Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

The ITSM Revolution: Unleashing the Power of Next-Gen IT Service Management with Freshservice

Unleashing the Power of Next-Gen IT Service Management with Freshservice วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2024 เวลา 14.00 – 15.30 น. บรรยายสดภาษาไทยผ่านช่องทาง Google Meet งานอีเวนต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงาน ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี หากคุณเป็น IT Leader คนหนึ่ง.. ที่กำลังเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ “อยากปรับปรุงการจัดการบริการด้าน IT ให้ทันสมัย รวดเร็ว อยากลดต้นทุนและบริหารค่าใช้จ่ายด้าน IT อย่างสมเหตุสมผล อยากมีเครื่องมือช่วยจัดการความเสี่ยงเรื่องระบบ ที่สำคัญเครื่องมือที่ว่านั้นต้องยืดหยุ่น ใช้ง่าย ไม่สร้างภาระให้คนทำงานเพิ่ม” เช่นนั้นนี่ก็คืองานสัมมนาออนไลน์ที่คุณไม่ควรพลาด! Demeter ICT ร่วมกับ Freshworks ขอเชิญคุณ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้าน IT และผู้มีอำนาจตัดสินใจเรื่อง IT ทุกท่าน พบกับงานสัมมนาออนไลน์ฟรีสุดพิเศษ กับงาน ‘The ITSM Revolution: Unleashing the Power of Next-Gen IT Service Management with Freshservice’ มัดรวมเรื่องที่ IT Leader ควรรู้ จัดเต็มเนื้อหาทั้ง Trends, Solution และ Case Study ไม่ว่าจะเป็น ✅ อัปเดตเทรนด์และแนวโน้มที่สำคัญของ ITSM ในปี 2024 มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง? ✅ พามารู้จักกับ Freshservice – ITSM Software ชั้นนำที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ใช้งานถึง 96% แนะนำโซลูชันที่ช่วยยกระดับการจัดการด้าน IT รวมถึงฟีเจอร์ที่กำลังมาแรงอย่าง AI และ Automation ✅...

Continue reading

วิธีการเขียนคำสั่ง ‘Prompt’ สำหรับผู้ใช้ Gemini for Google Workspace 

จากที่ Google ได้ประกาศเปิดตัว Gemini Generative AI รุ่นใหม่ล่าสุดปี 2024 ผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ Gemini เป็นอย่างมาก เพราะ Gemini มีจุดเด่นที่เหนือกว่า Generative AI ทั่วไป เช่น  ความง่ายในการใช้งาน: Gemini ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เหมาะกับผู้ใช้งานทุกระดับ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคนิค ความสร้างสรรค์: Gemini ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เขียนเนื้อหา แปลภาษา แต่งเพลง เขียนโค้ด และอื่น ๆ  การยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน: Gemini ช่วยให้ผู้ใช้ทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ Gemini ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด Demeter ICT จึงได้นำบทความจาก Google มาแชร์ให้กับทุกท่านได้ศึกษาวิธีการเขียน Prompt หรือการเขียนคำสั่งใน Gemini อย่างไรให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำมากที่สุด ไปดูกันเลย!  Prompt ใน Gemini คืออะไร? Prompt เปรียบเสมือนบทสนทนาที่คุณจะต้องใช้สื่อสารกับ Gemini อาจมีการตั้งคำถามและตอบโต้เหมือนบทสนทนาทั่วไป บอกสิ่งที่คุณต้องการ และแสดงความคิดเห็น เพื่อแชร์ความคิดให้ทั้งสองฝ่ายเห็นภาพตรงกันนั่นเอง ฉะนั้นหากคุณอยากที่จะสื่อสารเพื่อให้ Gemini สามารถทำตามคำสั่งของคุณได้อย่างถูกต้อง คุณจะต้องมีอย่างน้อย 1 ใน 4 ขององค์ประกอบนี้ 1. บุคคล (Persona) — คุณคือใคร/คุณต้องการสร้างข้อมูลนี้สำหรับใคร?2. งาน (Task) — คุณต้องการให้ Gemini ทำอะไรให้คุณ?3. บริบท (Context) — ข้อมูลเพิ่มเติมที่จะช่วยให้ Gemini สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้แบบเฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น4. รูปแบบ (Format) — คุณต้องการให้ Gemini จัดรูปแบบผลลัพธ์อย่างไร? (เช่น รูปแบบ Bullet point ข้อความสั้น หรือเป็นรูปภาพ เป็นต้น) วิธีการเขียนและตัวอย่างการเขียน...

