Workspace & Cloud

4 เหตุผลที่ Airbus เลือกใช้ Google Workspace & Google Cloud

Chief information officer (CIO) ของ Airbus กล่าวว่า  “ ‘Any device, anytime, anywhere’ คือวิสัยทัศน์ใหม่ของ Airbus ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการซัพพอร์ตของ Google Workspace และ Google Cloud ที่ช่วยเปลี่ยนรูปแบบการรักษาความปลอดภัย การจัดการข้อมูล และการทำงานร่วมกันขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ” ทำไม Airbus ถึงเลือกใช้ Google Workspace & Google Cloud? 1. ระบบมีความปลอดภัยสูง เพื่อให้มั่นใจว่า Google Workspace และ Google Cloud นั้นมีความปลอดภัยมากพอตามที่ Airbus ต้องการ Airbus จึงได้มีการนำโมเดล Zero-trust security มาประยุกต์ใช้เพื่อปกป้องข้อมูลและควบคุมความปลอดภัย ไม่ว่าพนักงานจะทำงานอยู่ที่ใด เมื่อไรก็ตามที่มีการ Log in เข้าใช้งาน ระบบจะทำการตรวจสอบก่อนเสมอ ซึ่งพนักงานแต่ละคนจะถูกจำกัดให้เข้าใช้งานเพียงครั้งเดียวหรือเรียกว่า Single Login เท่านั้น รวมถึงระบบจะมีการแจ้งเตือนความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของการเข้าสู่ระบบในครั้งนั้นด้วย และสำหรับด้านฝั่ง Admin เพื่อให้การปกป้องข้อมูลมีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น ผู้ดูแลระบบสามารถตั้งค่า Google Workspace เพื่อกำหนดกฎการเข้าถึงข้อมูลและการแชร์ไฟล์สำหรับภายในและภายนอกองค์กรได้ ไม่เพียงเท่านั้น การเข้ารหัสยังเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการรักษาข้อมูลให้มีความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย โดย Google Workspace จะใช้การเข้ารหัสครั้งล่าสุดเป็นมาตรฐานในการเข้ารหัสข้อมูลทั้งหมด อีกทั้ง Airbus ยังมีการเข้ารหัสฝั่งไคลเอ็นต์ (Client-side encryption) ไว้สำหรับโปรเจกต์ที่มีความละเอียดอ่อนของข้อมูลขั้นสูง เพราะการเข้ารหัสแบบดังกล่าวจะทำให้องค์กรมีสิทธิ์ควบคุมข้อมูลในฐานะเจ้าของคีย์การเข้ารหัสแต่เพียงผู้เดียวนั่นเอง 2. สามารถจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก Airbus มีคลังข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงจำเป็นต้องตรวจสอบว่าในองค์กรมีการปฏิบัติตามนโยบายการควบคุมข้อมูลอย่างครบถ้วนตามกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) แล้วหรือไม่ (สำหรับประเทศไทย คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)) ดังนั้นแล้วเพื่อเป็นการจัดการข้อมูลอย่างถูกต้อง เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพ...

Continue reading

Google Cloud (Storage) คืออะไร?

Google Cloud คือ? Google Cloud ชื่อที่เราเรียกกันจนชินปาก จริง ๆ แล้วสิ่งที่ทุกคนหมายถึงนั่นก็คือ Google Cloud Storage นั่นเอง ซึ่งก็คือการจัดเก็บข้อมูลผ่านทาง Google ที่คุณสามารถสร้างและเก็บไฟล์ได้โดยผ่านระบบออนไลน์ได้อย่างง่าย เพียงแค่คุณมีบัญชี Gmail ก็สามารถเข้าถึงฟังก์ชันต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์ผลงานออนไลน์ผ่าน Google Workspace (Docs, Sheets, Slides) หรือ แอปพลิเคชันอื่นๆจาก Google ระบบก็จะทำการบันทึกไฟล์อัตโนมัติและอัปโหลดบน Cloud ได้ทันที ไม่เพียงแต่งานเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือไฟล์ต่างๆที่คุณต้องการจัดเก็บอีกด้วย  *ในส่วนของ Google Cloud นั้นจะมีความหมายคนละอย่างกันกับ Google Cloud Storage นะ ! Google Cloud Storage ดียังไง? ไม่ต้องมี Hard Disk หรือ Flash Drive หลายๆคนอาจจะชินกับการทำงานแบบเดิมๆ ที่ต้องอาศัยการเก็บข้อมูลผ่าน Hard Disk หรือ Flash Drive ซึ่งคุณนั้นต้องพกมันไปทุกที่ ไม่หนำซ้ำยังต้องระวังเรื่องไวรัสอีก ไม่เหมือนกับสมัยนี้ที่ทุกอย่างเปลี่ยนเป็นระบบออนไลน์ไปซะหมด คุณจะไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริมแบบเดิมๆอีกต่อไป ทุกครั้งที่คุณมีการทำงานผ่านแอปพลิเคชันของ Google งานของคุณก็จะถูกบันทึกอยู่บน Cloud ทันที ประหยัดค่าใช้จ่าย สืบเนื่องมาจากข้อด้านบน แน่นอนว่าพอคุณไม่ต้องพก Hard Disk หรือ Flash Drive ก็จะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์ใหม่ที่มีความจำเยอะขึ้นเพื่อจัดเก็บไฟล์หรือข้อมูลที่มากขึ้น แชร์ให้คนอื่นได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา เนื่องจากว่าเป็นการจัดเก็บข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ จึงทำให้คุณสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวหรือแชร์ให้บุคคลอื่นได้ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าตัวคุณไม่ได้ออนไลน์อยู่ เพื่อนหรือทีมของคุณก็สามารถเข้าถึงไฟล์นั้นๆได้ตามที่คุณต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา ใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์ หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่อง Hard Disk หรือ Flash Drive เช่นเดิมที่เมื่อก่อนนั้นคุณต้องเสียบกับ Computer หรือ...

