Draft หรือ Final แค่ Docs ไฟล์เดียวจบ

Draft หรือ Final แค่ Docs ไฟล์เดียวจบ พอกันที! กับการเซฟงานเอกสารหลายเวอร์ชั่น Customer Success Story… กรณีศึกษาเรื่องราวความสำเร็จจากการใช้งาน Google Workspace โดยลูกค้าผู้ใช้งานจริง เสียเวลาไปเท่าไหร่กับกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดยเฉพาะไฟล์เอกสาร ที่ต้องมีการแก้ไขปรับไปมาอยู่หลายหน เชื่อได้เลยว่าเกือบทุกองค์กร ไม่แผนกใดก็แผนกหนึ่งต้องประสบปัญหานี้อยู่แน่นอน อย่างตัวอย่างเรื่องจริงจาก Customer Success Story ขององค์กรที่เกี่ยวกับ Manufacturing แห่งหนึ่ง … กระบวนการทำงานเดิม ต่อไปนี้เป็นเรื่องราวของพนักงานตำแหน่ง Communication Specialist จากบริษัทการผลิตแห่งหนึ่ง ขอใช้นามสมมุติว่านิพิธ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นนักสื่อสารให้กับคนในองค์กร ทุกครั้งเมื่อเขาจะประกาศเรื่องใดๆให้ทุกคนในองค์กรรับรู้ เขาจำเป็นต้องร่างเนื้อหานั้นๆบน Word และต้องส่ง draft แนบไปกับอีเมล ให้กับผู้บริหาร review ตรวจสอบความถูกต้องก่อนทุกครั้ง แน่นอนว่าไม่ได้จบที่ไฟล์เดียว บ่อยครั้งที่ผู้บริหาร ต้องเดินทางไปดูงานยังสาขาอื่นๆ เขาจะทำการตรวจสอบเอกสารได้ก็ต่อเมื่อเปิด laptop เท่านั้น ทำให้ระยะเวลาการ review ช้าลงไปด้วย ที่แย่ไปกว่านั้นคือหลายครั้งที่ผู้บริหารไม่สามารถเข้าดู draft ได้ เนื่องจากติดปัญหาด้านการเข้าถึง หรือ access ไฟล์ และมีหลายครั้งที่ผู้บริหารต้องทำการตรวจสอบแก้ไขรายละเอียดผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งหลังจากนิพิธได้รับ comment เขาต้องนำมาปรับแก้ไขให้เป็น final และต้องส่งให้หัวหน้าทีม review ฉบับ final อีกครั้ง ก่อนทำการเผยแพร่ จะเห็นได้ว่ากระบวนการทำงานของนิพิธเป็นไปค่อนข้างยากลำบาก เนื่องจากระยะเวลาของกระบวนการทำงานค่อนข้างยาวนาน ไม่ใช่ส่งผลกระทบแต่ตัวเขาเท่านั้น แต่พนักงานทุกคนในองค์กรก็ได้รับผลกระทบเนื่องจากได้รับข่าวสารล่าช้าเช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนว่าผลเสียไม่ได้มีเท่านี้แน่นอน… หลังปรับกระบวนทำงานด้วย Google Workspace แล้วชีวิตการทำงานของนิพิธก็พลิกเปลี่ยนไปเลย หลังจากองค์กรของเขาเริ่มนำ Google Workspace มาใช้ และเมื่อเขารู้ว่า Google Workspace มีเครื่องมือที่ช่วยการทำงานเขาได้…  Features ที่นิพิธผู้เป็น Communication Specialist หยิบมาใช้ในกระบวนการทำงานของเขา นั่นก็คือ Google Docs และ Google Drive...

Continue reading

สรุป Digital Transformation ปี 2022 ยุ่งยาก แพง คุ้มหรือเปล่าและจะเริ่มอย่างไรดี?

