Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

เปิดร้านบน WeChat กับ TMall ต่างกันอย่างไร?

เปิดร้านบน WeChat กับ TMall ต่างกันอย่างไร?

การเลือกแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการขายสินค้าออนไลน์แบบข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ซึ่งเเนวทางการเลือกเเพลตฟอร์มนั้นขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า ราคา และกลุ่มเป้าหมาย ปัจจุบันเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในจีนมีหลากหลาย โดยแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยม ได้แก่ Tmall (天貓), WeChat (微信), Pingduoduo (拼多多), JD.com (景東) รวมไปถึง Social Commerce ต่างๆ เช่น Kuaishou(Kwai), Douyin (抖音) หรือที่ในตลาดนอกประเทศจีนเรียกว่า Tiktok ซึ่งกำลังมาแรงในปี 2020 โดยเฉพาะช่วงล็อกดาวน์จากโควิด-19 ที่มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

จากการสำรวจของ QuestMobile2020 พบว่าบริษัทเจ้าของโมบายเเอปที่ได้รับความนิยมสูงสุด 2 อันดับในจีน ณ เดือนมีนาคม ปี 2020 เป็นค่าย Tencent เเละ Alibaba ซึ่งจะเห็นได้ว่าอันดับที่ 1 และ 2 จะอยู่ในเครือของ Tencent โดยแอปที่มีผู้เข้าใช้มากที่สุดคือ WeChat ซึ่งมีผู้ใช้งานกว่า 946 ล้านคน เเละตามมาด้วย QQ ที่มีผู้ใช้งาน 705 ล้านคน สำหรับรองลงมาเป็นอันดับที่ 3 และ 4 เป็น-ของเครือของ Alibaba คือ Alipay มีผู้ใช้งานถึง 703 ล้านคน เเละ Taobao 670 ล้านคน ตามลำดับ ส่วนอันดับต่อมาเป็นแอปด้านคอนเทนท์บันเทิงนั่นก็คือ iQIYI (爱奇艺 อ่านว่าอ้ายฉีอี้) ที่ให้บริการหนังออนไลน์สตรีมมิ่งคล้ายกับ Netflix ที่มีผู้ใช้งาน 572 ล้านคน เเละ Youku ที่ให้บริการคล้ายกับกับ Youtube ที่มีผู้ใช้งาน 536 ล้านคน

อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจไทยที่มักจะมีคำถามว่าการจะขายสินค้าไปยังตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างประเทศจีนจะมีช่องทางใดบ้าง ซึ่งปัญหาที่ธุรกิจไทยมักจะประสบ ก็คือการสมัครเข้าใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ การเก็บคลังสินค้า การจัดการภาษีนำเข้า ฯลฯ ดังนั้นช่องทางการขายสินค้าออนไลน์แบบข้ามพรมแดนหรือที่เราเรียกว่า Cross-Border e-Commerce จึงเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงสำหรับธุรกิจที่อยู่นอกประเทศจีน เนื่องจากเริ่มต้นได้ไม่ยาก ต้นทุนในการทำธุรกิจไม่สูง เงินลงทุนน้อย และเป็นวิธีการในการทดสอบตลาดเบื้องต้น 

ก่อนจะลงทุนก้อนที่สองเพื่อเข้าตลาดจีนแบบเต็มตัว ดังนั้นดีมีเตอร์ไอซีที จึงอยากแนะนำช่องทางขายสินค้าออนไลน์แบบข้ามพรมแดน (Cross-Border e-Commerce) ที่ได้รับความนิยมจากธุรกิจต่างชาติในปัจจุบัน ทั้งสองแพลตฟอร์ม นั่นก็คือการเปิดร้านออนไลน์บน TMall Global หรือที่รู้จักกันว่า TMall สีน้ำเงิน และการเปิดร้านบนแพลตฟอร์ม WeChat หรือที่นิยมเรียกกันว่า WeChat Shop ที่อยู่บน Mini-Program ของ WeChat

TMall Global คืออะไร?