Continue reading

ใช้งาน Asana แบบ Free VS Asana แบบ Premium ต่างกันอย่างไร?

Asana เป็นเครื่องมือ Project Management อันดับ 1 ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับธุรกิจทุกขนาดและความต้องการที่หลากหลาย ซึ่งความแตกต่างระหว่าง Asana แบบ Free กับ แบบ Premium (คือ เสียเงินค่า License ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่) จะสัมพันธ์กับฟีเจอร์ในการทำงาน ความสามารถในการจัดการทีมและการจัดการโปรเจกต์ของคุณ หากคุณกำลังไม่แน่ใจว่า ระหว่างการใช้งาน Asana แบบ Free กับแบบ Premium แบบไหนจะเหมาะกับทีมหรือองค์กรของคุณมากกว่ากัน บทความนี้เราจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการใช้งานทั้งสองแบบกันอย่างชัด ๆ เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้งาน Asana ตัดสินใจกันได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เลือกอ่านหัวข้อที่คุณต้องการได้เลย! 1. User Limits (จำนวนผู้ใช้งาน) Asana Free เหมาะสำหรับบุคคลทั่วไป ฟรีแลนซ์และธุรกิจขนาดเล็ก (SMB) มีสมาชิกภายในทีมไม่เกิน 10 คน ที่ต้องการใช้งาน Asana เพื่อที่จะจัดการงานส่วนตัวหรือเริ่มต้นจัดการโปรเจกต์ภายในทีม Asana Premium เหมาะสำหรับทีมและองค์กรขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ พร้อมแพ็กเกจที่หลากหลาย เพื่อให้คุณสามารถเลือกแพ็กเกจที่เหมาะสมและตรงกับองค์กรของคุณมากที่สุด 2. Features (ฟีเจอร์การใช้งาน) Asana Free การจัดการงาน (Task Management) สามารถสร้าง Task งาน มอบหมายงานให้กับสมาชิกภายในทีมและกำหนดวันเสร็จสิ้นของงานหรือโปรเจกต์ของคุณได้ มุมมองโปรเจกต์ (Project Views) สามารถเห็นโปรเจกต์โดยรวมทั้งหมด ตารางปฏิทินและลิสต์งานต่าง ๆ ได้ เครื่องมือการทำงานร่วมกัน (Collaboration Tools) สามารถแสดงความคิดเห็น ตอบกลับเกี่ยวกับงานและสามารถแนบไฟล์ได้ (จำกัดขนาดไว้ที่ 100MB ต่อไฟล์) รายงานแดชบอร์ด (Reporting Dashboard) มองเห็นรายงานแดชบอร์ดพื้นฐานและภาพรวมความคืบหน้าของโปรเจกต์ การเชื่อมต่อเบื้องต้น (Integration) สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่น ๆ ของบริษัทได้อย่างเช่น Slack, Google Workspace และ Microsoft Teams แต่เนื่องจากข้อจำกัดของฟีเจอร์แบบฟรี...

