Search
Close this search box.
Search
Close this search box.
Google Meet and Microsoft Team

Google Meet VS Microsoft Team เหมือนและแตกต่างกันอย่างไร?

หากพูดถึงเรื่องการประชุมทางไกล (Video Conference) ก็คงหนีไม่พ้นแอปพลิเคชันจากสองบริษัทชื่อดังอย่างเช่น Google Meet และ Microsoft Team ซึ่งหลาย ๆ คนคงจะคุ้นชินและเคยใช้แอปพลิเคชันเหล่านี้มาบ้างแล้ว แต่ว่าแอปพลิเคชันไหนกันที่เหมาะกับคุณ เหมือนและต่างกันอย่างไร  วันนี้ DMIT ได้รวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาไว้ที่นี่ให้อย่างจัดเต็ม พร้อมแล้ว ไปดูกันเลย! ระดับความยากง่ายของการใช้งาน Google Meet นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เพียงแค่กดเข้าหน้าแรกบนหน้าเดสก์ท็อปหรือบนแอปในโทรศัพท์ คุณก็จะเจอปุ่มที่สามารถสร้าง Meeting ได้ทันที อีกทั้งเมื่อคุณได้สร้าง Meeting ไว้แล้วคุณสามารถเลือกใช้ภาพพื้นหลังหรือเอฟเฟ็กต์อื่น ๆ ได้อีกด้วย ส่วนฝั่ง Microsoft Team นั้นจะมีการใช้งานที่ซับซ้อนมากขึ้นอีกสักหน่อย เนื่องจากเน้นการประชุมที่ค่อนข้างมีความเป็นทางการ การจะเลือกใช้งานฟังก์ชันใดจึงอาจจะต้องกดหลายปุ่ม แต่ก็ไม่ยากเกินไปอย่างแน่นอน แถมยังมีภาพพื้นหลังและลูกเล่นอื่น ๆ ไม่แพ้กัน หมายเหตุ : หากคุณต้องการเข้าใช้งานผ่านโทรศัพท์ คุณจะต้องทำการดาวน์โหลดและใช้งานผ่านแอปเท่านั้น แอปพลิเคชันที่เชื่อมต่อได้ Google Meet Calendar – คุณสามารถสร้าง New Meeting ได้ใน Google Calendar ทันที เพียงแค่คลิกวันที่และเวลาที่คุณต้องการสร้าง จากนั้นก็สามารถเพิ่มคนที่คุณต้องการที่จะให้เข้าร่วมประชุมหรือแชร์ลิงก์ได้เลย Gmail – หากคุณได้รับคำเชิญหรือมีคนแชร์ลิงก์ Meeting ให้ Google จะทำการส่ง Email เข้าไปใน Gmail ของคุณเพื่อให้คุณกดยืนยันที่จะเข้าร่วม Chat – สมมุติว่าคุณกำลังคุยงานอยู่แล้วต้องการที่จะ Meeting โดยด่วน คุณสามารถกดปุ่มรูปวิดีโอได้ที่ด้านล่างขวา จากนั้นคุณก็จะเข้าสู่ Google Meet โดยอัตโนมัติ Microsoft Team Outlook – คุณสามารถสร้างลิงก์ Meeting แล้วแชร์ไปให้ผู้เข้าร่วมทาง Email ได้ แต่มีข้อแม้คือคุณต้องเขียนอีเมลขึ้นมาเอง Calendar – การใช้งานจะคล้ายกับ Google Meet ที่กล่าวไปด้านบน แต่ว่า Microsoft...

