Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

รู้ไว้ก่อนตกเทรนด์ Machine Learning ก็ใช้ใน Customer Service ได้นะ

Machine Learning ในแง่ของการบริการลูกค้ามักถูกใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในอีกระดับหนึ่งที่สูงกว่า และการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายซัพพอร์ต เครื่องมือ Customer Analytics ที่มุ่งเน้นการซัพพอร์ตร่วมกับเทคโนโลยี Machine Learning เองกำลังได้รับความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมักเป็นแอปพลิเคชันที่ใช้งานได้ง่ายและประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมต่างๆ ล่าสุด Gartner คาดการณ์ว่าภายในปี 2021 กว่า 15% ของการมีปฏิสัมพันธ์ในการบริการลูกค้าจะถูกรับมือด้วย Artificial Intelligence (ปัญญาประดิษฐ์) โดยสมบูรณ์ ทว่าสวนทางกับความนิยมที่เพิ่มมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังคงมีความกังขาเกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีเอไอ โดยเฉพาะ Machine Learning  ในบทความนี้ เราจะมาเคลียร์ข้อกังขาในแง่ของการใช้ Machine Learning ร่วมกับการบริการลูกค้ากัน ส่งต่อข้อมูลเชิงลึก ก่อนอื่น มาดูคำจำกัดความของ Machine Learning กันก่อน : Machine Learning เป็นประเภทหนึ่งของเทคโนโลยีเอไอที่ใช้อัลกอริทึมหลายชั้นเพื่อ “เรียนรู้” จากการประมวลผลข้อมูล ในขณะที่ปัญญาประดิษฐ์เป็นคำที่ใช้โดยทั่วไปในการจำลองความฉลาดของมนุษย์ Machine Learning จะเกี่ยวข้องกับวิธีการที่เครื่องได้รับข้อมูล เข้าใจกฎระเบียบการทำงานในแบบที่ควรจะเป็น และวิธีการที่จะประมวลผลดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป แอปพลิเคชัน Machine Learning ที่ใช้งานแล้วได้ผลดี มักจะเป็นเชิงอุตสาหกรรมที่มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือมีขั้นตอนที่จำเป็นต้องใช้การตัดสินใจอย่างชาญฉลาด จริงอยู่ที่สมองของคนเราอาจไม่สามารถรองรับข้อมูลมหาศาลได้เท่าอัลกอริทึม แต่ก็แน่นอนว่ามีสิ่งที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าอย่างการรับมือกับลูกค้าที่อารมณ์เสียโดยตรง ในส่วนแง่ของประสิทธิภาพการบริการลูกค้านั้น เจ้าหน้าที่ซัพพอร์ตที่เป็นคนจริงๆ แล้วก็มีข้อมูลครบแน่น ก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบสำหรับการบริการลูกค้ามากกว่าอยู่ดี มุ่งเน้นที่ Self-Service จากแบบสำรวจพบว่า 81% ของลูกค้าจะชอบหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเองก่อนสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ซัพพอร์ต ดังนั้นในหลายๆ องค์กรจึงได้มีการเพิ่มบริการ Self-Service ด้วยหวังว่าจะสามารถส่งมอบประสบการณ์ลูกค้าที่ดีขึ้นได้ หนึ่งในวิธีการที่ง่ายที่สุดในการทำ Self-Service ก็คือการสร้างระบบฐานความรู้ Self-Service เป็นกรณีที่มีการใช้งานแอปพลิเคชัน Machine Learning เข้าช่วยที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น Chatbots, Virtual Assistants และเครื่องมือเสริม AI อื่นๆ ที่สามารถ “เรียนรู้” และจำลองการโต้ตอบเจ้าหน้าที่บริการลูกค้าได้ บางแอปพลิเคชันก็นิยมใช้เป็น Deep Learning ซึ่งเป็น Machine Learning ที่ประมวลผลได้ลึกซึ้งยิ่งกว่า เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและสามารถช่วยเหลือผู้ใช้งานได้มากขึ้น แล้ว...

Continue reading

How to อัพเกรดการบริการลูกค้าด้วย Experience Data

ก่อนอื่นหากใครไม่รู้ว่า Experience Data คืออะไร? คลิกเลย ซึ่งการที่เรามี Experience Data(X-Data) ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถนำข้อมูล X-Data มาปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้ มันก็อาจจะเสียเปล่า ดังนั้นวันนี้ Demeter ICT จะมาบอกถึงการนำเอา X-Data มาปรับใช้ในธุรกิจเพื่อเป็นการอัพเกรดการบริการของคุณ และสามารถสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าได้ ติดตามตัวชี้วัด และ เปรียบเทียบกับคู่แข่ง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรก็แล้วแต่ ต้องมาจากการวัดผลที่สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นทีมบริการลูกค้าก็มีตัววัดผลที่มุ่งเน้นไปที่ลูกค้าหลายตัว เพื่อดูความพึงพอใจของลูกค้าและนำเอาไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน และนำมาปรับใช้ให้ดีกว่าคู่แข่งได้ ดังนี้ Net Promoter Score(NPS) คะแนนผู้สนับสนุนสุทธิ คือ คะแนนที่จะวัดความภักดีของลูกค้าด้วยการที่ถามว่า คุณจะแนะนำ องค์กรA, สินค้าB หรือ บริการC ให้กับเพื่อนหรือคนรู้จักของคุณหรือไม่ Customer Satisfaction(CSAT) ความพึงพอใจของลูกค้า คือ คะแนนที่จะวัดความพึงพอใจว่า ลูกค้ามีความพึงพอใจต่อสินค้าหรือบริการที่ได้รับในระดับใด Customer Effort Score(CES) คะแนนความพยายามของลูกค้า คือ คะแนนที่จะวัดความสะดวกในการใช้งานไม่ว่าจะด้วย การบริการหรือตัวสินค้าเอง แก้ปัญหาก่อนที่ส่งผลกระทบต่อกำไร หากคุณมีข้อมูล X-Data ของลูกค้า คุณจะสามารถรู้ถึงอารมณ์ของลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด และสามารถแก้ไขปัญหาได้ก่อนที่เราจะควบคุมไม่ได้ และจะส่งผลถึงฟีดแบคหรือกำไรต่อไป ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายหนึ่งได้ซื้อสินค้าหรือบริการของเราไปแล้วเกิดมีปัญหา เราสามารถตรวจสอบ Social Media ได้ทันทีหากมีการกล่าวถึงคุณ เพื่อเป็นการยับยั้งปัญหาก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาด ปรับแต่งกระบวนการทำงาน และฝึกอบรมภายใน เมื่อคุณเก็บข้อมูล X-Data มากขึ้น คุณจะเริ่มเข้าใจ อารมณ์ ความคิด และความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นคุณสามารถนำเอาข้อมูล X-Data มาปรับกระบวนการทำงานบางอย่างขององค์กรให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ พร้อมทั้งเทรนพนักงาน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่พบเจอและให้เข้าใจถึงปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน ยกตัวอย่างเช่น หากมีลูกค้าติดต่อมาหาคุณถามคำถามเดียวกันบ่อย ๆ คุณก็อาจจะเพิ่มตัวเลือกการช่วยเหลือตัวเอง(Self Service) กับคำถามนี้เพื่อให้ลูกค้าสามารถหาคำตอบด้วยตัวเองได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เป็นการช่วยทั้งลูกค้าและตัวพนักงานเองด้วย ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูล X-Data ก็จำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือที่มาช่วยให้การเก็บข้อมูลของคุณง่าย สะดวก และปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่ง Zendesk ก็เป็นหนึ่งในซอฟท์แวร์หรือเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยตอบโจทย์นี้ให้กับคุณได้ และยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมายที่คุณอาจไม่เคยรู้...

