Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

มาดูกัน Google Meet ช่วยให้การวิดีโอคอลปลอดภัยได้อย่างไร

ในช่วงที่เราต้อง Work from home หลายคนที่ใช้ Video conference ในการทำงานร่วมกันเริ่มมีความกังวลใจในเรื่องความปลอดภัยไม่น้อย วิดีโอจะหลุดมั้ย? จะมีคนแฮ็คหรือเปล่า? Google Meet นับว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือดีๆ ที่ให้คุณสามารถวิดีโอคอลได้อย่างปลอดภัย

อ่านบทความเพิ่มเติม: 6 เคล็ดลับ Video Conference อย่างไรให้ราบรื่น

รู้หรือไม่?

Google Meet ถูกออกแบบมาให้มีการป้องกันในตัว มีโครงสร้างพื้นฐานที่ปลอดภัยตามมาตรฐานเดียวกับที่ Google ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน:

  • Meet นั้นมีมาตรฐานความปลอดภัย IETF สำหรับ Datagram Transport Layer Security (DTLS) และ Secure Real-time Transport Protocol (SRTP)
  • ตามปกติแล้วใน Meet ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเข้ารหัส (encrypted) ระหว่างผู้ใช้งานและ Google ทั้งการประชุมทางวิดีโอบนเว็บเบราว์เซอร์ และในแอปพลิเคชันบน Android และ iOS
  • รหัสที่ใช้สำหรับการเข้าร่วมประชุม หรือ Meeting ID แต่ละอันมีความยาว 10 ตัวอักษร โดยมีตัวอักษรถึง 25 ตัวในรหัส 1 ชุด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากหน่อยหากจะมีใครสักคนพยายามแฮ็คเข้ามาด้วยการเดารหัส
  • เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนในการอัปเดตแพ็ตช์ด้านความปลอดภัย Meet จะทำงานเองบนเว็บเบราวเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น Chrome, Firefox, Safari, หรือ Microsoft Edge ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอิน หรือซอฟต์แวร์ใดๆ เพิ่มเติม ส่วนอุปกรณ์เคลื่อนที่แนะนำให้ติดตั้งแอปพลิเคชัน Meet แทนการใช้งานผ่านเบราวเซอร์ เพื่อการใช้งานที่เสถียรมากยิ่งขึ้น
  • สนับสนุนข้อกำหนดการปฏิบัติตามกฎระเบียบซึ่งรวมถึง COPPA, FERPA, GDPR และ HIPAA

ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Meet ที่ช่วยให้การประชุมปลอดภัยยิ่งขึ้น

Google ได้พัฒนาฟีเจอร์ใหม่เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้ G Suite ทุกคน เพื่อให้สามารถควบคุมการประชุมได้ให้ปลอดภัยมากขึ้น รายละเอียดดังนี้:

  • เฉพาะผู้สร้างการประชุมและเจ้าของ Calendar เท่านั้นที่สามารถปิดเสียง หรือลบผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ออกจากการประชุมได้
  • เฉพาะผู้สร้างการประชุมและเจ้าของ Calendar เท่านั้นที่สามารถอนุมัติคำขอการประชุมจากผู้เข้าร่วมนอกโดเมน และผู้เข้าร่วมภายนอกจะไม่สามารถเข้าร่วมก่อนผู้สร้างการประชุมได้
  • สามารถสร้างการประชุมด้วยการกำหนดเป็นคำสั้นๆ (Nicknamed meeting) เช่น Sales team101 แต่ผู้เข้าร่วมประชุมจะไม่สามารถเข้าร่วมได้อีกเมื่อผู้เข้าร่วมคนสุดท้ายออกจากการประชุมไป จนกว่าผู้สร้างการประชุมจะเริ่มการประชุมใหม่ และไม่สามารถกำหนดชื่อซ้ำกันได้

ภาพตัวอย่างการสร้าง Nicknamed meeting

เพื่อรองรับความต้องการขององค์กรต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทาง Google ได้ขยายการใช้งานฟีเจอร์ Meet ในแพ็คเกจพรีเมี่ยมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ใช้ G Suite ทั้งหมดจนถึง 30 กันยายน 2020 ซึ่งในแพ็คเกจนี้ครอบคลุมการประชุมได้มากถึง 250 คนต่อ 1 สายสนทนา รวมถึงการไลฟ์สตรีม (Live streaming) ที่รองรับผู้เข้าชมภายในโดเมนได้ถึง 100,000 คน นอกจากนี้ยังสามารถบันทึกการประชุมโดยไฟล์จะถูกบันทึกลงใน Google Drive อัตโนมัติ

ที่มา: Google Blog

G Suite เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด
พาร์ทเนอร์ Google ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการ