Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

5 วิธีสร้างกลยุทธ์การขายแบบ Step-By-Step ง่าย ๆ แต่ผลลัพธ์ปัง

กว่าวิศวกรจะสร้างตึกให้มั่นคงได้ต้องมีแบบแปลนที่ดีเสียก่อนฉันท์ใด การจะสร้างยอดขายให้ประสบความสำเร็จได้ก็ต้องรู้จักใช้กลยุทธ์การขายฉันท์นั้น ในบทความนี้ เราจะมาดูวิธีสร้างกลยุทธ์การขาย ให้คุณนำไปประยุกต์ทำเองได้จาก Zendesk กัน – กลยุทธ์การขายคืออะไร – กลยุทธ์การขาย (Sales Strategy) คือ การวางแผนที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเพื่อขายสินค้า ตลอดจนยอดขายที่ตั้งเป้าเอาไว้และรายละเอียดการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ การมีกลยุทธ์การขายช่วยให้ฝ่ายขายมีกำหนดหมายงานที่ชัดเจน และมีวิสัยถึงสิ่งที่ตนต้องทำในระยะยาว ดังนั้นการสร้างกลยุทธ์การขายเองควรจะทำอย่างครอบคลุม มีการค้นคว้าอย่างถ่องแท้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เรามาดูวิธีสร้างกลยุทธ์การขายกัน 1. ระบุยอดเป้าหมาย หากจะขายสินค้าให้ได้ผลตอบรับดี ก่อนอื่นก็ต้องตั้งเป้าหมายให้มั่นคงเสียก่อน โดยเริ่มจากวิธีดังนี้ ประเมินสินทรัพย์ขององค์กรว่าจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรใดเพิ่มเติมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร หรืออาจจะเป็นเครื่องมือต่าง ๆ อย่างซอฟต์แวร์ CRM ที่ช่วยบริหารจัดการ Sales Pipeline ให้ดีขึ้น ทำให้มั่นใจว่าทุกองค์ประกอบมีครบก่อนวางแผน ทบทวนข้อมูลประวัติการขายของลูกค้า ใช้ข้อมูลนี้ตั้งเป้าหมายที่อยู่ในขอบเขตที่จะทำได้ ใช้ S.M.A.R.T. โมเดลเข้าช่วยในการตั้งเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น “เพิ่มขนาดดีล 35%” หรือ “บรรลุยอดขาย 1 ล้านในปีนี้” เป็นต้น 2. สำรวจตลาดให้ดี การทำความเข้าใจเรื่องมูลค่าแบรนด์ในตลาดถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก หากไม่รู้ว่าแบรนด์ของคุณจะช่วยมอบคุณค่าใดให้กับผู้ซื้อได้บ้าง ก็เป็นการยากที่จะจูงใจลูกค้าให้ซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ หนึ่งในวิธียอดนิยมที่มักใช้วิเคราะห์ตลาด ก็คือ SWOT Analysis SWOT Analysis ประกอบด้วยการวิเคราะห์จุดแข็ง (Strengths) จุดอ่อน (Weaknesses) โอกาส (Opportunities) และภัยคุกคาม (Threats) ลองตั้งคำถามว่าสินค้าของคุณตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้จริง ๆ หรือไม่? Value Preposition ที่มีคืออะไร? อะไรที่เป็นอุปสรรคทั้งภายนอกภายในที่อาจทำให้ล้มเหลว? การวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจภาพรวมมากขึ้น และเป็นการทบทวนถึงโอกาสการขายให้ดีขึ้นกว่าเดิม 3. สร้าง Customer Personas เมื่อเข้าใจเรื่องตลาดเป้าหมายแล้ว สิ่งต่อไปที่ต้องทำก็คือทำความเข้าใจลูกค้าในอุดมคติที่จะซื้อสินค้าเรา ในที่นี้สามารถทำได้โดยการสร้าง Buyer Persona เริ่มจากการแบ่งกลุ่มเป็น segment ต่าง ๆ และใส่ข้อมูลเพิ่มเติมไปในหัวข้อดังนี้ จำลองชื่อและตำแหน่ง เช่น “Dana Matthews, CPA” จำลองว่าอยู่อุตสาหกรรมไหน...

Continue reading

เจาะลึก Customer Experience คืออะไร?

Customer Experience (CX) คือ ประสบการณ์ของลูกค้า แต่ถ้าจะขยายความในเชิงลึกก็หมายถึง ประสบการณ์ที่ลูกค้าได้พบเจอกับร้านค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสินค้า การบริการ อาจจะได้รับประสบการณ์ที่ดี หรือไม่ดีก็ได้ขึ้นอยู่กับร้านค้านั้นๆ ซึ่งมันก็จะส่งผลโดยตรงต่อการตัดสินใจในการบริโภคของลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการต่อๆไปในอนาคต เมื่อพูดถึงการทำธุรกิจลูกค้าหรือผู้บริโภค เป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญที่สุด เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่ให้ผลตอบแทน และสร้างผลกำไร เพื่อให้ธุรกิจของเราเติบโตและพัฒนาต่อไปได้ ดังนั้นการที่เรารู้ถึง Customer Experience ที่ลูกค้าเคยพบเจอ รวมไปถึงรู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าได้นั้น ก็จะช่วยการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า รวมไปถึงอาจจะสร้างความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ซึ่งก็เป็นผลประโยชน์ที่ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะร้านค้าและลูกค้า เพราะลูกค้าก็คงได้รับประสบการณ์ที่ดีจากร้านค้า ส่วนร้านค้าก็ได้รับลตอบแทนจากลูกค้า และก็คงไม่มีธุรกิจไหนที่อยากสร้างประสบการณ์ที่แย่ให้กับลูกค้าอยู่แล้ว ซึ่งจริงๆแล้วการที่ร้านค้าจะมอบ Customer Experience ที่ดีให้กับลูกค้ามันก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไรนัก เพียงแค่คุณนึกว่าตัวเองเป็นลูกค้าหรือผู้บริโภคดูว่า ถ้าคุณเป็นเหมือนกับเขาคุณต้องการอะไรบ้าง เช่น สินค้าที่มีคุณภาพเหมาะสมกับราคา การบริการที่ดีและเอาใจใส่อยู่เสมอตั้งแต่ต้นจนจบ การบริการที่ดีมันมีอยู่หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การบริการและแก้ปัญหาที่รวดเร็ว, มีหลายช่องทางที่รองรับการติดต่อที่ลูกค้าสะดวก, แก้ปัญหาของลูกค้าได้อย่างตรงจุด และอื่น ๆ อีกมากมาย หากคุณทำแค่ร้านเล็กๆ มันก็อาจจะดูแลง่าย ทำคนเดียวได้ ปัญหาก็อาจจะไม่มากนัก แต่ถ้าหากคุณต้องการที่จะเติบโตและขยายธุรกิจให้กว้างขึ้น มันอาจจะไม่ได้ง่ายเหมือนที่คุณคิด มันอาจจะเจอปัญหาที่มากขึ้นตามไปด้วย เพราะฉะนั้นคุณควรเลือกใช้กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพเพื่อพร้อมสำหรับการขยายธุรกิจไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยคุณควรมองหาเครื่องมือหรือตัวช่วยที่มาปรับกระบวนการทำงานให้ง่าย รวดเร็ว แล้วยังเป็นเครื่องมือที่บริษัทหลายๆบริษัททั้งในไทยและต่างประเทศใช้กันอย่างแพร่หลายนั่นก็คือ Zendesk Zendesk คือ Customer Service Software ที่จะช่วยปรับหรืออัพเกรดการบริการของลูกค้าของคุณให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการรวบรวมช่องทางการติดต่อของลูกค้า (Omnichannel), การบันทึกประวัติหรือข้อมูลของลูกค้าทั้งหมด, สามารถบริการลูกค้าอย่างมืออาชีพที่ไหนก็ได้, และยังสามารถส่งต่องานให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงได้อย่างรวดเร็ว และยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมาย ดูรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกเลย ทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี สอบถาม ราคา Zendesk ติดต่อบริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด ผู้ให้บริการระบบ Zendesk ในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ – Zendesk Thailand Partner สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ราคา Zendesk พร้อมโปรโมชันพิเศษ โทร. 02-030-0066 096-804-5482 (คุณยิ่ว), 097-187-7302 (คุณเล็ก), 092-262-0475...

