การบริการลูกค้าส่วนใหญ่มักเริ่มต้นที่ Help desk แต่ Help Desk คืออะไร? ทำงานอย่างไร? และบริษัทจะได้รับประโยชน์อย่างไร? เมื่อใช้ Help Desk หากจะให้แปลคำว่า Help Desk ออกมาเป็นภาษาไทยแบบตรง ๆ ก็คงจะหมายถึง “โต๊ะช่วยเหลือ” แต่ความจริงแล้ว Help Desk ไม่ใช่โต๊ะทำงานจริง ๆ หากแต่เป็นซอฟต์แวร์ หรือชุดของเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบธุรกิจหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องสามารถดูแลลูกค้าได้อย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การติดตาม การจัดลำดับความสำคัญ การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูกค้า และการเก็บบันทึกข้อมูลการติดต่อของลูกค้าที่เข้ามาจากช่องทางการให้บริการต่าง ๆ เป็นต้น เนื่องจากในปัจจุบันการมีช่องทางให้ลูกค้าสามารถติดต่อผ่านอีเมลและโทรศัพท์อาจไม่เพียงพอ เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลและสื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำให้องค์กรต้องปรับตัวให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ลูกค้าใช้ ฉะนั้นระบบ Help Desk จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการช่องทางการติดต่อของลูกค้าที่มีอยู่มากมายหลายช่องทางเข้าไว้ด้วยกันในหน้าแพลตฟอร์มเดียว เพื่อช่วยให้การติดตามปัญหาหรือการแก้ไขปัญหาของลูกค้าเป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็วขึ้นนั่นเอง ลักษณะทั่วไปของระบบ Help desk จะประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก ๆ คือ 1. ระบบบริหารจัดการ Ticket (Ticket Management) 2. ระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ (Automations/Triggers) 3. ระบบการรายงานผล (Analytics/Reporting) ซอฟต์แวร์ Help Desk ทำงานอย่างไร? เมื่อลูกค้า (User) ติดต่อคุณเข้ามาผ่านช่องทางให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น อีเมล โทรศัพท์ ไลฟ์แชท เว็บฟอร์ม รวมถึงสื่อโซเชียลมีเดีย ทุก ๆ การติดต่อจะถูกรวบรวมไปยัง Help Desk และถูกเปิดเป็น Support Ticket ตามลำดับหมายเลขการให้บริการหรือตามความสำคัญของ ticket นั้น ๆ โดย help desk จะทำการแจกจ่าย ticket ไปยังเจ้าหน้าที่ (Agent) ในฝ่ายต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามข้อมูลที่ได้ตั้งค่าไว้ในระบบ ซึ่ง ticket เหล่านั้นจะมีข้อมูลของลูกค้า...
Continue readingระบบ Automations VS. Triggers – แตกต่างกันอย่างไร?
หากเราพูดถึงฟังก์ชัน 2 ฟังก์ชันที่มีอยู่ใน Zendesk Support อันได้แก่ Automations และ Triggers ว่าทั้งสองฟังก์ชันนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร? และควรใช้เมื่อไหร่? เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ จะขอจำแนกความแตกต่างในการทำงานหลัก ๆ ออกเป็น 2 ด้าน อันได้แก่ Automations ทำงานเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลา (Time based) Triggers ทำงานเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำที่เกิด (Action based) 1. Automations Automations ภายใน Zendesk Support นั้นใช้พื้นฐานของเวลาเป็นหลัก คุณสามารถใช้มันเมื่อคุณต้องการให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของเวลาที่คุณได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้ครบระยะเวลาที่กำหนดไว้ก่อนแล้ว automations ค่อยทำงาน สำหรับการออกแบบ Workflow ของระบบ Automations แบบง่าย ๆ แนะนำให้คุณทำการระบุข้อกำหนดด้านการบริการขององค์กรที่มีความเกี่ยวข้องกับเวลาโดยเฉพาะเจาะจงในขั้นตอนต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น องค์กรของคุณต้องการให้ระบบทำการส่งแบบสำรวจความพึงพอใจไปให้ลูกค้าเมื่อครบ 24 ช.ม. ภายหลังจากการแก้ปัญหาให้ลูกค้าเรียบร้อยแล้ว และ Ticket นั้น ๆ ได้ถูก Solved แล้ว หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่รอการตอบกลับจากลูกค้านานเกิน 3 วัน ให้ระบบ Automations ทำการส่งอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า เป็นต้น วิธีการตั้งค่าระบบ Automations ระบบ Automation ใน Zendesk Support จะมาด้วยการตั้งค่าเริ่มต้น หากต้องการปรับแต่งการตั้งค่าให้คลิกที่ไอคอน Admin ที่แถบด้านข้าง > เลื่อนไปที่หัวข้อ Business rules > คลิกที่ Automations เพื่อดูการตั้งค่า 2. Triggers Triggers ภายใน Zendesk Support นั้นใช้พื้นฐานของการกระทำที่เกิดขึ้นเป็นหลัก คุณสามารถใช้มันเมื่อคุณต้องการให้การกระทำบางอย่างเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติเมื่อเข้าเงื่อนไขของการกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่คุณได้กำหนดไว้ กล่าวคือ ให้มีการกระทำหนึ่งเกิดขึ้นก่อนแล้ว triggers ค่อยทำงาน สำหรับการออกแบบ...