Continue reading

เปิดโหมด ‘Focus time’ ขอเวลาโฟกัสงานกับ Google Calendar

เปิดโหมด ‘Focus time’ ขอเวลาโฟกัสงานกับ Google Calendar เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในการทำงานในหลายที่ถูกปรับตามนโยบายเพื่อป้องกันโรคระบาดอย่าง COVID-19 จนในหลายๆบริษัทต้องให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from home) มีการส่งข้อความทางออนไลน์ (Google Chat) และการประชุมออนไลน์ (Google Meet) มากขึ้นทำให้หลายท่านต้องพบกับปัญหาการแบ่งเวลาทำงานได้ยากขึ้น  ด้วยเหตุนี้ Google Calendar ได้เพิ่มประเภทของกิจกรรมใหม่ในชื่อ ‘เวลาโฟกัส (Focus time)’ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับ Out of office คือทาง Calendar จะปฏิเสธกิจกรรมที่ขัดแย้งกันโดยอัตโนมัติเช่น การปฏิเสธเข้าร่วมการประชุม เป็นต้น เพื่อให้คุณสามารถมีสมาธิสำหรับการทำงานและการคิดงานได้ง่ายขึ้น รวมถึงป้องกันการถูกรบกวนในช่วงเวลานั้นอีกด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม หากต้องการให้เวลาโฟกัสของคุณโดดเด่นต่างจากกิจกรรมและการประชุมอื่นๆ คุณสามารถกำหนดสีใหม่ให้แตกต่างได้ นอกจากนี้เวลาโฟกัสตามกำหนดการของคุณจะถูกติดตามใน Time Insights ของคุณด้วย แพ็กเกจที่พร้อมใช้งาน Google Workspace Business Standard, Business Plus, Enterprise เพียงเท่านี้คุณก็สามารถมีสมาธิกับการทำงานหรือการคิดงานของคุณได้โดยไม่ถูกรบกวนอีกต่อไป ทุกคนจะรู้ได้ในทันทีว่า ณ ขณะเวลานั้นคุณต้องการเวลาส่วนตัวในการทำงาน ซึ่งต่างจาก Out of office ที่จะขึ้นว่าคุณไม่พร้อมทำงานเนื่องจากไม่ได้อยู่ที่ทำงาน Google Workspace พื้นที่การทำงานที่ทำให้คุณทำงานร่วมกันได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น นอกจากนี้แอปพลิเคชันจาก Google Workspace ต่างก็มีฟังก์ชันช่วยในการทำงานที่หลากหลาย และยังมีการอัปเดตฟีเจอร์ใหม่ๆเพื่อให้การทำงานของคุณลื่นไหลอยู่เสมอ หากคุณสนใจ Google Workspace ติดต่อ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เรามีแพ็กเกจพร้อมบริการเสริมแบบครบวงจรที่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกธุรกิจแบบครบจบในที่เดียว อ่านบทความอื่นที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจเพิ่มเติม เปิดตัว Time Insights ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Calendar เจาะลึกเวลาทำงานและประชุม สุดเจ๋ง Google Calendar ปักโลเคชันตอกบัตรว่าทำงานอยู่ที่ไหนได้แล้ว Google Calendar ตัวช่วยในการจัดตารางชีวิตของคุณให้ลงตัว...