Continue reading

Bitkub ลงทุนใช้ Zendesk ซอฟต์แวร์ในการดูแลลูกค้า24ชั่วโมง!

Bitkub ลงทุนใช้ Zendesk ซอฟต์แวร์ ในการดูแลลูกค้า 24 ชั่วโมง! คุณพบปัญหาแบบนี้หรือเปล่า?  Pain points Pain point ลูกค้า เจ้าหน้าที่ตอบช้า  เจ้าหน้าที่บริการไม่เป็นมิตร ต้องเล่าปัญหาเดิมซ้ำๆ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ไม่มีบันทึกประวัติลูกค้า ทำให้เราต้องเล่าปัญหาใหม่ทุกครั้ง เจ้าหน้าที่ตอบคำถามไม่ได้ Agent , เจ้าหน้าที่ ไม่มีข้อมูลลูกค้า ไม่มีข้อมูลประวัติการติดต่อ ทำให้ต้องตอบเรื่องเดิมซ้ำๆ ทำงานหลายหน้าต่าง ทำงานซ้ำซ้อน เช่น ลูกค้าคนเดียวกัน ทักหาเพื่อถามคำถามเดิมจากหลายช่องทางออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตอบคำถามไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลในการตอบคำถาม ใช้เวลาตอบคำถามนาน ทำให้บริการลูกค้าช้า ธุรกิจ ไม่รู้ว่าลูกค้าได้รับบริการครบถ้วนไหม ไม่รู้จำนวนเคสที่เข้ามา ไม่รู้จำนวนเคสที่แก้ไขแล้ว หรือ ที่ยังไม่ได้แก้ ไม่รู้ระยะเวลาที่ใช้แก้แต่ละเคส  ไม่รู้ว่าตอนนี้ปัญหา อยู่ที่เจ้าหน้าที่คนไหน ไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่ ทำงานมีคุณภาพแค่ไหน ต้องการลดต้นทุนการให้บริการ ที่มาจากช่องทางโทรศัพท์ ต้องการ Support ลูกค้าจำนวนมาก พนักงานเยอะ ต้องการ Support ภายใน    ลูกค้า เจ้าหน้าที่ตอบช้า  เจ้าหน้าที่บริการไม่เป็นมิตร ต้องเล่าปัญหาเดิมซ้ำๆ ไม่ว่าช่องทางเดิม หรือช่องทางใหม่ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ ไม่มีบันทึกประวัติลูกค้า ทำให้เราต้องเล่าปัญหาใหม่ทุกครั้ง เจ้าหน้าที่ตอบคำถามไม่ได้ Agent , เจ้าหน้าที่ ไม่มีข้อมูลลูกค้า ไม่มีข้อมูลประวัติการติดต่อ ทำให้ต้องตอบเรื่องเดิมซ้ำๆ ทำงานหลายหน้าต่าง ทำงานซ้ำซ้อน เช่น ลูกค้าคนเดียวกัน ทักหาเพื่อถามคำถามเดิมจากหลายช่องทางออนไลน์ เจ้าหน้าที่ตอบคำถามไม่ได้ เพราะไม่มีข้อมูลในการตอบคำถาม ใช้เวลาตอบคำถามนาน ทำให้บริการลูกค้าช้า ธุรกิจ ไม่รู้ว่าลูกค้าได้รับบริการครบถ้วนไหม ไม่รู้จำนวนเคสที่เข้ามา ไม่รู้จำนวนเคสที่แก้ไขแล้ว หรือ ยังไม่ได้แก้ ไม่รู้ระยะเวลาที่ใช้แก้แต่ละเคส / ไม่รู้ first reply time ไม่รู้ว่าตอนนี้ปัญหา อยู่ที่เจ้าหน้าที่คนไหน ไม่รู้ว่าเจ้าหน้าที่ทำงานมีคุณภาพแค่ไหน ต้องการลดต้นทุนการให้บริการ ที่มาจากช่องทางโทรศัพท์ ต้องการ Support ลูกค้าจำนวนมาก พนักงานเยอะ ต้องการ...