Continue reading

Facebook จับมือ Zendesk เสริมสร้างประสบการณ์การสนทนาที่ทรงพลัง

หากพูดถึงโซเชียลมีเดียที่เป็นที่นิยมรู้จักกันทั่วโลก เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยต้องมีตัวเลือก ‘Facebook’ อยู่ต้นๆ อย่างแน่นอน ไม่เพียงแต่ในด้านการให้ข่าวสารความบันเทิงของโลกโซเชียลเท่านั้น Facebook ได้กลายเป็นฐานสำคัญในการต่อยอดธุรกิจ โดยปัจจุบันพบว่ามีแอคเค้าท์ธุรกิจถึงกว่า 40 ล้านรายที่แอคทีฟในระบบ Messenger ในขณะที่ใน WhatsApp เองก็มียอดที่ทะยานขึ้นถึง 164% ในแถบละตินอเมริกา ส่วน Instagram ก็เพิ่งจะเปิด API ธุรกิจเป็นครั้งแรกเมื่อเวลาไม่นานมานี้ Facebook เลือก Zendesk เป็น CX Partner หลักในการจัดสรรด้านการสนทนาและการซัพพอร์ตลูกค้าผ่าน Messaging การจับมือร่วมงานกันนี้ทำให้ทั้งสองบริษัทสามารถเชื่อมการเข้าถึงระหว่างกันได้ง่าย และส่งผลให้การตอบกลับลูกค้าผ่านช่องทางต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ Messaging ของ Facebook ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram และ WhatsApp สามารถทำได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น การร่วมมือกันเหล่านี้ยังรวมถึงการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับผู้ติดตาม การทำธุรกรรมทางโซเชียล และการแก้ไขปัญหาด้านการบริการลูกค้าต่างๆ และนอกเหนือกว่านั้น Zendesk กับ Facebook จะทำงานร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพของโปรดักส์ ให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ของ Facebook ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเป็น Messenger API สำหรับ Instagram และหลักการทำงานของ WhatsApp ที่จะช่วยให้ธุรกิจที่ใช้ WhatsApp ดำเนินกิจการได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ระบบ Social Messaging ที่ดีกว่าเดิม แอป Messaging เป็นแอปที่ตอบสนองความต้องการของผู้คนในเรื่องของความสะดวกสบาย มีผู้คนจำนวนมากที่ใช้แอปส่งข้อความเป็นช่องทางหลักในการติดต่อสื่อสารกับทั้งเพื่อนและครอบครัว จากสถิติทั่วโลกพบว่า กว่า 175ล้านคนเคยมีประสบการณ์ติดต่อแอคเค้าท์ธุรกิจมาแล้วใน WhatsApp และมีผู้ใช้งานกว่า 100ล้านคนที่ส่งข้อความไปมาระหว่างกันทุกวัน โดย Zendesk จะเข้ามาช่วยให้สามารถตั้งค่าบทสนทนาใน WhatsApp, Messenger และ Instagram จาก Admin Center ควบคู่ไปกับช่องทางโซเชียลอื่นๆ เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะสามารถตอบกลับและแก้ไขปัญหาคำร้องได้รวดเร็ว การร่วมมือกันของ Zendesk กับ Facebook ยังทำให้มั่นใจในการมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาศักยภาพของระบบ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีขึ้น  นอกจากนี้ แพลตฟอร์มของ Zendesk...

Continue reading

OmniChannel vs MultiChannel ต่างกันอย่างไร?