Continue reading

AppSheet Workshop: เปลี่ยน Forms ธรรมดาให้ Smart ด้วย AppSheet

กิจกรรม AppSheet Workshop สุดพิเศษสำหรับลูกค้า Demeter ICT โดยเฉพาะ! “เรียนรู้การสร้าง Smart Forms ด้วย No-Code Application ให้คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกแบบฟอร์ม” พบกับเวิร์กชอปสร้างแอปพลิเคชัน AppSheet ที่จัดขึ้นเพื่อลูกค้า Demeter ICT คนพิเศษของเราโดยเฉพาะ กับงาน “เปลี่ยน Forms ธรรมดาให้ Smart ด้วย AppSheet” ที่จะพาทุกท่านไปเรียนรู้วิธียกระดับการบันทึกข้อมูลจากฟอร์มธรรมดา สู่รูปแบบ Smart Forms ด้วย AppSheet พร้อมกับต่อยอดการทำงานร่วมกับ Google Chat ให้เรียกใช้งานแอปพลิเคชันได้สะดวกและรวดเร็ว มายกระดับเครื่องมือในมือคุณให้ชาญฉลาดและเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานให้มากขึ้นกว่าเดิม! https://www.youtube.com/watch?v=hNAjyZkIVK8 พบกับ 2 รูปแบบการบรรยาย ที่ให้คุณเลือกเข้าร่วม รูปแบบ Onsite Mode Sathon Hotel Bangkok (BTS สุรศักดิ์) สำหรับผู้ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานจริงแบบ Onsite รับตัวอย่างแอปที่แสดงในงานไปปรับใช้ในองค์กรได้เลยทันทีฟรี 3 แอปพลิเคชัน! บรรยากาศเวิร์กชอปแบบ Active learning สามารถโต้ตอบและสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมได้สะดวก มีสิทธิ์ลุ้นรับของรางวัลภายในงาน จำกัดองค์กรละ 2 สิทธิ์ (กรุณาลงทะเบียนให้ครบทุกท่าน) Recommended ! รูปแบบ Online Google Meet เข้าร่วมรับชมถ่ายทอดสดจาก Onsite ไม่สะดวกเดินทาง ก็สามารถเข้าร่วมออนไลน์ได้ ผู้ลงทะเบียนและเข้าร่วมงานจริงแบบ Online จะได้รับสิทธิ์เข้าทดลองใช้แอปตัวอย่างที่แสดงในงานได้ ไม่จำกัดจำนวนสิทธิ์ ลงทะเบียนรับสิทธิ์เข้าร่วม เข้าร่วมงานสัมมนาฟรี !*สงวนสิทธิ์เฉพาะลูกค้า Demeter ICT เท่านั้น*หากต้องการเข้าร่วม Onsite 2 ท่าน กรุณาลงทะเบียนให้ครบทุกท่านหลังจากลงทะเบียนรับสิทธิ์เข้าร่วม โปรดรอ Confirmation Email ปิดรับลงทะเบียน 7 พฤษภาคม 2567 สิ่งที่จะได้เรียนรู้จากเวิร์กชอปนี้ สร้างแอปพลิเคชันด้วย AppSheet...