Continue reading

5 เหตุผล ทำไมธุรกิจต้องมี Sales CRM

หากพูดถึง CRM (Customer Relationship Management) หลายคนอาจนึกไปถึงซอฟตแวร์หรือเครื่องมือสักอย่างที่ช่วยในการบริหารและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น ทว่าแม้แต่ CRM เองก็สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีกหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าต้องการใช้ CRM กับเนื้องานใด ทีมซัพพอร์ตอาจใช้ CRM ในการจัดการ Tickets หรือคำร้องที่ถูกส่งเข้ามา ฝ่ายการตลาดอาจใช้ CRM ในการวิเคราะห์ผลตอบรับจากแคมเปญออนไลน์ ขณะที่ฝ่ายขายหรือ Sales มักใช้ CRM ในการปรับปรุง Sales Pipeline (ระบบการวางแผนการขาย)  เรามาดู 5 เหตุผลว่าทำไมถึงต้องใช้ Sales CRM กัน 1. ลดความซ้ำซ้อน Sales CRM เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้บริหาร Touchpoint ของลูกค้าผ่านกระบวนการขาย ซึ่ง Touchpoint ในที่นี้ อาจจะเป็นทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ทางตรงหรือทางอ้อมกับลูกค้าก็เป็นได้ เครื่องมือ Sales CRM จะช่วยติดตามทุกการสื่อสารต่างๆ นำข้อมูลมาจัดเรียงให้โดยอัตโนมัติ ทั้งส่งแจ้งเตือนกำหนดการในการ follow up leads และอีกมากมาย Sales CRM ยังช่วยลดความยุ่งยากในส่วนของการดูแลลูกค้าเป้าหมาย เมื่อไม่ต้องมานั่งเสียเวลาเรื่องการกรอกเก็บข้อมูลพนักงาน ฝ่ายขายก็สามารถโฟกัสไปที่การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มผู้ที่สนใจผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น  2. ระบบการขายแบบรวมศูนย์กลาง พนักงานแผนกขายใช้เวลาเป็นวันในการทำทุกอย่างตั้งแต่รีเสิรช์ยันติดต่อเพื่อดีลกับฝ่ายจัดสรรและฝ่ายขายหน้าร้าน ทางเมเนเจอร์เองก็ยุ่งวุ่นวายกับการมอนิเตอร์เพอฟอแมนซ์ บริหารคลังสินค้า ไหนจะต้องให้คำแนะนำทีมอีก เมื่อไม่มีระบบศูนย์รวมที่ช่วยจัดการงานแต่ละงาน อะไรที่อาจถูกมองว่าเล็กน้อยก็กลายเป็นเรื่องยุ่งยากในแผนกที่นำไปสู่ความไม่มีระเบียบแบบแผนได้ Sales CRM จึงมักถูกออกแบบขึ้นมาในรูปแบบของ one-stop solution ให้รองรับกับการทำงานในแต่ละวัน สามารถบูรณะเข้ากับเครื่องมืออื่นที่กำลังใช้งานอยู่ตลอดจนช่องทางสื่อสารต่างๆ มากมาย ให้การจัดการงานทั้งหมดสามารถทำครบจบในแพลตฟอร์มเดียว การมีระบบที่รวมศูนย์กลางนี้ยังช่วยให้องค์กรมีรากฐานที่น่าเชื่อถือ พนักงานฝ่ายขายสามารถหาข้อมูล Lead ได้แม่นยำและง่ายดายยิ่งขึ้น ทั้งข้อมูลเก่าต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการติดตามหรือปิดดีลลูกค้า และยังสามารถเข้าถึงช่องทางสื่อสารอื่นขององค์กรไม่ว่าจะเป็นอีเมล โทรศัพท์ กระทั่งกล่องแชทบนเว็บไซต์ ไม่ต้องยุ่งยากสลับหน้าจอไปมาให้น่าเวียนหัวอีกต่อไป 3. ปรับปรุงข้อมูลลูกค้าให้แม่นยำยิ่งขึ้น หลายครั้งที่การกรอกข้อมูลที่ซ้ำซ้อนไปมามากๆ นำไปสู่ความผิดพลาดได้ Sales CRM ช่วยลดข้อผิดพลาดเหล้านั้นด้วยระบบที่บันทึกทุก action ของพนักงานแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุยหรือส่งอีเมลก็บันทึกไว้ได้หมด โดยเฉพาะถ้าใช้ Zendesk...