TMall Global (天貓國際) หรือ ทีมอลสีน้ำเงิน เป็นอีคอมเมิร์ซเเพลตฟอร์ม e-Marketplace เเบบ Business to Customer (B2C) ในเครืออาลีบาบากรุ๊ปที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศจีน เป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ 100% ซึ่งเน้นขายสินค้าขายปลีกประเภทสุขภาพ เครื่องสำอาง เเละสินค้าเเม่เเละเด็กที่เป็นสินค้าพรีเมี่ยมมีชื่อเสียงไปจนถึงสินค้าเเบรนด์เนมที่ถูกลิขสิทธิ์ จึงมีค่าเปิดร้านค้าที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นการเปิดร้านบน TMall จำเป็นต้องเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีน่าเชื่อถือสูงเเละมีชื่อเสียงอยู่เเล้ว

จากการสำรวจพบว่าTMall (天猫) มีจำนวนลูกค้า ณ เดือนธันวาคมปี 2019 มีผู้ใช้งานกว่า 711 ล้านคน เเละในแคมเปญวันที่ 11.11 หรือวันคนโสดของจีนร้านค้าบน TMall สามารถทำยอดขายรวมกันประมาณ 38.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.19 ล้านล้านบาทภายใน 24 ชั่วโมง หรือมากกว่ายอดขายรวมของ 7Eleven ในไทยทั้งปี ซึ่ง TMall เป็นแพลตฟอร์มที่นักธุรกิจไทยสนใจที่จะเปิดร้านค้ามากที่สุด อย่างไรก็ตาม ร้านค้าส่วนใหญ่ในTmall Global จำเป็นต้องมีเงินทุนสูงในการเปิดร้านผ่าน TMall เเละทุกเเบรนด์ที่ลงขายกับTMallนั้น ก็จะต้องทำตามข้อกำหนดในการเปิดร้านค้า นั่นก็คือต้องใช้บริการของทางTMall Partner หรือเรามักจะนิยมเรียกว่า TP 

Tmall Partners (TP) คืออะไร

TP เป็นตัวกลางระหว่างผู้ประกอบการกับลูกค้าที่ช่วยบริการเกี่ยวกับการขนส่ง การให้ความช่วยเหลือลูกค้า การเเพ็คสินค้า ทำการตลาด รวมไปถึงการดำเนินการเปิดร้าน ซึ่งค่าธรรมเนียมTPนั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า ปริมาณการขนส่งสินค้า เเละการเลือก TP ว่าเป็นรายใหญ่หรือเล็ก นอกจากนี้ TP เก็บค่าบริการจากผู้ประกอบการ 25% จากกำไรสุทธิ ซึ่งการเปิดร้านค้าบน Tmall Global ได้นั้นเเบรนด์ หรือผู้ประกอบการเจ้านั้นจะต้องมีสินค้า 20 ประเภทขึ้นไป หรือ 20 SKUs 

ตัวอย่างเช่น  เเบรนด์ Dior การเปิดร้านค้าบน TMall Global  ต้องลงสินค้า 20ประเภทในการเปิดร้าน ดังนั้น Platform Tmall Global จึงเหมาะกับบริษัทรายใหญ่ที่มีเงินทุนค่อนข้างสูงมากเเละมีงบประมาณในการทำการตลาดปีละ 30 ล้านบาท ซึ่งขอบเขตการให้บริการของ Tmall Partner (TP) มีดังต่อไปนี้

  • จัดทำแผนการดำเนินงานให้กับร้านค้า
  • ดำเนินการเปิดร้านค้า
  • ตกแต่งร้านค้า และใส่ข้อมูลผลิตภัณฑ์
  • การจัดการผลิตภัณฑ์ การวางแผนแคมเปญ และการดำเนินการ
  • กิจกรรมส่งเสริมทางการตลาด
  • ประสานงานด้านโลจิสติกส์ ขนส่งข้ามพรมแดน อากร
  • บริการคลังสินค้า เเละบริการจัดส่ง
  • จัดทำรายงาน: รายงานการดำเนินงาน และการวิเคราะห์

สำหรับการเรียกเก็บเงินของ TMall Partners (TP) นั้น โดยปกติแล้วTMall Partners จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 3 ประเภท

  • ค่าธรรมเนียมการเปิดร้านค้าบน Tmall
  • ค่าดำเนินการต่อเดือน
  • ค่าคอมมิชชั่นจากการขาย

ซึ่งความปวดเศียรเวียนเกล้าของธุรกิจที่ต้องเลือก TP คือราคาของแต่ละรายที่เสนอมา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ!! ตัวอย่างจริงตามตารางข้างล่าง ของลูกค้าบริษัท A (นามสมมติ) ที่ได้รับข้อเสนอจาก TP จำนวน 4 ราย ดังตารางข้างล่างนี้

ตารางค่าธรรมเนียม TMall Partners (TP) ของ Tmall มี 4 รายที่เสนอให้กับลูกค้ารายเดียวกัน (ตัวอย่างจริง)

ชื่อค่าคอมมิชชั่นค่าธรรมเนียมการสร้างร้านบนTMall (USD)ค่าธรรมเนียมรายเดือน (USD)
TP110%21,00023,000
TP 27%8,5008,500
TP  310%10,000
TP 45%18,00025,000

จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่า TMall Partner เเต่ละรายมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน เช่น ค่าคอมมิชชั่นที่มีตั้งแต่ร้อยละ 5 จนถึงร้อยละ 10 ของยอดขาย หรือค่าธรรมเนี่ยมรายเดือนที่แตกต่างกันถึง 3 เท่า หรือที่เปรียบเทียบชั่งใจกันยากก็คือ TP รายที่ 2 และ 4 ที่ต้องประมาณการยอดขายว่าหากยอดขายถล่มทลายจะจ่ายค่าคอมมิชชั่น 10% ดี หรือว่าค่าธรรมเนียมรายเดือนที่แพงกว่าดี

ดังที่กล่าวมาข้างต้น การขายของบน TMall Global เหมาะกับสินค้าเเบรนด์เนม หรือสินค้าที่มีคนรู้จักในจีนอยู่เเล้ว การเปิดร้านบน TMall Global มีความยากตรงที่มีข้อกำหนดให้ผู้ประกอบการทุกคนมี Warehouse  หรือคลังเก็บสินค้าในประเทศจีน เเละมีค่าใช้จ่ายรายเดือนสำหรับการฝากสินค้าในโกดัง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ประกอบการต้องส่งสินค้าผ่านตัวกลางของ TMall เท่านั้น ซึ่งตัวกลางก็คือ TMall Partners ที่ทาง TMall เป็นผู้เลือกโดยจะส่งรายชื่อ TMall Partner ให้กับผู้ประกอบการที่จะเปิดร้านค้าบน Tmall Global เลือกว่าเป็น TMall Partners รายใด อย่างไรก็ตาม ค่าเปิดร้านบน TMall รวมไปถึงการทำตลาดจะอยู่ที่ปีละประมาณ 30 ล้านบาท

 

WeChat คืออะไร?

วีแชต หรือ Weixin เป็นเเอปส่งข้อความทีใช้ได้ทั้งในโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นการเเชท ดูข่าวสาร ทำธุรกรรมจ่ายเงิน เรียกเเท็กซี่ หรือเเม้เเต่การจองตั๋วเครื่องบิน ในปัจจุบันวีเเชทมีผู้ใช้งานกว่า 1.15 พันล้านคนต่อเดือน ซึ่งบริษัทเจ้าของ WeChat คือบริษัท Tencent ที่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน และเป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่อันดับที่ 6 ของโลก  



WeChat เป็นเเพลตฟอร์มโซเซียลมีเดียที่คนจีนส่วนใหญ่นิยมใช้ โดยมีอัตราผู้ใช้งานโดยเฉลี่ยประมาณวันละ 82 นาทีต่อวัน นอกจากจะสามารถเเชทกันในชีวิตประจำวันได้เเล้ว ยังสามารถตั้งกลุ่มประชุมงาน แชร์ไลฟ์สไตล์ลงในวีเเชทโมเม้น เเละชำระเงินในเเพลตฟอร์มได้อีกด้วย วีเเชทประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือการผสมผสานระหว่างเฟสบุค (Facebook)  ข้อความ (Messages)  เเละเพย์พาล(Paypal)

  1. การเเชทบนวีเเชท :เป็นฟีเจอร์แรกของ WeChat ซึ่งเป็นการแชทที่คล้ายกับ Facebook Messenger หรือ Whatsapp ใช้ในการคุยกันในชีวิตประจำวัน
  2. วีเเชทโมเม้น :คล้ายกับไทม์ไลน์ของ Facebook เป็นสถานที่ที่ผู้ใช้สามารถโพสต์หรือเข้าถึงข่าวสารจากเพื่อนๆได้ ซึ่งปัจจุบันสามารถทำการโปรโมทสินค้าผ่านวีเเชทโมเม้นได้
  3. กระเป๋าเงินในวีเเชท หรือ วีเเชทเพย์ :  คือการเข้าถึงบริการการชำระเงิน การโอนเงินการจองตั๋วเครื่องบิน และตั๋วภาพยนตร์ผ่านเเอปของวีเเชท

นอกจากนี้เเล้วภายใน WeChat ก็มีเเอปเล็กๆ ที่เรียกว่า WeChat Mini Program ในรูปแบบของ WeChat shop  ซึ่งสามารถเปิดเป็นร้านค้าลงขายของ เเละชำระเงินค่าสินค้าในเเอปได้เลย เหมาะสำหรับร้านค้าที่เป็นเเบรนด์ของตัวเอง ตั้งเเต่เป็นสินค้าเเบรนด์เนมไปจนถึงเป็นสินค้าระดับปานกลาง เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม เสื้อผ้า ของใช้ต่างๆ ซึ่งสามารถขายสินค้าได้เเบบเสรี ไม่มีข้อกำหนดในจำนวนของ SKUs ของการขายสินค้า เหมือนกับ TMall Global   