Continue readingภาพรวมฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ Zendesk Chat
Zendesk Chat คือ ระบบไลฟ์แชทแพลตฟอร์ม (Live Chat platform) หรือพูดง่าย ๆ ก็คือกล่องแชทบนหน้าเว็บไซต์ที่จะทำให้คุณและผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ (Visitors) สามารถสื่อสารกันได้ในแบบเรียลไทม์ (real-time) อย่างรวดเร็ว รวมถึงสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของลูกค้าทั้งหมดบนหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ โดยในอดีตจะรู้จักกันดีในชื่อ “Zopim” และต่อมาได้ถูก Zendesk พัฒนาขึ้นเป็น Zendesk Chat ในที่สุด ซึ่ง Zendesk Chat จะมุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนผู้เข้าชมเว็บไซต์ให้เป็น Leads ด้วยการปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าชมผ่านทางไลฟ์แชทบนหน้าเว็บไซต์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นช่องทางในการซัพพอร์ตลูกค้าบนหน้าเว็บไซต์ผ่านฟีเจอร์ที่โดดเด่น ดังต่อไปนี้ 1. ทริกเกอร์ (Triggers) กลไกส่งข้อความอัตโนมัติไปยังเป้าหมายที่ตั้งค่าไว้โดยอิงจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า ช่วยให้ลูกค้ามีโอกาสซื้อสำเร็จได้ง่ายขึ้นจากการส่งข้อความผ่านทางแชทอัตโนมัติ Zendesk Chat triggers 2. แบบฟอร์มก่อนการแชทและแบบฟอร์มออฟไลน์ (Pre-chat forms) การใช้แบบฟอร์มก่อนการแชทเพื่อสอบถามข้อมูลการติดต่อจากผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ก่อนเริ่มต้นการแชทกับเอเจนต์ จะช่วยให้คุณสามารถแยกประเภทการติดต่อและจัดลำดับความสำคัญของคำขอรับการสนับสนุนของลูกค้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าเป็นแบบฟอร์มออฟไลน์เพื่อให้แน่ใจว่าลูกค้าจะสามารถติดต่อคุณได้แม้นอกเวลาทำการ และที่สำคัญ Pre-chat forms สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของคุณ Zendesk Chat pre-chat forms 3. รายชื่อผู้เยี่ยมชม (Visitor list) สามารถติดตามและตรวจสอบผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์รวมถึงหน้าเว็บที่พวกเขากำลังเรียกดูอยู่ วิธีนี้จะช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายผู้ใช้ได้เฉพาะเจาะจงและให้การบริการได้ตรงจุดโดยการพุ่งเป้าไปยังผู้ใช้แต่ละรายและเสนอความช่วยเหลือได้เมื่อพวกเขาต้องการ สามารถเลือกให้โชว์ได้ 2 แบบ 3.1 List View Zendesk Chat visitor list view 3.2 Visual View Zendesk Chat visitor visual view นอกจากนี้ยังสามารถเลือกดูข้อมูลตามกลุ่มต่าง ๆ ได้ Zendesk Chat visitor group 4. การให้คะแนนการแชท (Chat ratings) ลูกค้าสามารถให้คะแนนความพึงพอใจในการติดต่อผ่านช่องทางการแชท ทำให้คุณสามารถรวบรวมคะแนนความคิดเห็นและนำไปปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อไปได้ Zendesk Chat ratings 5. การส่งไฟล์...
Continue readingUX / UI คืออะไร?