เพิ่มความรัดกุมในการทำงานร่วมกันด้วยฟีเจอร์ ‘Approvals’ จาก Google Workspace

เพิ่มความรัดกุมในการทำงานร่วมกันด้วยฟีเจอร์ ‘Approvals’ จาก Google Workspace Google Workspace เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ ผู้ใช้งานสามารถอนุมัติ (Approvals) คำขออนุมัติเป็นผู้ตรวจสอบหรือเพิ่มผู้ตรวจสอบใน Google Docs, Sheets, และ Slides เมื่อมีคำขออนุมัติ เจ้าของไฟล์สามารถอนุมัติ, ปฏิเสธ, เพิ่มความคิดเห็น, หรือแก้ไขเอกสารในการตอบกลับได้  เมื่อเจ้าของไฟล์ได้อนุมัติคำขอเป็นผู้ตรวจสอบหรือเพิ่มผู้ตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบจะได้รับลิงก์ไปยังเอกสารจากการแจ้งเตือนผ่านทางอีเมล, เบราว์เซอร์, หรือ Google Chat ตามการตั้งค่าการแจ้งเตือนที่พวกเขาตั้งไว้ใน Google Drive และเมื่อมีการแก้ไขเอกสาร ผู้ตรวจสอบทั้งหมดจะได้รับแจ้งเตือนการแก้ไขและเอกสารเวอร์ชันล่าสุดเพื่อรออนุมัติอีกครั้ง วิธีการเปิดใช้งานฟีเจอร์ ‘อนุมัติ (Approvals)’ ฟีเจอร์นี้จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับการอนุมัติสัญญา เอกสารทางกฎหมาย และเอกสารอื่นๆ ที่จำเป็นต้องมีการอนุมัติอย่างเป็นทางการที่มีการทำงานร่วมกันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายราย เพื่อรักษาความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสาร เมื่อผู้ตรวจสอบทุกคนอนุมัติแล้วไฟล์จะถูกล็อค (Lock file) และไม่สามารถแก้ไขได้ หากคุณกำหนดวันครบกำหนด (Add due date) ผู้ตรวจสอบของคุณจะได้รับอีเมลเตือนความจำว่าจำเป็นต้องได้รับการอนุมัติหรือเลยกำหนดการขออนุมัติ นอกจากนี้คุณยังป้องกันไม่ให้ผู้ใช้แก้ไขเนื้อหาของรายการ หรือแสดงความคิดเห็นและคำแนะนำได้โดยเลือกล็อกเอกสาร หมายเหตุ ในกรณีที่คุณขออนุมัติจากบุคคลหลายคน การอนุมัติจะสมบูรณ์ได้เมื่อผู้ตรวจสอบทั้งหมดอนุมัติไฟล์ หากมีการแก้ไขในระหว่างกระบวนการอนุมัติ ผู้ตรวจสอบทั้งหมดจะได้รับการแจ้งเตือนทางอีเมลเพื่ออนุมัติไฟล์เวอร์ชันล่าสุดอีกครั้ง หากผู้ตรวจสอบเพียงคนเดียวปฏิเสธไฟล์คำขออนุมัติเอกสารจะถูกปฏิเสธทันที เมื่อผู้ตรวจสอบทั้งหมดอนุมัติเอกสาร ไฟล์จะถูกล็อค ทุกคนจะไม่สามารถแก้ไขไฟล์ที่ล็อกไว้ได้จนกว่าจะปลดล็อกหรืออนุมัติการปลดล็อกไฟล์ แพ็กเกจที่สามารถใช้งานได้ Business Standard, Business Plus, Enterprise เพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำงานร่วมกันกับบุคคลอื่นๆ ได้โดยที่ยังสามารถรักษาความถูกต้องสมบูรณ์ของเอกสารได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคุณก็สามารถเชื่อมต่อการทำงานกับทุกคนได้ในทันทีกับ Google Workspace ทั้ง Google Docs, Sheets, และ Slides หากคุณกำลังมองหาพื้นที่การทำงานที่จะทำให้งานของคุณง่ายขึ้นสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที ผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ...

‘เปรียบเทียบเอกสาร’ ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Docs ที่จะทำให้การตรวจเอกสารของคุณง่ายขึ้นกว่าเดิม

‘เปรียบเทียบเอกสาร’ ฟีเจอร์ใหม่ใน Google Docs ที่จะทำให้การตรวจเอกสารของคุณง่ายขึ้นกว่าเดิม Google Docs เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “เปรียบเทียบเอกสาร (Compare Documents)” ผู้ใช้สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของเอกสารทั้งสองไฟล์ได้ง่ายขึ้น ฟีเจอร์นี้ทำให้ง่ายต่อการดูการเปลี่ยนแปลงระหว่างสองเอกสาร ตัวอย่างเช่น นักการศึกษาสามารถใช้เครื่องมือนี้เพื่อเปรียบเทียบเรียงความและติดตามการแก้ไข ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการทำงาน ในขณะเดียวกันผู้ใช้ทางธุรกิจสามารถใช้เครื่องมือนี้ในระหว่างการเจรจาสัญญาเพื่อดูว่าตลอดการเจรจามีข้อตกลงใดที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง และใช้ในการเปรียบเทียบเอกสารเวอร์ชันล่าสุดกับเวอร์ชันเริ่มต้น วิธีใช้งาน เปิด Google Doc ที่คุณต้องการ ซึ่งเอกสารนี้จะกลายเป็น “เอกสารหลัก (base)” ของคุณ จากแถบเครื่องมือ เลือก เครื่องมือ (Tools) > เปรียบเทียบเอกสาร (Compare Documents) ให้คลิกที่ “เลือกเอกสารเปรียบเทียบ (select the comparison document)” เพื่อเลือกเอกสารที่สองที่จะใช้ในการเปรียบเทียบ ในช่อง “กำหนดแอตทริบิวต์ความแตกต่าง (Attribute differences to)” ให้ป้อนชื่อของผู้ใช้ที่ต้องการจะติดป้ายกำกับว่าเป็นผู้เขียนคำแนะนำการแก้ไขในไฟล์เอกสารใหม่ที่ใช้ในการเปรียบเทียบ เลือก เปรียบเทียบ (Compare) จากนั้นระบบจะทำการสร้างไฟล์เอกสารใหม่ที่แสดงรายละเอียดที่แตกต่างระหว่างเอกสารทั้งสองฉบับที่ได้นำมาเปรียบเทียบกันขึ้นมา โดยระบบจะแสดง “การแก้ไขที่แนะนำ (Suggested Edits)” ที่มีชื่อของผู้ใช้ที่คุณเลือกเปรียบเทียบกำกับไว้นั่นเอง หมายเหตุ เจ้าของเอกสารและผู้ที่มีสิทธิ์แก้ไขเท่านั้นที่สามารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของไฟล์เอกสารทั้งสองไฟล์ได้อย่างง่ายดายและสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้สะดวกยิ่งขึ้น นอกจาก Google Docs ที่เป็นหนึ่งในชุดการทำงานใน Google Workspace ยังมีแอปพลิเคชันอำนวยความสะดวกอื่นๆอีกมากมาย ที่ทั้งอำนวยความสะดวกในการทำงานและรักษาความปลอดภัยแก่งานของคุณได้อย่างเยี่ยมยอด หากคุณสนใจหรืออยากสอบถามเกี่ยวกับ Google Workspace สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ...

