หากใครเคยเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าโดยเฉพาะโซนอุปกรณ์กีฬา เชื่อว่าคงจะคุ้นหูคุ้นตากับแบรนด์ TaylorMade อยู่ไม่น้อย ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะ TaylorMade เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ผลิตอุปกรณ์กีฬาที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว เมื่อถึงจุดหนึ่งที่กระบวนการทำงานภายในองค์กรล้าสมัยและถึงคราวต้องปรับเปลี่ยน TaylorMade ก็ได้ยกระดับการจัดการบริการด้านไอที นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่สามารถลดระยะเวลาการตอบกลับได้ถึงครึ่งหนึ่ง แม้ปริมาณการสอบถามจะเพิ่มขึ้นถึง 250% เลยก็ตาม TaylorMade ทำได้อย่างไร? เบื้องหลังของตัวเลขนี้มีความเป็นมาอย่างไรกันนะ? ในบทความนี้ Demeter ICT จะเล่าให้คุณฟัง ใช้ระบบออโตเมชันเข้าช่วยในงานที่จำเจ “พันธกิจของแผนกไอทีเราคือต้องลด Downtime ให้น้อย และเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงที่สุด ระบบอัตโนมัติเป็นปัจจัยสำคัญเลยที่ทำให้เราเลือก Freshservice ฟีเจอร์และโมดูลของ Freshservice ทำให้เราเริ่มต้นใช้งานได้รวดเร็ว สำหรับเราที่จะบรรลุเป้าหมาย เราต้องมี Workflow และกระบวนการมหาศาลสำหรับเจ้าหน้าที่ 100 คนของเรา” – Ali Chitsaz, Senior Manager of Client Experience กล่าว ตัวอย่างฟีเจอร์เด่นของ Freshservice ที่ TaylorMade ใช้งาน Workflow Automation : ระบบสำหรับสื่อสารอัตโนมัติเมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ทั้งพิกัดของผู้ร้องขอ (Requester) ผู้อนุมัติ และอื่น ๆ และยังสามารถแท็ก Back-end ทำให้การค้นหาบทความที่เหมาะสมเป็นเรื่องง่าย ซึ่ง TaylorMade ก็ได้ใช้งานระบบอัตโนมัติอย่าง Workflow สำหรับรีเซ็ตพาสเวิร์ดและใช้งาน Workflow ในการส่งต่อเรื่องไปยังบุคคลที่สาม Project Module : TaylorMade นำกระบวนการทางไอทีทั้งหมดรวมอยู่ในที่เดียว ทำให้เห็นภาพรวมโปรเจกต์ได้ชัดเจนขึ้น เจ้าหน้าที่สามารถใส่รายละเอียดเพิ่มเติม เปลี่ยนสถานะ ลำดับความสำคัญ และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทำให้โปรเจคมีการอัปเดตล่าสุดตลอดเวลา Asset Management : โมดูลนี้ของ Freshservice ช่วยให้ TaylorMade สามารถติดตามและบริหารจัดการทรัพย์สินทางไอที เจ้าหน้าที่สามารถจัดการกับ Ticket ที่เพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นหาวิธีแก้ไข ผู้ที่สอบถามเองก็สามารถเข้าถึงบทความโซลูชันสำหรับผู้ใช้งานกว่า 50 บทความได้อย่างรวดเร็ว Analytics & Reporting : สำหรับ...
Continue readingZendesk Support เพื่อ IT Support ของมหาวิทยาลัยลิงคอล์น
Use Case Internal Number of Students 12,000+ Number of Agents 58 Favorite Feature Mobile Apps Products Used “มหาวิทยาลัยลิงคอล์น (University of Lincoln) เปิดให้บริการในปี 2001 ในระยะเวลา 10 ปีต่อมา มหาวิทยาลัยมีพนักงาน บุคลากร และคณะครูอาจารย์ทั้งหมด 1,200 คน รวมถึงมีนักศึกษาจากสาขาต่าง ๆ รวมกันมากกว่า 12,000 คน” นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่ามหาวิทยาลัยลิงคอล์นได้สร้างงานใหม่อย่างน้อย 3,000 ตำแหน่ง ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจในท้องถิ่นมากกว่า 250 ล้านปอนด์ต่อปี ในยุคของการลดงบประมาณ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรต่างก็กำลังมองหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการลดค่าใช้จ่ายของตัวเอง มหาวิทยาลัยลินคอล์นเองก็ได้มีการริเริ่มที่จะพัฒนาการบริการแก่นักเรียนให้ดีขึ้น และได้ตระหนักว่าซอฟต์แวร์ helpdesk แบบเก่าไม่ได้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารอย่างที่เจ้าหน้าที่ IT อยากให้เป็น Tara Howard (project manager ของมหาวิทยาลัย) กล่าวว่า “ในอดีตเมื่อมีคนโทรหาเราเพื่อขอความช่วยเหลือ เรามักจะไม่ได้รับหมายเลขเคสไว้ใช้ในการติดตามลูกค้าเมื่อเราแก้ปัญหาให้ลูกค้าของเรา ซึ่งซอฟต์แวร์ helpdesk ของเราไม่ได้ช่วยเรามากไปกว่าการส่งข้อความอัปเดตสถานะอัตโนมัติ ทำให้ผู้คนต้องติดตามเราเองเพื่อหาข้อมูลซึ่งเรารู้ดีว่าเราควรทำให้มันดีขึ้นกว่านี้” ในช่วงของการเริ่มต้นค้นหาระบบใหม่ ทางมหาลัยได้สะดุดเข้ากับระบบของ Zendesk Support และได้เริ่มต้นทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี พวกเขาพบได้ทันทีว่า Zendesk Support มอบทุก อย่างที่เจ้าหน้าที่ IT ต้องการและกำลังมองหา “ในบรรดาระบบที่เรามองหา Zendesk Support สามารถดึงดูดเราและน่าสนใจมากจริง ๆ มันง่ายต่อการติดตั้งและง่ายต่อการใช้งาน และดูเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการรวมทุกการเข้าถึงของผู้คนมาไว้ที่ศูนย์กลางของ Zendesk Support” Tara Howard กล่าว ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีของมหาวิทยาลัยลินคอล์นจำนวน 44 คน ใช้ Zendesk Support ในการซัพพอร์ตและรับ ticket จากนักศึกษา คณาจารย์...
Continue reading