UX = ประสบการณ์ของผู้ใช้UI = ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้องค์ประกอบทั้งสองนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งแม้จะมีความคล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์ทางวิชาชีพ แต่บทบาทของ UX / UI นั้นมีความแตกต่างกันและมีเส้นกั้นของความเป็นเหตุเป็นผลกันอยู่ ทำให้หลายคนสงสัยและเกิดความเข้าใจผิดกันอยู่ว่า UX / UI แท้จริงแล้วคืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร ดังนั้นในบทความนี้ Demeter ICT จะขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับ UX / UI มากยิ่งขึ้น UX หรือ User Experience คือ ประสบการณ์ของผู้ใช้งานในด้านความรู้สึกที่ตอบสนองต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์ หรือระบบต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย ความสนุกสนาน จนเกิดเป็นความพึงพอใจสูงสุดหรือเกิดประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้งานนั่นเอง ฉะนั้นในอีกแง่นึง User experience หรือ UX มีการพัฒนามาจากผลของการปรับปรุง UI เมื่อมีบางอย่างให้ผู้ใช้ได้โต้ตอบกับประสบการณ์ของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นแง่บวก ลบ หรือเป็นกลาง สามารถเปลี่ยนวิธีที่ผู้ใช้รู้สึกเกี่ยวกับการโต้ตอบเหล่านั้น UX จึงเป็นจุดที่ต้องพยายามศึกษาและทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานต้องการอะไร แบบไหน พอใจไหม กลุ่มเป้าหมายมีใครบ้าง มีอะไรน่าสนใจบ้าง อย่างละเอียด เพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานมากที่สุด ฉะนั้นอาจเปรียบได้ว่า UX คือ “ศาสตร์แห่งความพยายามเข้าใจผู้อื่นเพื่อประโยชน์อันสูงสุด” UI หรือ User Interface คือ ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้งาน หรือ ส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน กล่าวคือ ส่วนที่ให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องของหน้าตา การออกแบบ และการดีไซน์ ยกตัวอย่างเช่น หน้าจอ แพลตฟอร์ม เมนู ฟอร์มต่าง ๆ การวางภาพ ขนาดตัวอักษร ปุ่ม แป้นพิมพ์ เสียง หรือแม้แต่แสงไฟ เป็นต้น สิ่งสำคัญสำหรับ UI ก็คือดีไซน์ที่ดูสะอาด สวยงาม ดึงดูดใจ อีกทั้งต้องเข้าใจง่าย ใช้งานง่าย มีมาตรฐานและเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน นอกจากนี้ยังต้องมีฟังก์ชันที่น่าสนใจ มีภาษาภาพที่ทำให้คนเกิดความรู้สึกอยากจะใช้งาน และที่สำคัญจะต้องมีความเป็นเอกลักษณ์...
Continue readingถึงเวลาแล้วหรือยัง? สำหรับการบริการลูกค้าแบบ omnichannel
Omnichannel เป็นคำศัพท์ใหม่ในอุตสาหกรรมการบริการลูกค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่หลาย ๆ ธุรกิจให้ความสนใจที่จะทำอะไรสักอย่างกับกระแสการบริการในรูปแแบบใหม่นี้ หากจะพูดให้เข้าใจง่าย ๆ omnichannel solution คือ การรวมช่องทางการบริการลูกค้าทั้งหมดของคุณไว้ในที่เดียวกัน เพื่อเก็บรวบรวมและรักษาบทสนทนาทั้งหมดของลูกค้าเอาไว้ ซึ่งช่วยให้ทีม customer service สามารถเข้าถึงข้อมูลอ้างอิงของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ลูกค้าเป็นใคร? เคยติดต่อเข้ามาผ่านช่องทางใด? เคยได้มีการสนทนาอะไรกับเจ้าหน้าที่คนไหน? และเคยได้ซื้อผลิตภัณฑ์ใดบ้าง? เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการจบปัญหาต่าง ๆ ที่มักเกิดขึ้นจากการแยกช่องทางการบริการลูกค้าหลายช่องทางออกจากกันโดยไม่มีจุดเชื่อมโยงกันอย่างสิ้นเชิง แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาที่ธุรกิจควรปรับเปลี่ยนการบริการลูกค้าแบบเดิมไปสู่การบริการลูกค้าแบบทุกช่องทาง (omnichannel customer service) หากคุณกำลังต้องการคำตอบสำหรับคำถามนี้อยู่ ลองอ่านและพิจารณาถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้: เจ้าหน้าที่หนึ่งคนรับงานหนักเกินไป ปริมาณ ticket เพิ่มขึ้นจนเป็นเหตุให้จำนวน ticket ไม่สัมพันธ์กับจำนวนเจ้าหน้าที่หรือไม่? เจ้าหน้าที่ของคุณรู้สึกทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเครียดหรือไม่? ไม่ว่าพนักงานของคุณจะมีความสามารถมากแค่ไหน แต่เมื่อต้องเจอกับปริมาณ อีเมล โทรศัพท์ และคำถามที่เข้ามาจากช่องทางต่าง ๆ มากเกินไปจนรู้สึกรับมือไม่ไหว จัดการได้ไม่ทันใจลูกค้า อาจทำให้เจ้าหน้าที่รู้สึกเครียดเกินไป เพราะในโลกของการบริการลูกค้า ไม่มีอะไรที่จะเครียดไปกว่าจำนวน ticket ค้างที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากขาดทรัพยากรเข้ามาช่วยแบ่งเบางาน ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของคุณไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างเจ้าหน้าที่ด้วยกัน กล่าวคือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถสื่อสารหรือทำงานร่วมกันในแบบเรียลไทม์ได้ ถือเป็นการขาดประสิทธิภาพในการซัพพอร์ตลูกค้าขั้นพื้นฐานที่จะส่งผลกระทบถึงค่า CSAT และ ASAT ได้ การบริการไม่สอดคล้องกันในทุกช่องทาง หากทีมของคุณให้การซัพพอร์ตลูกค้าข้ามช่องทางโดยไม่สอดคล้องกัน หากจะให้ยกตัวอย่างเคสง่าย ๆ คงหนีไม่พ้นการให้ลูกค้าต้องเล่าซ้ำ ๆ ถึงปัญหาของพวกเขาเมื่อมีการโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่ท่านอื่น หรือ วันนี้ลูกค้าโทรหาคุณโดยที่คุณไม่เคยรู้เลยว่าลูกค้าคนเดียวกันนี้เคยส่งอีเมลมาหาคุณแล้ว เป็นต้น การทำให้ลูกค้ารู้สึกสับสนว่าช่องทางไหนบ้างที่สามารถไว้วางใจได้อาจส่งผลกระทบถึงความไม่ไว้วางใจในบริษัทไปด้วย ถือเป็นข้อผิดพลาดที่ไม่ควรมองข้าม การบริการและการสื่อสารข้ามช่องทางที่ไม่สอดคล้องกันนี้ยังรวมไปถึงบริบทต่าง ๆ ของลูกค้าที่อาจสูญหายไป และ ticket อาจมีการตกหล่นอีกด้วย ซึ่งส่งผลให้การสนทนากับลูกค้ามีความยืดเยื้อ เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหานานกว่าเดิม และเกิดเป็น ticket คงค้างมากยิ่งขึ้น ส่งผลกระทบให้ได้รับค่าความพึงพอใจของลูกค้าในระดับต่ำ อีกทั้งพนักงานของคุณจะรู้สึกหงุดหงิดเนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่เหมาะสมในการหาข้อมูลและทำงานร่วมกัน ฉะนั้นอย่าปล่อยให้ทีมซัพพอร์ตของคุณต้องใช้เวลาถึง 20 นาทีในการโทรหาแผนกอื่นเพื่อหาคำตอบให้กับลูกค้าของคุณ เจ้าหน้าที่แอดมินต้องพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่ง report ประสบการณ์ของลูกค้าถือเป็นสิ่งสำคัญ ทุกธุรกิจควรมีการตั้งเป้าหมายและมีตัวชี้วัดในด้านประสบการณ์ของลูกค้า (customer experience) ซึ่งหากเจ้าหน้าที่แอดมินหรือผู้ดูแลระบบของคุณต้องหัวหมุนและดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งการรายงานผลต่าง ๆ...