Continue reading

ทรานส์ฟอร์มธุรกิจทั้งที เอาให้ดีไปเลย ด้วย 5 แอปพลิเคชันนี้

ถึงเวลาเปลี่ยนระบบ รื้อใหม่ ยุติปัญหาสะสม การทรานส์ฟอร์มธุรกิจใครว่าไม่สำคัญ ได้โปรดหยุดฟัง Demeter ICT ก่อน เพราะการทรานส์ฟอร์มจะทำให้คุณได้รับประโยชน์ ดังนี้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: ลดงาน Manual และตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ ลดต้นทุนและเพิ่มกำไร: จัดสรรทรัพยากรได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ: พัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ และเข้าถึงลูกค้าได้รวดเร็วมากขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน: ธุรกิจน่าสนใจ ปรับตัวต่อยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว พัฒนาองค์กรให้คนเก่งอยากร่วมงานด้วย: พนักงานมีทักษะใหม่ ๆ ในการพัฒนาองค์กร ตัวอย่างการทำทรานส์ฟอร์มธุรกิจ (Business Transformation) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในธุรกิจ การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล พัฒนาสินค้าและบริการใหม่ ๆ พัฒนาทักษะพนักงาน ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่ ด้วยผลประโยชน์อันแสนหวานหอมที่ได้กล่าวไปข้างต้น มีธุรกิจไหนบ้างที่ไม่ต้องการสิ่งเหล่านี้?! แต่อย่างไรก็ตามการทรานส์ฟอร์มไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ย่อมสร้างความกังวลใจให้กับเหล่าผู้บริหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นแล้ว Demeter ICT จึงได้คัด 5 แอปพลิเคชันจาก Google Workspace ที่จะเข้ามาช่วยทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้สามารถดำเนินการได้ง่ายมากที่สุดและสะดวกมากที่สุด ไม่ต้องติดตั้งระบบใด ๆ และไม่กระทบกระบวนการทำงานเดิมอย่างแน่นอน มาเริ่มก้าวแรกไปพร้อม ๆ กันเลย ! ทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้ดีเลิศ ต้อง 5 แอปพลิเคชันนี้ 1. Google Docs คุณยังมีการจัดทำเอกสารแบบรูปด้านบนอยู่หรือเปล่า? การจัดทำเอกสาร พิมพ์ออกมา แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้ม ถือว่าเป็นวิถีการทำงานที่ปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน ถึงแม้ว่า Demeter ICT จะมีการสนับสนุนเรื่องการทำทรานส์ฟอร์มจากการทำเอกสารบนกระดาษสู่ดิจิทัลกันอยู่บ่อยครั้ง เราก็ยังจะสู้ต่อไปเพื่อธุรกิจของคุณ ซึ่งการเปลี่ยนเอกสารบางส่วนให้มาอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี เหมาะสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นการทรานส์ฟอร์มเป็นอย่างมาก วิธีการใช้งาน Docs ก็เหมือนกับการจัดทำเอกสารตามปกติเลย แต่คุณจะได้ฟังก์ชันการใช้งานที่มากกว่านั่นเอง ประโยชน์จากการทรานส์ฟอร์มสู่การทำงานบน Google Docs บอกลาเอกสารกระดาษยุ่งเหยิง จัดการเอกสารออนไลน์ได้สะดวกสบายจากทุกที่ทั่วโลก ! แก้ไขเอกสารได้ทุกวินาที แชร์ไฟล์ได้ง่าย ทำงานร่วมกันได้แบบเรียลไทม์ ค้นหาเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย หายห่วง ไม่ต้องคอยกดเซฟ เมื่อเกินเหตุไม่คาดฝัน เช่น ไฟดับ คอมดับ เน็ตหลุด ไม่ต้องกลัวว่างานที่ทำจะหาย...

Continue reading

ศึก AI ปะทะ AI! เปรียบเทียบ Gemini for Google Workspace กับ Copilot for Microsoft 365 AI ไหนเหมาะกับธุรกิจของคุณ

เมื่อยุค AI เป็นเหตุทำให้สองบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google และ Microsoft ต้องลุกขึ้นสู้ปะทะกันอย่างดุเดือด ท่ามกลางศึกนี้ผู้คนมากมายต่างจับตามองและให้ความสนใจในการนำเครื่องมือเทคโนโลยี AI อย่าง Gemini และ Copilot มาปรับใช้กับธุรกิจกันอย่างล้นหลาม Demeter ICT ในฐานะ Google Workspace อันดับ 1 ของไทย ผู้ให้คำปรึกษาด้านโซลูชันเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจจึงจะขอพาคุณมาทำความรู้จักและเปรียบเทียบความเหมาะสมในการใช้งานแพลตฟอร์ม ราคาและความคุ้มค่า ฟีเจอร์ รวมถึงเวอร์ชันทดลองใช้งานฟรีด้วย ซึ่งหากคุณมีความต้องการเปลี่ยนแพลตฟอร์มการใช้งานหรือยังไม่มีบัญชีธุรกิจของ Google Workspace หรือ Microsoft 365 เราเชื่อว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น  เปรียบเทียบ Gemini for Google Workspace กับ Copilot for Microsoft 365 1. Gemini vs Copilot เหมาะกับใคร? เลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสม Gemini เหมาะสำหรับผู้ที่มีบัญชีธุรกิจ Google Workspace ในทุกแพ็กเกจ เลือกดูแพ็กเกจและราคาได้ที่นี่ Copilot เหมาะสำหรับผู้ที่มีบัญชีธุรกิจ Microsoft 365 ในแพ็กเกจที่กำหนด 2. ราคา Gemini vs Copilot เลือกความคุ้มค่า Gemini แพ็กเกจ AI Add-on สำหรับธุรกิจ เริ่มต้นที่ $20/ผู้ใช้/เดือน (สัญญารายปี) ได้รับ AI ในทุกแอปพลิเคชันหลักสำหรับการทำงานร่วมกันในองค์กร ได้แก่ Gmail, Docs, Slides, Sheets, และ Meet Copilot แพ็กเกจ AI Add-on สำหรับธุรกิจ ราคา $30/ผู้ใช้/เดือน (สัญญารายปี) ได้รับ AI ในทุกแอปพลิเคชันหลักสำหรับการทำงานร่วมกันในองค์กร ได้แก่ Outlook, Word, Excel,...