Continue reading

อยากรวมช่องทาง Facebook, Line และอื่นๆ ต้องทำอย่างไร?

อยากรวมช่องทาง Facebook, Line และอื่นๆ ต้องทำอย่างไร? หากคุณกำลังมองหาเครื่องมือที่จะมาช่วยในการรวบรวมช่องทางการติดต่อของลูกค้าจากช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook, Email, Twitter, Whatsapp, WeChat และอื่นๆอีกมากมายนั้น คุณมาถูกที่แล้ว วันนี้ Demeter ICT จะมาแนะนำเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณรวบรวมช่องทางเหล่านั้นให้ง่ายขึ้น โดยเครื่องมือที่เรากำลังพูดนั้น มีชื่อว่า Zendesk เจ้า Zendesk คือ Customer Service Software หรือก็คือ ซอฟต์แวร์ที่จะมาช่วยในเรื่องของการบริการของลูกค้าให้ดีและมีประสิทธิมากยิ่งขึ้น โดยที่จุดเด่นของ Zendesk นั้น คือ การรวบรวมช่องทางการติดต่อของลูกค้าจากช่องทางต่าง ๆ หรือ ที่หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Omnichannel ซึ่ง Pain Points หลัก ๆ ของบริษัทที่ใช้ Zendesk ยกตัวอย่างเช่น ต้องการผสานช่องทางต่าง ๆ ของลูกค้าไว้ในที่เดียว หรือที่เรียกว่า Omnichannel ต้องการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาไว้ในระบบ โดยที่เวลาลูกค้าติดต่อมาอีกในครั้งหน้าจะได้ไม่ต้องสอบถามข้อมูลลูกค้าอีกรอบให้เสียเวลา และสามารถนำข้อมูลของลูกค้าไปต่อยอดทางธุรกิจได้ มี Admin หรือ Agent ในการตอบลูกค้าหลายคน จึงต้องการ track ข้อมูลให้ชัดเจนเพื่อให้เช็คได้ว่าใครคุยถึงไหนแล้ว ใครเป็นคนตอบลูกค้า เพื่อให้ง่ายต่อการเช็คและตรวจสอบ (ซึ่งบางบริษัทก็ใช้เอาไว้ติดต่อกันภายในองค์กรก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น เวลาส่งเรื่องไปให้ทีมต่าง ๆ ก็จะง่ายและสะดวกในการติดตามมากยิ่งขึ้น) ต้องการที่จะวัดผล ประเมินผลของพนักงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Zendesk มีการวัดผลของผู้ที่ใช้ระบบ และสามารถสร้างเป็น Report ให้ดูได้แบบง่ายดาย ต้องการดู Report ของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาได้อย่าง Real-time เพื่อปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับบริษัทได้อย่างรวดเร็วและทันที หากคุณมี Pain Points บางข้อหรือหลายๆข้อที่ตรงกับผู้ที่ใช้ Zendesk ด้านบน ก็บอกได้เลยว่า วันนี้พวกคุณเจอทางออกแล้ว เพราะ Zendesk จะมาช่วยแก้ Pain Points...

Continue reading

Digital Transformation คืออะไร สำคัญแค่ไหนต่อการทำธุรกิจ?