Phishing และ Malware ก็ทำอะไร Google Workspace ไม่ได้!

เมื่อการทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid working) กลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับองค์กรหลายแห่ง การรักษาความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล และความน่าเชื่อถือจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก และถือเป็นรากฐานที่ทำให้คนสามารถทำงานร่วมกันบน Cloud ได้อย่างสบายใจไปพร้อมกับ Google Workspace  ปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการเข้ารหัสแบบ Client-side Client-side Encryption หรือการเข้ารหัสโดยข้อมูลลูกค้า คือ การที่องค์กรทำการล็อคประตูเข้าถึงคลังข้อมูลบางอย่างหรือที่เราเรียกว่าการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่ข้อมูลจะถูกอัปโหลดไปยัง Server ซึ่ง Password ที่ใช้ล็อคไว้นั้นคือกุญแจเข้ารหัสที่มีเพียงแค่คนในองค์กรที่รู้เท่านั้น วิธีนี้จะทำให้องค์กรเองสามารถควบคุมข้อมูลด้วยตัวเองได้โดยตรง ช่วยให้องค์กรสามารถรักษาข้อมูลที่เป็นความลับได้อย่างปลอดภัย ไม่ว่าจะใช้งานบนอุปกรณ์ใดก็ตาม อีกทั้งยังสามารถแชร์ไฟล์ที่เข้ารหัสให้บุคคลอื่นได้อีกด้วย ซึ่งหากรวมกับการเข้ารหัสแบบอื่นๆ จากทาง Google แล้ว องค์กรจะสามารถยกระดับการป้องกันข้อมูลที่อยู่ใน Google Workspace มากขึ้นกว่าเดิมได้อีกหลายเท่า การเข้ารหัสแบบ Client-side นี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับองค์กรที่จัดเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน เช่น ข้อมูลที่เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา บันทึกการรักษาพยาบาล หรือข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น สำหรับลูกค้า Google Workspace Enterprise Plus การเข้ารหัส Client-side จะพร้อมใช้งานใน Google  Drive,  Docs,  Sheets, และ Slides ในขั้นต้น โดยรองรับไฟล์หลายประเภท รวมถึงไฟล์ Office, PDF และอื่นๆ การป้องกัน Phishing และ Malware สำหรับ Google Drive Phishing คือ การหลอกลวงผ่านระบบออนไลน์ที่มีเป้าหมายเพื่อล้วงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน ตัวอย่างเช่น การส่งอีเมลเพื่อหลอกให้เจ้าของอีเมลคลิกเข้าไปเพื่อดึงข้อมูลส่วนตัวออกมา เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น ส่วน Malware คือการปล่อยไวรัสเข้าอุปกรณ์ที่ผู้ใช้ใช้งานอยู่ เพื่อไปทำลายข้อมูลที่อยู่ในอุปกรณ์นั้นๆให้เกิดความเสียหาย สำหรับ Google Workspace นั้นมีการปกป้องข้อมูลแบบ built-in ใน Google Drive ที่จะช่วยบล็อกเนื้อหาฟิชชิงและมัลแวร์จากผู้ใช้และองค์กรภายนอก ซึ่งตอนนี้ Google ได้พัฒนาให้ Google Workspace แอดมินสามารถเข้ามาจัดการข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรได้ด้วยตัวเองเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากภายในและปัญหาจากผู้ใช้งาน หากพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ไฟล์ที่เกี่ยวข้องจะถูกตั้งค่าสถานะและทำให้มองเห็นได้เฉพาะแอดมินและเจ้าของไฟล์เท่านั้น...

