หากคุณเคยเห็น AppSheet หรือเคยใช้งาน AppSheet กันมาบ้างแล้ว คุณจะทราบว่าเจ้าตัว AppSheet เนี่ยมีการทำงานคล้าย Google Forms เลย คือการสร้างฟอร์มขึ้นมาเพื่อเก็บหรือนำเข้าข้อมูล และด้วยความเหมือนที่ว่านี้เองอาจจะทำให้คุณไม่เห็นถึงการนำไปใช้งานจริงของ AppSheet กันมากนัก ซึ่งหากจะพูดตามความเป็นจริงในฐานะผู้ที่ได้ทดลองใช้งานมาแล้ว ต้องบอกเลยว่ามีทั้งส่วนที่เหมือนและส่วนที่แตกต่างในเรื่องของการนำไปใช้งานและการตั้งค่าเชิงลึกต่าง ๆ
ดังนั้นบทความนี้จะช่วยให้คุณได้ทำความรู้จัก AppSheet มากขึ้นว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง มีความเหมือนและแตกต่างกับ Google Forms อย่างไร เปรียบเทียบกันชัด ๆ ไปเลย !
Google Forms ทำอะไรได้บ้าง ?
- สร้างฟอร์มแบบสอบถาม เก็บข้อมูล และอื่น ๆ
- สามารถดูผลลัพธ์ใน Google Forms และใน Google Sheets ได้ (Google Forms → Google Sheets)
- ตกแต่งได้ เช่น สี ฟอนต์ และภาพหน้าปก
AppSheet ทำอะไรได้บ้าง ?
- สร้างแอปในรูปแบบของฟอร์มนำเข้าข้อมูลได้ โดยการนำข้อมูลจาก Google Sheets มาใช้งานเพื่อกำหนดเป็นหัวข้อและใช้เพื่อเก็บข้อมูล (Google Sheets → AppSheet)
- สามารถกำหนดฟังก์ชันเองได้ (ภาษา AppSheet เรียกว่า Action) เช่น ส่งแจ้งเตือนอัตโนมัติเมื่อมีคนส่งฟอร์มเข้ามา หรือการส่งฟอร์มขอ Approvals ไปยังหัวหน้างาน
- สามารถสแกน Barcode, QR code, OCR และอื่น ๆ
- สามารถออกแบบ Workflow ให้เข้ากับการทำงานของแต่ละแผนกได้
- สามารถคำนวณให้ได้แบบอัตโนมัติ
- สามารถตั้งค่าการแสดงผลบนหน้าแอปได้ เช่น ข้อมูลที่ต้องการและรูปแบบการแสดงผล
- สร้าง Chatbot ได้
- ตกแต่งได้ เช่น ธีมของแอป ฟอนต์ ไอคอน โลโก้ สี และอื่น ๆ
สรุป AppSheet และ Google Forms เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ?
ความเหมือน
- ฟังก์ชันหน้าบ้านจะมีความคล้ายคลึงกัน คือ การสร้างฟอร์มขึ้นมาเพื่อนำเข้าข้อมูล
- สามารถใช้ Google Sheets เพื่อเก็บข้อมูลได้
- สามารถจัดการเรื่องความสวยงามได้
ความแตกต่าง
1. จุดประสงค์ของแอป
ถึงแม้ว่าสองแอปพลิเคชันนี้จะคล้ายกันที่การกรอกข้อมูลเข้าฟอร์มก็จริง แต่จริง ๆ แล้วจุดประสงค์ของ Google Forms และ AppSheet นั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง
Google Forms – กรอกเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการทำแบบสำรวจ
AppSheet – นำเข้าข้อมูลเพื่อใช้สำหรับการเชื่อมต่อกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้สามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ
2. การตั้งค่าหรือกำหนดฟังก์ชัน
ในเรื่องของหลังบ้านหรือการกำหนดฟังก์ชัน แน่นอนว่า AppSheet จะสามารถทำได้มากกว่าดังที่กล่าวไปข้างต้น เนื่องจาก AppSheet นั้นถูกพัฒนามาให้เป็นเครื่องมือสำหรับการทรานฟอร์มกระบวนการทำงานขององค์กรให้เป็นอัตโนมัติ รวดเร็ว และทันสมัย สามารถช่วยต่อยอดการทำงานของธุรกิจได้
3. การใช้งาน
ในแง่ของการใช้งาน AppSheet นั้นจะมีความซับซ้อนในการใช้งานสักหน่อยสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป เพราะต้องเข้าไปตั้งค่าเพื่อกำหนดฟังก์ชันด้วยตัวเองว่าต้องการให้แอปทำงานอย่างไร แต่หากผู้ใช้งานเป็นคนที่คุ้นเคยกับการเขียนโปรแกรมมาก่อนบ้างแล้ว ต้องบอกเลยว่าแอปนี้จะมีการทำงานที่ง่ายเหมือนปอกกล้วยเลยเพราะไม่ต้องเขียนคำสั่งด้วยโค้ดนั่นเอง
ส่วน Google Forms นั้นสามารถใช้งานง่าย เพียงแค่พิมพ์คำถามที่คุณต้องการ กำหนดประเภทคำตอบ ตกแต่ง เพียงแค่นี้ก็เสร็จแล้ว
ตัวอย่างการนำไปใช้งาน
Google Forms
- แบบสอบถาม
- แบบประเมิน
- แบบลงทะเบียน
- แบบทดสอบหรือควิซ
- และอื่น ๆ
AppSheet
- การคำนวณสินค้าในคลังด้วยการบันทึกการซื้อเข้า-ขายออก
- การบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน
- การจัดซื้อ การเบิกของ และการจัดเก็บของ
- การส่งเอกสารยืนยันหรือส่งบิลพร้อมรายละเอียดต่าง ๆ
- การขอความอนุมัติเซ็นเอกสารออนไลน์
- และอื่น ๆ
ด้วยข้อมูลที่จัดเต็มขนาดนี้เราหวังว่าบทความนี้จะสามารถช่วยให้คุณเห็นถึงการนำไปใช้งาน AppSheet และความแตกต่างระหว่าง AppSheet และ Google Forms กันมากขึ้น อีกทั้งคุณยังสามารถบันทึกบทความนี้เพื่อเป็นไกด์ในการใช้งานก็ได้เช่นกัน
หากคุณสนใจใช้งาน AppSheet และต้องการทราบว่า AppSheet สามารถนำไปใช้กับงานของคุณได้หรือไม่ อย่างไร กรุณาติดต่อผู้เชี่ยวชาญของเราที่เบอร์ 02-030-0066 หรือหากคุณมี AppSheet อยู่แล้ว กำลังมองหาบริการสอนสร้างแอปพลิเคชัน คลิกเพื่อไปยังหน้าบริการเสริม AppSheet ของเราได้เลย
แอปพลิเคชันเพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติ ตอบโจทย์สำหรับทุกธุรกิจ
บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด - พันธมิตรระดับ Google Premier Partner
ตัวแทนจำหน่าย Google Workspace ในประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ
แอปพลิเคชันเพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติ ตอบโจทย์สำหรับทุกธุรกิจ
บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด – พันธมิตรระดับ Google Premier Partner
ตัวแทนจำหน่าย AppSheet และ Google Workspace ในประเทศไทย
และเอเชียแปซิฟิกอย่างเป็นทางการ