เมื่อคำว่า ‘ดิจิทัล’ ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป ธุรกิจก็ต้องหาหนทางปรับตัวตาม ในยุคที่เศรษฐกิจดิจิทัลมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง Digital Transformation เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเอาตัวรอดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปได้ ล่าสุด Gartner เผยว่า ไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดหนักในปี 2020 ได้ทำให้หลายองค์กรหันมาสนใจการทำ Business Transformation มากขึ้นเป็นประวัติการณ์ แตกต่างจากการคาดการณ์ไทมไลน์เดิมซึ่งใช้ระยะเวลาเป็นปีเหลือเพียงหลักสัปดาห์ แล้ว Digital Transformation คืออะไร? Digital Transformation (DX) คือ การนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐาน เป้าหมาย การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร ตัวอย่างของ Digital Transformation IT modernization หรือ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Cloud Computing การ Reskill พนักงาน การนำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ เช่น ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เข้ามาช่วยทำงาน เพื่อที่พนักงานจะสามารถโฟกัสกับงานที่เน้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา อื่นๆ ได้มากขึ้น การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในการค้นคว้าหาวิธีแก้ Pain Points ของลูกค้า การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้รับกับความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น การปรับสภาพองค์กรให้รองรับการทำงานแบบ Remote-Working  3 เสาหลักในการทำ Digital Transformation 1. คน (People) Digital Transformation เริ่มต้นจากผู้คน เพราะประสบการณ์ของพนักงานและประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับมีส่วนที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นในขั้นตอนแรก เราจึงต้องรู้ก่อนว่าในสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากว่าคุณจะนำเทคโนโลยีเอไอเข้ามาช่วยในแผนก Customer Service ทำให้พนักงานรู้สึกกังวลว่าตนจะตกงาน ผู้เป็นหัวหน้าก็ควรสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน “ถ้าเราสามารถขจัดความกังวลของคนอื่น ให้พวกเขารู้สึกได้ว่าเสียงของพวกเขามีค่า ก็จะช่วยให้เขาพร้อมจะก้าวรับความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น” – Dana Otto, Senior Manager, Change Management, Zendesk กล่าว 2. กระบวนการ...

Continue reading

Zendesk Agent Workspace คืออะไร?

Zendesk Agent Workspace คือ ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดของ Zendesk ที่ช่วยเปลี่ยนการรับเรื่องจากลูกค้าที่มาจากหลากหลายช่องทาง ให้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเป็นการปรับหน้าจอการทำงานที่จะช่วยให้ Agent (ผู้ดูแลระบบ หรือ Admin) สามารถทำงานข้ามช่องทางต่างๆ ที่ลูกค้าติดต่อเข้ามาบน Zendesk ได้อย่างง่ายดาย โดยที่การทำงานทั้งหมดจะอยู่บนแค่ Ticket เพียง Ticket เดียวเท่านั้น และยังสามารถใช้ช่องทางที่เหมาะสมกับลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาได้อย่างไม่จำกัด เมื่อเริ่มเปิดใช้งาน Agent หรือที่ทุกคนรู้จักในชื่อของ Admin สามารถจัดระเบียบการสนทนาต่างๆทาง Support, Chat หรือ Talk ของลูกค้าได้ใน Ticket เดียวกัน โดยที่ไม่ต้องสลับ Ticket ไปมา ซึ่งอาจจะส่งผลให้เกิดความผิดพลาด และเสียเวลาอีกต่อไป พร้อมทั้งใน Ticket เดียวนั้นก็ยังตอบกลับลูกค้า ไปทางช้องทางที่เป็น Social Media ได้ทันทีอีกด้วย ตัวอย่างหน้า Ticket ของ Zendesk Agent Workspace องค์ประกอบของหน้า Ticket ใน Ticket เดียวสามารถสนทนาในทุกช่องทางได้ ไม่ว่าจะเป็น Support, Chat, Talk หรือจะเป็นช่องทาง Social Media ต่างๆที่ลูกค้าติดต่อเข้ามา สถานะของ Agent (Online, Away, Invisible) และการแชทที่กำลังให้บริการจะปรากฏขึ้นบนหน้าเพจ Agent สามารถสร้างตั้งค่าสถานะการ Talk ที่ด้านบนขวาสุดของหน้าแดชบอร์ด เพื่อที่สามารถทำการโทรได้บนพื้นที่การทำงานได้เลย ข้อมูลการสนทนาทั้งหมดระหว่าง Agent กับ ลูกค้าจะปรากฏอยู่ทางด้านขวา Agent สามารถสลับช่องทางการติดต่อได้ตลอดเวลา บทสนทนาจะเรียงตามลำดับความเก่าไปใหม่ตามลำดับ เพื่อให้การคุยเป็นธรรมชาติและต่อเนื่องที่สุด ทางด้านขวามือจะแสดงเส้นทางของผู้ที่ติดต่อเข้ามา เป็นประวัติเพื่อให้ช่วยในการสนับสนุนลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น Social Messaging ตัวซัพพอร์ตการสื่อสารใน Zendesk Agent Workspace เครื่องมือที่จะช่วยรองรับการส่งข้อความทาง Social Media ต่างๆ ใน Zendesk...