Continue reading
Gen Z with Google Workspace

อะไรในองค์กรที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z?

ก่อนจะเข้าเรื่องต้องขอเกริ่นก่อนว่าคน Gen Z นั้นคือคนที่เกิดปีพ.ศ. 2538 – 2552 ซึ่งหลายๆ องค์กรอาจจะเคยทำงานร่วมกันกับคน Gen นี้มาบ้างแล้ว และอาจสงสัยว่าทำไมคน Gen นี้ส่วนมากจะทำงานกับองค์กรได้ไม่นาน เปลี่ยนงานบ่อย จนทำให้หลายๆคนคิดว่าคน Gen นี้ไม่มีความอดทนเอาซะเลย แต่จริงๆแล้วคน Gen นี้ไม่ได้ความอดทนต่ำแต่อย่างใด แต่ทว่าเขานั้นเกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆมากมาย ชอบความสะดวกรวดเร็ว และชอบเรียนรู้บนโลกออนไลน์ซะส่วนใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้คน Gen Z ต้องการทำงานกับองค์กรที่ตอบโจทย์สิ่งเหล่านี้ได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะช่วยให้การทำงานง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง ทำไมทำงานกับคน Gen Z ถึงยากนัก? สำหรับองค์กรในประเทศไทยนั้นพนักงานส่วนใหญ่จะมีอายุค่อนข้างมากและยึดติดกับระบบการทำงานแบบเดิมๆ เคยทำงานแบบไหนก็จะทำแบบนั้น ไม่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ตัวอย่างเช่น หากคุณเคยทำงานบนกระดาษหรือโปรแกรมใดๆที่คุณเคยใช้ คุณก็จะไม่เปิดใจให้กับสิ่งใหม่ๆถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะทำให้การทำงานของคุณง่ายขึ้นก็ตาม ซึ่งเหตุผลก็เพียงเพราะคุณคิดว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นยากที่จะเรียนรู้และคุณคุ้นชินกับระบบแบบเดิมมากกว่า  แต่หากมองในมุมคน Gen Z เขาไม่ได้คิดอย่างนั้นเลย คนรุ่นนี้ต้องการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้นอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นหากจะตอบคำถามที่ว่าทำไมคนรุ่นนี้ถึงทำงานกับองค์กรได้ไม่นาน ก็คงต้องย้อนกลับไปว่าองค์กรของคุณมีเทคโนโลยีที่จะซัพพอร์ตการทำงานให้คนรุ่นใหม่ในยุคสมัยนี้แล้วหรือยัง? เครื่องมือเทคโนโลยีแบบไหนที่จะช่วยให้การทำงานกับ Gen Z ง่ายขึ้น? Kahoot Gen Z in the workplace report. จากกราฟด้านบนจะเห็นได้ว่า คนส่วนใหญ่ต้องการทำงานบนโทรศัพท์ สื่อออนไลน์ วิดีโอ และผ่านโซเชียลมีเดียเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้คนนั้นต้องการอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงการทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้ว่าจะต้องใช้อุปกรณ์ส่วนตัวอย่างเช่นโทรศัพท์ก็ตาม การทำงานบนสื่อหรือแอปพลิเคชันออนไลน์ก็มีความต้องการใช้งานสูงไม่แพ้กัน ณ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันหลากหลายให้เลือกใช้ จะรู้ได้อย่างไรว่าแอปไหนดีที่สุด ซึ่งคำตอบก็คือแอปพลิเคชันที่มีฟังก์ชันครบ ใช้งานง่าย เหมาะกับทุกวัย เช่น Google Workspace ซึ่งนับว่าเป็นแอปพลิเคชันหนึ่งที่ใช้งานง่ายมากๆ ตอบโจทย์การทำงานหลากหลายรูปแบบ เพราะใน Google Workspace นั้นจะมีแอปพลิเคชันย่อยอีกมากมายแบ่งตามการใช้งานเพื่อให้ผู้ใช้ใช้งานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถเข้าถึงได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา และบนทุกแพลตฟอร์มอีกด้วย สำหรับการทำงานหรือเรียนรู้ผ่านวิดีโอ คนสมัยนี้ชอบการเห็นภาพและการได้ยินเสียงไปพร้อมกันเพราะจะทำให้พวกเขารู้สึกมีส่วนร่วมกับสิ่งนั้นๆและทำให้เขาจดจำเนื้อหาของวิดีโอเหล่านั้นได้มากและง่ายขึ้นกว่าเดิม ง่ายกว่าการศึกษาจากหนังสือด้วยตัวเองหลายเท่า การใช้โซเชียลมีเดียก็ยังคงมีความนิยมอยู่ไม่น้อยเช่นกัน จะเห็นได้จากการที่หลายๆ องค์กรใช้โซเชียลมีเดียเป็นสื่อในการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น Facebook และ Instagram  ซึ่งสามารถเรียกสื่อเหล่านี้ว่าเป็นหน้าบ้านขององค์กรแทนเว็บไซต์เลยก็ว่าได้ การที่องค์กรเลือกใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆสื่อสารนั้นจะทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายมากขึ้น เนื่องจากว่าคน Gen...