พูดถึง Digital Transformation เชื่อว่านาทีนี้หลายคนคงคุ้นเคยและรู้ความสำคัญของคำ ๆ นี้มาบ้างแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเกิดวิกฤตโควิด-19 Digital Transformation ก็ติดสปีดกลายเป็นเทรนด์ที่ธุรกิจจะต้องนำมาปรับใช้ให้ได้ มีหลายองค์กรที่ทำสำเร็จจนเกิดกรณีศึกษามากมาย และก็มีหลายองค์กรเช่นกันที่มองว่า Digital Transformation เป็นภาระใหญ่ที่ทำให้ต้องเสียงบ ทำไม่สำเร็จสักทีทั้งไม่ได้ผลลัพธ์ดั่งที่คาดหวังนัก  หากว่าคุณหรือองค์กรของคุณเป็นกรณีแบบที่สองล่ะก็ โปรดวางใจว่าคุณไม่ได้อยู่เพียงลำพัง  จากการสำรวจของ Mckinsey พบว่า องค์กรอาจจะต้องเพิ่มงบประมาณประจำปีจากเดิมเป็นสองเท่าถึงห้าปีเพื่อให้ครอบคลุมในเรื่องของ IT เรียกได้ว่าเมื่อนึกถึง Digital Transformation แล้วอาจนึกปวดหัว ใจหนักอึ้งพอ ๆ กับที่ต้องรีโนเวทบ้านเลยทีเดียว Digital Transformation ที่แท้จริงคือการสร้างความเปลี่ยนแปลงในระดับองค์กร การวางแผนโมเดลธุรกิจขึ้นใหม่ Re-skill พนักงาน และทดลองทำซ้ำอย่างต่อเนื่อง “จริง ๆ นะสิ่งที่เกิดขึ้นเวลาผู้คนพูดถึงเรื่องนี้คือ ‘อ้อ ที่ลงทุนเป็นล้าน ๆ มาหลายปีน่ะเหรอ เพื่อให้ได้มุมมองของลูกค้าแบบ 360 องศา มันคุ้มค่าจริง ๆ เหรอ?’ อะไรแบบนี้” – Lisa Nicholas, CEO of Digital Banking Services กล่าว ทว่าคำตอบก็คือ “ใช่ มันคุ้มค่า” เธอกล่าว การทำ Digital Transformation จะต้องมองในแง่ถึงเป้าหมายที่องค์กรอยากจะทำให้เป็นผลสำเร็จให้ได้ และหนทางกว่าจะไปให้ถึงว่าต้องใช้อะไรเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น ต่างเป้าหมาย ต่างอุปสรรค ต่างข้อจำกัดด้านทรัพยากร การทำ Digital Transformation จึงไม่สามารถ Copy-and-Paste รูปแบบธุรกิจจากที่อื่นโดยไม่เข้าใจถึงบริบทการใช้งานที่แท้จริง หรือแม้แต่การทุ่มเงินไปกับการซื้อเทคโนโลยี ก็ไม่ได้การันตีถึงความสำเร็จได้เช่นเดียวกัน ถึงอย่างนั้นในด้านของแนวคิดว่าควรจะเริ่มต้นทำ Digital Transformation อย่างไรนั้น เราได้สรุปมาให้คุณแล้ว มาเริ่มต้นดูกันเลย 1. ตั้งวิสัยทัศน์ขององค์กรและหัวหน้าทีม ในหลาย ๆ บทความส่วนใหญ่มักจะเริ่มขั้นตอนแรกของ Digital Transformation ให้เป็นการตั้งเป้าหมายหรือภาพรวมใหญ่ ๆ ทว่าเสาหลักที่สำคัญที่สุดของการ Digital Transformation ก็คือ...

Continue reading
Google Workspace Background and solution for digitized world

Google Workspace เกิดมาได้อย่างไรและตอบโจทย์ยุคดิจิทัลได้มากแค่ไหน?