อย่างไรก็ตาม การเปิด WeChat Shop ไม่ใช้เรื่องยาก เพียงมีเอกสารครบก็สามารถสมัคร WeChat Shop ได้เเล้ว แต่ด้วยปัญหาทางด้านภาษาที่อาจไม่ชำนาญนัก ทำให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ยาก เสียเงินและเวลาในการทำการตลาดโดยไม่จำเป็น  ดังนั้นการมีผู้ดำเนินการช่วยดูเเลในด้านการทำการตลาดจะทำให้เเบรนด์เป็นที่รู้จักได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น



 WeChat Trade Partner คือบริการที่ช่วยลูกค้าตั้งเเต่การสมัครติดตั้งร้านค้าบน WeChat ซึ่งทางผู้ให้บริการ WeChat Trade Partner เป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมดตั้งเเต่การสมัคร WeChat Official Account เเละเปิดร้านค้าบน WeChat Shop ในรูปแบบ WeChat Mini-Program (WeChat Mini Program คืออะไร?) ไปจนถึงการบริการด้านเซอร์วิสต่างๆ ทั้งในเรื่องของการคิดแผนการตลาด การคิดเคมเปญ การเเปลเนื้อหาจากภาษาไทยเป็นภาษาจีน การตอบคำถามลูกค้า ไปจนถึงติดต่อประสานงานเมื่อระบบมีปัญหา นอกจากนี้เเล้ว ยังมีการเชื่อมต่อกับระบบ Payment Gateway ของบริษัทรับชำระเงินในสกุลเงินหยวนที่แปลงเป็นเงินสกุลบาท ซึ่งผู้ให้บริการ WeChat Trade Partner จะบริหารจัดการการขายสินค้าแบบครบวงจร เพื่อให้ธุรกิจที่ขายสินค้าบน WeChat สามารถเข้าถึงลูกค้าชาวจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต้นทุนต่ำสุดเมื่อเทียบกับการใช้ช่องทางอื่นๆ อย่างไรก็ตามการสมัคร WeChat One-Stop Service Trade Partner นั้น ธุรกิจที่สนใจขยายตลาดบน WeChat ควรมีงบประมาณการตลาดอยู่ที่ปีละประมาณ 2-3 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายการเปิด WeChat Trade Partner Service  ราคาการเปิดมีความเเตกต่างจาก Tmall เพราะ WeChat เป็นการจ่ายเงินเเบบต้นทุนคงที่ (Fix Cost) ซึ่งจะไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

  • Store set-up & design: ค่าใช้จ่ายการเปิดร้านค้า เเละการออกเเบบร้านค้า
  • Customer service: ค่าบริการติดต่อลูกค้า ประสานงานแก้ไขปัญหา เเละขนส่งสินค้า
  • WeChat Content: ค่าบริการด้านภาษา โดยอ้างอิงเนื้อหาจากลูกค้า นำมาแปลงเป็นภาษาจีนลงในโซเชียลมีเดีย เเละตรงใจกลุ่มเป้าหมาย
  • WeChat influencer campaigns: ทำแคมเปญด้านการตลาด โปรโมทสินค้า แนะนำการทำกลยุทธ์การตลาด ทำคูปองส่วนลดต่างๆ
  • Commission:  คิดค่าคอมมิชชั่น 2% จากยอดขายสินค้า 

อย่างไรก็ตามการใช้บริการ WeChat Trade Partner Service เหมาะกับธุรกิจที่มีสินค้าอยู่เเล้วในไทย หรือผู้ที่อยากเริ่มต้นนำสินค้าไทยเข้าสู่การขายออนไลน์ในประเทศจีน เเละมีงบการตลาดที่ไม่สูงมากนัก ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความเสี่ยงในการลงทุนต่ำกว่าการเปิดร้านบน Tmall Global กว่า 10 เท่า

สุดท้ายการเลือกเเพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญที่จะพาให้ธุรกิจสำเร็จได้ง่ายเเละรวดเร็วยิ่งขึ้นในประเทศจีน ซึ่งการศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะเลือกเเพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ นั้นส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มีประสิทธิภาพสุงสุดในการเปิดตัวแบรนด์สินค้าในจีน

สอบถาม WeChat Trade Partner Service  เเละข้อมูลเพิ่มเติม

โทร 02-030-0066 (office), 092-2620475

 Email: support@dmit.co.th

Official LINE