Continue reading

Google Meet เปิดใช้งานฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอของผู้เข้าร่วมได้แล้ว!

Google Meet เปิดใช้งานฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอของผู้เข้าร่วมได้แล้ว! Google Meet หนึ่งในแอปพลิเคชันจาก Google Workspace ระบบอีเมลองค์กรและชุดแอปพลิเคชันเพื่อการทำงานร่วมกัน ที่อำนวยความสะดวกให้ธุรกิจของคุณสามารถทำงานร่วมกันได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งเมื่อต้นปีนี้ทาง Google Meet ได้ประกาศฟีเจอร์ผู้จัด (Organizer) Google Meet สามารถปิดเสียงทุกคนพร้อมกันใน Google Meet ทั้งบนเดสก์ท็อปและอุปกรณ์แล็ปท็อป ในส่วนของฟีเจอร์ที่ได้รับการอัปเดตใหม่นี้ผู้จัด Google Meet หรือผู้ควบคุมการประชุมร่วม (Moderation controls) สามารถใช้ฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอของผู้เข้าร่วมคนอื่นๆ ในการประชุม ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมไม่สามารถเปิดไมโครโฟนหรือกล้องได้จนกว่าคุณจะปลดล็อก ซึ่งคุณสามาารถใช้ฟีเจอร์นี้ได้ทั้งในห้องหลักและห้องกลุ่มย่อย (Breakout rooms) ฟีเจอร์นี้ดีอย่างไร? ฟีเจอร์นี้ช่วยให้ผู้จัด Google Meet สามารถควบคุมการประชุมของตัวเองได้ เพื่อป้องกันการก่อกวนจากผู้เข้าร่วมหรือเสียงรบกวนอื่นๆ โดยผู้จัดสามารถตัดสินใจอนุญาตให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในเวลาที่ต้องการได้ หมายเหตุ: ผู้เข้าร่วมที่ใช้แอป Android และ iOS เวอร์ชันที่ไม่รองรับการล็อกเสียงและวิดีโอจะถูกนำออกจากการประชุมหากผู้จัด หรือผู้ควบคุมการประชุมร่วมเปิดใช้งานฟีเจอร์การล็อกอย่างใดอย่างหนึ่ง หากผู้เข้าร่วมต้องการเข้าร่วมการประชุมที่เปิดใช้งานการล็อคอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้เข้าร่วมจะได้รับแจ้งให้อัปเดตแอปหรือใช้อุปกรณ์อื่นเพื่อเข้าร่วมการประชุม การปิดฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอจะทำให้ผู้เข้าร่วมเหล่านี้สามารถเข้าร่วมการประชุมได้อีกครั้ง รุ่นที่รองรับขั้นต่ำคือ แอนดรอยด์: Android OS เวอร์ชัน M หรือใหม่กว่า iOS: iOS เวอร์ชัน 12 หรือใหม่กว่า แอป Meet หรือ Gmail: เวอร์ชั่นใหม่ล่าสุด ฟีเจอร์การล็อกเสียงหรือวิดีโอ รวมทั้งการล็อกการแชทและการนำเสนอ ที่กำหนดโดยผู้จัดในการประชุมหลักจะมีผลกับห้องกลุ่มย่อยที่เปิดตัวในภายหลังด้วย เมื่อเปิดห้องกลุ่มย่อยและมีเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าล็อกในแต่ละห้องจะไม่ส่งผลต่อการตั้งค่าของห้องกลุ่มย่อยอื่นๆ หรือการประชุมหลัก ติดตามข้อมูลข่าวสารการอัพเดตเกี่ยวกับ Google Meet และแอปพลิเคชันอื่นๆ ใน Google Workspace ได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที หากสนใจสามารถสอบถามแพจเกจและราคา Google Workspace ได้ที่ ดีมีเตอร์ ไอซีที ตัวแทนผู้ให้บริการ Google Workspace ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจอื่น ๆ วิธีเปลี่ยนพื้นหลัง Google Meet บนคอมพิวเตอร์...