It’s Time for Google Workspace! ถึงเวลาแล้วที่ Google จะช่วยคุณพัฒนาและเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานแบบเดิมๆให้ดีขึ้นด้วย Google Workspace เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่จะทำให้การทำงานในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องง่ายๆ หากจะย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นก็คงจะหนีไม่พ้นวิกฤติการณ์โควิด 19 ที่อยู่กับเรามายาวนานอย่างไม่คาดคิด ทำให้การทำงานในยุคปัจจุบันนั้นถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง หลายบริษัทยกเลิกการทำงานรูปแบบเดิมแล้วเปลี่ยนเป็นการทำงานรูปแบบใหม่เพื่อให้ตอบสนองต่อโลกดิจิทัลที่เติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วมากขึ้น การเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศหรือการไปประชุมก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไปหากว่าเรามีเครื่องมือที่ช่วยให้เราทำงานจากที่บ้านหรือที่ไหนก็ได้ แม้ว่าพนักงานบริการส่วนหน้าที่ต้องติดต่อปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรงก็ต้องเปลี่ยนมาให้บริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์หรืออินเทอร์เน็ตแทน ตลอดจนถึงแพทย์หรือหน่วยงานภาครัฐก็ยังต้องมองหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยซัพพอร์ตกระบวนการการทำงานและบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างมีระบบ สะดวก รวดเร็ว และคุ้มค่ามากที่สุด การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ถือเป็นเรื่องท้าท้ายอย่างมากสำหรับ Google แต่ถ้าหากมองอีกมุมหนึ่งก็ยังนับว่าเป็นโอกาสที่สำคัญเลยทีเดียวที่จะช่วยผู้คนให้ประสบความสำเร็จในโลกของดิจิทัลเช่นนี้ ดังนั้น Google จึงได้สร้าง Google Workspace ขึ้นโดยมีสโลแกนว่า “ทุกสิ่งที่คุณต้องการ รวมอยู่ที่นี่ที่เดียว” Google Workspace ประกอบไปด้วยชุดแอปพลิเคชันที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เช่น Gmail, Calendar, Drive, Docs, Sheets, Slides, Meet, และอื่นๆอีกมากมาย ไม่ว่าคุณจะไปทำงานที่ออฟฟิศหรือจะทำงานที่บ้าน Google Workspace คือโซลูชันที่ดีทีสุดที่จะช่วยสร้างสรรค์ผลงานที่ยอดเยี่ยมและช่วยยกระดับการสื่อสารและทำงานร่วมกันในองค์กรให้ดียิ่งขึ้น  Google Workspace ได้พัฒนาแอปพลิเคชันโดยมีแนวคิดหลัก 3 ข้อ ดังนี้ 1. เปิดประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้ใช้งาน ในเดือน กรกฎาคมที่ผ่านมา Google ได้ประกาศโซลูชันใหม่ที่จะรวบรวมการทำงานของคุณให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งการสื่อสารและการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความ อีเมล เสียง หรือ วิดีโอ ก็สามารถรวมอยู่ในที่เดียวกันได้ โดยสิ่งนี้จะเสริมสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้นให้กับผู้ใช้บริการ Google Workspace สำหรับการใช้งาน Google Workspace นั้นก็ง่ายมากๆเลยทีเดียว ตอบโจทย์ทั้งองค์กรขนาดเล็กและองค์กรขนาดใหญ่ โดยที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงฟีเจอร์ Chat และ Drive ได้ และสามารถสร้างผลงานและทำงานร่วมกันกับผู้ใช้งานคนอื่นได้ด้วยแม้ว่าจะเป็นคนนอกองค์กรก็ตาม ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการตอกย้ำว่าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกันได้อย่างง่ายดาย อีกทั้ง Google Workspace ยังถูกออกแบบมาเพื่อให้ประหยัดเวลาในการใช้งานมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Docs, Sheets, และ Slides คุณสามารถกดดูไฟล์งานได้โดยที่ไม่ต้องเปิดหน้าต่างใหม่ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณจะสามารถประหยัดเวลาในการทำงานและทำให้งานนั้นเสร็จเร็วขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ยิ่งไปกว่านั้นคุณยังสามารถแท็กคนที่คุณต้องการจะกล่าวถึงเพื่อให้คนๆนั้นเห็น Email, Chat หรือ Video ตามที่คุณต้องการได้ ไม่เพียงแค่นั้น...

Continue reading

Digital Transformation คืออะไร สำคัญแค่ไหนต่อการทำธุรกิจ?