Continue reading

6 ข้อผิดพลาดอันตราย เสี่ยงตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์

อย่างที่ทราบกันดีว่าการโจรกรรมทางโซเชียลเป็นหนึ่งในอาชญากรรมที่สร้างความเสียหายทั้งข้อมูลและทรัพย์สินได้อย่างมหาศาล เพราะไม่ว่าจะมีการรายงานข่าวถึงการเสียหายมาแล้วกี่ครั้ง ก็ยังมีผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่อเกิดขึ้นได้ในทุกวัน… ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเราใช้ชีวิตอยู่ในโลกออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรับ-ส่งอีเมลหรือเข้าถึงโซเชียลมีเดีย ทุกการเข้าถึง การล็อกอิน การคลิก การแชร์ นั้นก่อให้เกิดการสร้าง Digital footprint หรือร่องรอยของข้อมูลขึ้นมา สิ่งนี้เองอาจทำให้มิจฉาชีพหรือผู้ไม่หวังดีสามารถนำข้อมูลของเราไปใช้งานในทางที่ผิดได้  บทความนี้ Demeter ICT ได้นำ 6 ข้อผิดพลาดและวิธีการป้องกันความเสี่ยงในการโจรกรรมข้อมูลบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อ้างอิงจากบทความของ Google มาฝาก ให้ผู้ใช้งานบัญชี Gmail และ Google Workspace ได้ลองสำรวจดูว่า เรามองข้ามหรือขาดการป้องกันในด้านใดบ้าง  ข้อผิดพลาดที่ 1: ใช้รหัสผ่านเดียวกันทุกการล็อกอิน ดังที่คุณ Sriram Karra, senior product manager of sign-in security จาก Google ได้กล่าวไว้ว่า หนึ่งในความเสี่ยงที่หลายคนคิดไม่ถึงและเป็นสิ่งที่ทำผิดพลาดกันมากที่สุด นั่นก็คือการตั้งรหัสผ่านชุดเดียวกันสำหรับการล็อกอินเข้าทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ เพราะอาศัยแต่ความสะดวกและง่ายต่อการจดจำ แต่หารู้ไม่ว่าความผิดพลาดนี้เป็นของหวานชั้นดีสำหรับผู้ไม่หวังดีเลยทีเดียว ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้รหัสเข้า Gmail เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มอื่น และเมื่อแพลตฟอร์มนั้นเกิดรอยรั่ว บัญชี Google ของคุณก็จะตกอยู่ในอันตรายเช่นเดียวกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าใครบางคนเข้าถึง Gmail ของคุณได้ พวกเขาก็สามารถยึดบัญชีอื่นๆ ของคุณได้อย่างง่ายดายนั่นเอง วิธีที่ควรทำ ไม่ควรตั้งค่ารหัสผ่านเหมือนกันในทุกแพลตฟอร์มออนไลน์ ควรตั้งค่าตัวอักษรที่คาดเดาได้ยาก เพิ่ม Passkeys ลงในบัญชี Google ของคุณ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถลงชื่อเข้าใช้บัญชี Google ได้ด้วยลายนิ้วมือ การสแกนใบหน้า หรือการปลดล็อกหน้าจอของอุปกรณ์แทนการใช้รหัสผ่าน เปิดใช้งานตัวจัดการรหัสผ่าน (Password manager) ที่ช่วยให้คุณใช้รหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกันในทุกบัญชีออนไลน์ทั้งหมดได้โดยไม่ยุ่งยาก วิธีใช้งานตัวจัดการรหัสผ่าน (Password manager) ข้อผิดพลาดที่ 2: ละเลยการอัปเดตซอฟต์แวร์ หลายคนมักให้การเพิกเฉยต่อการอัปเดตซอฟต์แวร์ เพราะคิดว่าไม่จำเป็นหรือเวอร์ชันเดิมที่ใช้ก็ดีอยู่แล้ว แต่คุณ Christiaan Brand, group product manager of identity จาก Google แนะนำว่าไม่ควรทำเช่นนั้น เพราะการอนุญาตให้มีการอัปเดตซอฟต์แวร์เป็นประจำนั้นถือเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มความปลอดภัยที่สำคัญและเป็นอันดับสองรองลงมาจากการใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน...