Continue readingซื้อ Zendesk กับดีมีเตอร์ ไอซีที VS ซื้อโดยตรง
หลังจากมีหลายท่าน ๆ สอบถามกันเข้ามาถึงความแตกต่างระหว่างการซื้อ Zendesk กับ Demeter ICT ที่เป็น Zendesk partner ในประเทศไทย กับการซื้อจาก Zendesk โดยตรงว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจจึงขอจำแนกการบริการออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ 1. Licenseการซื้อบริการ License นั้นสามารถซื้อได้ทั้งกับ DMIT หรือซื้อกับ Zendesk โดยตรง ซึ่งราคาจะไม่มีความแตกต่างกันมากนักขึ้นอยู่กับอัตราการแลกเปลี่ยนของค่าเงินบาทไทย 2. Implementในส่วนของการ Implement นั้นจะสามารถซื้อได้กับ DMIT เพียงอย่างเดียว เนื่องจากทาง Zendesk ยังไม่มีบริการ Implement ให้ในประเทศไทย ฉะนั้นท่านสามารถซื้อ License กับ Zendesk แล้วมาซื้อ Implement กับทางเราก็ได้ หรือจะซื้อทั้ง License และ Implement กับเราทีเดียวเลยก็ได้เช่นกัน ซึ่งหากซื้อ Implement กับเราจะได้รับการ Training ให้ด้วย ความแตกต่างระหว่างซื้อ/ไม่ซื้อ implementซื้อ: ทาง DMIT จะทำการ setting ระบบตามความต้องการของลูกค้า รวมถึงมีการ training ให้กับพนักงานหรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องใช้งานระบบ Zendesk และหากเกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบ เช่น เกิด bug หรือ software มีการ upgrade หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานอื่น ๆ ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตและรับประกันให้ 1 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ซื้อ: หากลูกค้าไม่ต้องการ implement ลูกค้าจะต้องศึกษาการใช้งานระบบ Zendesk ด้วยตัวเอง โดยทาง DMIT มีการซัพพอร์ตในส่วนวิธีการใช้งานเป็นภาษาไทยให้ ซึ่งทางลูกค้าต้องทำการ setting ระบบเอง ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งาน ทาง DMIT มีการซัพพอร์ตให้ลูกค้าแบบ 8/5...
Continue reading6 เหตุผลที่คุณควรใช้ซอฟต์แวร์ Live Chat ซัพพอร์ตลูกค้า
ในปัจจุบันความคาดหวังของผู้บริโภคต่อการบริการที่จะได้รับเพิ่มสูงขึ้น การให้บริการหรือการซัพพอร์ตลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์และอีเมลที่ถือเป็นมาตรฐานเริ่มต้นในทุก ๆ บริษัทอาจยังไม่เพียงพอ เพื่อที่จะสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจและปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าของคุณให้ดียิ่งขึ้น สิ่งสำคัญคือการให้ลูกค้าของคุณเข้าถึงการซัพพอร์ตตามช่องทางที่ลูกค้าต้องการ แต่จะแน่ใจได้อย่างไรล่ะ? ว่าลูกค้าจะได้รับสิ่งที่ต้องการในเวลาที่รวดเร็วที่สุด “Live Chat software” อาจเป็นคำตอบสำหรับคุณ ต่อไปนี้เป็นประโยชน์ที่คุณและลูกค้าของคุณจะได้รับจากการใช้ซอฟต์แวร์ Live Chat 1. ลูกค้าสามารถทำหลายอย่างพร้อมกันได้ คงไม่มีใครอยากใช้เวลาพักรับประทานอาหารกลางวันไปกับการถือสายโทรศัพท์รอหรือรอการติดต่อกลับจากบริษัทของคุณหรือบริษัทอื่น ๆ อย่างแน่นอน ด้วยการซัพพอร์ตผ่าน Live Chat จะช่วยให้ลูกค้าของคุณสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ในขณะที่รอเสียงข้อความตอบกลับจากคุณเพียงเท่านั้น 2. มีการเก็บบันทึกการแชททุกครั้งเพื่อความโปร่งใสและเป็นหลักฐานในการติดต่อ เมื่อลูกค้าติดต่อกับฝ่ายซัพพอร์ตของบริษัทผ่านทางโทรศัพท์ บทสนทนาของลูกค้ามักไม่ได้รับการบันทึกไว้ ซึ่งซอฟต์แวร์ Live Chat ส่วนใหญ่จะช่วยให้ลูกค้าได้รับทางเลือกในการเก็บบันทึกบทสนทนาไว้ได้ ซึ่งเป็นจุดอ้างอิงให้กับลูกค้าในกรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นในอนาคตได้ นอกจากนี้บันทึกบทสนทนาของลูกค้ายังสามารถช่วยเตือนความจำให้กับเจ้าหน้าที่ได้มีข้อมูลอ้างอิงที่สามารถเรียกดูการแชทก่อนหน้าและสนทนาต่อได้แม้ไม่ใช่เจ้าหน้าที่คนเดิมที่รับเรื่อง 