เมื่อคำว่า ‘ดิจิทัล’ ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป ธุรกิจก็ต้องหาหนทางปรับตัวตาม ในยุคที่เศรษฐกิจดิจิทัลมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง Digital Transformation เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจเอาตัวรอดจากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปได้ ล่าสุด Gartner เผยว่า ไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดหนักในปี 2020 ได้ทำให้หลายองค์กรหันมาสนใจการทำ Business Transformation มากขึ้นเป็นประวัติการณ์ แตกต่างจากการคาดการณ์ไทมไลน์เดิมซึ่งใช้ระยะเวลาเป็นปีเหลือเพียงหลักสัปดาห์ แล้ว Digital Transformation คืออะไร? Digital Transformation (DX) คือ การนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐาน เป้าหมาย การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานและวัฒนธรรมขององค์กร ตัวอย่างของ Digital Transformation IT modernization หรือ การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น Cloud Computing การ Reskill พนักงาน การนำเครื่องมือดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ เช่น ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เข้ามาช่วยทำงาน เพื่อที่พนักงานจะสามารถโฟกัสกับงานที่เน้นใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหา อื่นๆ ได้มากขึ้น การใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในการค้นคว้าหาวิธีแก้ Pain Points ของลูกค้า การปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้รับกับความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น การปรับสภาพองค์กรให้รองรับการทำงานแบบ Remote-Working  3 เสาหลักในการทำ Digital Transformation 1. คน (People) Digital Transformation เริ่มต้นจากผู้คน เพราะประสบการณ์ของพนักงานและประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับมีส่วนที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นในขั้นตอนแรก เราจึงต้องรู้ก่อนว่าในสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงจะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง และความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากว่าคุณจะนำเทคโนโลยีเอไอเข้ามาช่วยในแผนก Customer Service ทำให้พนักงานรู้สึกกังวลว่าตนจะตกงาน ผู้เป็นหัวหน้าก็ควรสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน “ถ้าเราสามารถขจัดความกังวลของคนอื่น ให้พวกเขารู้สึกได้ว่าเสียงของพวกเขามีค่า ก็จะช่วยให้เขาพร้อมจะก้าวรับความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น” – Dana Otto, Senior Manager, Change Management, Zendesk กล่าว 2. กระบวนการ...

Continue reading

Digital Transformation ไม่ใช่จบแค่เรื่องของเทคโนโลยี

โดย ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ , CEO บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด วันนี้ผมได้พูดสองหัวข้อในงาน Event ที่ Google Thailand เรื่องแรกได้พูดถึงวิธีการเติมไฟในการทำงานแบบ Google ครับ จุดเริ่มคือเคยสังเกตุไหมครับว่าหนึ่งในสาเหตุที่บุคลากรในองค์กรของเราเริ่มออกอาการเซ็งและหมดไฟคือเรามีกระบวนการในการทำงานที่ไม่มีมูลค่าถึงร้อยละ 70 เนื่องจากเป็นงานที่ต้องเสียเวลาในการเตรียมข้อมูล ต้องปิงปองไปกลับระหว่างเพื่อนร่วมงาน ต้องเดินเอาเอกสารไปให้ ต้องพิมพ์เอกสารออกมาเซ็นต์ และต้องเก็บเอกสารเป็นตั้งๆ เพราะกลัวตรวจสอบไม่ได้ หรือแม้แต่ต้องเดินทางมาประชุมด้วยการฝ่ารถติดเข้ามา โดยที่ทำงานเป็นเรื่องเป็นราวอาจจะแค่ 30% ที่เหลือเป็นการเสียเวลาในกระบวนการโดยทั้งนั้น เหตุว่าทำไม Google ถึงได้เป็นองค์กรนวัตกรรมระดับโลก เพราะ Google เน้นในเรื่องแค่สามเรื่องคือ 1) เน้นการทำงานแข่งกับเวลา 2) มีกระบวนการขั้นตอนในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้าใจ pain points ของผู้ใช้งาน และ 3) การแบ่งปันข้อมูลในการทำงานร่วมกัน ซึ่งหากเรามีเครื่องมือในการทำให้ทั้งสามเรื่องเกิดขึ้นได้ง่าย เท่ากับว่าเวลาที่ต้องสูญเสียไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องในการพูดคุย การแก้งานไปมา การแชร์ข้อมูลเดียวกันก็จะหายไปอย่างมหาศาล ซึ่ง Google ได้ใช้ G Suite ในการเป็นเครื่องมือการทำงานในชีวิตประจำวันนั่นเอง เอาเข้าจริงหลายองค์กรมักจะเข้าใจผิดคิดว่าการทำ Digital Transformation คือการใช้เงินแก้ปัญหาด้วยการซื้อเครื่องมือเทคโนโลยี (Technology) มาใช้งานในองค์กร แต่องค์กรจำนวนมากได้ลืมปัจจัยอีกสองอย่างที่ละเลยเสมอในการทำ Digital Transformation ขององค์กร นั่นก็คือ 1. People และ 2. Process!!!! ทั้งสองอย่างประกอบกับ 3. Technology จึงจะทำให้การทำ Digital Transformation ในองค์กรเกิดขึ้นได้จริง เพราะตอนนี้คนรวยสุดคือทรัพย์ศรีไทยที่รับจ้างเก็บเอกสารกองพะเนินให้เราอยู่ การทำ Digital Transformation ในองค์กรจะประกอบไปด้วยสามเรื่องคือ 1) Technology 2) People และ 3) Process ฟังดูจะรู้ว่ามันไม่จบแค่ใช้เงินซื้อเทคโนโลยีเหมือนกับที่หลายหน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนเข้าใจคำว่า Thailand 4.0 ว่ารีบๆ ไปหาระบบงานมารองรับ ทั้งกระบวนการทำงานและการวิเคราะห์ข้อมูล เสร็จแล้วก็จบแล้ว แต่นั่นเรากำลังพูดแค่ในมุมของ Technology...