Continue reading

GCash + Zendesk เปลี่ยนแปลงประสบการณ์สังคมไร้เงินสดให้กับลูกค้ากว่า 20 ล้านคน

ขึ้นชื่อว่าผู้ให้บริการทางการเงิน ระบบบริหารจัดการทั้งมาตรการรักษาความปลอดภัยต้องรัดกุมให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ไม่เพียงแค่นั้นด้านการบริการลูกค้าเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะบริษัทที่รับผิดชอบเงินเหล่านั้้นต้องทำให้มั่นใจว่าจะมีผู้ให้ความช่วยเหลือในเวลาที่ลูกค้าต้องการเสมอ GCash ผู้ให้บริการ E-Wallet ชั้นนำของฟิลิปปินส์เล็งเห็นความสำคัญตรงจุดนี้ จับมือกับ Zendesk พัฒนาประสบการณ์ที่เหนือชั้นให้กับลูกค้ากว่า 20 ล้านคนและพาร์ทเนอร์กว่า 70,000 รายทั่วประเทศ “บริการที่เราจะมอบให้กับลูกค้าสำคัญมากจริงๆ เพราะมันก็คือเงินที่ลูกค้าเชื่อมั่นในระบบของเรา” Joanne Avendano, GCash vice president of customer experience กล่าว “เราต้องทำให้แน่ใจไม่เพียงแต่แพลตฟอร์มที่มีเสถียรภาพ แต่ยังต้องมีประสบการณ์และโครงสร้างการซัพพอร์ตที่พวกเขาจะสามารถพึ่งพาเราได้จริงๆ ดังนั้นการได้รู้ว่ามีคนที่ต้องการความช่วยเหลือจากเราอยู่ จึงสำคัญต่อบริการของเราอย่างมาก” Avendano อยู่กับ GCash มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 2004 ในฐานะผู้ให้บริการโอนและชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือจาก Globe Telecom บริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่ใหญ่ที่สุดในฟิลิปปินส์ ภายใน 6 ปีที่ผ่านมา GCash ได้เติบโตจากเส้นทางธรรมดาอย่างแค่การส่งเงินไปสู่การเป็นแอปพลิเคชันที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์มากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงนั้นก็นำไปสู่ผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นมหาศาลและความต้องการด้าน Customer Service ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในปี 2017 GCash ก็ได้มองหาเครื่องมือที่จะช่วยบูรณาการช่องทางซัพพอร์ตต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับการเติบโตของธุรกิจในอนาคต แรกเริ่มที่สนใจคือ Freshworks กับ Salesforce อย่างไรก็ตามเมื่อ Avendano ได้ลองใช้ Zendesk เธอรู้ว่าเธอเจอพาร์ทเนอร์ที่ใช่ในด้านความปลอดภัย การให้บริการและความยืดหยุ่นคล่องตัวแล้ว “หนึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนั้นก็คือเรื่องของความปลอดภัย” Avendano กล่าว “เพราะว่าเราให้บริการด้านการเงิน มาตรการรักษาความปลอดภัยของเราจึงต้องสำคัญเป็นอันดับหนึ่งอยู่เสมอ มีแค่ Zendesk ที่ตอบรับเราในเรื่องนี้ได้ในตอนนั้น” หลังจากได้นำ Zendesk Support มาปรับใช้ในการบริการลูกค้า หนึ่งปีผ่านไปในปี 2018 GCash ก็ได้เพิ่ม Zendesk Talk, Chat และ Guide ตามมา “เราค้นพบอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับ Zendesk” Avendano กล่าว “ไม่เพียงแต่ช่วยให้เราทำอะไรได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอนมากขึ้น แต่จากประโยชน์ที่ได้รับในตอนนี้ Zendesk ตอบโจทย์ในสิ่งที่เราต้องการและสมควรทำงานร่วมกันกับเรา” เดิมที GCash มีระยะเวลาการตอบกลับลูกค้าที่ค่อนข้างนานถึง 24 ชั่วโมง...