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันการสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียระหว่างร้านค้ากับลูกค้าจะเป็นเรื่องที่ปกติในสังคม แต่จริงๆแล้วมันมีรายละเอียดบางอย่างที่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ ว่านอกจากการที่ร้านค้าจะเปิดช่องทางที่เอาไว้ติดต่อกับลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทางแล้ว มันยังมีวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่านั้นอีก วันนี้ทาง Demeter ICT จึงจะมาแนะนำคำศัพท์ที่มีชื่อว่า OmniChannel กับ MultiChannel ซึ่งอาจจะมีหลายๆคนที่เคยได้ยินสองคำนี้แล้ว หรือบางคนอาจจะไม่รู้จักกันคำนี้เลย  แต่ในวันนี้ เราจะมารู้จักสองคำนี้กันมากขึ้นไปพร้อมๆกัน – มาทำความรู้จักกันเลย – Omni-Channel หรือ การตลาดแบบช่องทางเดียว คือ การผสานหรือรวบรวมช่องทางการติดต่อของลูกค้าทั้งหมดไว้ในที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น E-mail, Social Media(Facebook, Line, Whatsapp, และอื่นๆ) Website, โทรศัพท์, หรือจะเป็น Chat ในรูปแบบต่างๆ Multi-Channel หรือ การตลาดแบบหลายช่องทาง คือ คือการขยายช่องทางเพื่อรองรับการติดต่อของลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทาง ซึ่งจะแบ่งแยกช่องทางแต่ละช่องทางอย่างชัดเจน – ความแตกต่าง – ซึ่งถ้าพูดถึงในปัจจุบันหลายๆรูปแบบธุรกิจถือว่าเป็นรูปแบบของ MultiChannel อยู่แล้ว เพราะหลายๆร้านค้าก็ได้มีการพัฒนาและเพิ่มช่องทางการสื่อสารเพื่อรองรับลูกค้าจากช่องทางที่เขาสะดวกในติดต่อมากขึ้น แต่ถ้าหากคุณต้องการที่จะพัฒนาหรือขยายธุรกิจให้เติบโตมากขึ้น รองรับลูกค้าที่มากขึ้น MultiChannel อาจจะไม่ใช่ข้อที่ตอบโจทย์คุณเท่าไหร่ เพราะถ้าคุณขยายธุรกิจเติบโตขึ้น ลูกค้าก็จะมีมากขึ้น ซึ่งก็แปลว่าคุณจะต้องสื่อสารหรือพูดคุยกับลูกค้ามากขึ้น และการที่แยกแพลตฟอร์มการตอบหลายๆช่องทางนั้น อาจส่งผลมีปัญหาเกิดขึ้นตามมากมาย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณมีพนักงานสื่อสารกับลูกค้าหรือว่า Admin หลายๆคน Admin แต่ละจะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าลูกค้าคนนี้แก้ไขปัญหาเสร็จรึยัง คุยกันถึงไหน หรือจะเป็นเรื่องการตอบพร้อมกันหรือแย่งกันตอบยิ่งทำให้เกิดความสับสน และสร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าได้ แล้วถ้าหากคุณมีพนักงานน้อย อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการตอบลูกค้า และส่งผลให้งานของ Admin นั้น Overload จนทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่ายๆ หรือแม้กระทั่งการเก็บข้อมูลของลูกค้าเอง ถ้าลูกค้าคนนี้เคยติดต่อเรามา แล้วเขาติดต่อใหม่มาอีกครั้งนึง หรือติดต่อมาอีกช่องทางนึง คุณก็ต้องขอข้อมูลใหม่อีกรอบนึง ซึ่งนี่เป้นสิ่งที่จะทำให้ลูกค้าไม่พอใจเป็นอย่างยิ่งและพนักงานยังต้องทำงานซำซ้อนอีกด้วย แต่ด้วยรูปแบบการทำงานของ OmniChannel ที่รวมทุกช่องทางไว้ในที่เดียว เพื่อตัดปัญหาความสับสนระหว่างพนักงานที่เป็น Admin เอง หรือจะเป็นสถานะของลูกค้าแต่ละคนว่าตอนนี้อยู่กระบวนการไหน เพื่อให้ Admin คนอื่นๆรู้ว่า ลูกค้าคนนี้มีคนรับแล้วเคสไปแล้วหรือยัง หรือตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ รอการแก้ไขปัญหาอยู่  และยังมีประวัติของลูกค้าโชว์ชัดเจนให้หน้าเดียวกัน เพื่อให้คนที่มาดูแลงานต่อสามารถรู้ถึงข้อมูลและปัญหาของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องถามซ้ำอีกรอบให้เกิดความพอใจ เป็นการลดความซ้ำซ้อนในการทำงานได้อย่างดี และสิ่งที่สำคัญที่สุดของระบบ OmniChannel ที่บริษัทสำหรับที่ต้องการจะเติบโตและขยายธุรกิจคือ...

Continue reading

Machine Learning VS Deep Learning แท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่?