Continue reading

รู้จัก 4 วิธี เก็บข้อมูลลูกค้าแบบมืออาชีพ ขับเคลื่อนการตลาดให้ปัง!

ทุกวันนี้ ‘ข้อมูล’ เรียกได้ว่าเป็นขุมสมบัติอันล้ำค่าสำหรับการทำธุรกิจ เพราะธุรกิจในทุกวันนี้แทบจะต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นออนไลน์หรือออฟไลน์ ถ้าหากธุรกิจของคุณไม่มีข้อมูลหรือมีข้อมูลที่ไม่เพียงพอ นั่นอาจทำให้ธุรกิจของคุณสูญเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์หรือเกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ธุรกิจหยุดชะงักจนไปถึงการปิดตัวลงไปเลยก็ได้ ซึ่งการเก็บข้อมูลในปัจจุบันก็มีหลากหลายแบบหลากหลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย รวมถึงการนำข้อมูลไปใช้ที่แตกต่างกันออกไป โดยในบทความนี้เราจะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักการเก็บข้อมูลว่ามีกี่วิธี? อะไรบ้าง? พร้อมยกตัวอย่างการเก็บข้อมูลแต่ละวิธีให้ทุกท่านเห็นภาพกันแบบชัด ๆ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน! วิธีของการเก็บข้อมูลในปัจจุบันมี 4 ประเภทดังนี้ ภาพจาก Bloomreach Zero-Party Data (ข้อมูลศูนย์กลาง) เป็นการเก็บข้อมูลโดยตรงจากลูกค้าที่เต็มใจมอบให้กับแบรนด์ผ่านการทำแบบสำรวจ แบบสอบถามที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการ การตอบคำถามจากการเล่นเกมที่ธุรกิจหรือแบรนด์จัดขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลลูกค้ามา การตั้งค่าความยินยอมก่อนที่จะสมัครเป็นสมาชิกบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชันหรือโปรแกรมสะสมคะแนนต่าง ๆ ตัวอย่าง Zero-Party Data ลูกค้าบอกไซส์และสไตล์เสื้อผ้าที่ต้องการตอนสมัครสมาชิกเพื่อสะสมคะแนนของร้านขายเสื้อผ้า ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องโปรดในช่องทางสตรีมมิ่ง การเลือกประเภทอาหาร “มังสวิรัติ” ในแอปพลิเคชันส่งอาหาร ข้อดีของ Zero-Party Data เป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความแม่นยำ เนื่องจากลูกค้าเป็นผู้ให้ข้อมูลโดยตรง จึงสะท้อนถึงความชอบและความสนใจที่แท้จริงของลูกค้าได้ ความปลอดภัยในการใช้งานสูง เพราะลูกค้ายินยอมและให้สิทธิ์ในการรวบรวมข้อมูลกับแบรนด์อย่างชัดเจน ข้อมูลเชิงลึกที่ได้มาจะช่วยให้คุณสามารถสร้างความไว้วางใจและความภักดีกับลูกค้าได้ง่ายและดียิ่งขึ้น ข้อมูลเชิงลึกจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ Personalized กับลูกค้า เป็นการยกระดับการมีส่วนร่วมให้ดีขึ้น และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดให้กับแบรนด์ของคุณ ข้อเสียของ Zero-Party Data เป็นข้อมูลที่ต้องอาศัยการให้ข้อมูลจากลูกค้า ซึ่งบางครั้งอาจจะได้มาไม่ครบถ้วน แบรนด์ต้องใช้ความพยายามและเวลาในการรวบรวมข้อมูล ต้องสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้าแบ่งปันข้อมูลให้กับแบรนด์ให้ได้ คลิก เพื่ออ่านบทความทำความรู้จัก Zero-Party Data แบบเจาะลึก ได้ที่นี่  First-Party Data (ข้อมูลปฐมภูมิ) เป็นการเก็บข้อมูลที่แบรนด์ได้รวบรวมมาจากลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางต่าง ๆ ที่มีด้วยตัวเอง เพื่อให้แบรนด์สามารถระบุตัวตน พฤติกรรม ความต้องการ และประวัติของลูกค้า ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าแต่ละคนได้ ตัวอย่าง First-Party Data ประวัติการซื้อสินค้า ยอดชำระ และวันที่ลูกค้าซื้อสินค้าบนช่องทางร้านค้าออนไลน์ พฤติกรรมการเข้าดูเว็บไซต์ ระยะเวลาที่อยู่ในหน้าจอของลูกค้าบนเว็บไซต์บริษัทจองตั๋วเครื่องบิน จำนวนครั้งที่ลูกค้าเปิดแอปฟิตเนสและการคลิกวิธีที่ต้องการออกกำลังกาย ข้อดีของ First-Party Data ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์และมีรายละเอียดเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้า แบรนด์เป็นเจ้าของข้อมูลนี้โดยตรง สามารถควบคุมวิธีการใช้ข้อมูลได้ตามความต้องการ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการได้รับข้อมูลเหล่านี้มา สามารถนำข้อมูลมาสร้างการตลาดที่เฉพาะตัว แบ่งกลุ่มลูกค้า เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และปรับประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานได้ ข้อเสียของ First-Party Data ต้องให้ความสำคัญกับมาตรการในการรวบรวมข้อมูลจะต้องมีความโปร่งใสและเป็นไปตามกฎระเบียบ แบรนด์ต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน...