Continue reading

วิธีรับมือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือ BCP ด้วย Zendesk

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับคำว่า BCP หรือ Business Continuity Plan กันก่อน.. BCP หรือ Business Continuity Plan คือ แผนรับมือเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ทางบริษัทไม่ได้เตรียมการณ์เอาไว้ จนทำให้การทำงานต้องหยุดชะงักไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งเหมาะกับในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ที่ไม่มีใครรู้ว่า โควิด-19, ฝุ่น PM2.5, ภัยไฟไหม้ น้ำท่วม หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ อีกมากมาย จะกลับมาเล่นงานคุณหรือธุรกิจของคุณเมื่อไหร่ จะให้พนักงาน Work from home ก็ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นวันนี้ทุกคนควรทำความรู้กับ BCP ให้มากขึ้น และเตรียมแผนรับมือของคุณให้พร้อมกันเถอะ ซึ่งแต่ละบริษัทก็อาจจะมีผลกระทบที่ต่างกันออกไป ดังนั้นแผนของ BCP ก็ต่างกันไปด้วย แต่เรื่องที่เราจะพูดถึงในครั้งนี้จะเน้นไปที่การบริการลูกค้า ที่ทุกคนจะพบเจอเรื่องแรก ๆ การรับเรื่อง หรือการติดต่อกับลูกค้า เรื่องนี้ยากที่สุดสำหรับธุรกิจที่ยังพึ่งพิงกับระบบสื่อสารแบบเดิม ๆ ต้องมีพนักงานไปที่ออฟฟิศ ถ้าเข้าออฟฟิศไม่ได้ ลูกค้าก็ติดต่อไม่ได้ หรือลูกค้าแจ้งเรื่องเข้าเบอร์มือถือพนักงานสักคนแต่ไม่รู้ว่าจะสื่อสารอย่างไร เคสนี้แนะนำว่ารีบไปหาระบบที่สามารถทำงานบน Cloud ได้ เผื่อในอนาคตเกิดมีการต้องเข้าออกออฟฟิศไปมา หรือย้ายออฟฟิศ ก็จะไม่ได้รับผลกระทบ อยู่ที่ไหนพนักงานก็ยังสามารถทำงานได้ และการรับเรื่องลูกค้าจากหลายช่องทาง เช่น Social Media ต่าง ๆ ในกรณีที่การรับโทรศัพท์เพียงอย่างเดียวเอาไม่อยู่ เพราะมีสายเข้ามามาก หรือพนักงานมาไม่ได้ ก็ต้อง Work From Home ในการ Support หรือให้บริการลูกค้าให้ได้ ระบบ Omnichannel Customer Service เช่น Zendesk ที่รวบรวมช่องทางการติดต่อไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ ไลน์ เฟซบุ๊ค อีเมล ฯลฯ เข้ามาที่จุดเดียว และสามารถส่งงานต่อ Tracking งานได้ ว่ามีเคสค้างเท่าไหร่ Performance ของการทำงานเป็นยังไงบ้าง ใครติดต่อเข้ามาเยอะ เรื่องอะไร ฯลฯ ก็ควรจะมี เอาไว้เป็นเครื่องมือในการให้บริการลูกค้าได้แบบต่อเนื่อง ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตามก็สามารถบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพได้ เหมาะแก่การรับมือในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกในอนาคต...

Continue reading