Continue reading

Google Cloud Blog: ศูนย์รวมข่าวคลาวด์แห่งใหม่

Google Cloud เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ซึ่งมีจำนวนประกาศ ข่าวสาร เรื่องราวมากมายที่ทางกูเกิ้ลอยากแบ่งปันแชร์ ดังนั้นคงจะดีกว่าถ้ารวบรวมสิ่งเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกันในที่เดียว นั่นคือ “Google Cloud Blog” ไม่ว่าจะเป็น How to ข้อมูลทางเทคนิคเชิงลึก หรือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดจาก Google “Cloud Blog” เป็นที่ที่คุณสามารถค้นหาข่าวสารล่าสุดจาก Google Cloud, G Suite, Chrome Enterprise และอื่น ๆ อีกมากมาย บล็อกใหม่นี้นับว่าเป็นสถานที่เฉพาะสำหรับเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับระบบคลาวด์ เหมาะกับองค์กรและหน่วยธุรกิจของคุณ คุณสามารถเข้าไปติดตามข่าวสารได้ที่ https://cloud.google.com/blog/ บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการ G Suite ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ (ตัวแทน Google ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมพร้อมราคา G Suite โปรโมชั่นพิเศษ โทร!  02-675-9371 (Office) 092-262-6390 (Support) 095-896-5507 (Sale) 097-008-6314 (Sale) support@dmit.co.th Official LINE...

Cloud Hosting แตกต่างจาก Web Hosting ทั่วไปอย่างไร?

เว็บไซต์ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งในการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ ซึ่งหลายธุรกิจเลือกที่จะใช้บริการเช่าพื้นที่ฝากเว็บไซต์ อย่างที่ทุกคนน่าจะรู้จัก และคุ้นเคยกันดีกับ Web Hosting แล้วมันแตกต่างกับ Cloud Hosting อย่างไร วันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Web Hosting (ในที่นี้เราจะยกตัวอย่าง Shared Hosting) และ Cloud Hosting กันก่อนดีกว่า  ว่ามันคืออะไร แตกต่างกับ Cloud Hosting อย่างไรบ้าง Shared Hosting ระบบส่วนใหญ่ที่คนทั่วไปนิยมใช้ และรู้จักกันดีที่สุด คือ Shared Hosting ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานแบบหนึ่งของ Web Hosting ความหมายตรงๆตัวเลย ก็คือ การใช้งานระบบ Hosting แชร์ทรัพยากรกับผู้ใช้งานท่านอื่นๆ ภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดไว้ เช่น CPU 4 Core, RAM 8GB, HDD 1TB สมมติว่ารับผู้ใช้งานมาใช้บริการ 100 User หากมี User ใดใช้งานหนักๆ ก็อาจจะทำให้ระบบทั้งหมดล่มได้ นั่นก็แปลว่า เมื่อระบบล่ม ผู้ใช้งานทั้ง 100 User ก็จะไม่สามารถใช้งานระบบได้ เว็บไซต์ก็จะล่มไปด้วยนั่นเอง ข้อดี: – หาเช่าใช้บริการได้ง่าย – พร้อมใช้งานได้เลย ไม่ต้องติดตั้งซอฟแวร์เอง – ราคาถูก ข้อเสีย: – เป็นการใช้งานระบบร่วมกัน หากตั้งค่าความปลอดภัยไม่ดีอาจโดนเจาะระบบทั้งหมด – แนวโน้มที่เซิฟเวอร์จะล่มทั้งระบบเป็นไปได้สูง บางกรณีอาจจะใช้เวลานานมากในการกู้คืน – หากมีปัญหาเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานคนใดคนหนึ่ง ก็จะกระทบกับผู้ใช้งานโดยรวม เช่น ส่งอีเมล Spam ทำให้โดน Block IP ของเซิฟเวอร์ ผู้ใช้งานคนอื่นๆ ในระบบก็จะไม่สามารถส่งอีเมลได้ เป็นต้น Cloud Hosting คล้ายกับระบบ Shared Hosting...

Continue reading