Continue reading

Zendesk คัดเลือก DEMETER ICT เป็น Advanced AI Enablement Partner ของ APAC

Zendesk ผู้นำด้าน Customer Service Solution ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกมากกว่า 170,000 องค์กร ได้คัดเลือกให้บริษัท ดีมีเตอร์ ไอซีที จำกัด (DEMETER ICT) เป็น Advanced AI Enablement Partner ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  Advanced AI ของ Zendesk นั้น นับเป็นฟังก์ชันใหม่ที่ให้บริการเสริมจาก Zendesk Suite Professional และ Zendesk Suite Enterprise โดย Advanced AI จะใช้ฟังก์ชันของ OpenAT ที่สามารถวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา สามารถสรุปเนื้อหาโดยย่อให้กับพนักงานผู้ให้บริการ และแนะนำการตอบคำถาม  รวมไปถึงการสร้างแชทบอทด้วยเครื่องมือของ Generative AI ทำให้การตอบคำถามด้วย AI BOT เป็นไปอย่างธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น การให้คำแนะนำจากบทความที่เกี่ยวข้อง การรับมือในการพูดคุยกับลูกค้าในแต่ละรูปแบบ การส่งต่อปัญหาแบบอัตโนมัติให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการให้บริการขององค์กรอย่างมีนัยยะสำคัญ DEMETER ในฐานะ Advanced AI Enablement Partner DEMETER เป็นพาร์ทเนอร์ผู้มีประสบการณ์ในการให้บริการ Zendesk มาอย่างยาวนาน เคยได้รับแต่งตั้งให้เป็น High Growth Partner of The Year ในปี 2022 และได้รับการรับรองว่าเป็นทั้ง Premier Partner และ Premier Implementation Partner หรือในความหมายก็คือ พาร์ทเนอร์ผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบระดับสูงสุดจาก Zendesk  ในฐานะที่เป็น Advanced AI Enablement Partner จากนี้ไป DEMETER จะเป็นพาร์ทเนอร์ที่มีความชำนาญในเชิงลึกในการวางระบบ Advanced AI ของ Zendesk ให้กับองค์กรที่ต้องการนำความสามารถของ AI มาช่วยในการเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพิ่มรายได้ และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน...

Continue reading