3. ให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ลูกค้าบางรายอาจต้องการการติดต่อกับคุณเมื่อใดก็ตามที่พบปัญหา ซึ่งบ่อยครั้งมักเกิดขึ้นนอกเวลาทำการ ซึ่งซอฟต์แวร์ Live Chat จะช่วยให้ธุรกิจของคุณมีโอกาสในการให้บริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดเวลาในการรอของลูกค้าและช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้ามากยิ่งขึ้น 4. ป้องกันการเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การซัพพอร์ตสายด่วน (hotlines) มีค่าใช้จ่ายเสมอ ยิ่งเมื่อลูกค้าต้องถือสายรอเป็นเวลานาน ๆ ลูกค้าก็ยิ่งเสียเงินมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ Live Chat ไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานสำหรับลูกค้า ซึ่งหมายความว่าความรู้สึกในเชิงลบจะไม่รุนแรงมากนัก ในขณะที่เจ้าหน้าที่ก็สามารถให้บริการได้อย่างสงบ เคารพและสุภาพต่อลูกค้าโดยไม่ต้องหัวเสียเช่นกัน นอกจากนี้ยังประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับธุรกิจ ไม่ต้องมีการเดินสายไฟที่ซับซ้อนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการติดตั้งซอฟต์แวร์ Live Chat ที่คุณต้องการก็เพียงแค่โค้ดง่าย ๆ และการสมัครแพ็กเกจที่ตรงตามการใช้งานของคุณเท่านั้น นอกจากนี้ตัวซอฟต์แวร์ยังใช้งานง่าย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่แผนกต้อนรับ แผนกคอลเซ็นเตอร์ หรือฝ่ายขาย ก็สามารถมอบหมายให้ดูแลหน้าแพลตฟอร์ม Live Chat ได้ ถือเป็นวิธีการเสียค่าลงทุนต่ำแต่ช่วยเพิ่มจำนวนลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น 5. ช่วยรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ ซอฟต์แวร์ Live Chat มีข้อมูลเพิ่มเติมที่สำคัญที่ช่วยในการติดตามผลต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแพลตฟอร์มนั้น ๆ แต่โดยทั่ว ๆ ไปจะมีข้อมูลดังนี้ ลิงก์อ้างอิง: คุณสามารถค้นหาลิงก์ที่นำลูกค้ามายังหน้าเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถใช้เนื้อหาที่อยู่ในลิงก์นั้น ๆ เป็นตัวชี้วัดถึงสิ่งที่ลูกค้าสนใจและกำลังมองหาเพื่อเริ่มต้นบทสนทนาที่ตรงใจลูกค้า ระบบปฏิบัติการและอุปกรณ์: ข้อมูลในส่วนนี้จะบอกคุณถึงอุปกรณ์ที่ลูกค้าใช้ดูเว็บไซต์ของคุณ ยกตัวอย่างเช่น...
Continue readingZendesk Support เพื่อ IT Support ของมหาวิทยาลัยลิงคอล์น
Use Case Internal Number of Students 12,000+ Number of Agents 58 Favorite Feature Mobile Apps Products Used “มหาวิทยาลัยลิงคอล์น (University of Lincoln) เปิดให้บริการในปี 2001 ในระยะเวลา 10 ปีต่อมา มหาวิทยาลัยมีพนักงาน บุคลากร และคณะครูอาจารย์ทั้งหมด 1,200 คน รวมถึงมีนักศึกษาจากสาขาต่าง ๆ รวมกันมากกว่า 12,000 คน” นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่ามหาวิทยาลัยลิงคอล์นได้สร้างงานใหม่อย่างน้อย 3,000 ตำแหน่ง ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจในท้องถิ่นมากกว่า 250 ล้านปอนด์ต่อปี ในยุคของการลดงบประมาณ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรต่างก็กำลังมองหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการลดค่าใช้จ่ายของตัวเอง มหาวิทยาลัยลินคอล์นเองก็ได้มีการริเริ่มที่จะพัฒนาการบริการแก่นักเรียนให้ดีขึ้น และได้ตระหนักว่าซอฟต์แวร์ helpdesk แบบเก่าไม่ได้ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารอย่างที่เจ้าหน้าที่ IT อยากให้เป็น Tara Howard (project manager ของมหาวิทยาลัย) กล่าวว่า “ในอดีตเมื่อมีคนโทรหาเราเพื่อขอความช่วยเหลือ เรามักจะไม่ได้รับหมายเลขเคสไว้ใช้ในการติดตามลูกค้าเมื่อเราแก้ปัญหาให้ลูกค้าของเรา ซึ่งซอฟต์แวร์ helpdesk