Continue reading
Google Workspace Background and solution for digitized world

Google Workspace เกิดมาได้อย่างไรและตอบโจทย์ยุคดิจิทัลได้มากแค่ไหน?

It’s Time for Google Workspace! ถึงเวลาแล้วที่ Google จะช่วยคุณพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแบบเดิมๆให้ดีขึ้นด้วย Google Workspace เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่จะทำให้การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องง่ายๆ หากจะย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นก็คงจะหนีไม่พ้นวิกฤติการณ์โควิด 19 ที่อยู่กับเรามายาวนานอย่างไม่คาดคิด ทำให้การทำงานในยุคปัจจุบันนั้นถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง หลายบริษัทยกเลิกการทำงานรูปแบบเดิมแล้วเปลี่ยนเป็นการทำงานรูปแบบใหม่เพื่อให้ตอบสนองต่อโลกดิจิทัลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้น การเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศหรือการไปประชุมก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไปหากว่าเรามีเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำงานจากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ แม้ว่าพนักงานบริการส่วนหน้าที่ต้องติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรงก็ต้องเปลี่ยนมาให้บริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตแทน ตลอดจนถึงแพทย์หรือหน่วยงานภาครัฐก็ยังต้องมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยซัพพอร์ตกระบวนการการทำงานและบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมีระบบ สะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่ามากที่สุด การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องท้าท้ายอย่างมากสำหรับ Google แต่ถ้าหากมองอีกมุมหนึ่งก็ยังนับว่าเป็นโอกาสที่สำคัญเลยทีเดียวที่จะช่วยผู้คนให้ประสบความสำเร็จในโลกของดิจิทัลเช่นนี้ ดังนั้น Google จึงได้สร้าง Google Workspace ขึ้นโดยมีสโลแกนว่า “ทุกสิ่งที่คุณต้องการ รวมอยู่ที่นี่ที่เดียว” Google Workspace ประกอบไปด้วยชุดแอปพลิเคชันที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น Gmail, Calendar, Drive, Docs, Sheets, Slides, Meet, และอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าคุณจะไปทำงานที่ออฟฟิศหรือจะทำงานที่บ้าน Google Workspace คือโซลูชันที่ดีทีสุดที่จะช่วยสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมและช่วยยกระดับการสื่อสารและทำงานร่วมกันในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น  Google Workspace ได้พัฒนาแอปพลิเคชันโดยมีแนวคิดหลัก 3 ข้อ ดังนี้ 1. เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน ในเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา Google ได้ประกาศโซลูชันใหม่ที่จะรวบรวมการทำงานของคุณให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ อีเมล เสียง หรือ วิดีโอ ก็สามารถรวมอยู่ในที่เดียวกันได้ โดยสิ่งนี้จะเสริมสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้บริการ Google Workspace สำหรับการใช้งาน Google Workspace นั้นก็ง่ายมากๆเลยทีเดียว ตอบโจทย์ทั้งองค์กรขนาดเล็กและองค์กรขนาดใหญ่ โดยที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ Chat และ Drive ได้ และสามารถสร้างผลงานและทำงานร่วมกันกับผู้ใช้งานคนอื่นได้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคนนอกองค์กรก็ตาม ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกันได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง Google Workspace ยังถูกออกแบบมาเพื่อให้ประหยัดเวลาในการใช้งานมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Docs, Sheets, และ Slides คุณสามารถกดดูไฟล์งานได้โดยที่ไม่ต้องเปิดหน้าต่างใหม่ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณจะสามารถประหยัดเวลาในการทำงานและทำให้งานนั้นเสร็จเร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังสามารถแท็กคนที่คุณต้องการจะกล่าวถึงเพื่อให้คนๆนั้นเห็น Email, Chat หรือ Video ตามที่คุณต้องการได้ ไม่เพียงแค่นั้น...