Continue reading

G Suite: Your Digital Transformation Partner

โดย: ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์, Founder & CEO, Demeter ICT ผ่านไปด้วยดีกับอีเวนทํประจำไตรมาสของ Demeter ICT ร่วมกับ Google ในหัวข้อ G Suite: Your Digital Transformation Partner คำว่า Digital Transformation คำนี้ค่อนข้างฮิตกันในยุคนี้ ที่ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนก็พูดถึง ซึ่งเรามักจะมองว่ามันเกี่ยวข้องกับองค์กรขนาดใหญ่ แต่องค์กรระดับ SME ไม่น่าจะเกี่ยวข้องเพราะว่าเป็นเรื่องไกลตัว หรือมักจะมองว่า Digital Transformation คือการลงทุนทางด้าน ‘เทคโนโลยี’ ใช้เงินแก้ปัญหาแล้วจบเลย แต่จริงๆ แล้วเรื่องราวไม่ได้ง่ายแบบนั้นครับ หลายองค์กรมักจะตั้งต้นคำว่า Digital Transformation คือการไปเอาเทคโนโลยีเป็นตัวตั้งต้น ด้วยการดูว่าปัจจุบันในอุตสาหกรรมเดียวกับธุรกิจมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง แล้วก็ลงทุนซื้อเทคโนโลยีมาใช้งานเลย แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาขององค์กรจริงๆ เพราะกินยาผิด เนื่องจากเทคโนโลยีที่เอามาใช้ไม่ได้แก้ปัญหาขององค์กรจริงๆ ซึ่งส่วนใหญ่คนในองค์กรยังคงมีรูปแบบการทำงานที่เหมือนเดิม แม้จะมีเทคโนโลยีเข้ามาใช้ก็ตาม ในความเห็นผมการทำ Digital Transformation จะต้องเริ่มที่ Pain point หรือจุดที่องค์กรมีปัญหาองค์กรก่อน เช่น ทำการวิเคราะห์ว่าทุกวันนี้องค์กรมีปัญหาอะไร ทำงานช้าที่ตรงไหน data discrepancy อยู่จุดไหน ขาดข้อมูลส่วนไหนบ้าง โดยที่ยังไม่ต้องพูดถึงเทคโนโลยีก่อน จากนั้นพอสรุปประเภทปัญหาได้แล้ว จึงคิดต่อว่าเครื่องมืออะไรบ้างที่มาแก้โจทย์นี้ได้ และที่สำคัญคือ ‘คนในองค์กร’ จะมีภาพความฝันในการทำงานบนเทคโนโลยีนั่นด้วยวิธีการทำงานแบบไหนที่ไม่เหมือนเดิม ซึ่งมาถึงจุดนี้เราจะตอบได้ทันทีว่า Digital Transformation จะไม่ใช่เรื่องของ CIO เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของ CEO ที่ต้องทำหน้าที่ Project Sponsor ในการไดรฟ์ให้คนในองค์กรมาทำงานด้วยวิธีใหม่ บนเทคโนโลยีใหม่ ไม่ใช่ทำงานบนเทคโนโลยีใหม่ด้วยวิธีการทำงานแบบเดิม ซึ่งการทำ Change Management หรือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนในองค์กรปรับเปลี่ยนวิธีทำงานบนเทคโนโลยีใหม่ เป็นสิ่งทีืจำเป็นในการทำ Digital Transformation มากครับ ผมมักจะยกตัวอย่างขององค์กรที่ใช้ Google G Suite อยู่เสมอว่า G Suite ไม่ใช่มาแทนระบบอีเมลเดิม...

Continue reading