คุณเคยสงสัยไหมว่า Netflix รู้ได้อย่างไรว่าเราควรจะดูรายการอะไรต่อ? Facebook แยกใบหน้าในรูปของเราได้อย่างไร? อะไรที่ทำให้รถยนต์ไร้คนขับ สามารถเกิดขึ้นได้จริง? หรือแม้กระทั่ง พนักงานบริการลูกค้ารู้ได้อย่างไรว่าคุณจะพึงพอใจในบริการของพวกเขาหรือไม่ ก่อนที่คุณจะทันได้ตอบแบบสอบถามเสียอีก คำตอบของคอนเซปต์ที่นำไปสู่นวัตกรรมเหล่านี้ ก็คือ “Machine Learning” Machine Learning คืออะไร? ก่อนอื่น มาดูคำจำกัดความของ Machine Learning กัน : Machine Learning คือ การทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผล คาดการณ์ ตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยตนเองผ่านการเรียนรู้ชุดข้อมูลที่ป้อนเข้าไป  ตัวอย่างเกี่ยวกับอัลกิริทึมของ Machine Learning ที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ก็คือแพลตฟอร์มสตรีมเพลงต่างๆ ที่มักจะแนะนำเพลงใหม่ๆ หรือศิลปินให้กับผู้ใช้ โดยอัลกอรึทึมของ Machine Learning จะทำการวิเคราะห์จากข้อมูลเพลงหรือศิลปินที่ผู้ใช้ชื่นชอบ เทียบกับผู้ฟังอื่นที่มีแนวโน้มการฟังเพลงแบบเดียวกัน หลายธุรกิจที่มีระบบแนะนำมักจะใช้เทคนิคนี้เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีการนำ Machine Learning เข้ามาใช้ในงานที่เป็น ‘ระบบอัตโนมัติ’ มากมายแทบทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทด้านการรักษาความปลอดภัยที่ใช้ Machine Learning เข้าช่วยในการกวาดล้างมัลแวร์ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่ต้องการการแจ้งเตือนหุ้นตัวโปรด อัลกอริทึมของเอไอจะถูกโปรแกรมให้เรียนรู้ในแบบที่คล้ายกับผู้ช่วยส่วนตัวบนโลกเสมือน ซึ่งเป็นอะไรที่ Machine Learning สามารถทำได้ดีเลยทีเดียว Machine Learning มักมาควบคู่กับระบบและการ Coding ที่สลับซับซ้อน ที่ในท้ายที่สุดแล้วทำหน้าที่ไม่แตกต่างจากกลไกของไฟฉาย รถยนตร์ หรือจอคอมพิวเตอร์ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึง “Machine Learning” ความหมายของมันก็คือบางอย่างที่แสดงผลการทำงานเดียวกับข้อมูลที่ถูกป้อน และให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป เหมือนกับคุณมีไฟฉายที่มักเปิดเองอัตโนมัติเมื่อคุณพูดประมาณว่า “ที่นี่มืดจังเลยนะ” ต่อให้คุณไม่ได้พูดประโยคเดียวกันนี้ ไฟฉายนั้นก็จะยังคงเปิดเองต่อให้คุณพูดประโยคอื่นที่ขอแค่มีคำว่า “มืด” แล้ว Deep Learning คืออะไร? ในแง่การปฏิบัติแล้ว จะกล่าวว่า Deep Learning เป็นซับเซตของ Machine Learning ก็คงไม่ผิดนัก ในความเป็นจริงเทคนิคของ Deep Learning ไม่แตกต่างจาก Machine Learning และยังมีฟังก์ชันการทำงานที่คล้ายคลึงกัน หากแต่ว่า ขีดความสามารถจะแตกต่างกันเสียหน่อย...

Continue reading

75% ของบริษัทชั้นนำด้านระบบ Cloud 100 แห่ง ใช้ Zendesk

เทรนด์ที่เน้นการทำงานที่เน้นด้าน Remote Working มากขึ้น ทำให้ในปี 2020 นี้เราได้เห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของบริษัทด้านคลาวด์และซอฟต์แวร์หลายบริษัท Business-to-Business (B2B) ซอฟต์แวร์ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัว และยังมีท่าทีจะเติบโตขึ้นไปได้อีกอย่างต่อเนื่อง Forbes ได้ลิสต์รายชื่อบริษัทชั้นนำด้าน Cloud Solution และ Software as a service (SaaS) 100 บริษัท จำแนกตามการเติบโต ยอดขาย มูลค่าและองค์กร ตลอดจนคะแนนความนิยมจากสาธารณชนและบริษัทในแวดวงเดียวกัน ในปีนี้หนึ่งในบริษัทที่ได้คะแนนตรงส่วนนี้ไป ก็คือ Zendesk กว่า 75% ของ Forbes Cloud 100 ใช้ Zendesk ในการช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า เรามาดูเหตุผลว่าทำไมบริษัทเหล่านี้ถึงได้ลงทุนด้าน Customer Experience (CX) กับ Zendesk กัน 1. สิ่งสำคัญของซอฟต์แวร์คือการทำงานให้เป็นไปอย่างราบรื่น การบริการลูกค้า ก็ควรจะไร้รอยต่อด้วยเช่นกัน จากการสำรวจผ่าน Startups CX Benchmark Report 2020 พบว่า บริษัท StartUps น้อยกว่าหนึ่งในสามที่มีการใช้โซลูชันเรื่อง Customer Experience ต่างจากการสำรวจบริษัทคลาวด์ชั้นนำ ที่มีการจัดการด้านนี้โดยเฉพาะ เพราะพวกเขาเล็งเห็นว่าความสำเร็จของซอฟต์แวร์พวกเขาเอง ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารประสบการณ์ลูกค้าที่ดีเช่นเดียวกัน บริษัทอย่าง Culture Amp กับ Airtable เริ่มจากการต้องการหน้า User Interface ที่ลูกค้ารู้สึกพึงพอใจที่จะใช้ และอยากให้ Customer Service ในองค์กรราบรื่นไร้รอยต่อ แนวคิดนี้นำไปสู่การลงทุนด้านโซลูชันที่ทำให้ลูกค้าทำอะไรๆ ได้ง่ายขึ้น และหากพิจารณาจากความสำเร็จในตอนนี้ การลงทุนนั้นก็คุ้มค่าไม่เลวเลย 2. ในโลกที่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด การเข้าหาลูกค้าในช่องทางที่ใช่ ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่ดี Elena Gomez, Chief Financial Official จาก Zendesk กล่าวว่าปีนี้ถือเป็นบทเรียนมาราธอนสำหรับองค์กรในการท้าทายการบริหารที่คล่องแคล่วยืดหยุ่น และการปรับตัวรับภายใต้วิกฤต ให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้ “โดยปกติบริษัทด้าน SaaS...