Continue reading

How to สร้างเว็บด้วย Google Sites ใน 6 ขั้นตอน

How to สร้างเว็บด้วย Google Sites ใน 6 ขั้นตอน Google Sites หนึ่งในฟีเจอร์ของ Google Workspace ทำให้คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง ถึงแม้คุณจะไม่มีทักษะการเขียนโปรแกรมก็ตาม เพราะ Google Sites ช่วยให้ง่ายขึ้นด้วยการคลิก ลาก และวางเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ธุรกิจ เว็บไซต์งานกิจกรรม ก็สามารถสร้างได้ง่ายๆเพียง 6 ขึ้นตอนต่อไปนี้ หมายเหตุ: ทำความรู้จักกับ Google Sites ได้ที่ สร้างเว็บไซต์ง่ายๆ ไม่ง้อโปรแกรมเมอร์ด้วย Google Sites 1. การสร้างเว็บไซต์ จากหน้าแรกของ Sites ให้คลิกสร้าง+ ที่ด้านบน หรือเลือกเทมเพลตโดยคลิก Template gallery (แกลเลอรีเทมเพลต) จาก Google ไดรฟ์ ให้คลิก New (ใหม่) > More (เพิ่มเติม) > Google Sites 2. การตั้งชื่อเว็บไซต์ Title site (ชื่อเอกสารของเว็บไซต์) ชื่อเอกสารของเว็บไซต์จะปรากฏให้คุณเห็นเท่านั้น และคุณไม่สามารถตั้งชื่อซ้ำกันได้  Site name (ชื่อเว็บไซต์) ชื่อเว็บไซต์จะปรากฏในส่วนหัวและในแถบชื่อหน้าต่างของเว็บหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หลังจากที่คุณเผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์ของคุณปรากฏคุณต้องมีหน้าเว็บ 2 หน้าขึ้นไป Page title (ชื่อหน้าเว็บ) แต่ละหน้าในเว็บไซต์จะมีชื่อซึ่งจะปรากฏที่ด้านบนของหน้าเว็บ และชื่อหน้าเว็บจะปรากฏในเมนูการนำทางด้วย 3. การเลือกเลย์เอาต์   สามารถเลือกได้โดยคลิก Layouts (เลย์เอาต์) ที่ด้านขวาตามรูปภาพ 4. การเลือกภาพพื้นหลัง ประเภทส่วนหัว และธีม เลือกรูปแบบให้กับเว็บไซต์ของคุณ โดยแต่ละธีมจะมีพื้นหลังที่กำหนดล่วงหน้า รูปแบบสี และการเลือกฟอนต์ คุณจะปรับเปลี่ยนแบบอักษร สี และพื้นหลังในภายหลังได้ และยังเปลี่ยนธีมได้ทุกเมื่อหลังจากสร้างเว็บไซต์แล้ว หากต้องการเปลี่ยนแปลง ให้คลิกเลิกทำหรือทำซ้ำ 4.1 เปลี่ยนภาพพื้นหลัง...

Continue reading