ของเราไม่ได้ช่วยเรามากไปกว่าการส่งข้อความอัปเดตสถานะอัตโนมัติ ทำให้ผู้คนต้องติดตามเราเองเพื่อหาข้อมูลซึ่งเรารู้ดีว่าเราควรทำให้มันดีขึ้นกว่านี้” ในช่วงของการเริ่มต้นค้นหาระบบใหม่ ทางมหาลัยได้สะดุดเข้ากับระบบของ Zendesk Support และได้เริ่มต้นทดลองใช้ Zendesk trial ฟรี พวกเขาพบได้ทันทีว่า Zendesk Support มอบทุก อย่างที่เจ้าหน้าที่ IT ต้องการและกำลังมองหา “ในบรรดาระบบที่เรามองหา Zendesk Support สามารถดึงดูดเราและน่าสนใจมากจริง ๆ มันง่ายต่อการติดตั้งและง่ายต่อการใช้งาน และดูเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการรวมทุกการเข้าถึงของผู้คนมาไว้ที่ศูนย์กลางของ Zendesk Support” Tara Howard กล่าว ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีของมหาวิทยาลัยลินคอล์นจำนวน 44 คน ใช้ Zendesk Support ในการซัพพอร์ตและรับ ticket จากนักศึกษา คณาจารย์...
Continue readingสร้างระบบ IT Help Desk ต้นทุนต่ำได้ง่าย ๆ สำหรับองค์กรทุกขนาดด้วย Zendesk
ด้วยยุคที่เทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการทำธุรกิจมากขึ้น แผนก IT Support ขององค์กรก็เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่ช่วยให้การทำงานของทุกแผนกเป็นไปอย่างราบรื่นต่อเนื่อง แน่นอนว่าซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้แผนก IT Support ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นก็ถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับองค์กรที่ต้องการจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่ง Zendesk ก็ถือเป็นระบบ Cloud Customer Service และ Engagement Platform ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้และช่วยตอบโจทย์ในด้านของ IT Support ได้อย่างคุ้มค่าในราคาประหยัด Zendesk คืออะไร? อันที่จริงแล้ว Zendesk คือ ระบบ Cloud Customer Service และ Engagement Platform ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการและการสื่อสารภายนอก-ในองค์กรได้อย่างหลากหลาย โดยมีจุดเด่นดังต่อไปนี้ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้จากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็น Website, Web Chat, Chat Application, Social Media, Call Center รวมถึง Mobile Application ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้ใช้งานสามารถติดต่อสื่อสารและขอรับการบริการต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย จากทุกช่องทาง Zendesk จะช่วยแปลงทุกการสื่อสารของคุณให้อยู่ในรูปของ Ticket และนำไปจัดเก็บไว้ในระบบ Ticketing System เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการ นอกจากนี้ทีมงานยังสามารถรู้ถึงสถานะของทุก ๆ การสื่อสารได้ เช่น ลูกค้าส่งเรื่องเข้ามาแล้วยังไม่มีผู้รับเรื่อง, มีผู้รับเรื่องแล้วและกำลังดำเนินการอยู่ หรือดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่งช่วยให้สามารถชี้วัดประสิทธิภาพของการให้บริการออกมาในเชิงตัวเลขได้อย่างชัดเจน สามารถสื่อสารกันภายในทีมได้ ช่วยอำนวยความสะดวกในการให้บริการลูกค้าแต่ละราย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอ้างอิงที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ในทุก ๆ การแก้ไขในแต่ละ Ticket สามารถเชื่อมต่อกับระบบ ERP, CRM, Email, Chat, Mobile Application และอื่น ๆ เพื่อนำข้อมูลหรือเหตุการณ์จากระบบต่าง ๆ มาใช้ร่วมกันภายใน Zendesk เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีระบบ Knowledge Base ให้ทีมหรือผู้ใช้งานสามารถแชร์ความรู้ต่าง ๆ รวมถึงสร้างคู่มือและวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง (Self-Service) ได้ โดย Zendesk...
Continue reading