Continue reading

“Experience Data” กุญแจสู่การยกระดับการบริการลูกค้า

การบริการลูกค้าที่มีคุณภาพ เป็นความสำคัญอย่างนึงที่ทุกธุรกิจควรจะต้องมี เพราะผลสำรวจจาก Zendesk ลูกค้า 1 ใน 3 พร้อมที่จะหนีคุณไปหากพบประสบการณ์ที่ไม่ดีหรือเจอประสบการณ์ที่เลวร้ายกับแบรนด์ ๆ นั้น แต่ถ้าคุณทำให้ลูกค้ารู้สึกมีคุณค่าหรือว่าพบกับประสบการณ์ที่ดี เขาก็พร้อมที่จะจ่ายให้กับในครั้งต่อ ๆ ไป และอาจจะยอมจ่ายให้กับคุณมากขึ้น เพราะเขาเชื่อว่าจะได้รับประสบการณ์หรือสิทธิพิเศษที่ดีกว่าเดิม ธุรกิจในยุคปัจจุบันหลายๆแบรนด์มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่ละแบรนด์จึงต้องสร้างความแตกต่าง ดังนั้นรูปแบบการเพิ่มหรือมอบฟังก์ชั่นใหม่ ๆ เพื่อสร้างให้ลูกค้ามีความภักดีต่อแบรนด์จึงเป็นที่นิยม แต่อาจจะส่งผลที่ไม่น่าพอใจนักสำหรับในปัจจุบันนี้ เพราะทุก ๆ แบรนด์ก็สามารถสร้างฟังก์ชั่นที่คล้ายกันได้อีกเช่นกัน ดังนั้นหลาย ๆ แบรนด์จึงเปลี่ยนทิศทางการสร้างความภักดีให้กับลูกค้า โดยมามุ่งเน้นทางด้านการบริการลูกค้าและสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้นกับลูกค้าแทน ซึ่ง ข้อมูลประสบการณ์ของลูกค้า (Experience Data) เป็นคีย์ที่สำคัญมากที่จะนำมาซึ่งการบริการที่ลูกค้าต้องการ แล้ว Experience Data(X-Data) หรือ ข้อมูลประสบการณ์ของลูกค้า คืออะไร? Experience Data(X-Data) คือ ความเชื่อ, อารมณ์, หรือจะเป็นความคิดของลูกค้า ที่สามารถบันทึกได้ในช่องทางต่าง ๆ เช่น แบบสำรวจ, ฟอร์มบนเว็บไซต์, พนักงานที่ติดต่อกับลูกค้า หรือจะเป็นช่องทางการติดต่อกับลูกค้า ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่การบอก “เหตุผล” ของการกระทำต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ของเรา ซึ่งข้อมูลในส่วน X-Data จะต่างออกไปจาก Operational Data(O-Data) โดย O-Data จะบ่งบอก “สิ่งที่เกิด” มากกว่า จะยกตัวอย่างให้ทุกคนเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น  มีลูกค้าคนนึงซื้อเสื้อกันหนาวจากแบรนด์เสื้อผ้าแบรนด์นึง แล้วลูกค้าเกิดไม่พอใจในตัวสินค้าเลยทำการขอคืนสินค้า ซึ่ง O-Data จะแสดงให้เห็นว่า ลูกค้าคนนี้กำลังขอคืนสินค้า แต่ X-Data จะแสดงให้เห็นว่า ทำไมลูกค้าคนนี้ถึงคืนเสื้อกันหนาวตัวนี้ เพราะลองใส่แล้วอาจจะอบอุ่นไม่เพียงพอ หรือ O-Data บอกว่าลูกค้าคนนี้ทิ้งรถเข็นเอาไว้ระหว่างกดซื้อของบน Website แต่ X-Data จะบอกว่าทำไมคนๆนี้ถึงทิ้งรถเข็นไว้ อาจจะเพราะความยุ่งยากในกระบวนการกดชำระเงิน ข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่หลายๆคนหรือหลายๆบริษัทต้องการและมีมูลค่าที่สูงมากๆ เพราะว่ามันเป็นตัวบ่งบอกถึงความต้องการของลูกค้าในเชิงลึก ที่ไม่ใช่คนภายนอกจะรับรู้หรือเก็บมาได้ง่ายๆเลย เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลมาพัฒนาหรือปรับปรุงในส่วนที่ลูกค้าแนะนำหรือตำหนิมาให้ดียิ่งขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลที่ Zendesk ได้จับมือกับ Qualtrics เครื่องมือที่จะช่วยให้เก็บข้อมูล...

Continue reading

Chat VS Messaging แตกต่างกันอย่างไร?

ทุกวันนี้การที่ลูกค้าจะส่งข้อความหาแบรนด์ไหนสักแบรนด์หนึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจแต่อย่างใด ฟีเจอร์แชทและส่งข้อความจึงเป็นฟีเจอร์สามัญที่พบเห็นได้ทั่วไปทั้งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ การทำความเข้าใจการสื่อสารทางธุรกิจรูปแบบเหล่านี้เองจึงเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก แบบใดที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกว่า แบบไหนดูเป็นธรรมชาติ หรือแม้แต่คำถามที่ว่าแท้จริงแล้วระหว่างการแชทกับการส่งข้อความ ความแตกต่างของมันอยู่ที่ไหนกันแน่ เรามาหาคำตอบของความเหมือนที่แตกต่างนี้กัน   Live Chat คืออะไร? Chat หรือในที่นี้หมายถึง Live Chat เป็นช่องทางการสื่อสารที่ถูกใช้งานมากที่สุดช่องทางหนึ่ง โดยทั่วไปแล้ว Live Chat จะปรากฏบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันมือถือของบริษัท ไม่ค่อยปรากฏอยู่ในช่องส่งข้อความทางอื่นเท่าไหร่นัก ด้วยความที่พื้นฐานเดิมเน้นการโต้ตอบแบบ Synchronous ให้ต่อบทสนทนากันได้แบบเรียลไทม์ เมื่อบทสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่กับลูกค้าจบลง ประวัติการแชทก็จะถูกลบออกไปด้วย Synchronous Messaging หรือความหมายก็คือการสื่อสารแบบโต้ตอบสองทางแบบที่ Live Chat ใช้ ในเรื่องของข้อจำกัดไม่แตกต่างจากการทำงานของการโทรคุยในโทรศัพท์นักตรงที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ณ ขณะนั้นตั้งแต่ต้นจนจบ ตรงข้ามกับระบบ Asynchronous ที่ให้สิทธิ์หยุดและเริ่มการสนทนาเมื่อไหร่ก็ได้ จะเรียลไทม์โต้ตอบในทันทีก็ได้หรืออาจจะพักไว้ก่อน การสื่อสารส่วนใหญ่ระหว่างเพื่อนกับครอบครัวที่ไม่เป็นทางการมากและตามความสะดวกสบายเสียมากกว่าจึงเป็นแบบ Asynchronous การส่งข้อความในแอป Messenger ต่างๆ ก็นับเป็น Asynchronous เช่นกัน แล้ว Messaging คืออะไร? Messaging หรือการส่งข้อความ โดยทั่วไปจะหมายถึงการสนทนาทางช่องทางโซเชียลต่างๆ อย่าง Facebook Messenger, WhatsApp, WeChat และ Instagram ลูกค้า ระบบ Messaging เป็นรูปแบบ Asynchronous ลูกค้าจะสามารถตัดสินใจตอบกลับตอนไหนก็ได้ จึงค่อนข้างสะดวกสบายกว่าสำหรับกรณีคำร้องที่ไม่เร่งรีบนัก Messaging ยังสามารถจำแนกเป็น 2 รูปแบบ คือ Social Messaging กับ Embedded Messaging Social Messaging จะอ้างอิงถึงบทสนทนาที่ใช้แอปหรือแพลตฟอร์มส่งข้อความของบุคคลที่ 3 อาทิ WhatsApp, Facebook Messenger, WeChat แม้แต่ Instagram หรือ Twitter DMs ช่องทางเหล่านี้เป็นที่รู้จักดีเพราะแบรนด์แทบทั้งโลกล้วนใช้ในการทำธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น นอกจากนี้ Social Messaging ยังสามารถใช้ในการส่งแบบสอบถาม แจ้งเตือน...

Continue reading

Zendesk X Dimensional Research วิเคราะห์เทรนด์ปี 2020 ในมุมมองของฝ่ายขายธุรกิจ SMB

เข้าสู่กลางเดือน 11 อีกไม่กี่วันเดือน 12 เพียงไม่นานเท่านั้นที่ปี 2020 ปีที่ขึ้นชื่อเรื่องความเปลี่ยนแปลงหนักหน่วงนี้จะสิ้นสุดลง เรามาดูรายงานวิจัยจาก Zendesk ร่วมกับ Dimensional Research ในหัวข้อ ‘ฝ่ายขายของธุรกิจ SMB มีการปรับตัวอย่างไรท่ามกลางวิกฤตปี 2020’ นี้กัน ภาพรวมฝ่ายขายของธุรกิจ SMB ในปี 2020 สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้เลยคือปีนี้เป็นปีที่พฤติกรรมของลูกค้ามีความเป็น Digital-Centric world สูงกว่าปีที่แล้วมาก ลูกค้ามีความคาดหวังที่จะสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ในช่องทางที่ตนเองถนัดมากที่สุด และต้องการช่องทางบริการทางออนไลน์ที่ครอบคลุม ฝ่ายขายจึงมีการปรับเปลี่ยน Sales Cycles ให้ตอบรับในสิ่งที่ลูกค้าต้องการให้มากขึ้น สำหรับธุรกิจ SMBs หลายๆ ธุรกิจ การปรับเปลี่ยนยังรวมถึงการหาเครื่องมือเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์นี้ได้ 94% ของฝ่ายขายเห็นด้วยว่าพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปใน 5 ปีที่ผ่านมา 76% กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ “สำคัญมาก” และ “สุดขั้ว” ผลสำรวจยังพบว่าในมุมมองของ Sales Team มีความเห็นดังนี้ 56% ของลูกค้าต้องการซื้อของทางออนไลน์ 54% นิยมหาข้อมูลประกอบก่อนตัดสินใจซื้อ 72% คาดหวังการสื่อสารกับแบรนด์ในช่องทางที่ตนต้องการ 46% ชื่นชอบการสื่อสารทางดิจิทัลมากกว่า 42% สอบถามพนักงานขายเพื่อเปรียบเทียบสินค้าและมีการยื่นเงื่อนไขต่อรอง 78% คาดหวังการตอบกลับที่รวดเร็ว แนวโน้มการลงทุนด้านเทคโนโลยีการขาย เพื่อให้รับกับพฤติกรรมการซื้อและความคาดหวังที่สูงขึ้นของลูกค้า ธุรกิจ SMBs เองก็มีการนำเครื่องมือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาปรับใช้ จากการทำแบบสำรวจพบว่าโซลูชันที่ถูกเลือกไปปรับใช้มากที่สุดมีดังนี้ 50% Online meeting technology 49% Web sales or eCommerce 47% Customer relationship management tools (CRMs) 40% Social media management 38% Marketing automation 31% Self-serve tools for developing quotes ผลลัพธ์เชิงบวกที่ได้หลังลงทุนด้าน CRMs...

Continue reading